xs
xsm
sm
md
lg

เสพข่าวเรื่องวัคซีนมากเกินไป เลยลังเลใจ ‘..ฉีด..ไม่ฉีด’ / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

‘..สับสน สับสน..’ บ่นอะไรครับเฮีย พี่หมองงที่คุณชูสง่าหัวหน้าก๊วน เอาแต่ย้ำ คำว่าสับสน ‘ก็เรื่องวัคซีนนั่นนะ..เดี๋ยวคนนี้พูดอย่างนั้น คนนั้นพูดอย่างนี้ จนงงไปหมด’ ‘ใช่พี่หมอเก่งก็งง’ ‘เข้าใจๆ พี่หมอ เห็นด้วย ที่ใครๆ ก็พากันงง เพราะเสพข่าวเรื่องวัคซีนมากเกินไป เตะอย่างนี้นะ’ พี่หมอตัดบท พวกเราไม่ต้องไปฟังอะไรมาก เดี๋ยวผมจะสรุปเรื่องที่คุมเครือให้แค่ 4 เรื่องจบเลย

4 ประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ ขณะทีหลายประเทศ พยายามเร่งจัดซื้อและฉีดวัคซีนให้ประชาชน แต่ยังคงมีอีกหลายคำถามที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน

1.วัคซีนให้ภูมิคุ้มกัน นานแค่ไหน

คำถามที่สำคัญที่สุดคำถามหนึ่ง คือเราจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ไปอีกนานเท่าไหร่หลังจากที่เคยติดโควิด-19 หรือหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ เพราะเราเพิ่งเริ่มฉีดวัคซีน ผมอาจจะแตกต่างกันไป ตามคนไข้และชนิดของวัคซีน แต่นาจะอยู่ที่ราว 6-12 เดือน ดร.จูเลียน ทัง นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัย
เลสเตอร์บอกกับเรา แต่ ดร.บอนดรูว์ แบดลีย์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์โมเลกุล จากเปโยคลินิกในสหรัฐ เชื่อว่า วัคซีน และภูมิคุ้มกัน จะทำงานในร่างกายคนเราไปได้หลายปี

2.ติดโควิดอีกไหท หลังฉีดวัคซีน

เป็นไปได้จากหลายเหตุผลด้วยกัน เหตุผลแรก คือ การป้องกันเชื่อจะยังไม่เริ่มทันทีต้องรอ หลังฉีดวัคซีนไปแล้ว 2-3 สัปดาห์ และยังขึ้นอยู่กับ ประเภทของวัคซีน

ดร. แบดลีย์ บอกว่าข้อมูลที่มีอยู่ชี้ให้เห็นว่า บางคนยังติดเชื้อได้อยู่ แต่จะมีไวรัสในตัวน้อยกว่า ทำให้มีอาการป่วยน้อยกว่าคนที่ยังไม่ติดเชื้อ หรือยังไม่ได้รับวัคซีน และเขายังเสริมอีกว่า เขาเชื่อว่า คนที่ได้รับวัคซีนแล้วจะมีโอกาสนำเชื้อไปแพร่ระบาดน้อยกว่าเดิม ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วัคซันสามารถช่วยคนจำนวนมากได้อยางมีประสิทธิภาพ

3.วัคซีนสามารถจัดการกับไวรัสกลายพันธุ์ด้ไหม.

นี่เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต่างกังวล และไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา และบางครั้งก็กลายพันธุ์จนสามารถต้านทานวัคซีนได้และขณะนี้ ไวรัสที่กลายพันธุ์ซึ่งพบในสหราชอาณาจักร และแอฟริกาใต้ ได้กลายพันธุ์ไปในหลายประเทศแล้ว แต่อย่างไรก็ดี บริษัทที่ผลิตวัคซีนนทั้งหลายตางออกมาบอกว่าวัคซีนของบริษัทใช้ได้ผลกับไวรัสกลายพันธุ์เหล่านั้นเช่นกัน ด้าน ดร.แบดลีย์ บอกว่าแม้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพ แต่มันก็ไม่ใช่วาจะได้ผล100% แม้แต่กับไวรัสทียังไม่ได้กลายพันธุ์ดังนั้น แพทย์จะต้องคอยสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไปว่าจะได้ผลกับไวรัสที่กลายพันธุ์หรือไม่

4.ต้องให้วัคซีนดีโคส และเว้นระยะนานเทาไหร่

วัคซีนของไฟเซอร์โมเดอร์นและแอสตร้าเซนเนก้า ต่างก็ต้องให้คนไข้แยกเป็น 2 โคส โดยเว้นระยะไปราว 3-4 สัปดาห์ แต่ปลายปีที่แล้วรัฐบาลสหราชอาณาจักร ตัดสินใจเปลี่ยนยุทธศาสตร์ไปให้วัคซีนคนให้ได้มากที่สุดก่อน และจะให้โค้ส 2อาจถึง 3เดือนให้หลัง แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้ควบระยะเวลาที่ได้ทดลองมาแล้วมากกว่า ผลการอนามัยโลกออกมาแนะนำว่า ควรให้โคสที่ 2 หลังผ่านไปแล้ว 21-20 วันแต่ยาวเว้นระยะออกไปมากทีสุได้ถึง 6 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
กำลังโหลดความคิดเห็น