xs
xsm
sm
md
lg

อายุยืน...ต้องหมื่นก้าว...จริงหรือ? / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

“ตกลงที่เค้าให้เดินวันละ 10,000 ก้าวนี่...ใครเป็นคนกำหนดนะครับพี่หมอ” เจ้าเด็กอ้วนเกิดความสงสัยขึ้นมา “เออ..นั่นสิหมอ เฮียก็สงสัยเหมือนกัน” คุณชูสง่าก็อยากรู้เรื่องนี้

“เค้าเล่าว่า มาจากกลุ่มผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ประมาณปี คศ.1960 มีการวางขายเครื่องนับจำนวนก้าว ที่สมัยนั้นชื่อว่า “manpo-kei” ซึ่งแปลว่า “หนึ่งหมื่นก้าว” และเค้ามีสโลแกนทางการตลาดที่ว่า “หนึ่งหมื่นก้าวเพื่อสุขภาพ” พี่หมอบรรยายให้ฟัง “อ๋อ..มันเป็นตัวเลขกลมๆ...10,000 ก้าวก็ประมาณ 8 กิโลเมตร พอๆกับที่พวกเราเดินออกรอบพอดีใช่ไหมครับพี่หมอ” “เออ...เก่งนี่หว่าไอ้เก่ง”

-อยากมีสุขภาพดี อายุยืนยาว ต้องเดินวันละกี่ก้าว?

จากการสอบถามกลุ่มคนที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ในการตั้งเป้าหมายการเดิน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี โดยส่วนใหญ่จะตั้งเป้าหมายการเดินประจำวันไว้ที่วันละ 10,000 ก้าวหรือราว 8 กิโลเมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่ตั้งกันเองโดยประมาณ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความเข้มข้นของการเดินหรือความเร็วในการเดินนั่นเองว่ามีความสำคัญต่อการนับประโยชน์ของทุกย่างก้าวหรือไม่? และการเดิน 10,000ก้าว ก็อาจไม่ใช่เป้าหมายที่ถูกต้องสำหรับทุกๆคนเสมอไป

นักวิจัยได้ติดตามดูผู้หญิงกลุ่มสูงอายุวัย 70 ต้นๆ จำนวน 17,000 คน โดยการให้สวมใส่อุปกรณ์วัดความเร็วเป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน อุปกรณ์ดังกล่าวใช้ในการวัดจำนวนก้าวตลอดจนความเข้มข้นหรือความเร็วของการก้าวเดินด้วย หลังจากนั้นประมาณ 4ปี 3 เดือน นักวิจัยได้ติดตามผลของการศึกษาจากผู้หญิงกลุ่มนี้ พบว่า เสียชีวิตไป 504 คน และเมื่อพิจารณาลึกลงไป พบว่า ผู้ที่เดินวันละไม่เกิน 2,718 ก้าว ราว 41%

คณะแพทย์ผู้วิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Harvard กล่าวว่า การเดินเป็นประจำแม้เพียงแต่ในระดับพอประมาณ ก็ช่วยให้อัตราการเสียชีวิตต่ำลงได้ การศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่เดินวันละหลายพันก้าว ไปจนถึงวันละ 7,500 ก้าวต่อวัน และยังพบด้วยว่า ความเข้มข้นของการเดินของกลุ่มสตรีสูงวัยนี้ ไม่สำคัญเท่ากับจำนวนก้าวที่เดินในการที่จะช่วยให้มีอายุยืนยาว

อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังมีชื่อจำกัด ในส่วนที่นักวิจัยวัดการเคบื่อนไหวของกลุ่มตัวอย่างเพียงครั้งเดียวในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

Keith Diaz นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Columbia ในนครนิวยอร์ค ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษานี้กล่าวว่า ผลการศึกษานี้เป็นข่าวดีสำหรับคนสูงวัยที่มีปัญหาในการเดินเร็ว การเดินไม่ว่าจะในรูปแบบไหนก็ตามยังดีกว่าไม่เดินเลย เพราะผลการวิจัยพบว่า แม้ว่าจะเดินเพียงเล็กน้อยก็ช่วยให้อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างรวดเร็ว สำหรับผู้ทีมีปัญหาในการเดินกิจกรรมแอโรบิกทุกรูปแบบหรืออื่นๆ เช่น การว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หมุนแขน เมื่อทำอย่างต่อเนื่อง ก็ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยเช่นเดียวกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น