xs
xsm
sm
md
lg

JN1 อาละวาดหนักในฤดูฝุ่นของไทย แล้วเราจะเหลืออะไรถ้าไม่ใส่หน้ากาก / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

“โปรปอง...เพื่อนเฮียตอนนี้อยู่โรงพยาบาลแล้วนะครับ” เจ้าเก่งแจ้งข่าวลุงสมปองให้คุณชูสง่าหัวหน้าก๊วนทราบ “อ้าว! เป็นอะไรอ่ะ?” อาทิตย์ก่อนยังรับรางวัลโฮลอินวันอยู่เลย” โควิดครับพี่หมอว่าเป็นสายพันธุ์ JN1ที่กำลังแผลงฤทธิ์อยู่ตอนนี้” “โอ๊ย!อยู่ยากจังมีทั้งฝุ่นแล้วโควิดยังมาจ้องเล่นงานอยู่อีก ทำไงดีหมอ?” “สวมหน้ากากครับเฮีย เราต้องสวมหน้ากากต่อจึงจะอยู่รอดในฤดูฝุ่นนี้”

JN1 แผลงฤทธิ์ เสียชีวิต 11 ราย นอนร.พ.418 ราย ภายใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา (14-20 ม.ค.) ศธ.เตือนกลับมาใส่หน้ากาก

กรมควบคุมโรค รายงานถึงสถานะการระบาดของโควิด19 เมื่อ22 ม.ค.67ว่า การระบาดของโควิด19 มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (14-20 ม.ค.67) พบผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 718 ราย เฉลี่ยวันละ 102 ราย สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่มีรายงานแค่ 93 รายต่อวัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9)

ผู้ป่วยอาการรุนแรงปอดอักเสบ 209 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 149 ราย และเสียชีวิต 11 ราย (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4 ราย) โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคเรื้อรัง (608) ที่ไม่ได้รับวัคซีนถึง 6 ราย (ร้อยละ54) และเป้นกลุ่ม 608 ที่ได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม 5 ราย (ร้อยละ 36) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ป่วยอาการรุนแรงที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนถึง 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 30

ปัจจุบันโควิด19 สายพันธ์ที่กำลังระบาดในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เ)นสายพันธุ์ย่อย JN1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุ่นลูกของโอมิครอน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ลักษณะอาการของผู้ป่วยโควิด19 ที่ติดเชื้อ JN1 มีอาการคล้ายหวัด เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ซึ่งยังไม่พบว่ามีระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์โอมิครอนเดิมในปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนไม่ควรประมาท ควรเน้นการป้องกันตัวด้วยการสวมหน้ากากขณะอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น ขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาลและสถานดูแลผู้สูงอายุ ล้างมือบ่อยๆ หากมีอาการคล้ายหวัดให้ตรวจ ATK และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับกลุ่ม 608

เมื่อตรวจพบผลบวก 2 ขีด ให้สวมหน้ากากป้องกันแพร่เชื้อ และสังเกตอาการ รีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการหอบเหนื่อยหายใจลำบาก

เมื่อ 5 ธ.ค.66 ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก(WHO)แนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีดรคประจำตัวหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด19ในระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิต สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่พบว่าผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตจากโควิด19 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 608 ซึ่งมีประวัติไม่ได้รับวัคซีน หรือยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น เน้นย้ำผู้ป่วยกลุ่ม 608 มีอาการคล้ายหวัด และATKเป็นบวก ให้สวมหน้ากากและไปพบแพทย์เพื่อรักษาพิจารณาจ่ายยาต้านไวรัสโดยเร็ว เพื่อลดอาการป่วยรุนแรง และสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรคโทร.1422
กำลังโหลดความคิดเห็น