สหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA) จ่อยกเลิกไทยจัดเอเชียนอินดอร์ แอนด์ มาร์เชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 หลังเลื่อนมา 4 ครั้ง ทำให้ไทยอาจจะโดนแบนจัดส่งนักกีฬาแข่งขันระดับโลก นานาชาติต่อไป หลังจากทุกชาติขาดความเชื่อมั่นประเทศไทยต่อไป
นายกองเอกชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และรองประธานสหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชีย ได้ร่วมประชุมกับตัวแทนของสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย และผู้แทนสมาคมกีฬาที่เข้าร่วมทำการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ แอนด์ มาร์เชียลอาร์ตเกมส์ ครั้งที่ 6 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-30 พ.ย. ณ ห้องประชุมชั้น 4 การกีฬาแห่งประเทศไทย ถึงกับการเตรียมพร้อมของการเป็นเจ้าภาพต่อพี่น้องสื่อมวลชน
นายกองเอกชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตนในฐานะรองประธานสหพันธ์โอลิมปิกเอเชีย ที่ต้องดูแลเกมนี้ในฐานะประธานดำเนินการจัดการแข่งขันซึ่งการแข่งขันรายการนี้ต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีการเลื่อนมาแล้วถึง 4 ครั้งด้วยกันและจนถึงปัจจุบันระยะเวลาเหลืออีกเพียง 3 เดือนกว่าๆ รัฐบาลไทยยังให้คำตอบอะไรไม่ได้ว่าจะจัดการแข่งขันหรือไม่ เนื่องจากการเช่าโรงแรม เรื่องสถานที่แข่งขันยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลย
โดยในวันที่ 16 ก.ค.ทางสหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชียจะประกาศยกเลิกไทยจัด แต่ทางตนนั้นได้ขอระยะเวลาอีก 1-2 สัปดาห์ เพื่อจะยืนยันไทยพร้อมจัดเอเชี่ยนอินดอร์ แอนด์มาร์เชียลอาร์ตเกมส์ต่อไป โดยทางรัฐบาลหรือการกีฬาแห่งประเทศไทยจะยกเลิกหรือไม่จัดก็ควรเร่งทำ เพราะประเทศไทยจะมีผลกระทบยาวอย่างแน่นอน
สำหรับผลเสียหากไม่ดำเนินการจัดการแข่งขันนั้นมีดังนี้
1. การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พศ. 2564 (ค.ศ. 2021) หากยกเลิกการจัดการแข่งขันรายการดังกล่าว อาจทำให้ประเทศไทยเสียชื่อเสียง รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศชาติ
2.กกท. จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ กรณีไม่สามารถดำเนินการจัดการแข่งขันขัน หรือเลื่อนการแข่งขันออกไป แล้วดำเนินการแจ้ง OCA ต่อไป
3. ผลกระทบความไม่เชื่อมั่นกับประเทศไทย ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์, การแข่งขันกีฬายูธโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ การแข่งขัน
กีฬาระดับชิงแชมป์โลก และชิงแชมป์เอเชีย
4. การจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ได้ดำเนินการล่วงหน้าไปบางส่วนแล้ว รายละเอียด ดังนี้
4.1 การเตรียมสนามแข่งขันและที่พัก ได้ดำเนินการติดต่อประสานงาน และสำรองสนามแข่งขันและที่พักไว้ล่วงหน้าบางส่วนแล้ว
4.2 ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันหลายประเทศ ได้สำรองเที่ยวบินไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น สิงคโปร์ เกาหลี, ญี่ปุ่น ฯลฯ
4.3 สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย(OCA) ได้ขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดให้ต่างประเทศแล้ว (ยกเว้นลิขสิทธิ์ของประเทศไทย)
5. นักกีฬาเก็บตัว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน (รวม 3 ปีเศษ) โดยใช้งประมาณไปทั้งสิ้น 754,611,145 บาท แต่ไม่ได้ทำการแข่งขัน ทำให้สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
1. ด้านงบประมาณ
1.1 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้รับการอนุมัติตามมติคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่7/2566 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 จำนวน 400,000,000 บาท ทั้งนี้ สามารถปรับแผนฯ เพื่อหากรอบงบกองทุนฯ ปี พ.ศ. 2567 ได้จำนวน 300,000,000 บาท โดยต้องขอเพิ่มกรอบจากกรมบัญชีกลาง จำนวน 100,000,000 บาท
1.2 มติคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 อนุมัติในหลักการเป็นเงินจำนวน 537,991,276 บาท (ส่งคำขอฯ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566) โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนงาน
และรายละเอียดงบประมาณของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ
1.3 เสนอของบกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (เพิ่มเติม) จำนวน 210,894,524 บาท (ส่งคำขอฯ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567) ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการกลันกรองฯ ทั้งนี้ หากผ่านคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ เรียบร้อยแล้ว ต้องเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
2. ด้านการจัดการแข่งขัน
2.1 สนามแข่งขันและโรงแรมที่พัก สำหรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ ยังไม่ได้มีการลงนามสัญญา และวางเงินมัดจำ ซึ่งการแข่งขันกำลังจะเริ่มในอีก 3 เดือนข้างหน้า
2.2 ด้านการบุคลากร ยังไม่สามารถจัดจ้างเจ้าหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลัง และเพียงพอต่อการเตรียมงานของทุกคณะกรรมการฝ่ายและสาขา