xs
xsm
sm
md
lg

กกท.เปิดรับความเห็นปรับแก้พรบ.ควบคุมสารต้องห้าม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นพ.มีชัย อินวู๊ด รองผู้ว่าการ ฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเพื่อการรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ.2555 โดยมี นายแสงชัย ต้นทัพไทย ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา, ผู้แทนสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย, ผู้แทนสมาคมกีฬาจังหวัด และนักกีฬา ร่วมสัมมนา ที่ห้อง Pavilion BCD ชั้น 8 โรงแรมเดอะ แกรนด์ โฟร์วิงส์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

การจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุม การใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการปรับปรุงให้พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาฯ มีความสอดคล้องกับประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Code: WADC) และมาตรฐานสากล รวมทั้งการดำเนินการของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาของประทศไทยให้เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการด้านสารต้องห้ามที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ (operational independence) ตามที่ ประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกกำหนด มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (WADA) ประกาศให้ประเทศไทยเป็นสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด (non-compliance) อันจะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ชื่อเสียง เศรษฐกิจ และการดำเนินการจัดกิจกรรมกีฬาของประเทศ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงผลการศึกษา และร่างพระราชบัญญัติฯ ต่อไป

ทั้งนี้ กฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Code: WADC) กำหนดให้องค์กรต่อต้านสารต้องห้ามแห่งชาติ (NADO) ต้องเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการด้านสารต้องห้ามที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ (operating independence) ตามที่ประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ประเทศไทยเป็นสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด (non-compliance) จากองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (WADA) อันจะทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ชื่อเสียง เศรษฐกิจ และการดำเนินการจัดกิจกรรมกีฬาของประเทศ

สำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาได้ทำความตกลงร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อดำเนินการศึกษาพระราชบัญญัติควบคุการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาฯ ให้สอดคล้องกับการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Code: WADC) และมาตรฐานสากล โดยมีผลการวิเคราะห์เบื้องต้นว่าพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาฯ ยังมีบทบัญญัติบางส่วนที่ยังต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Code: WADC) และมาตรฐานสากล และมีการศึกษาแนวทางการจัดตั้งสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาของต่างประเทศ จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมกับการจัดตั้งและการดำเนินงานของประเทศไทย


กำลังโหลดความคิดเห็น