คอลัมน์ Buzzer Beat โดย MVP
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่หายไป 1 สัปดาห์เต็มๆ เนื่องจากเจอพิษไข้เล่นงาน เลยอดพูดถึง “ซูเปอร์โบว์ล 50” ที่เพิ่งจบลงด้วยความผิดหวังของ แคม นิวตัน และผองเพื่อน แครอไลนา แพนเธอร์ส อย่างไรก็ตาม ด้วยวัยแค่ 26 ปี ถือว่าน่าจะยังมีโอกาสสัมผัสรอบชิงชนะเลิศ อเมริกันฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) อีกสักครั้ง คิดเสียว่า ยอมๆ คนที่ใกล้ปลดระวางอย่าง เพย์ตัน แมนนิง ควอเตอร์แบ็ก เดนเวอร์ บรองโกส์ ก็แล้วกัน
สัปดาห์นี้ถ้าจะมาย้อนถึงเกมที่สนาม ลีวายส์ สเตเดียม ของ ซาน ฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส คงจะไม่ใช่เวลาอันเหมาะสมสักเท่าไร จึงขอข้ามมายังอีเวนท์ล่าสุดที่จัดว่ายิ่งใหญ่ไม่แพ้ “ซูเปอร์โบว์ล” คือ ออล-สตาร์ วีคเอนด์ ของ บาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ที่เพิ่งจบลงท่ามกลางเทศกาลวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ ตามวัน-เวลาท้องถิ่น ซึ่งมีการผลิตสกอร์รวมกันมากสุดในประวัติศาสตร์ 369 แต้ม แถมยังเป็นเกมที่สาวก โคบี ไบรอันท์ น่าจะจิกหมอนนอนฟินกับการอำลาเกมรวมดาราอย่างยิ่งใหญ่ แม้ เจ้าตัว จะทำไปแค่ 10 แต้ม
ก่อนหน้าเริ่มต้นการแข่งระหว่าง ทีมรวมดาราฝั่งตะวันออก กับ ตะวันตก ชุดใหญ่ แฟนๆ ที่ติดตาม NBA มาสักระยะคงจะทราบดีว่า ไฮไลท์สำคัญก็จะอยู่ที่การประกวดทักษะของเหล่าซูเปอร์สตาร์ อาทิ สกิลล์ ชาลเลนจ์ , ยิง 3 คะแนน และปิดท้ายด้วย “สแลม ดังค์ คอนเทสต์” ที่จบลงชนิดดุเดือดเลือดพล่าน เนื่องจาก แซ็ค ลาวีน ต้องออกแรงถึง 4 ดังค์ กว่าจะเอาชนะ แอรอน กอร์ดอน ฟอร์เวิร์ด ออร์แลนโด แมจิก ป้องกันแชมป์ไว้ได้
พอได้มีโอกาสชมถ่ายทอดสด ก็เกิดนึกขึ้นในใจว่า ท่วงท่าอันสวยงามแต่ละช็อตของ ลาวีน กับ กอร์ดอน บางครั้งก็ดูกร่อยๆ ราวกับขาดอะไรบางอย่าง หริอหากเทียบฝีมือผู้เข้าประกวดอีก 2 รายที่ตกรอบคัดกเลือกไปก่อน ทั้ง วิลล์ บาร์ตัน การ์ด เดนเวอร์ นักเก็ตส์ กับ อังเดร ดรัมมอนด์ เซ็นเตอร์ ดีทรอยต์ พิสตันส์ ยังถือว่าห่างชั้นจากการประกวดอยู่หลายขุม
เชื่อว่าแฟนๆ บางส่วนคงอยากร่ำร้องหา เลอบรอน เจมส์ ซูเปอร์สตาร์แห่งยุค หรือ รัสเซลล์ เวสต์บรูก การ์ดจ่ายทักษะสูงค่าย โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ สำแดงฝีมือเป็นบุญตาบ้าง แต่ทั้งคู่เคยประกาศว่า จะไม่มีวันเข้าร่วม โดยเฉพาะ “คิงเจมส์” ที่อายุอานามมีเลข 3 นำหน้า หรือแม้แต่ แอนดรูว์ วิกกินส์ เจ้าของรางวัล “รุกกี ออฟ เดอะ เยียร์” ฤดูกาลที่แล้ว ก็ขอสละสิทธิ์ เพราะไม่อยากห้ำหั่นกับ แซ็ค ลาวีน เพื่อนร่วมทีม มินเนโซตา ทิมเบอร์วูล์ฟส ดังนั้นจึงน่าจะเป็นสาเหตุซึ่งอีเวนท์อันน่าตื่นเต้นขาดเสน่ห์ดึงดูดกองเชียร์
ย้อนอดีตเราเคยได้ชมลีลาเหาะเหินเดินอากาศของ ไมเคิล จอร์แดน หรือพลังการกระโดดอันมหาศาลของพวกเล็กพริกขี้หนูอย่าง สปัด เว็บบ์ หรือ “เดอะ คริปโตไนต์” เนต โรบินสัน ไล่มาถึงพวกยักษ์ปักหลั่นที่เน้นความดุดัน และหนักหน่วง อาทิ ดไวท์ ฮาวเวิร์ด ที่อาศัยพร็อพชุดซูเปอร์แมนเรียกเรตติง หรือ เบลก กริฟฟิน ฟอร์เวิร์ดผู้ลบคำสบประมาทว่า คนผิวขาวกระโดดไม่เป็น แถม สแลม ดังค์ คอนเทสต์ ยังเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่แจ้งเกิด โคบี ไบรอันท์ เมื่อปี 1997
สำหรับอีเวนท์ “ออล-สตาร์ 2016” ถือว่าเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้น ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา คงอดนึกถึง วินซ์ คาร์เตอร์ ขวัญใจคนเดิมของสาวก โตรอนโต แร็พเตอร์ส ที่เคยเป็นแชมป์ เมื่อปี 2000 ด้วยลีลาหนักหน่วงและดุดันไม่แพ้บรรดาผู้เล่นตัวใหญ่ โดยเฉพาะท่ารับบอลจาก เทรซี แม็คเกรดี คู่หู ลอยตัวควงบอลลอดหว่างขวาดังค์ หรือยัดบอดลงห่วงจนถึงข้อศอก โชว์ความแข็งแกร่งของข้อต่อ
ทุกครั้งพอได้ดูคลิปเก่าของการแข่ง สแลม ดังค์ คอนเทสต์ ตาม โซเชียล เน็ตเวิร์ก หรือสื่ออื่นๆ ก็ยังรู้สึกทึ่งในความสามารถของเหล่าซูเปอร์สตาร์ยุคอดีต บางครั้งก็อดนึกสงสัยไม่ได้ว่า เลอบรอน ที่จัดว่าเป็นผู้เล่นดีสุดยุคปัจจุบัน จะมีทีเด็ดอะไรซ่อนอยู่ แต่คงเป็นคำถามที่ไม่มีวันรู้คำตอบไปตลอดกาล ตามความเห็นส่วนตัวแล้ว คำว่า ซูเปอร์สตาร์ นอกเหนือจากจะเก่งสุด ก็น่าจะสร้างความสุขแก่ผู้ชม ไม่ใช่แค่เพียงล่าแหวนแชมป์มาสวม
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่หายไป 1 สัปดาห์เต็มๆ เนื่องจากเจอพิษไข้เล่นงาน เลยอดพูดถึง “ซูเปอร์โบว์ล 50” ที่เพิ่งจบลงด้วยความผิดหวังของ แคม นิวตัน และผองเพื่อน แครอไลนา แพนเธอร์ส อย่างไรก็ตาม ด้วยวัยแค่ 26 ปี ถือว่าน่าจะยังมีโอกาสสัมผัสรอบชิงชนะเลิศ อเมริกันฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) อีกสักครั้ง คิดเสียว่า ยอมๆ คนที่ใกล้ปลดระวางอย่าง เพย์ตัน แมนนิง ควอเตอร์แบ็ก เดนเวอร์ บรองโกส์ ก็แล้วกัน
สัปดาห์นี้ถ้าจะมาย้อนถึงเกมที่สนาม ลีวายส์ สเตเดียม ของ ซาน ฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส คงจะไม่ใช่เวลาอันเหมาะสมสักเท่าไร จึงขอข้ามมายังอีเวนท์ล่าสุดที่จัดว่ายิ่งใหญ่ไม่แพ้ “ซูเปอร์โบว์ล” คือ ออล-สตาร์ วีคเอนด์ ของ บาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ที่เพิ่งจบลงท่ามกลางเทศกาลวันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ ตามวัน-เวลาท้องถิ่น ซึ่งมีการผลิตสกอร์รวมกันมากสุดในประวัติศาสตร์ 369 แต้ม แถมยังเป็นเกมที่สาวก โคบี ไบรอันท์ น่าจะจิกหมอนนอนฟินกับการอำลาเกมรวมดาราอย่างยิ่งใหญ่ แม้ เจ้าตัว จะทำไปแค่ 10 แต้ม
ก่อนหน้าเริ่มต้นการแข่งระหว่าง ทีมรวมดาราฝั่งตะวันออก กับ ตะวันตก ชุดใหญ่ แฟนๆ ที่ติดตาม NBA มาสักระยะคงจะทราบดีว่า ไฮไลท์สำคัญก็จะอยู่ที่การประกวดทักษะของเหล่าซูเปอร์สตาร์ อาทิ สกิลล์ ชาลเลนจ์ , ยิง 3 คะแนน และปิดท้ายด้วย “สแลม ดังค์ คอนเทสต์” ที่จบลงชนิดดุเดือดเลือดพล่าน เนื่องจาก แซ็ค ลาวีน ต้องออกแรงถึง 4 ดังค์ กว่าจะเอาชนะ แอรอน กอร์ดอน ฟอร์เวิร์ด ออร์แลนโด แมจิก ป้องกันแชมป์ไว้ได้
พอได้มีโอกาสชมถ่ายทอดสด ก็เกิดนึกขึ้นในใจว่า ท่วงท่าอันสวยงามแต่ละช็อตของ ลาวีน กับ กอร์ดอน บางครั้งก็ดูกร่อยๆ ราวกับขาดอะไรบางอย่าง หริอหากเทียบฝีมือผู้เข้าประกวดอีก 2 รายที่ตกรอบคัดกเลือกไปก่อน ทั้ง วิลล์ บาร์ตัน การ์ด เดนเวอร์ นักเก็ตส์ กับ อังเดร ดรัมมอนด์ เซ็นเตอร์ ดีทรอยต์ พิสตันส์ ยังถือว่าห่างชั้นจากการประกวดอยู่หลายขุม
เชื่อว่าแฟนๆ บางส่วนคงอยากร่ำร้องหา เลอบรอน เจมส์ ซูเปอร์สตาร์แห่งยุค หรือ รัสเซลล์ เวสต์บรูก การ์ดจ่ายทักษะสูงค่าย โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ สำแดงฝีมือเป็นบุญตาบ้าง แต่ทั้งคู่เคยประกาศว่า จะไม่มีวันเข้าร่วม โดยเฉพาะ “คิงเจมส์” ที่อายุอานามมีเลข 3 นำหน้า หรือแม้แต่ แอนดรูว์ วิกกินส์ เจ้าของรางวัล “รุกกี ออฟ เดอะ เยียร์” ฤดูกาลที่แล้ว ก็ขอสละสิทธิ์ เพราะไม่อยากห้ำหั่นกับ แซ็ค ลาวีน เพื่อนร่วมทีม มินเนโซตา ทิมเบอร์วูล์ฟส ดังนั้นจึงน่าจะเป็นสาเหตุซึ่งอีเวนท์อันน่าตื่นเต้นขาดเสน่ห์ดึงดูดกองเชียร์
ย้อนอดีตเราเคยได้ชมลีลาเหาะเหินเดินอากาศของ ไมเคิล จอร์แดน หรือพลังการกระโดดอันมหาศาลของพวกเล็กพริกขี้หนูอย่าง สปัด เว็บบ์ หรือ “เดอะ คริปโตไนต์” เนต โรบินสัน ไล่มาถึงพวกยักษ์ปักหลั่นที่เน้นความดุดัน และหนักหน่วง อาทิ ดไวท์ ฮาวเวิร์ด ที่อาศัยพร็อพชุดซูเปอร์แมนเรียกเรตติง หรือ เบลก กริฟฟิน ฟอร์เวิร์ดผู้ลบคำสบประมาทว่า คนผิวขาวกระโดดไม่เป็น แถม สแลม ดังค์ คอนเทสต์ ยังเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่แจ้งเกิด โคบี ไบรอันท์ เมื่อปี 1997
สำหรับอีเวนท์ “ออล-สตาร์ 2016” ถือว่าเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้น ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา คงอดนึกถึง วินซ์ คาร์เตอร์ ขวัญใจคนเดิมของสาวก โตรอนโต แร็พเตอร์ส ที่เคยเป็นแชมป์ เมื่อปี 2000 ด้วยลีลาหนักหน่วงและดุดันไม่แพ้บรรดาผู้เล่นตัวใหญ่ โดยเฉพาะท่ารับบอลจาก เทรซี แม็คเกรดี คู่หู ลอยตัวควงบอลลอดหว่างขวาดังค์ หรือยัดบอดลงห่วงจนถึงข้อศอก โชว์ความแข็งแกร่งของข้อต่อ
ทุกครั้งพอได้ดูคลิปเก่าของการแข่ง สแลม ดังค์ คอนเทสต์ ตาม โซเชียล เน็ตเวิร์ก หรือสื่ออื่นๆ ก็ยังรู้สึกทึ่งในความสามารถของเหล่าซูเปอร์สตาร์ยุคอดีต บางครั้งก็อดนึกสงสัยไม่ได้ว่า เลอบรอน ที่จัดว่าเป็นผู้เล่นดีสุดยุคปัจจุบัน จะมีทีเด็ดอะไรซ่อนอยู่ แต่คงเป็นคำถามที่ไม่มีวันรู้คำตอบไปตลอดกาล ตามความเห็นส่วนตัวแล้ว คำว่า ซูเปอร์สตาร์ นอกเหนือจากจะเก่งสุด ก็น่าจะสร้างความสุขแก่ผู้ชม ไม่ใช่แค่เพียงล่าแหวนแชมป์มาสวม