xs
xsm
sm
md
lg

นักกอล์ฟสูงวัย…ห่างไกลเข่าเสื่อม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เห็นพี่โป้ ขโยกเขยกมาออกรอบทีไรก็รู้สึกสงสารแกทุกที พี่แกเป็นโรคข้เข่าเสื่ออม แต่ด้วยใจรักแกก็มาประจำพร้อมรถกอล์ฟคู่ใจของแก แต่อย่าไปดูถูกฝีมือพี่โป้นะจะบอกให้ ยังเคยไปเป็นหมูให้แกเคี้ยวเลย…ทำเป็นเล่นไป!

วันนี้เราไปได้ยาดีมาหลอดหนึ่ง เค้าว่าเป็นครีมสกัดมาจากลำไยทาแก้โรคข้อเข่าเสื่อม เลยตั้งใจจะเอาไปฝากพี่โป้ให้แกลองใช้ดู…เรามารู้จักสรรพคุณของยา “ลองกานอยด์” กันหน่อยดีกว่า….

ในเมล็ดลำไยมีสาระสำคัญ ได้แก่ Gattic acid, Ellagic acid และสารฟลาโวนอยด์อีกหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ และมีฤทธิ์ยับยั้งการสลายของกระดูกอ่อน

ศ.ดร.อุษณีย์ วินิตเขตคำนวณ เป็นผู้ศึกษา “การพัฒนาสารสกัดเมล็ดลำไยที่มีฤทธิ์ต้านการสลายกระดูกอ่อนเพื่อผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม” โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. อาจารย์อุษณีย์เป็นอดีตอาจารย์ภาควิชาเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมล็ดลำไยที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปลำไยอบแห้งจำนวนมากจะถูกนำมาสกัดเพื่อให้ได้สารที่สามารถยังยั้งการสลายของกระดูกอ่อน และยับยั้งเอนไซม์แมทริกเมทัลโล โปรทีเนส ซึ่งมีฤทธิ์สลายกระดูกอ่อน จึงเป็นการยืดอายุกระดูกอ่อนผิวข้อไม่ให้เกิดการสึกหรอไปก่อนเวลาอันควร และผู้ที่ทำการแยกวิเคราะห์ดังกล่าวก็คือเภสัชกร หริหระสุตระ วินิตเขตคำนวณ ลูกชายของอาจารย์อุษณีย์นั่นเอง!

หมอยาหนุ่มหล่อชื่อเพราะท่านนี้ได้โอกาสทดลองยากับคุณแม่ซึ่งมีอาการข้อเข่าเสื่อมขึ้นลงบันไดลำบาก นั่งขัดสมาธิไม่ได้ หลังจากทานยาประมาณ 3 เดือน อาจารย์พบว่าอาการปวดตอนกลางคืนลดลง สามารถนั่งขัดสมาธิได้ เดินขึ้นลงบันไดได้สะดวกขึ้น ทำให้เภสัชกรหริหระสุตระ มั่นใจว่าสารสกัดเมล็ดลำไยสามารถรักษาอาการข้อเสื่อมได้ จึงได้นำผสมกับว่านพื้นเมืองของทางภาคเหนือ ซึ่งได้มาจากภูมิปัญญาล้านนา โดยทำออกมาในรูปของครีมทานวด แล้วนำไปทดสอบกับกลุ่มอาสาสมัครเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ที่สำคัญครีมดังกล่าวไม่ใช่ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือยากลุ่ม NSAID ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มโรคความดันโลหิต โรคหัวใจ และโรคแผลในกระเพาะอาหาร

งานวิจัยดังกล่าวจึงได้รับรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านต้นแบบนวัตกรรมของไทย ซึ่งสารสกัดเมล็ดลำไยจัดเป็นสารจากธรรมชาติที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ จึงควรจะต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดอย่างจริงจัง เพื่อให้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยใช้ทดแทนตัวยาสังเคราะห์ (Gallic และ Ellagic acid) ซึ่งมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

เอาใจพี่โป้ขนาดนี้แล้ว…ออกรอบคราวหน้าอย่าเคี้ยวผมอีกนะครับ!!

* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น