xs
xsm
sm
md
lg

รองช้ำ...ก็แค่ปวดรวดร้าว ตั้งแต่ก้าวแรกของวัน / พลตรีนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลตรีนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

‘พี่หมอครับ...ผมทายว่าวันนี้ เฮียต้องได้เบอร์ดี้แน่นอน’ เด็กอ้วนพูดด้วยความมั่นใจ

‘รู้ได้ไงวะ?...เก่ง’ พี่หมองง

‘ก็ผมสังเกตมาหลายครั้งแล้ว...วันไหนเฮียเดินกะเผลกละก็...สกอร์ดีทุกที’

‘แกเป็น ‘เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ’ น่ะ...วันนี้แกขอใช้รถ...อาจเป็นได้ ไม่ต้องเดินให้เหนื่อย เลยแรงดี’

‘อันเดียวกับ ‘รองช้ำ’ ไหมครับ?’

‘เออใช่ ชาวบ้านเรียกรองช้ำ’

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หมายถึง เอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกระดูกนิ้ว เกิดการอักเสบทำให้ปวดฝ่าเท้า ขณะก้าวเท้าลงพื้น เมื่อตื่นลุกขึ้นตอนเช้า แต่หลังจากเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น เอ็นฝ่าเท้าดังกล่าว มีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่สำหรับลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และทำหน้าที่ให้แรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง

ในขณะที่เดินหรือวิ่ง บริเวณของเอ็นฝ่าเท้า (Plantar fascia) ที่ได้รับแรงดึงมากที่สุด คือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้านั้น ซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรัง ก็จะเกิดกระดูกงอก (Bone Spur) ขึ้น เห็นในเอกซเรย์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
- ผู้หญิง - น้ำหนักเกิน - ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็ง
- ออกกำลังกาย วิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
- ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป - ท่าการเดินผิดไป คือเดินแบบเป็ด
- การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

การรักษา
- เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนัก จนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
- ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
- การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเทhา เช่น ฝ่าเท้าแบบราบหรือโค้งเกินไป
- ใช้ขวดใส่น้ำแช่จนแข็งประคบครั้งละ 20 นาที วันละ 3 ครั้ง เพื่อลดอาการอักเสบ
- แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น Ibuprofen เพื่อลดการอักเสบ
- การให้ฉีดยา Steroid จะสงวนไว้ในรายที่ติดต่อการรักษาเบื้องต้น เพราะ จะทำให้เกิดภาวะอ่อนแอของเอ็น ซึ่งอาจทำให้เอ็นเปื่อยขาด
- ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันกระแทก โดยแผ่นดังกล่าว จะหนาด้านในละบางส่วนด้านนอก
- การทำกายภาพบำบัดด้วยตนเอง โดยการยืดกล้ามเนื้อน่อง และเอ็นฝ่าเท้า หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดผลร้ายจากลักษณะการเดินที่ผิดไปจากการเจ็บส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อต่อของเข่าและสะโพกของขาช่วงนั้น และเกิดอาการปวดบั้นเอวด้วย

* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น