เจน ปิยะทัต ขาใหญ่แห่งทีมแกรนนูลาร์ ออกมาแฉซ้ำ เผยถึงขั้นตอนและวิธีตรวจโด๊ป ถามทำไมไม่ดูแล อัดยับบางคนเป็นแค่กาฝากเชิดชูตัวเองจนไม่สนใจอนาคตนักกีฬา ภาวนา “เมย์” รัชนก อินทนนท์ รอดวิบากกรรม
จากการออกมาระบุว่า รัชนก อินทนนท์ นักกีฬาแบดมินตันมือ 4 ของโลก อาจจะไม่ผ่านการตรวจสารกระตุ้น และอาจอดลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่ประเทศบราซิล ที่จะเริ่มแข่งขันวันที่ 5 สิงหาคมนี้ รวมทั้งยังอาจต้องรับโทษแบนระหว่าง 2 - 4 ปี หากว่ามีความผิดจริง
ซึ่งทางสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ระบุว่า ยังคงรอผลการแจ้งอย่างเป็นทางการจากสหพันธ์แบดมินตันโลก และจะไม่ขอให้ข้อมูลใด ซึ่งอาจทำให้ตัว “เมย์” รัชนก ได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลใด ๆ ผ่านสื่ออาจส่งผลกระทบต่อนักกีฬาอีก 6 คน ของสมาคมที่ได้สิทธิ์ไปโอลิมปิกครั้งนี้ด้วย โดยมีการคาดกันว่าผลการตรวจตัวอย่าง บี ที่ประเทศญี่ปุ่น น่าจะออกมาในวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคมนี้
ขณะที่ก่อนหน้านี้ เจน ปิยะทัต ที่ปรึกษาทีมแบดมินตัน แกรนนูลาร์ และอดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ออกมาตำหนิการทำหน้าที่ของสมาคมว่ามีความบกพร่องในเรื่องการดูแลอดีตมือ 1 โลก จากสโมสรบ้านทองหยอด
ล่าสุด ขาใหญ่จอมลุยรายเดิมออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ส่วนตัว ระบุถึงช่วงเวลา รวมถึงขั้นตอนการตรวจหาสารกระตุ้นของ รัชนก ว่า ควรต้องได้รับการดูแลจากสมาคมด้วยวิธีการที่ดีกว่านี้ว่า
กระแสข่าวของรัชนก อินทนนท์ ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของคนไทยทั้งประเทศในขณะนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าข้อเท็จจริงคืออะไร น้องเมย์ตรวจ Doping รายการไหนกันแน่ แพทย์ไทยที่ฉีดยาให้คือใคร ทำไมก่อนทำการตรวจไม่มีทีมแพทย์ช่วยดูแลหรือเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ทางผู้ตรวจ ทีมบริหารชุดปัจจุบันของสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ทำงานบกพร่องไม่มีความเป็นมืออาชีพหรือไม่ เรามาลองลำดับเหตุการณ์ครั้งนี้กัน
เริ่มจากการที่น้องเมย์มีอาการบาดเจ็บรบกวนหลังจากที่แข่งขันติดต่อกันมานาน จากนั้นก็ได้ไปทำการแข่งขันในรายการ Badminton Team Asia Championships 2016 ณ เมือง Hyderabad ประเทศอินเดีย ซึ่งน้องเมย์ได้ร่วมทีมไปแข่งขันในฐานะตัวแทนทีมชาติไทย อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฯ และในการแข่งขันครั้งนี้ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 จากนั้นน้องเมย์ก็ได้พักรักษาตัว เมื่ออาการบาดเจ็บลดลงก็ได้ทำการฝึกซ้อมจนทำให้ได้แชมป์รายการซุปเปอร์ซีรีย์ 3 รายการติดต่อกัน เป็นนักแบดมินตันหญิงคนแรกของโลกที่สามารถทำได้จนทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นมืออันดับ 1 ของโลกคนแรกของประเทศไทย
แต่เนื่องจากอาการบาดเจ็บก็ยังคงรบกวนอยู่จึงทำการรักษาอาการบาดเจ็บโดยการฉีดยา ซึ่งเป็นยาที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากยาตัวนี้มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จากนั้นก็ได้เดินทางไปแข่งขันรายการ Thomas & Uber Cup ณ ประเทศจีน โดยการเดินทางไปครั้งนี้ทางสมาคมฯ เป็นผู้ดูแล และได้มีการตรวจ Doping กับนักกีฬาทุกคนทั้งหญิงและชายที่เข้าร่วมการแข่งขัน เจ้าหน้าที่ของทางสมาคมฯ ต้องทำการสอบถามนักกีฬาว่าได้ไปทำการรักษาหรือพบแพทย์เพื่อทานยาหรือฉีดยาอะไรหรือไม่
หลังจากนั้น ก็จะนำรายละเอียดที่ได้สอบถามมากรอกแบบฟอร์มซึ่งมีชื่อว่า “Therapeutic Use Exemption” (TUE) Form สำหรับแจ้งรายละเอียดของยาที่เข้าร่างกายเพื่อการรักษาก่อนการตรวจ Doping แต่เหตุใดจึงเกิดการผิดพลาดในการกรอกเอกสาร และหรือไม่มีการสอบถามนักกีฬาหรือเตรียมการให้ดีก่อนที่จะดำเนินการเรื่องใด ๆ ต่อไป จากเหตุนี้เมื่อผลของการตรวจ Doping ถ้าออกมาชัดเจนว่ายาที่น้องเมย์ฉีดเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บนั้นมีตัวยาที่ผิดกฎขององค์การต่อต้านสารกระตุ้นโลก (World Anti Doping Association) หรือ WADA ทำไมทีมงานของทางสมาคมฯ จึงผิดพลาดเรื่องสำคัญแบบนี้ไปได้ เกิดจากการทำงานที่ไม่เป็นมืออาชีพหรืออย่างไร
ในตอนนี้คงทำได้เพียงแค่รอฟังประกาศจากทาง BWF เท่านั้น ถ้าเป็นจริงชาวไทยทั่วทั้งประเทศคงรู้สึกผิดหวังกับการทำงานที่แสนบกพร่องที่ดับดาวดวงนี้ไม่ให้เจิดจรัสในวงการแบดมินตันไทย และวงการแบดมินตันโลก เกิดจากการขาดความเอาใจใส่ของคนกลุ่มหนึ่งที่คอยแต่จะหวังสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองโดยการเป็นกาฝาก หาน้ำเลี้ยงหล่อเลี้ยงให้ตัวเองเติบโต เชิดชูตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของเด็กคนหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยน้ำอดน้ำทน ฟูมฟักมาเป็นสิบ ๆ ปี และยังดับฝันที่แสนหวานของชาวไทยทั้งประเทศ
สุดท้ายนี้หวังว่าน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ จะรอดพ้นจากการตรวจ Doping และกลับมาทำหน้าที่ให้คนไทยทุก ๆ คนมีความสุขต่อไป มาร่วมส่งกำลังใจให้น้องเมย์กันด้วยนะครับ
จากการออกมาระบุว่า รัชนก อินทนนท์ นักกีฬาแบดมินตันมือ 4 ของโลก อาจจะไม่ผ่านการตรวจสารกระตุ้น และอาจอดลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่ประเทศบราซิล ที่จะเริ่มแข่งขันวันที่ 5 สิงหาคมนี้ รวมทั้งยังอาจต้องรับโทษแบนระหว่าง 2 - 4 ปี หากว่ามีความผิดจริง
ซึ่งทางสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ระบุว่า ยังคงรอผลการแจ้งอย่างเป็นทางการจากสหพันธ์แบดมินตันโลก และจะไม่ขอให้ข้อมูลใด ซึ่งอาจทำให้ตัว “เมย์” รัชนก ได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลใด ๆ ผ่านสื่ออาจส่งผลกระทบต่อนักกีฬาอีก 6 คน ของสมาคมที่ได้สิทธิ์ไปโอลิมปิกครั้งนี้ด้วย โดยมีการคาดกันว่าผลการตรวจตัวอย่าง บี ที่ประเทศญี่ปุ่น น่าจะออกมาในวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคมนี้
ขณะที่ก่อนหน้านี้ เจน ปิยะทัต ที่ปรึกษาทีมแบดมินตัน แกรนนูลาร์ และอดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ออกมาตำหนิการทำหน้าที่ของสมาคมว่ามีความบกพร่องในเรื่องการดูแลอดีตมือ 1 โลก จากสโมสรบ้านทองหยอด
ล่าสุด ขาใหญ่จอมลุยรายเดิมออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ส่วนตัว ระบุถึงช่วงเวลา รวมถึงขั้นตอนการตรวจหาสารกระตุ้นของ รัชนก ว่า ควรต้องได้รับการดูแลจากสมาคมด้วยวิธีการที่ดีกว่านี้ว่า
กระแสข่าวของรัชนก อินทนนท์ ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของคนไทยทั้งประเทศในขณะนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าข้อเท็จจริงคืออะไร น้องเมย์ตรวจ Doping รายการไหนกันแน่ แพทย์ไทยที่ฉีดยาให้คือใคร ทำไมก่อนทำการตรวจไม่มีทีมแพทย์ช่วยดูแลหรือเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ทางผู้ตรวจ ทีมบริหารชุดปัจจุบันของสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ทำงานบกพร่องไม่มีความเป็นมืออาชีพหรือไม่ เรามาลองลำดับเหตุการณ์ครั้งนี้กัน
เริ่มจากการที่น้องเมย์มีอาการบาดเจ็บรบกวนหลังจากที่แข่งขันติดต่อกันมานาน จากนั้นก็ได้ไปทำการแข่งขันในรายการ Badminton Team Asia Championships 2016 ณ เมือง Hyderabad ประเทศอินเดีย ซึ่งน้องเมย์ได้ร่วมทีมไปแข่งขันในฐานะตัวแทนทีมชาติไทย อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฯ และในการแข่งขันครั้งนี้ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 จากนั้นน้องเมย์ก็ได้พักรักษาตัว เมื่ออาการบาดเจ็บลดลงก็ได้ทำการฝึกซ้อมจนทำให้ได้แชมป์รายการซุปเปอร์ซีรีย์ 3 รายการติดต่อกัน เป็นนักแบดมินตันหญิงคนแรกของโลกที่สามารถทำได้จนทำให้ก้าวขึ้นมาเป็นมืออันดับ 1 ของโลกคนแรกของประเทศไทย
แต่เนื่องจากอาการบาดเจ็บก็ยังคงรบกวนอยู่จึงทำการรักษาอาการบาดเจ็บโดยการฉีดยา ซึ่งเป็นยาที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากยาตัวนี้มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จากนั้นก็ได้เดินทางไปแข่งขันรายการ Thomas & Uber Cup ณ ประเทศจีน โดยการเดินทางไปครั้งนี้ทางสมาคมฯ เป็นผู้ดูแล และได้มีการตรวจ Doping กับนักกีฬาทุกคนทั้งหญิงและชายที่เข้าร่วมการแข่งขัน เจ้าหน้าที่ของทางสมาคมฯ ต้องทำการสอบถามนักกีฬาว่าได้ไปทำการรักษาหรือพบแพทย์เพื่อทานยาหรือฉีดยาอะไรหรือไม่
หลังจากนั้น ก็จะนำรายละเอียดที่ได้สอบถามมากรอกแบบฟอร์มซึ่งมีชื่อว่า “Therapeutic Use Exemption” (TUE) Form สำหรับแจ้งรายละเอียดของยาที่เข้าร่างกายเพื่อการรักษาก่อนการตรวจ Doping แต่เหตุใดจึงเกิดการผิดพลาดในการกรอกเอกสาร และหรือไม่มีการสอบถามนักกีฬาหรือเตรียมการให้ดีก่อนที่จะดำเนินการเรื่องใด ๆ ต่อไป จากเหตุนี้เมื่อผลของการตรวจ Doping ถ้าออกมาชัดเจนว่ายาที่น้องเมย์ฉีดเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บนั้นมีตัวยาที่ผิดกฎขององค์การต่อต้านสารกระตุ้นโลก (World Anti Doping Association) หรือ WADA ทำไมทีมงานของทางสมาคมฯ จึงผิดพลาดเรื่องสำคัญแบบนี้ไปได้ เกิดจากการทำงานที่ไม่เป็นมืออาชีพหรืออย่างไร
ในตอนนี้คงทำได้เพียงแค่รอฟังประกาศจากทาง BWF เท่านั้น ถ้าเป็นจริงชาวไทยทั่วทั้งประเทศคงรู้สึกผิดหวังกับการทำงานที่แสนบกพร่องที่ดับดาวดวงนี้ไม่ให้เจิดจรัสในวงการแบดมินตันไทย และวงการแบดมินตันโลก เกิดจากการขาดความเอาใจใส่ของคนกลุ่มหนึ่งที่คอยแต่จะหวังสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองโดยการเป็นกาฝาก หาน้ำเลี้ยงหล่อเลี้ยงให้ตัวเองเติบโต เชิดชูตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของเด็กคนหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยน้ำอดน้ำทน ฟูมฟักมาเป็นสิบ ๆ ปี และยังดับฝันที่แสนหวานของชาวไทยทั้งประเทศ
สุดท้ายนี้หวังว่าน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ จะรอดพ้นจากการตรวจ Doping และกลับมาทำหน้าที่ให้คนไทยทุก ๆ คนมีความสุขต่อไป มาร่วมส่งกำลังใจให้น้องเมย์กันด้วยนะครับ