คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
มันจะเป็นกีฬาไปได้อย่างไร ถ้าใครดันมีความคิดว่าฝ่ายตนต้องชนะอย่างเดียว ใครจะมาบังอาจคว้าชัยเหนือตนไปไม่ได้เด็ดขาด ถ้าพวกตนพ่ายแพ้ หรือเห็นท่าไม่ดี กำลังจะแพ้ ก็ต้องมีการโยเยกันบ้าง อย่างนี้มันก็คือ กุ๊ย หรือ อันธพาล
จากความสนุก ตื่นเต้น อันเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่งที่เกิดจากการแข่งขัน กลายมาเป็นความรุนแรง อาจมีการทำลายข้าวของ หรือทำร้ายกัน ทั้งในหมู่นักกีฬาด้วยกันเอง หรือกองเชียร์ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเมื่อพูดถึง อันธพาลกีฬา เราคงคุ้นกันดีกับคำว่า ฮูลีกานิสซึม ( Hooliganism ) เป็นคำที่เขาใช้เรียกพฤติกรรมของ อันธพาลกีฬา ไม่ยอมรับกติกา คอยหาเรื่องทำร้ายร่างกายและทำลายข้าวของ
มีหลายตำราที่บอกที่มาของคำนี้ บางคนบอกว่า เป็นชื่อของจอมโจร หัวขโมย นักล้วง นักต้มตุ๋นชาวอายร์แลนด์ชื่อ แพ็ททริค ฮูลีฮัน หรือ ฮูลีกัน ( Patrick Hoolihan or Hooligan ) ที่มีชีวิตแบบเถื่อนๆอยู่ใน กรุงลอนเดิน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 บางคนก็อ้างว่า มันมาจาก ฮูลีย์ ( Hooley ) ชื่อของแก๊งอันธพาลตามท้องถนนแถบ อายลิงตึน ( Islington ) ในกรุงลอนเดิน
จะอย่างไรก็ตาม มันก็แค่กุ๊ยที่เห็นแก่ตัว ทำทุกวิถีทาง เพียงเพราะยอมรับกับความพ่ายแพ้ของตนไม่ได้ จนก่อเหตุต่างๆ บางคนทำไปด้วยตัวคนเดียว บางครั้งเห็นว่าตนเองมีพรรคพวกเยอะ ยิ่งเกิดความฮึกเหิม ซึ่งหลายครั้ง มีเครื่องดื่มมึนเมาเป็นตัวอุ่นเครื่องให้เป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะมีพวกมากกว่า หรือบางทีเมื่อสำรวจกำลังพลแล้ว มีมากพอๆกัน ก็ยังอยากมีเรื่อง อันนี้คงเป็นความมันส่วนตัว แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น มันอาจไม่คุ้มกับความมันที่แสวงหาก็ได้
คนที่มีหัวใจต้องการชัยชนะอย่างเดียว ผมว่าเล่นกีฬาหรือเชียร์กีฬาไปก็มีแต่ทำลายสังคม ผมไม่อยากบอกว่ามันจะแย่ตรงไหนบ้าง แต่พวกนี้ถ้าจะคิดจะทำอะไร มันคงเฮงซวยไปหมด ผมขอยกตัวอย่างคนที่มีหัวใจที่ต้องชนะในอดีตที่ผ่านมาครับ
ในปี 1975 เอ็ดดี แมร์กซ ( Eddy Merckx ) นักปั่นจักรยานชาวเบลเจียม แชมป์จักรยานทางไกล เลอ ตูร เดอ ฟร็องซ์ 5 สมัยคือ ปี 1969, 1970, 1971, 1972 และ 1974 ซึ่งกำลังจะคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 6 เมื่อจบสเตจที่ 13 เขามีเวลารวมนำเป็นที่ 1 เหนือกว่า แบรนาร เตเวอเน ( Bernard Thevenet ) นักปั่นความหวังของชาวฝรั่งเศสที่ตามมาเป็นอันดับ 2 อยู่ 20 วินาที โดย เอ็ดดีได้สวมเสื้อเหลืองอันเป็นสัญลักษณ์ของผู้นำเวลารวมมาเป็นวันที่ 9 แล้ว ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ หมอนี่คว้าแชมป์สมัยที่ 6 ทำลายสถิติที่ตอนนั้น มีเพียง ชัก อ็องเกอติล ( Jacques Anquetil ) นักปั่นชาวฝรั่งเศสทำไว้ 5 สมัยในปี 1957, 1961, 1962, 1963 และ 1964
วันนั้นเป็นวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม พอดี การแข่งขันดำเนินมาถึงสเตจ 14 เส้นทางจาก โอรียัก ถึง ปุย เดอ โดม ( Aurillac-Puy de Dome ) เมื่อ เอ็ดดี ผ่านมาถึงบริเวณก่อนเข้าเส้นชัยประมาณ 150 เมตร มีผู้ชมชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งโผล่ออกมาจากฝูงชนที่เฝ้าชมอยู่ 2 ฝั่งถนนแคบๆ แล้วทันใดนั้น หมอนี่ก็ชกไปที่ท้องของ เอ็ดดี ท่ามกลางความตกใจและงงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของสายตานับล้านคู่ เพราะงานนั้น มีการถ่ายทอดสดไปยังหลายประเทศ หมัดนั้นโดนเข้าที่บริเวณไตอย่างแรง แต่ เอ็ดดี ก็ยังฝืนประคองตัวไปจนถึงเส้นชัย เขายังจบสเตจด้วยการเป็นผู้นำเวลารวม
แต่วันต่อมา เอ็ดดี ต้องปั่นจักรยานด้วยอาการปวดอย่างทรมานที่เกิดจากฤทธิ์หมัดของผู้ชมที่มีหัวใจไม่ยอมแพ้ คนที่ไม่อยากให้ใครมาลบสถิติของ ชัก อ็องเกอติล และเป็นคนที่อยากให้นักปั่นชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชนะเท่านั้น เขาถูก แบรนาร เตเวอเน แซงขึ้นเป็นผู้นำเวลารวมตั้งแต่สเตจที่ 15 และอยู่ยาวโลดไปจนจบสเตจสุดท้าย จนคว้าแชมป์ เลอ ตูร เดอ ฟร็องซ์ ครั้งนั้นไปครอง ส่วน เอ็ดดี แมร์กซ ได้เพียงอันดับ 2 ถึงแม้ว่า แบรนาร เตเวอเน จะสามารถคว้าแชมป์ เลอ ตูร เดอ ฟร็องซ์ ได้อีกครั้งในปี 1977 แต่ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า ในหัวใจของผม ไม่เคยถือว่า หมอนี่คือแชมป์อะไรเลยครับ
มันจะเป็นกีฬาไปได้อย่างไร ถ้าใครดันมีความคิดว่าฝ่ายตนต้องชนะอย่างเดียว ใครจะมาบังอาจคว้าชัยเหนือตนไปไม่ได้เด็ดขาด ถ้าพวกตนพ่ายแพ้ หรือเห็นท่าไม่ดี กำลังจะแพ้ ก็ต้องมีการโยเยกันบ้าง อย่างนี้มันก็คือ กุ๊ย หรือ อันธพาล
จากความสนุก ตื่นเต้น อันเป็นความบันเทิงชนิดหนึ่งที่เกิดจากการแข่งขัน กลายมาเป็นความรุนแรง อาจมีการทำลายข้าวของ หรือทำร้ายกัน ทั้งในหมู่นักกีฬาด้วยกันเอง หรือกองเชียร์ของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเมื่อพูดถึง อันธพาลกีฬา เราคงคุ้นกันดีกับคำว่า ฮูลีกานิสซึม ( Hooliganism ) เป็นคำที่เขาใช้เรียกพฤติกรรมของ อันธพาลกีฬา ไม่ยอมรับกติกา คอยหาเรื่องทำร้ายร่างกายและทำลายข้าวของ
มีหลายตำราที่บอกที่มาของคำนี้ บางคนบอกว่า เป็นชื่อของจอมโจร หัวขโมย นักล้วง นักต้มตุ๋นชาวอายร์แลนด์ชื่อ แพ็ททริค ฮูลีฮัน หรือ ฮูลีกัน ( Patrick Hoolihan or Hooligan ) ที่มีชีวิตแบบเถื่อนๆอยู่ใน กรุงลอนเดิน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 บางคนก็อ้างว่า มันมาจาก ฮูลีย์ ( Hooley ) ชื่อของแก๊งอันธพาลตามท้องถนนแถบ อายลิงตึน ( Islington ) ในกรุงลอนเดิน
จะอย่างไรก็ตาม มันก็แค่กุ๊ยที่เห็นแก่ตัว ทำทุกวิถีทาง เพียงเพราะยอมรับกับความพ่ายแพ้ของตนไม่ได้ จนก่อเหตุต่างๆ บางคนทำไปด้วยตัวคนเดียว บางครั้งเห็นว่าตนเองมีพรรคพวกเยอะ ยิ่งเกิดความฮึกเหิม ซึ่งหลายครั้ง มีเครื่องดื่มมึนเมาเป็นตัวอุ่นเครื่องให้เป็นอย่างดีด้วย ไม่ว่าจะมีพวกมากกว่า หรือบางทีเมื่อสำรวจกำลังพลแล้ว มีมากพอๆกัน ก็ยังอยากมีเรื่อง อันนี้คงเป็นความมันส่วนตัว แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น มันอาจไม่คุ้มกับความมันที่แสวงหาก็ได้
คนที่มีหัวใจต้องการชัยชนะอย่างเดียว ผมว่าเล่นกีฬาหรือเชียร์กีฬาไปก็มีแต่ทำลายสังคม ผมไม่อยากบอกว่ามันจะแย่ตรงไหนบ้าง แต่พวกนี้ถ้าจะคิดจะทำอะไร มันคงเฮงซวยไปหมด ผมขอยกตัวอย่างคนที่มีหัวใจที่ต้องชนะในอดีตที่ผ่านมาครับ
ในปี 1975 เอ็ดดี แมร์กซ ( Eddy Merckx ) นักปั่นจักรยานชาวเบลเจียม แชมป์จักรยานทางไกล เลอ ตูร เดอ ฟร็องซ์ 5 สมัยคือ ปี 1969, 1970, 1971, 1972 และ 1974 ซึ่งกำลังจะคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 6 เมื่อจบสเตจที่ 13 เขามีเวลารวมนำเป็นที่ 1 เหนือกว่า แบรนาร เตเวอเน ( Bernard Thevenet ) นักปั่นความหวังของชาวฝรั่งเศสที่ตามมาเป็นอันดับ 2 อยู่ 20 วินาที โดย เอ็ดดีได้สวมเสื้อเหลืองอันเป็นสัญลักษณ์ของผู้นำเวลารวมมาเป็นวันที่ 9 แล้ว ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ หมอนี่คว้าแชมป์สมัยที่ 6 ทำลายสถิติที่ตอนนั้น มีเพียง ชัก อ็องเกอติล ( Jacques Anquetil ) นักปั่นชาวฝรั่งเศสทำไว้ 5 สมัยในปี 1957, 1961, 1962, 1963 และ 1964
วันนั้นเป็นวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม พอดี การแข่งขันดำเนินมาถึงสเตจ 14 เส้นทางจาก โอรียัก ถึง ปุย เดอ โดม ( Aurillac-Puy de Dome ) เมื่อ เอ็ดดี ผ่านมาถึงบริเวณก่อนเข้าเส้นชัยประมาณ 150 เมตร มีผู้ชมชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งโผล่ออกมาจากฝูงชนที่เฝ้าชมอยู่ 2 ฝั่งถนนแคบๆ แล้วทันใดนั้น หมอนี่ก็ชกไปที่ท้องของ เอ็ดดี ท่ามกลางความตกใจและงงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของสายตานับล้านคู่ เพราะงานนั้น มีการถ่ายทอดสดไปยังหลายประเทศ หมัดนั้นโดนเข้าที่บริเวณไตอย่างแรง แต่ เอ็ดดี ก็ยังฝืนประคองตัวไปจนถึงเส้นชัย เขายังจบสเตจด้วยการเป็นผู้นำเวลารวม
แต่วันต่อมา เอ็ดดี ต้องปั่นจักรยานด้วยอาการปวดอย่างทรมานที่เกิดจากฤทธิ์หมัดของผู้ชมที่มีหัวใจไม่ยอมแพ้ คนที่ไม่อยากให้ใครมาลบสถิติของ ชัก อ็องเกอติล และเป็นคนที่อยากให้นักปั่นชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชนะเท่านั้น เขาถูก แบรนาร เตเวอเน แซงขึ้นเป็นผู้นำเวลารวมตั้งแต่สเตจที่ 15 และอยู่ยาวโลดไปจนจบสเตจสุดท้าย จนคว้าแชมป์ เลอ ตูร เดอ ฟร็องซ์ ครั้งนั้นไปครอง ส่วน เอ็ดดี แมร์กซ ได้เพียงอันดับ 2 ถึงแม้ว่า แบรนาร เตเวอเน จะสามารถคว้าแชมป์ เลอ ตูร เดอ ฟร็องซ์ ได้อีกครั้งในปี 1977 แต่ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า ในหัวใจของผม ไม่เคยถือว่า หมอนี่คือแชมป์อะไรเลยครับ