xs
xsm
sm
md
lg

ARV ร่วมพูดคุยถึงอนาคตอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับไทย บนเวทีเสวนาในงาน DRONTECH ASIA 2024

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ เผยแนวโน้มอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ หรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) ของไทยพร้อมแสดงวิสัยทัศน์และเทรนด์ใหม่ล่าสุด ของเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ในงาน DronTech Asia 2024 นิทรรศการและการประชุมระดับนานาชาติ ที่รวบรวมนวัตกรรมจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับชั้นนำจากทั่วภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนและยกระดับอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน 2567 ณ ฮอลล์ 12 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

หนึ่งในไฮไลท์ของงานคือเวทีเสวนาที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอากาศ ยานไร้คนขับทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ARV ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
อากาศยานไร้คนขับได้มีส่วนร่วมในการเสวนาในครั้งนี้ โดยนำเสนอโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัจฉริยะ หรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทุกอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการเสวนา "Innovative Solutions for Advanced Operations and Intelligence”

นายประพาฬ กาญจโนภาศ ผู้จัดการงานขาย บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Horrus หรือ อากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ (AN AUTONOMOUS INSPECTION UAV WITH SELF-CHARGING STATION) และ Deepzoom ระบบปฏิบัติการความปลอดภัยปัญญาประดิษฐ์ (Solution Platform for AI-powered CCTV Detection System) พร้อมทั้งอธิบายถึงการนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกล่าวว่า “เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ กำลังปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วยการลดต้นทุนด้านแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างก้าวกระโดด และด้วยวิสัยทัศน์ของ ARV ที่ต้องการผลักดันอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับของไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงได้พัฒนาโซลูชันที่ผสาน
เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับเข้ากับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ครอบคลุมตั้งแต่
การรักษาความปลอดภัย การคมนาคมขนส่ง การบริหารอสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่”

• Horrus อากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ ที่ออกแบบมาเพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจ เฝ้าระวัง และรักษาความปลอดภัยทางอากาศ ที่สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 30 นาทีต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง โดยสามารถกลับสู่สถานีชาร์จเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจครั้งต่อไป
ได้อย่างอัตโนมัติ รวมถึงสามารถควบคุมการบินได้จากระยะไกลที่รัศมี 7 กิโลเมตรจากสถานีชาร์จ เทคโนโลยีนี้ยังสามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายและวิดีโอความละเอียดสูงสุด 4K 30fps ได้แบบเรียลไทม์ ผ่านระบบสื่อสารไร้สาย เพื่อนำไปวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลได้ทันท่วงที
• ระบบ DeepZoom เป็นแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ภาพที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการประมวลผลภาพ (Computer Vision) เพื่อเฝ้าระวังและวิเคราะห์ภาพถ่ายและวิดีโอจากกล้องของอากาศยานไร้คนขับ กล้องวงจรปิด (CCTV) หรือ กล้องจากระบบหุ่นยนต์ต่างๆ โดยสามารถตรวจจับ
และแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างทั่วถึง
ทั้ง Horrus และ DeepZoom สามารถผสานการทำงานร่วมกันโดย HORRUS ทำหน้าที่เก็บภาพถ่ายและวิดีโอทางอากาศได้โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นระบบจะส่งภาพเหล่านั้นไปยังระบบ DeepZoom เพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยกระบวนการนี้จะช่วยในการตรวจจับและประมวลผลข้อมูล เช่น การระบุวัตถุต้องสงสัย ตรวจจับการเคลื่อนไหว หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการเฝ้าระวัง ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำมาแสดงบนแดชบอร์ดที่สามารถแสดงผลได้แบบเรียลไทม์ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเห็นข้อมูลและผลวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจและจัดการกับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การนำ HORRUS และ Deepzoom สนับสนุนการจัดการการจราจร (Traffic Management) ที่ผ่านมานั้น สามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่รู้ทันทุกสถานการณ์ ช่วยประหยัดเวลาและจำนวนเจ้าหน้าที่ในการลงพื้นที่ ตลอดจนยังช่วยแจ้งข้อมูลให้กับประชาชนเพื่อหลีกเลี่ยงและเลือกเส้นทางที่มีความคล่องตัวมากกว่าได้อีกด้วย
ขณะที่ นายเชน คริสโตเฟอร์ อาชิเค็ทท์ ผู้บริหารด้านเทคนิคอากาศยานไร้คนขับ บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จํากัด หรือ SKYLLER หนึ่งในบริษัทภายใต้กลุ่ม ARV เปิดเผยว่า “ตลาดอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยกำลังเป็นที่น่าจับตามองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยจึงนับเป็นตลาดที่มีศักยภาพและเป็นที่จับตาของนักลงทุน บริษัท ออเทล โรโบติกส์ (Autel Robotics) หรือ AUTEL ยักษ์ใหญ่วงการอากาศยานไร้คนขับระดับสากล จึงได้ร่วมมือกับ ARV ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ
รายแรกในประเทศไทย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์อากาศยานไร้คนขับที่เหมาะกับการใช้งานประเภทส่วนบุคคลในรุ่นต่าง ๆ ดังนี้”

● EVO II Series ได้แก่ EVO II Pro และ EVO II Dual:
อากาศยานไร้คนขับที่มาพร้อมกล้องความละเอียดสูงสุด 6K และเทคโนโลยี AI อัจฉริยะในการบิน
● EVO Max Series ได้แก่ EVO Max 4T และ EVO Max 4N:
อากาศยานไร้คนขับที่มาพร้อมความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ระบบติดตามอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย
ปัญญาประดิษฐ์ และระบบตรวจจับหลบหลีกอุปสรรค ส่งมอบข้อมูลภาพและวิดีโอได้อย่างรวดเร็ว
และแม่นยำ
● Autel Alpha: อากาศยานไร้คนขับที่โดดเด่นด้วยกล้องความละเอียดสูงที่สามารถจับภาพได้อย่างชัดเจน แม้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย นอกจากนี้ ยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศและสามารถบินได้ในระยะทางไกล ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในภารกิจที่หลากหลาย
● Dragonfish Series: อากาศยานไร้คนขับที่มาพร้อมเทคโนโลยี VTOL สามารถบินขึ้นและลงจอดได้
ในแนวดิ่ง ทำให้มีความคล่องตัวสูงและเหมาะสำหรับภารกิจที่ต้องการ ความแม่นยำในการสำรวจ
และตรวจการณ์

ทางด้าน คุณธนพร มองกะ เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ให้ความเห็นเสริมว่า “ในปัจจุบันการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ง่ายขึ้นนี้ มักนำมาซึ่งความเสี่ยงด้านความมั่นคงและความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการล่วงล้ำพื้นที่หวงห้าม การสอดแนม การลักลอบขนส่งสิ่งผิดกฎหมาย รวมถึงการก่อการร้ายหรือการโจมตีทางอากาศ ด้วยเหตุนี้ Skyfend บริษัทภายใต้กลุ่ม AUTEL จึงได้พัฒนาระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ (Counter Unmanned Aerial Systems: C-UAS) เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่”

● การตรวจจับ (Detection) ติดตาม (Tracking) และระบุตัวตน (Identification): ระบบจะทำการตรวจจับอากาศยานไร้คนขับที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคาม พร้อมทั้งติดตามและระบุตัวตนของอากาศยานไร้คนขับนั้น โดยอาศัยเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) เรดาร์ (Radar) และระบบออปโตอิเล็กทรอนิกส์ (Electro Optic)
● การจัดการความเสี่ยง (Mitigation): เมื่อระบบประเมินแล้วว่าอากาศยานไร้คนขับลำดังกล่าวเป็นภัยคุกคาม ระบบ C-UAS จะดำเนินการจัดการความเสี่ยงโดยการปลอมแปลงสัญญาณ (Spoofing) เพื่อรบกวนสัญญาณภาพและสัญญาณวิดีโอของอากาศยานไร้คนขับหรือหลอกล่อให้อากาศยานไร้คนขับบินไปยังพื้นที่ที่กำหนดไว้ และก่อกวนสัญญาณ (Jamming) เพื่อรบกวนสัญญาณควบคุมการบิน ทำให้อากาศยานไร้คนขับไม่สามารถบินได้ตามปกติ
“เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และ ARV พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย
และพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับของประเทศไทย ให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางระดับโลก” นายประพาฬ กล่าวทิ้งท้าย

สนใจดูรายละเอียด หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://arv.co.th/ เพจเฟซบุ๊ก AI and Robotics Ventures (https://www.facebook.com/arv.th) หรือโทร. 065 245 5644


กำลังโหลดความคิดเห็น