คอลัมน์ “สกอร์บอร์ด” โดย “แมวดำ”
ในยุคสมัยที่คนไทยจำนวนมากนิยมกิจกรรมหลังสู้ฟ้าหน้าสู้แฮนด์ (จักรยาน) คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้บนถนนหลายสายเราได้เห็นมนุษย์สองล้อเคลื่อนไปด้วยแรงปั่นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่มากอย่างที่อยากให้เป็น แต่ก็เริ่มสร้างความหวั่นไหวให้กับมนุษย์รถยนต์มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการปั่นเป็นการออกกำลังกายที่แม้ไม่ประหยัด (เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวอาจมีมูลค่าจักรยานที่สูงต่ำตามแต่ทุนทรัพย์) ทว่าได้เรื่องสภาพร่างกายนั้นมั่นใจว่าได้แน่ในเรื่องสุขภาพความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้น
เมื่อบนท้องถนนมีแต่รถยนต์จำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ขณะที่จำนวนเส้นทางนั้นไม่อาจขยายให้เพิ่มขึ้นตามไปได้ จึงเกิดมหกรรมจอดรถชมไฟสัญญาณจราจรกันอย่างล้นหลามในทุกเส้นทาง ยิ่งนานวันปัญหาเหล่านี้ยิ่งเลวร้ายหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ เพราะรถติดนอกจากเสียเวลาทำมาหากินแล้ว ยังเปลืองทรัพยากรน้ำมันกันอีก จึงมีการจัดกิจกรรม “CAR FREE DAY” เพื่อรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลขึ้นครั้งแรกปี 2550 โดยพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงมีกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ซึ่งปกติก็จัดกันในทุกๆ วันที่ 22 กันยายนของทุกปี
สำหรับ “CAR FREE DAY” 2557 จัดกันพิเศษหน่อยคือปรับมาเป็นวันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา โดยเส้นทางเริ่มจากสนามหลวง มุ่งสู่ถนนสีลม จอดแวะร่วมกิจกรรมต่างๆ อยู่ที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา ย่านราชประสงค์ ก่อนจะรวมพลปั่นกันต่จากห้างเกษร พลาซ่า ไปถึงการเคหะแห่งชาติ รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร แม้ว่าสุดท้ายงานจะจบลงด้วยบรรยากาศชื่นมื่น มุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้ง สมใจ “คุณชายหมู” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทว่าหลังจบงานดูเหมือนว่าจะมีประเด็นมากมายให้พูดถึงในโลกออนไลน์ไม่น้อย
เรื่องแรกคือ งานนี้จัดขึ้นก็เพื่อรณรงค์การใช้ขนส่งมวลชนสาธารณะ แต่เชื่อไหมว่าแม้จะเป็นวันอาทิตย์ แต่รถติดกันระเบิดระเบ้อ เรื่องของเรื่องก็คือแม้แต่คนขับรถขนส่งมวลชนของ ขสมก. บางรายยังไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่าทำไมมีการปิดถนนบางเส้นทาง (เพื่อให้จักรยานสองล้อลั้ลลากันตามประสา CAR FREE DAY) เมื่อรู้แบบนี้แล้วการรณรงค์จะมีผลอะไร ขนาด 1 ปี ขอแค่ 1 วันยังมีคนไม่รู้เลยว่าวันนี้มีกิจกรรมอะไร
อีกเรื่องที่มีชาวจักรยานเรียกร้องเป็นจำนวนมาก คือ ช่องทางสำหรับจักรยานบนพื้นผิวถนนในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้มันมีน้อยจริงๆ ท่านผู้ว่าฯ เองก็เคยรับปากว่าจะเพิ่มให้มากขึ้น แต่ทุกวันนี้มันมีแค่บางเส้นทางเท่านั้น คือ ถ้ามันมีเลนสำหรับนักปั่นทุกเส้นทาง คนที่กังวลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเขาก็อาจจะอุ่นใจได้ระดับหนึ่งว่าอย่างน้อยก็มีเลนสำหรับคนรักการปั่น ไม่ต้องหวาดเสียวเฉี่ยวชนกับรถยนต์บนถนน ขณะที่บางเส้นทางที่มีเลนจักรยานแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ยกตัวอย่าง ถนนพระอาทิตย์ ยังมีรถแท็กซี่, สามล้อ, มอเตอร์ไซค์วิน มาจอดรอผู้โดยสารกันหน้าตาเฉย ยังไงก็น่าจะมีเจ้าหน้าที่มากวดขันให้ทุกคนรักษากติกาในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันบ้าง
เรื่องสำคัญที่ตอนนี้มีการแชร์กันมากในโลกออนไลน์ คือ การทำรางพิเศษสำหรับนำจักรยานขึ้นสะพานลอยต่างๆ ของลูกน้องท่านผู้ว่าฯ ที่ไม่ทราบว่าจะทำรางติดราวจับสะพานลอยไปเพื่ออะไร เพราะในแง่ความเป็นจริงมันไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเมื่อเข็นสองล้อคู่ใจไปบนราง บันไดสำหรับปั่นก็ไปเกี่ยวกับราวจนไปต่อไม่ได้ เรื่องแบบนี้อาจมองเหมือนเล็กน้อย แต่งบประมาณที่เอามาทำนี่ก็เงินภาษี ทำไปแล้วใช้งานไม่ได้มันก็เหมือนเอาธนบัตรมาเผาทิ้ง นอกจากไม่ก่อเกิดประโยชน์อันใดแล้วยังน่าช้ำใจสำหรับขาปั่นทั้งหลายอีกด้วย
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
ในยุคสมัยที่คนไทยจำนวนมากนิยมกิจกรรมหลังสู้ฟ้าหน้าสู้แฮนด์ (จักรยาน) คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้บนถนนหลายสายเราได้เห็นมนุษย์สองล้อเคลื่อนไปด้วยแรงปั่นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่มากอย่างที่อยากให้เป็น แต่ก็เริ่มสร้างความหวั่นไหวให้กับมนุษย์รถยนต์มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการปั่นเป็นการออกกำลังกายที่แม้ไม่ประหยัด (เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวอาจมีมูลค่าจักรยานที่สูงต่ำตามแต่ทุนทรัพย์) ทว่าได้เรื่องสภาพร่างกายนั้นมั่นใจว่าได้แน่ในเรื่องสุขภาพความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้น
เมื่อบนท้องถนนมีแต่รถยนต์จำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ขณะที่จำนวนเส้นทางนั้นไม่อาจขยายให้เพิ่มขึ้นตามไปได้ จึงเกิดมหกรรมจอดรถชมไฟสัญญาณจราจรกันอย่างล้นหลามในทุกเส้นทาง ยิ่งนานวันปัญหาเหล่านี้ยิ่งเลวร้ายหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ เพราะรถติดนอกจากเสียเวลาทำมาหากินแล้ว ยังเปลืองทรัพยากรน้ำมันกันอีก จึงมีการจัดกิจกรรม “CAR FREE DAY” เพื่อรณรงค์ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลขึ้นครั้งแรกปี 2550 โดยพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงมีกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ซึ่งปกติก็จัดกันในทุกๆ วันที่ 22 กันยายนของทุกปี
สำหรับ “CAR FREE DAY” 2557 จัดกันพิเศษหน่อยคือปรับมาเป็นวันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา โดยเส้นทางเริ่มจากสนามหลวง มุ่งสู่ถนนสีลม จอดแวะร่วมกิจกรรมต่างๆ อยู่ที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา ย่านราชประสงค์ ก่อนจะรวมพลปั่นกันต่จากห้างเกษร พลาซ่า ไปถึงการเคหะแห่งชาติ รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร แม้ว่าสุดท้ายงานจะจบลงด้วยบรรยากาศชื่นมื่น มุ้งมิ้ง ฟรุ้งฟริ้ง สมใจ “คุณชายหมู” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทว่าหลังจบงานดูเหมือนว่าจะมีประเด็นมากมายให้พูดถึงในโลกออนไลน์ไม่น้อย
เรื่องแรกคือ งานนี้จัดขึ้นก็เพื่อรณรงค์การใช้ขนส่งมวลชนสาธารณะ แต่เชื่อไหมว่าแม้จะเป็นวันอาทิตย์ แต่รถติดกันระเบิดระเบ้อ เรื่องของเรื่องก็คือแม้แต่คนขับรถขนส่งมวลชนของ ขสมก. บางรายยังไม่ทราบเลยด้วยซ้ำว่าทำไมมีการปิดถนนบางเส้นทาง (เพื่อให้จักรยานสองล้อลั้ลลากันตามประสา CAR FREE DAY) เมื่อรู้แบบนี้แล้วการรณรงค์จะมีผลอะไร ขนาด 1 ปี ขอแค่ 1 วันยังมีคนไม่รู้เลยว่าวันนี้มีกิจกรรมอะไร
อีกเรื่องที่มีชาวจักรยานเรียกร้องเป็นจำนวนมาก คือ ช่องทางสำหรับจักรยานบนพื้นผิวถนนในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้มันมีน้อยจริงๆ ท่านผู้ว่าฯ เองก็เคยรับปากว่าจะเพิ่มให้มากขึ้น แต่ทุกวันนี้มันมีแค่บางเส้นทางเท่านั้น คือ ถ้ามันมีเลนสำหรับนักปั่นทุกเส้นทาง คนที่กังวลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนเขาก็อาจจะอุ่นใจได้ระดับหนึ่งว่าอย่างน้อยก็มีเลนสำหรับคนรักการปั่น ไม่ต้องหวาดเสียวเฉี่ยวชนกับรถยนต์บนถนน ขณะที่บางเส้นทางที่มีเลนจักรยานแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ยกตัวอย่าง ถนนพระอาทิตย์ ยังมีรถแท็กซี่, สามล้อ, มอเตอร์ไซค์วิน มาจอดรอผู้โดยสารกันหน้าตาเฉย ยังไงก็น่าจะมีเจ้าหน้าที่มากวดขันให้ทุกคนรักษากติกาในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันบ้าง
เรื่องสำคัญที่ตอนนี้มีการแชร์กันมากในโลกออนไลน์ คือ การทำรางพิเศษสำหรับนำจักรยานขึ้นสะพานลอยต่างๆ ของลูกน้องท่านผู้ว่าฯ ที่ไม่ทราบว่าจะทำรางติดราวจับสะพานลอยไปเพื่ออะไร เพราะในแง่ความเป็นจริงมันไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเมื่อเข็นสองล้อคู่ใจไปบนราง บันไดสำหรับปั่นก็ไปเกี่ยวกับราวจนไปต่อไม่ได้ เรื่องแบบนี้อาจมองเหมือนเล็กน้อย แต่งบประมาณที่เอามาทำนี่ก็เงินภาษี ทำไปแล้วใช้งานไม่ได้มันก็เหมือนเอาธนบัตรมาเผาทิ้ง นอกจากไม่ก่อเกิดประโยชน์อันใดแล้วยังน่าช้ำใจสำหรับขาปั่นทั้งหลายอีกด้วย
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *