คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
ดูเหมือนว่าการพบกันระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเวียดนาม ในการแข่งขันฟุตบอลช่วงหลัง ๆ มักจะมีการโหมกระแสเรื่องความเป็นเบอร์ 1 ของภูมิภาคอาเซียนมาโดยตลอด ว่า แม้ที่จริงแล้วใครกันที่คู่ควร แม้ว่าตารางการจัดอันดับโลกของ “ฟีฟา แรงกิง” จะเป็นทีมชาติฟิลิปปินส์ ที่มีอันดับดีที่สุด แต่คนที่ติดตามความเคลื่อนไหวมาตลอดย่อมทราบดีว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งหลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย ที่ปรากฏว่า ทีมชาติไทยบุกไปยัดเยียดความปราชัยให้กับ เวียดนาม 3-0 คาบ้าน ท่ามกลางสายตาแฟนบอลเจ้าถิ่นที่เดินทางมาเป็นสักขีพยาน ทำให้ประจักษ์แก่สายตาแล้วว่า เวลานี้ผู้นำแห่งภูมิภาคคือขุนพลช้างศึก
โดยเฉพาะการทำประตูที่ 3 ของทีมชาติไทย มีการต่อบอลกันชนิดที่เรียกว่านักเตะเจ้าถิ่นหาบอลไม่เจอก่อนจะจบด้วยการยิงประตูของ “อุ้ม” ธีราทร บุญมาทัน แบ็กซ้ายกัปตันทีมนั้น กลายเป็นคลิปที่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อโดยสื่อกระแสหลักในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น “เดอะ ซัน” แห่งเกาะอังกฤษ, “เลอ กิ๊ป” แห่งฝรั่งเศส รวมถึงช่องทางยูทิวบ์ของ สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ “เอเอฟซี” จนได้รับการกล่าวขานว่าต่อบอลไปมาประหนึ่งระบบการเล่นฟุตบอลอันคล่องแคล่วและทรงพลังของทีม บาร์เซโลนา ยอดทีมแห่งลาลีกา สเปน ที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันในนาม “ติกี ตากา”
ความเก่งกาจของผู้เล่นทีมชาติไทย จะว่าไปต้องยกความดีความชอบให้กับการพัฒนาลีกฟุตบอลภายในประเทศอย่าง “ไทยพรีเมียร์ลีก” ซึ่งเรื่องนี้คนอย่าง โทชิยะ มิอูระ หัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นของทีมชาติเวียดนาม เป็นผู้กล่าวเอาไว้ว่า “องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ทีมชาติไทย ดีกว่า เวียดนาม คือ ฟุตบอลลีกภายในประเทศ ซึ่งไทยพรีเมียร์ลีกมีนักเตะต่างชาติดี ๆ มากมาย ทำให้นักเตะไทยได้พัฒนาตัวเอง สวนทางกับ วีลีก ที่มาตรฐานฟุตบอลลีกไม่ดีเท่าไหร่ ทำให้นักเตะไม่มีโอกาสได้เจอผู้เล่นฝีเท้าดี”
สำหรับฟุตบอล วีลีก ก่อตั้งกันเมื่อปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523 ขณะที่ “ไทยพรีเมียร์ลีก” นั้นเกิดขึ้นจริง ๆ ควรนับตอนรวม “ไทยลีก” กับ “โปรวินเชียลลีก” คือ พ.ศ. 2550 สิริรวมถึงตอนนี้ก็แค่ 8 ปี ที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่ แต่กลับเป็นที่นิยม และเรียกสตาร์ต่างชาติมาลงสนามที่ประเทศไทยได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร็อบบี ฟาวเลอร์, เจย์ โบธรอยด์, เจย์ ซิมป์สัน ที่มีดีกรีเคยค้าแข้งมาแล้วในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ รวมถึงดาวเตะหลายรายที่ผ่านลีกระดับโลกจากยุโรป และอเมริกาใต้ มาร่วมทีมส่งผลให้ผู้เล่นในประเทศต้องปรับตัวให้เท่าทันแข้งต่างชาติ
ขณะที่ลีกเวียดนามเอง ประสบปัญหาตกต่ำตั้งแต่ปี 2004 - 05 จากปัญหาล็อกผลการแข่งขัน ให้ได้ตามที่โต๊ะพนันต้องการ ส่งผลให้มีนักเตะหลายรายถูกสอบสวน และจับกุม มีถึง 9 รายที่ต้องติดคุกในฤดูกาลนั้น แน่นอนว่า สิ่งนี้ส่งผลต่อความนิยมของแฟนฟุตบอลเวียดนามตามไปด้วยเช่นกัน
แม้จะดูว่าไทยพรีเมียร์ลีกกำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง แต่ข่าวคราวที่ชวนให้ต้องมานั่งคิดทบทวนคือ การประกาศของคณะกรรมการจัดการแข่งขันลีกภูมิภาค หรือ ดิวิชัน 2 บ้านเราที่เพิ่งออกประกาศใหม่ว่าหากทีมใดสนใจเข้าแข่งขันฤดูกาลหน้า ต้องจ่ายค่าสมัครทีมละ 8 ล้านบาท แถมยังต้องยินยอมไม่รับเงินสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์จากสมาคม เป็นระยะเวลา 3 ปีนั้น ออกจะแปลก ๆ ไปสักหน่อย คิดไปคิดมาดูเหมือนจะเป็นการคุมกำเนิดตัวเองอย่างไรก็ไม่รู้...
ดูเหมือนว่าการพบกันระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเวียดนาม ในการแข่งขันฟุตบอลช่วงหลัง ๆ มักจะมีการโหมกระแสเรื่องความเป็นเบอร์ 1 ของภูมิภาคอาเซียนมาโดยตลอด ว่า แม้ที่จริงแล้วใครกันที่คู่ควร แม้ว่าตารางการจัดอันดับโลกของ “ฟีฟา แรงกิง” จะเป็นทีมชาติฟิลิปปินส์ ที่มีอันดับดีที่สุด แต่คนที่ติดตามความเคลื่อนไหวมาตลอดย่อมทราบดีว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งหลังจบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย ที่ปรากฏว่า ทีมชาติไทยบุกไปยัดเยียดความปราชัยให้กับ เวียดนาม 3-0 คาบ้าน ท่ามกลางสายตาแฟนบอลเจ้าถิ่นที่เดินทางมาเป็นสักขีพยาน ทำให้ประจักษ์แก่สายตาแล้วว่า เวลานี้ผู้นำแห่งภูมิภาคคือขุนพลช้างศึก
โดยเฉพาะการทำประตูที่ 3 ของทีมชาติไทย มีการต่อบอลกันชนิดที่เรียกว่านักเตะเจ้าถิ่นหาบอลไม่เจอก่อนจะจบด้วยการยิงประตูของ “อุ้ม” ธีราทร บุญมาทัน แบ็กซ้ายกัปตันทีมนั้น กลายเป็นคลิปที่ถูกนำไปเผยแพร่ต่อโดยสื่อกระแสหลักในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น “เดอะ ซัน” แห่งเกาะอังกฤษ, “เลอ กิ๊ป” แห่งฝรั่งเศส รวมถึงช่องทางยูทิวบ์ของ สหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ “เอเอฟซี” จนได้รับการกล่าวขานว่าต่อบอลไปมาประหนึ่งระบบการเล่นฟุตบอลอันคล่องแคล่วและทรงพลังของทีม บาร์เซโลนา ยอดทีมแห่งลาลีกา สเปน ที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันในนาม “ติกี ตากา”
ความเก่งกาจของผู้เล่นทีมชาติไทย จะว่าไปต้องยกความดีความชอบให้กับการพัฒนาลีกฟุตบอลภายในประเทศอย่าง “ไทยพรีเมียร์ลีก” ซึ่งเรื่องนี้คนอย่าง โทชิยะ มิอูระ หัวหน้าผู้ฝึกสอนชาวญี่ปุ่นของทีมชาติเวียดนาม เป็นผู้กล่าวเอาไว้ว่า “องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ทีมชาติไทย ดีกว่า เวียดนาม คือ ฟุตบอลลีกภายในประเทศ ซึ่งไทยพรีเมียร์ลีกมีนักเตะต่างชาติดี ๆ มากมาย ทำให้นักเตะไทยได้พัฒนาตัวเอง สวนทางกับ วีลีก ที่มาตรฐานฟุตบอลลีกไม่ดีเท่าไหร่ ทำให้นักเตะไม่มีโอกาสได้เจอผู้เล่นฝีเท้าดี”
สำหรับฟุตบอล วีลีก ก่อตั้งกันเมื่อปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523 ขณะที่ “ไทยพรีเมียร์ลีก” นั้นเกิดขึ้นจริง ๆ ควรนับตอนรวม “ไทยลีก” กับ “โปรวินเชียลลีก” คือ พ.ศ. 2550 สิริรวมถึงตอนนี้ก็แค่ 8 ปี ที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่ แต่กลับเป็นที่นิยม และเรียกสตาร์ต่างชาติมาลงสนามที่ประเทศไทยได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร็อบบี ฟาวเลอร์, เจย์ โบธรอยด์, เจย์ ซิมป์สัน ที่มีดีกรีเคยค้าแข้งมาแล้วในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ รวมถึงดาวเตะหลายรายที่ผ่านลีกระดับโลกจากยุโรป และอเมริกาใต้ มาร่วมทีมส่งผลให้ผู้เล่นในประเทศต้องปรับตัวให้เท่าทันแข้งต่างชาติ
ขณะที่ลีกเวียดนามเอง ประสบปัญหาตกต่ำตั้งแต่ปี 2004 - 05 จากปัญหาล็อกผลการแข่งขัน ให้ได้ตามที่โต๊ะพนันต้องการ ส่งผลให้มีนักเตะหลายรายถูกสอบสวน และจับกุม มีถึง 9 รายที่ต้องติดคุกในฤดูกาลนั้น แน่นอนว่า สิ่งนี้ส่งผลต่อความนิยมของแฟนฟุตบอลเวียดนามตามไปด้วยเช่นกัน
แม้จะดูว่าไทยพรีเมียร์ลีกกำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง แต่ข่าวคราวที่ชวนให้ต้องมานั่งคิดทบทวนคือ การประกาศของคณะกรรมการจัดการแข่งขันลีกภูมิภาค หรือ ดิวิชัน 2 บ้านเราที่เพิ่งออกประกาศใหม่ว่าหากทีมใดสนใจเข้าแข่งขันฤดูกาลหน้า ต้องจ่ายค่าสมัครทีมละ 8 ล้านบาท แถมยังต้องยินยอมไม่รับเงินสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์จากสมาคม เป็นระยะเวลา 3 ปีนั้น ออกจะแปลก ๆ ไปสักหน่อย คิดไปคิดมาดูเหมือนจะเป็นการคุมกำเนิดตัวเองอย่างไรก็ไม่รู้...