xs
xsm
sm
md
lg

ผจก.กองทุนฯ กีฬา แจงปมถูกร้องเรียน ยันไม่มีส่วนได้เสียจ่อฟ้องกลับสื่อฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ พร้อมด้วยนายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวชี้แจงกรณีที่ถูกเขียนบัตรสนเท่ห์ร้องเรียนว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รวม 11 ข้อหา ที่สำนักงานกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ อาคารเฉลิมพระเกียรติ การกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (9 มี.ค.66)

โดยทนายอนันต์ชัย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 มีผู้ร้องทุกข์ยื่นบัตรสนเท่ห์ ไม่ระบุชื่อ ต่อนายก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) โดยกล่าวหาว่า ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานอันมิชอบของ ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวม 11 ข้อหา ซึ่งทาง กกท. ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไว้ในวันที่ 7 ธันวาคม 2565 และบัตรสนเท่ห์ดังกล่าวก็มีสื่อมวลชนหลายสำนักนำไปเผยแพร่ จนทำให้เกิดการเข้าใจผิดและเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งเรื่องดังกล่าว กกท.ต้องรับผิดชอบ พร้อมทั้งเตรียมเดินหน้าดำเนินคดีกับทาง กกท.ด้วย

ซึ่งจากกรณีดังกล่าว ตามกฎระเบียบการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนฯ ซึ่งถูกว่าจ้างโดยกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ เพราะฉะนั้น ดร.สุปราณี เป็นลูกจ้างของกองทุนฯ ไม่ใช่ลูกจ้างของ กกท. ซึ่งไม่มีอำนาจในการอนุมัติเงิน
ส่วนเงินจากกองทุนฯ จะถูกส่งต่อไปยังกองคลังของ กกท. โดยมีผู้ว่า กกท. เป็นผู้จ่าย

ดังนั้น ดร.สุปราณี ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในเงินดังกล่าว ส่วนอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนฯ นั้น คือมีหน้าที่แนะนำ และอำนวยความสะดวกในการเบิกจ่ายเงินจากกองทุนฯ เท่านั้น

สำหรับเบื้องหลังการทำบัตรสนเท่ห์ ใส่ความให้ ดร.สุปราณีนั้น มีมูลเหตุจากการที่เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่ชอบมาพากล ความไม่โปร่งใสใน กกท. หลายประการ คือ

1.ปัญหานักกีฬาบางสมาคมฯ ไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงนักกีฬา , หักค่าหัวคิว และใส่ชื่อนักกีฬาผี

2.ปัญหาเรื่อง กกท.ให้สมาคมกีฬาต่างๆกู้ยืมเงินกองทุน ตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2564 หลายร้อยล้านบาท ปัจจุบันมีหนี้คงค้างอยู่ประมาน 400 ล้านบาทแต่มีหลักฐานเพียงกระดาษแผ่นเดียว

3.เรื่องเงินรางวัลนักกีฬา มีความซับซ้อน ทำให้ คณะอนุกรรมการพิจารณาแตกต่างจากที่สมาคมคาดการณ์ไว้ ทำให้เกิดความไม่พอใจเกิดขึ้น

4.มีขบวนการเตะตัดขา นางสาวสุปราณี หรือไม่ เพราะสัญญาจ้างจะสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567

ส่วนเรื่องของสมาคมสหพันธ์มวยไทยนานาชาติ หรือ IFMA ที่มีการพูดถึงใน “บัตรสนเท่ห์” ว่ามีการให้เงินกว่า 393 ล้านบาท แก่IFMA ซึ่งไม่เป็นความจริง และผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ก็ได้ยืนยันในบอร์ดกองทุนแล้วว่า ไม่มีการให้เงิน IFMA แต่อย่างใด


กำลังโหลดความคิดเห็น