คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”
“สวัสดีครับเฮีย” สวัสดีครับพี่หมอ”เจ้าเก่งเอ่ยทักทายก่อนเข้าร่วงวงรับประทานอาหาร “วันนี้ทำไมมาช้าล่ะ?” พี่หมอถาม “หา! อะไรนะ?” เจ้าเก่งเอียงหูมาฟังพี่หมอ “เอออ มึงเอาหูฟังออกซะก่อน ฟังอะไรมันทั้งวัน” “อ้อ ลืมไปครับ” เจ้าเก่งรีบควักหูฟังออกจากหูอย่างอายๆ พลางลดโทนเสียงลง “พอดีผมได้หูฟังบลูทูธมาใหม่ครับ” “เออ เห่อของใหม่...ระวังหูจะตึง” คุณชูสง่าห่วงลูกก๊วน “ขอบคุณครับที่เป็นห่วง...ต่อไปผมจะฟังน้อยๆหน่อย กลัวจะหูตึงเหมือนเฮีย” “หาอะไรนะ กูไม่ค่อยได้ยิน...พูดดังๆหน่อย” เฮียชูไม่ได้ยินประโยคสุดท้ายจริงๆเพราะเจ้าเก่งมันลดโทนเสียงลง
เมื่อพบว่าผู้สูงวัยมีอาการได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค มีเสียงดังในหู ดูโทรทัศน์หรือวิทยุเสียงดังกว่าปกติ พูดก็เสียงดังกว่าปกติ ควรพามาตรวจการได้ยิน ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะเสื่อมตามวัย อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังในกรณีที่หูตึงขั้นรุนแรงหรือหูหนวก แพทย์อาจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุเกิดจากความเสื่อมของประสาทหูชั้นใน ซึ่งแม้จะไม่เป็นอันตรายมากเท่าโรคร้ายแรงอื่นๆ แต่ก็จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากในเรื่องของการสื่อสาร โดยเฉพาะอาจจะส่งผลให้เข้าใจผิดเรื่องการรับประทานยาในเรื่องของการสื่อสาร โดยเฉพาะอาจส่งผลให้เข้าใจผิดเรื่องการรับประทานยา หรือการรดูแลตัวเองจนส่งผลเสียต่อโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ หรืออาจเกิดการขาดความมั่นใจจนปลีกตัวออกจากสังคม จนเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าได้ในที่สุด โยจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่และการรับประทานยาบางอย่างอาจเป็นปัจจัยทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง เป็นต้น
การวินิจฉัย อาการหูตึงในผู้สูงวัย แพทย์จะพูดคุยซักประวัติเพื่อประเมินลักษณะอาการ และภาวะในการได้ยินเบื้องต้น เมื่อพบความผิดปกติต้องใช้เสียงพูดคุยที่ดังกว่าปกติ แพทย์จะทำการตรวจหูอย่างละเอียด ตั้งแต่หูชั้นนอก หูชั้นใน แก้วหู บางกรณีอาจมีการตรวจระบบประสาท และเส้นประสาทสมองร่วมด้วย
การตรวจการได้ยิน (Audiogram) เพื่อประเมินระดับการสูญเสียการได้ยิน
-เมื่อไหร่ผู้สูงวัยจึงควรตรวจการได้ยิน
1.มักขอให้คู่สนทนาพูดดังๆ หรือพูดซ้ำหลายๆครั้ง
2.ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ฟังเสียงจากสมาร์ทโฟน เปิดเสียงดังกว่าปกติ
3.ได้ยินไม่ชัด บางคำหายไป ได้ยินเสียงไม่ครบทั้งประโยค
4.มีเสียงดังในหู
5.พูดเสียงดังกว่าปกติ
-การสื่อสารกับผู้สูงวัยที่หูตึง
1.พูดโดยอยู่ด้านหน้า ให้เห็นปากและสีหน้าเวลาพูดคุย
2.พูดประโยคสั้นๆ กระชับ
3.พูดด้วยน้ำเสียงที่ดังชัดเจน แต่อยาตะโกน
-การรักษาอาการหูตึง
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหู หากเพิ่งเริ่มมีอาการ ผู้สูงอายุควรระวังดูแลและไม่ให้เป็นมากขึ้น ด้วยการพบแพทย์สม่ำเสมอ และพยายามควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งไม่ควรซื้อยามาหยอดมากินเอง นอกจากนี้คสรหลีกเลี่ยงเสียงดัง ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ พีกผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้แจ่มใส