xs
xsm
sm
md
lg

ที่มาการเสก pictograms ให้มีชีวิตในพิธีเปิดโอลิมปิก ภูมิปัญญาการออกแบบอันน่าทึ่งของญี่ปุ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เจ้าของผลงานคือ Masaaki Hiromura
ได้รับคำชื่นชมสุดๆ ในพิธีเปิด สำหรับสัญลักษณ์ pictograms ที่ได้มีการนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1964 ที่ ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิก หรือเมื่อ 57 ปีก่อน วัตถุประสงค์ตอนนั้นก็เพื่อสื่อสารทางสายตาไปยังชาวโลกให้มีความเป็นสากลมากขึ้น

ผลงานปีนี้เป็นของกราฟิกดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่น ที่ชื่อว่า Masaaki Hiromura ความล้ำคือไม่ใช่แค่ pictograms แต่อัปเกรดเป็น kinetic design (ออกแบบเคลื่อนไหว) หรือถอดมุมท่าเคลื่อนไหวของกีฬานั้นๆ ออกมาเป็นแบบ animated pictogram ครั้ง อันหมายถึง pictograms ที่มีชีวิตชีวานั่นเอง

ซึ่งการที่ โตเกียว 2020 นำ pictograms มานำเสนอก็เพื่อให้สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของทัวร์นาเมนต์ที่ว่า "นวัตกรรมจากความสามัคคี" นอกจากนี้ การออกแบบก็เพื่อสื่อให้เห็นถึงความปราดเปรียวของนักกีฬาแต่ละประเภทอย่างละเอียด ตลอดจนถึงการเน้นย้ำเกี่ยวกับพลวัตหรือการเคลื่อนไหวออกมาได้อย่างมีศิลปะ



มี 33 ชนิดกีฬาที่แข่งขันชิงชัยเหรียญทองกันใน โตเกียว เกมส์ 2020 และกีฬาบางประเภทใช้สัญลักษณ์มากกว่า 1 รูป มี 2 เซต 50 ดีไซน์ คือ แบบฟรี และ แบบเฟรม ส่วนสีต่างๆ เน้นสีน้ำเงินเป็นหลักเหมือนสัญลักษณ์ โอลิมปิก หนนี้ที่ญี่ปุ่นออกแบบขึ้น และสีดั้งเดิมอีก 5 สีคือ kurenai, ai, sakura, fuji และ matsuba เป็นสีย่อยเพื่อสร้างจุดแตกต่าง

รูปสัญลักษณ์ที่ไม่มีเฟรมเป็นแบบฟรีจะใช้กับโปสเตอร์ ตั๋ว และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตแล้ว ส่วนสัญลักษณ์แบบมีเฟรมจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพิ่มเติมบนพวกแผนที่ ป้ายสถานที่แข่งขัน หนังสือคู่มือ และบนเว็บไซต์ เป็นต้น

pictograms โตเกียว 2020

แบบฟรีกับแบบมีเฟรม

ธีมสีที่นำมาใช้

pictograms มีชีวิตในพิธีเปิด
กำลังโหลดความคิดเห็น