ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเผยกำไรในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 18 เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65 จากการขยายสินเชื่อได้เกินเป้าหมาย จนทำให้ขยับเพิ่มเป้าสินเชื่อทั้งปีจาก 20,000 ล้านบาท เป็น 30,000 ล้านบาท โดยเน้นขยายฐานไปหาลูกค้ารายย่อยมากขึ้น ด้วยการขยายสาขาอีก 22 สาขา ในครึ่งหลังของปี
นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2,033 ล้านบาท และได้ตั้งสำรองอีก 900 ล้านบาท เพื่อรองรับนโยบายการเร่งขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ส่วนผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานรวม 3,847 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และเมื่อหักสำรองที่ตั้งในงวด 6 เดือนแรก รวม 1,500 ล้านบาท ทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิสำหรับครึ่งปีแรกจำนวน 2,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 1,985 ล้านบาท
“สำหรับการกันสำรอง ธนาคารจะมีการตั้งสำรองในครึ่งหลังของปีอีก 1,500 ล้านบาท รวมแล้วทั้งปี 2547 ธนาคารจะตั้งสำรองรวมทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท” นายจำลอง กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 2,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 เนื่องจากธนาคารลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย เพราะมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (สลิปส์-แคปส์) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก โดยใน 6 เดือนแรก ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยมีการอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 60,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิจากสิ้นปีก่อนประมาณ 13,500 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีสินเชื่อโตสุทธิไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ดังนั้น ธนาคารจึงได้ปรับเป้าหมายการขยายตัวของสินเชื่อใหม่ โดยให้มีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 5-7.5 หรือมีสินเชื่อสุทธิ 30,000 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายได้ เพราะธนาคารมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ค่อนข้างมั่นคง
โดยที่ผ่านมา ได้ปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานพาหนะ สาธารณูปโภคและบริการ และมียอดสินเชื่อเอสเอ็มอีประมาณ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ส่วนลูกค้ารายย่อยมียอดสินเชื่อ 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 โดยธนาคารตั้งเป้าว่าจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มรายย่อยให้มากขึ้น สำหรับรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23 มีรายได้จากเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 112 และมีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงเล็กน้อยคือ ร้อยละ 27 ขณะที่เงินฝากในครึ่งปีแรกมีการเติบโตสูงกว่าสินเชื่อ โดยมีเงินฝากทั้งสิ้น 48,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11
นายจำลอง กล่าวถึงสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ว่า มียอดอยู่ที่ 53,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ของสินเชื่อรวม และธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 11 ของสินเชื่อรวม และจะเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการให้ได้ประมาณร้อยละ 30 ส่วนทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ในรอบ 6 เดือนแรก มีการอนุมัติขายไปแล้ว 3,600 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะขายเอ็นพีเอได้ไม่น้อยกว่าปีก่อน ซึ่งมียอดขายรวม 7,000 ล้านบาท สำหรับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ณ สิ้นมิถุนายน อยู่ที่ร้อยละ 10.46 แบ่งเป็นกองทุนขั้นที่ 1 ร้อยละ 6.28 กองทุนขั้นที่ 2 ร้อยละ 4.21
“ปัจจุบันธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีสาขารวม 420 สาขา แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 417 สาขา เป็นสาขาต่างประเทศ 3 สาขา ส่วนในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ได้เพิ่มสาขาไปแล้ว 8 สาขา และจะเพิ่มสาขาอีก 22 แห่ง เพื่อให้สิ้นปีมีสาขาทั้งหมด 442 สาขา โดยจะเปิดขยายสาขารูปแบบใหม่ ในจุดที่มีศักยภาพ เช่น อิมแพค ไบเทค และที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อให้ธนาคารเป็นสาขาที่ให้บริการได้ครบวงจร” นายจำลอง กล่าว
นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2,033 ล้านบาท และได้ตั้งสำรองอีก 900 ล้านบาท เพื่อรองรับนโยบายการเร่งขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ส่วนผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานรวม 3,847 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน และเมื่อหักสำรองที่ตั้งในงวด 6 เดือนแรก รวม 1,500 ล้านบาท ทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิสำหรับครึ่งปีแรกจำนวน 2,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 1,985 ล้านบาท
“สำหรับการกันสำรอง ธนาคารจะมีการตั้งสำรองในครึ่งหลังของปีอีก 1,500 ล้านบาท รวมแล้วทั้งปี 2547 ธนาคารจะตั้งสำรองรวมทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท” นายจำลอง กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 2,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 เนื่องจากธนาคารลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย เพราะมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (สลิปส์-แคปส์) ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก โดยใน 6 เดือนแรก ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยมีการอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 60,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิจากสิ้นปีก่อนประมาณ 13,500 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีสินเชื่อโตสุทธิไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ดังนั้น ธนาคารจึงได้ปรับเป้าหมายการขยายตัวของสินเชื่อใหม่ โดยให้มีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 5-7.5 หรือมีสินเชื่อสุทธิ 30,000 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายได้ เพราะธนาคารมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ค่อนข้างมั่นคง
โดยที่ผ่านมา ได้ปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานพาหนะ สาธารณูปโภคและบริการ และมียอดสินเชื่อเอสเอ็มอีประมาณ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ส่วนลูกค้ารายย่อยมียอดสินเชื่อ 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 โดยธนาคารตั้งเป้าว่าจะขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มรายย่อยให้มากขึ้น สำหรับรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23 มีรายได้จากเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 112 และมีรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงเล็กน้อยคือ ร้อยละ 27 ขณะที่เงินฝากในครึ่งปีแรกมีการเติบโตสูงกว่าสินเชื่อ โดยมีเงินฝากทั้งสิ้น 48,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11
นายจำลอง กล่าวถึงสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ว่า มียอดอยู่ที่ 53,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ของสินเชื่อรวม และธนาคารตั้งเป้าหมายว่าจะลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 11 ของสินเชื่อรวม และจะเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการให้ได้ประมาณร้อยละ 30 ส่วนทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) ในรอบ 6 เดือนแรก มีการอนุมัติขายไปแล้ว 3,600 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะขายเอ็นพีเอได้ไม่น้อยกว่าปีก่อน ซึ่งมียอดขายรวม 7,000 ล้านบาท สำหรับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ณ สิ้นมิถุนายน อยู่ที่ร้อยละ 10.46 แบ่งเป็นกองทุนขั้นที่ 1 ร้อยละ 6.28 กองทุนขั้นที่ 2 ร้อยละ 4.21
“ปัจจุบันธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีสาขารวม 420 สาขา แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 417 สาขา เป็นสาขาต่างประเทศ 3 สาขา ส่วนในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ได้เพิ่มสาขาไปแล้ว 8 สาขา และจะเพิ่มสาขาอีก 22 แห่ง เพื่อให้สิ้นปีมีสาขาทั้งหมด 442 สาขา โดยจะเปิดขยายสาขารูปแบบใหม่ ในจุดที่มีศักยภาพ เช่น อิมแพค ไบเทค และที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อให้ธนาคารเป็นสาขาที่ให้บริการได้ครบวงจร” นายจำลอง กล่าว