ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเผยยอดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ 5 เดือนแรกของปีนี้ เติบโตร้อยละ 15 ทำให้มั่นใจทั้งปีจะปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ได้ตามเป้าหมาย ระบุผลจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น ทำให้ลูกค้ารีบตัดสินใจซื้อบ้านก่อนจ่ายดอกเบี้ยแพง
นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงยอดการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในงวด 5 เดือนแรกของปีนี้ว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเชื่อว่าตลอดทั้งปีจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 15,000 ล้านบาท แต่ในจำนวนนี้จะมียอดสินเชื่อเติบโตสุทธิ 5,000 ล้านบาท เพราะมีส่วนหนึ่งเป็นการชำระคืนเงินกู้ด้วย
นางชาลอต กล่าวว่า ในครึ่งปีแรกการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก สถานการณ์ภาคใต้ และล่าสุดราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าในครึ่งปีหลังยอดการปล่อยสินเชื่อจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนเร่งตัดสินใจซื้อบ้าน เพื่อได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ โรงแรม โรงพยาบาล ประมาณ 30,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ขณะที่ได้ปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ซื้อบ้านประมาณ 45,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 9-10 ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ซึ่งเมื่อรวมสินเชื่ออสังหาฯ กับสินเชื่อรายย่อยแล้ว จะอยู่ที่ประมาณกว่า 75,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของพอร์ตสินเชื่อรวม โดยธนาคารจะรักษาอัตราของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ไว้ในระดับนี้ต่อไป
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวอีกว่า สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยรวมมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกธนาคารจะให้ความสำคัญกับการคัดเลือกลูกค้าเพิ่มขึ้น การที่ธนาคารส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร หรือยูนิเวอร์แซลแบงก์ จำเป็นที่สินเชื่อต้องเติบโตทุกกลุ่ม ดังนั้น สินเชื่อที่ปล่อยใหม่ต้องเป็นสินเชื่อโครงการใหม่
“ขณะนี้ทุกธนาคารพยายามเพิ่มสินเชื่อรายย่อย เพราะเดิมฐานสินเชื่อส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อรายใหญ่มาก ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อลูกค้ารายย่อยจะอยู่ในอัตราที่ต่ำ แต่ผลพวงของการเป็นยูนิเวอร์แซลแบงก์นั้น ต้องครอบคลุมสินเชื่อทุกกลุ่ม และสินเชื่อรายย่อยเป็นสินเชื่อที่ดีที่ที่สุดเพราะมีหลักประกัน มีเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน จึงเสนอดอกเบี้ยต่ำได้ ธนาคารมั่นใจกับสินเชื่อแบบนี้ค่อนข้างเยอะ เนื่องจากที่ผ่านมามีเอ็นพีแอลต่ำมาก และขณะนี้ไม่มีการเข้ามาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไร ส่วนคนที่ซื้อบ้านราคาสูงนั้น ค่อนข้างมีน้อย เพราะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำหรับโอกาสราคาบ้านปรับตัวเพิ่มขึ้นจะมีมากกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ซึ่งเท่าที่ทราบ ราคาบ้านได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วร้อยละ 5-10” นางชาลอต กล่าว
นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงยอดการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในงวด 5 เดือนแรกของปีนี้ว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเชื่อว่าตลอดทั้งปีจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 15,000 ล้านบาท แต่ในจำนวนนี้จะมียอดสินเชื่อเติบโตสุทธิ 5,000 ล้านบาท เพราะมีส่วนหนึ่งเป็นการชำระคืนเงินกู้ด้วย
นางชาลอต กล่าวว่า ในครึ่งปีแรกการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก สถานการณ์ภาคใต้ และล่าสุดราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าในครึ่งปีหลังยอดการปล่อยสินเชื่อจะมีทิศทางที่ดีขึ้น เพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนเร่งตัดสินใจซื้อบ้าน เพื่อได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งปัจจุบันธนาคารมียอดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ โรงแรม โรงพยาบาล ประมาณ 30,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ขณะที่ได้ปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ซื้อบ้านประมาณ 45,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 9-10 ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ซึ่งเมื่อรวมสินเชื่ออสังหาฯ กับสินเชื่อรายย่อยแล้ว จะอยู่ที่ประมาณกว่า 75,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของพอร์ตสินเชื่อรวม โดยธนาคารจะรักษาอัตราของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ไว้ในระดับนี้ต่อไป
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวอีกว่า สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยรวมมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกธนาคารจะให้ความสำคัญกับการคัดเลือกลูกค้าเพิ่มขึ้น การที่ธนาคารส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร หรือยูนิเวอร์แซลแบงก์ จำเป็นที่สินเชื่อต้องเติบโตทุกกลุ่ม ดังนั้น สินเชื่อที่ปล่อยใหม่ต้องเป็นสินเชื่อโครงการใหม่
“ขณะนี้ทุกธนาคารพยายามเพิ่มสินเชื่อรายย่อย เพราะเดิมฐานสินเชื่อส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อรายใหญ่มาก ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อลูกค้ารายย่อยจะอยู่ในอัตราที่ต่ำ แต่ผลพวงของการเป็นยูนิเวอร์แซลแบงก์นั้น ต้องครอบคลุมสินเชื่อทุกกลุ่ม และสินเชื่อรายย่อยเป็นสินเชื่อที่ดีที่ที่สุดเพราะมีหลักประกัน มีเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน จึงเสนอดอกเบี้ยต่ำได้ ธนาคารมั่นใจกับสินเชื่อแบบนี้ค่อนข้างเยอะ เนื่องจากที่ผ่านมามีเอ็นพีแอลต่ำมาก และขณะนี้ไม่มีการเข้ามาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไร ส่วนคนที่ซื้อบ้านราคาสูงนั้น ค่อนข้างมีน้อย เพราะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำหรับโอกาสราคาบ้านปรับตัวเพิ่มขึ้นจะมีมากกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน ซึ่งเท่าที่ทราบ ราคาบ้านได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วร้อยละ 5-10” นางชาลอต กล่าว