เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง "สเต็มเซลล์" แต่ส่วนใหญ่มองข้ามไป เพราะมองว่าไกลตัว อาจจะไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงคิดว่าตนเองคงเข้าไม่ถึงหรือสุดท้ายคงอาจไม่เข้าใจและไม่ได้รับข้อมูลมากเพียงพอ เนื่องจากหากเราทราบประโยชน์ก็จะเห็นความสำคัญของสิ่งนี้อย่างแท้จริง
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าร่างกายของคนเรามีสเต็มเซลล์ซ่อนอยู่ในทุกอวัยวะเริ่มตั้งแต่ชีวิตก่อกำเนิดจากเซลล์แรก เป็นเซลล์ตัวอ่อนและเจริญเติบโตเป็นอวัยวะต่างๆ เป็นร่างกายที่สมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งระหว่างที่เราเจริญเติบโตหรือมีอายุมากขึ้นก็จะมีสเต็มเซลล์ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญที่สุดคือสเต็มเซลล์ทำหน้าที่ฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ ยิ่งถ้าเป็นในแง่ของนักกีฬายิ่งมีประโยชน์มาก สามารถยืดระยะเวลาการใช้งานร่างกาย รวมถึงทำให้ส่วนที่บาดเจ็บนั้นหายเร็วขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นจะดีแค่ไหนถ้ามีการจัดเก็บเต็มเซลล์ไว้สำหรับใช้บำบัดรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพความเสื่อมของร่างกายสำหรับตนเองรวมถึงคนในครอบครัว เมื่อถึงเวลาจำเป็นก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที นอกจากนี้เรื่องค่าใช้จ่ายที่ใครๆ กังวล ทุกวันนี้มีระบบผ่อนจ่ายที่ช่วยให้เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
- เก็บสเต็มเซลล์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
“สเต็มเซลล์” หรือ “เซลล์ต้นกำเนิด” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นว่า มีบทบาทในทางบำบัดรักษาโรคให้กับผู้เป็นเจ้าของและบุคคลในครอบครัว แบ่งได้เป็น สเต็มเซลล์ ที่เก็บเกี่ยวได้จากตัวอ่อน (Embryonic stem cell) และสเต็มเซลล์ชนิดโตเต็มวัย (Adult stem cell) ได้จากมนุษย์ที่เติบโตแล้ว เซลล์จากตัวอ่อนยังเป็นสิ่งต้องห้ามในทางศีลธรรม เพราะการสกัดสเต็มเซลล์ จำเป็นต้องทำลายตัวอ่อน ในขณะที่เซลล์ชนิดโตเต็มวัยที่ได้จากตัวผู้รักษาเองไม่มีการทำลายชีวิตตัวอ่อน จึงเป็นที่ยอมรับมากกว่า เช่น สเต็มเซลล์เก็บจากเลือดในสายสะดือ เนื้อเยื่อสายสะดือและเยื่อหุ้มรก
สเต็มเซลล์ จึงถูกมองว่า มีบทบาทความสำคัญยิ่งสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนในครอบครัว โดยสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ เนื้อเยื่อสายสะดือและเยื่อหุ้มรกสามารถจัดเก็บได้ตอนแม่คลอด ไม่เจ็บปวด อีกทั้งจัดเป็นเซลล์ที่มี HLA ตรงกับทารก 100% ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่า สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือสามารถรักษาได้มากกว่า 85 โรค ทั้งแก่ลูกน้อยและพี่น้องร่วมสายโลหิตที่มีเนื้อเยื่อตรงกัน เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไขกระดูก มะเร็งในเด็กบางชนิด และโรคที่ไม่ใช่มะเร็งอย่าง โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคเม็ดตาบอลิซึมที่เป็นมาแต่กำเนิด เป็นต้น
นอกจากนี้สเต็มเซลล์ชนิดที่เรียกว่า “มีเซนไคมอลสเต็มเซลล์” (Mesenchymal Stem Cells) หรือ “เอ็มเอสซี” (MSC’s) ที่ได้จากเนื้อเยื่อสายสะดือหรือเยื่อหุ้มรกยังมีศักยภาพสูงในการแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็นเซลล์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น เซลล์ไขมัน กระดูกอ่อน กระดูก จึงมีประโยชน์ในการนำมาใช้รักษาฟื้นฟูสภาวะเสื่อมในผู้ใหญ่ โดยมีการศึกษาพบว่า สามารถใช้ฟื้นฟูโรคได้หลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคข้อเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคสมองพิการ โรคออสทิสติก โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือฉีกขาด โรคไตอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) และอีกกว่า 45 รายงานการวิจัยจาก 597 การศึกษาวิจัยทั่วโลก ที่พบว่ามีการรักษาโควิด-19 ด้วยสเต็มเซลล์อีกด้วย
จากคุณประโยชน์ของสเต็มเซลล์ ที่เป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรค ทำให้สังคมโลกตื่นตัวเรื่องการเก็บสเต็มเซลล์ไว้สำหรับอนาคตและกลายเป็นที่มาของ “ธนาคารสเต็มเซลล์” เกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก และมีครอบครัวจำนวน ไม่น้อย ยอมจ่ายค่าบริการจัดเก็บรักษา เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของครอบครัวในอนาคต
- ธนาคารสเต็มเซลล์คืออะไร
ในปัจจุบันมีหน่วยงานทำหน้าที่เสมือน “ธนาคาร” แต่แตกต่างกันตรงที่ไม่ได้รับฝากเงิน ทว่ารับจัดเก็บเซลล์ของมนุษย์แทน หรือที่เรียกว่า “ธนาคารสเต็มเซลล์” ซึ่งให้บริการจัดเก็บรักษาสเต็มเซลล์ไว้ ใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว หรือแม้แต่การบริจาคแก่บุคคลอื่นนำไปใช้รักษาโรคที่ทางการแพทย์ยอมรับว่าสเต็มเซลล์สามารถรักษาได้ และ “ไครโอวิวา” ก็เป็นหนึ่งในธนาคารจัดเก็บสเต็มเซลล์และผู้นำนวัตกรรมสเต็มเซลล์สำหรับใช้ในครอบครัวในประเทศไทย มาตรฐานระดับสากลที่ได้รับความไว้วางใจ
สำหรับในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ "ธนาคารสเต็มเซลล์” หลายแห่งเช่นกัน ทั้งที่เป็นบริษัทของเอกชนและหน่วยงานของภาครัฐ โดยในส่วนธนาคารสเต็มเซลล์ของภาครัฐนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้รับมอบหมายจากแพทยสภา ประกาศเป็นข้อบังคับว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545 เกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ในราชกิจจานุเบกษากำหนด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ให้ทำหน้าที่จัดหาอาสาสมัครผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหรือสเต็มเซลล์ ที่ไม่ใช่ญาติให้แก่ผู้ป่วย โดยจัดตั้ง “ธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ” เพื่อเป็นศูนย์กลางทะเบียน ตั้งแต่ปี 2545 โดยมีคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพงานสเต็มเซลล์ ซึ่งเป็นผู้บริหารและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก 5 สถาบันมาร่วมงาน ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และจากหน่วยงานอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ก็เป็นการตั้งของโรงพยาบาลเอง อาทิ ศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช ที่มุ่งสร้างงานวิจัยพื้นฐานพัฒนาสเต็มเซลล์ให้เป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคที่เกิดจากความเสื่อมหรือโรคที่มีความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น
ส่วนธนาคารสเต็มเซลล์ของเอกชน ในประเทศไทยมีอยู่หลายแห่งเช่นกัน และในจำนวนนี้ “บริษัทไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด” คือผู้นำนวัตกรรมสเต็มเซลล์สำหรับใช้ในครอบครัวในประเทศไทย มาตรฐานระดับสากล “บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด” ถือเป็นผู้นำทางด้านธนาคารสเต็มเซลล์มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้วยรางวัลการันตีความสำเร็จมากมาย ด้วยการสร้างมาตรฐานที่แตกต่าง จนได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการมายาวนาน กับความสำเร็จที่พร้อมอยู่เคียงข้างทุกคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว หวังเจาะตลาดกลุ่มลูกค้า “Personal Life” ทุกเพศทุกวัยและทุกไลฟ์สไตล์ ที่สนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพระดับสูง
- ความเชื่อมั่นในการเก็บสเต็มเซลล์กับไครโอวิวา
จิรัญญา ประชาเสรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัดและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่าเหตุใดไครโอวิวาฯถึงได้รับการไว้วางใจจากทุกครอบครัวมาเป็นเวลากว่า 14 ปี “ก่อนอื่นต้องขอบคุณความไว้วางใจจากลูกค้าที่มั่นใจในการบริการของเรา และทีมงานที่ทำงานกันอย่างขยันขันแข็งจนในปัจจุบันถ้าพูดถึงไครโอวิวาฯ ในแต่ละสาขาทั่วโลกวันนี้เรามีเก็บสเต็มเซลล์ไว้มากกว่า 1,000,000 ยูนิต และอยู่ใน TOP 10 ของโลก โดยมีการพัฒนาและขยายเครือข่ายที่แข็งแกร่งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเอเชีย ตะวันออกกลาง หรือ ออสเตรเลียก็ไว้ใจให้เราเก็บสเต็มเซลล์ อย่างตอนนี้ดิฉันได้รับมอบหมายให้ไปบริหารที่สาขาสิงคโปร์ ร่วมถึงโซนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มอีกด้วย
ทั้งนี้ทุกบริการของไครโอวิวาฯประเทศไทยจะวางแผน 3-5 ปี เพื่อทำการศึกษาและทดลองจนมั่นใจที่จะให้บริการนั้นแก่ลูกค้า ทำให้ล่าสุดเราได้เปิดตัวนิยามใหม่ “Your Life is Your Choice” เจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่สนใจในการดูแลสุขภาพ ก่อนหน้านี้เราโฟกัสกลุ่มคุณแม่และครอบครัวเป็นหลัก แต่วันนี้ต้องการให้ทุกคน ทุกเพศมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงศึกษาวิธีการใหม่ ทำให้พบนวัตกรรมที่นำ ”ไขมัน” มาเป็นประโยชน์เพื่อใช้เติมเต็มในส่วนที่เราบกพร่องได้ และยังสามารถนำไปเพาะเลี้ยงให้เป็นสเต็มเซลล์ของตนเองเพื่อใช้ในศาสตร์ชะลอวัย
- สเต็มเซลล์กับไวรัสโควิด-19
“ดร.นพ. ศุภชัย เอกวัฒนกิจ” โลหิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์และโลหิตวิทยา ผู้อำนวยการแพทย์ พร้อมด้วย “กมลรัตน์ ศรีถวิล” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้เราได้รับเชิญไปร่วมสนทนาเพื่ออัพเดตถึงบทบาทของสเต็มเซลล์ในปัจจุบัน รวมถึงความสามารถของสเต็มเซลล์กับการรักษาฟื้นฟูร่างกายจากโรคโควิด-19 ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวในขณะนี้
ด้าน กมลรัตน์ ศรีถวิล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในการเก็บสเต็มเซลล์ หากเรากลัวเจ็บ เราก็สามารถเก็บได้ตั้งแต่แรกคลอด ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ในการวางแผนให้ โดยจะเก็บจากเลือดสายสะดือ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มี HLA ตรงกับทารก 100% และสามารถให้พี่น้องใช้ได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการเก็บเนื้อเยื่อเป็นเส้นสายสะดือรวมถึงเนื้อเยื่อหุ้มรกด้วย ซึ่งนำมาใช้ในเรื่องของการฟื้นฟูได้ดี สามารถให้คุณพ่อคุณแม่ ปูย่า ตายาย ที่เป็นญาติสายตรงใช้ได้ แต่ใน14ปีที่ผ่านมามีวิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้น โดยผู้ใหญ่ยังสามารถเก็บสเต็มเซลล์ของตัวเองได้จากไขมัน แต่สเต็มเซลล์ที่ได้จากวัยผู้ใหญ่จะมีอายุมากกว่า เมื่อเทียบกับสเต็มเซลล์ของทารก ดังนั้น ณ เวลานี้ กล่าวได้ว่า ทุกคนสามารถใช้สเต็มเซลล์ของตัวเองเพื่อใช้ในการรักษาโรคโคหรือฟื้นฟูภาวะเสื่อม ได้ ครอบครัวในส่วน ผู้ที่เก็บสเต็มเซลล์ไว้จึงโชคดีที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ยามที่ต้องการ อย่างไรก็ดีสเต็มเซลล์ที่เก็บรักษาไว้โดยวิธีการแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว จะไม่มีการหมดอายุ
สำหรับท่ามกลางการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน สเต็มเซลล์ได้มีบทบาทในการช่วยเสริมการรักษาโรคติดเชื้่อโควิด-19 ด้วยเช่นกัน โดย ดร.นพ. ศุภชัย กล่าวว่า สเต็มเซลล์สามารถมาช่วยต่อสู้กับโควิด-19 ได้ โดยมีงานศึกษาวิจัยล่าสุดจากทีมวิจัยในประเทศจีน ซึ่งศึกษาในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมากและรุนแรงน้อย เปรียบเทียบระหว่างการรักษามาตรฐาน และการรักษามาตรฐาน ควบคู่กับการใช้สเต็มเซลล์ ชนิดที่เรียกว่า Mesenchymal Stem Cells (MSCs) พบว่า กลุ่มคนไข้ที่ได้รับการรักษาควบคู่สเต็มเซลล์ MSCs มีผลการรักษาดีขึ้น คนไข้สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น
“การรักษามี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการรักษาจำเพาะที่ใช้ยาเพื่อมุ่งเป้าไปทำลายเชื้อไวรัส ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า มียาที่จำเพาะต่อไวรัสชนิดนี้ ส่วนที่สอง เป็นการรักษาแบบสนับสนุน ซึ่งเป็นการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้คนไข้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน เป็นส่วนที่ทำให้ปอดทำงานไม่ได้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งกลไกตรงนี้เป็นผลจากการตอบสนองของร่างกายที่มากเกินไป และสเต็มเซลล์ MSCs มีคุณสมบัติที่จะไปลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้มากเกินไป”
กมลรัตน์ กล่าวเสริมว่า นอกจากมีการใช้ MSCs มาช่วยลดความรุนแรงของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยในเรื่องการฟื้นฟูด้วย จากที่มีการศึกษาในประเทศอื่นๆ รวมถึงในจีน ทั้งนี้มี รายงานการวิจัยกว่า 45 ชิ้นระบุว่า มี 597 การทดลองทางคลินิกทั่วโลก ที่มีการรักษาโรคโควิด-19 ด้วยวิธี Cell and Gene therapy โดยกลไกในการทำงานของ MSCs ที่ช่วยในการรักษาโรคปอดอักเสบโควิด-19 ได้เช่น สามารถฟื้นฟูเนื้อเยื่อปอด ช่วยป้องกันการทำลายเซลล์เยื่อบุถุงลม ยับยั้งการเกิดพังผืดที่ปอดและรักษาความผิดปกติที่ปอด
ทุกคนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ด้วยสเต็มเซลล์ที่จะช่วยดูแลสุขภาพและช่วยชะลอวัย มาร่วมดูแลสุขภาพและอนาคตของท่านและคนที่เรารักไปด้วยกัน สอบถามข้อมลเพิ่มเติมได้ที่ 02 203 6982 , 094 449 9445 www.facebook.com/cryoviva, www.cryoviva.com