คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ในบรรดามหาวิทยาลัยเก่าแก่ของโลก ผมนึกไปถึงมหาวิทยาลัย โบโลญญา ( Universita di Bologna) ในเมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1088 นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป รองลงไปก็คงจะเป็นมหาวิทยาลัย ปารี ( Universite de Paris ) หรือที่เรียกกันก่อนปี 1793 ว่า ลา ซอรบอน ( La Sorbonne ) อันนี้เป็นของฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1253 แต่ความจริงเขามีการเรียนการสอนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แล้ว และมามีความสำคัญอย่างหนักเลยต่อวงการกีฬาโลก ก็เพราะ บารง ปิแอร เดอ กูแบรแต็ง ( Baron Pierre de Coubertin ) ได้ใช้ห้องประชุมที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( International Olympic Committee ) ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1894
ถัดจากนั้นก็ยังมีมหาวิทยาลัยอ็อกซเฟิร์ด ( University of Oxford ) ที่เมืองอ็อกซเฟิร์ด ประเทศอังกฤษ ที่เขาคุยว่าเปิดการสอนมาตั้งแต่ปี 1096 แต่เท่าที่เคยได้ยินมานั้น มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นมาก็เพราะ ในสมัยก่อนคนอังกฤษนิยมไปเรียนกันที่ ลา ซอรบอน ของฝรั่งเศส ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 อังกฤษกับฝรั่งเศสเหม็นหน้ากันอย่างจัง ในปี 1167 กษัตริย์อังกฤษก็สั่งห้ามคนของตนไปเรียนที่ฝรั่งเศส แล้วให้มาสุมหัวเรียนกันที่ อ็อกซเฟิร์ด
เมื่อมี อ็อกซเฟิร์ด ก็ต้องมี เคมบริดจ์ ( University of Cambridge ) ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้ถือว่าเป็น 2 มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอังกฤษ และยังเป็นคู่แข่งกันตลอดกาล ทั้งด้านวิชาการและกีฬา โดยเฉพาะทั้ง 2 มหาวิทยาลัยดังกล่าวมีประเพณีการแข่งขันเรือพาย ( The Oxford and Cambridge Boat Race ) กันมาตั้งแต่ปี 1829 ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในระยะแรกก็จัดกันตามสะดวก บางปึนึกจะจัดก็จัด บางปีก็เว้นไปบ้าง แต่พอถึงปี 1856 ก็เริ่มจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี รายการนี้มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ให้ชมกันด้วยครับ
การแข่งขันเรือพายประเพณีของ 2 สถาบันนี้เป็นแรงบันดาลใจให้พวกนักเรียนเก่าสวนกุหลาบเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้วที่แยกย้ายกันไปเรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดจัดกิจกรรมเพื่อสานความสามัคคีและสร้างความปรองดองระหว่างกัน เพราะสมัยนั้น พวกที่เรียน จุฬาฯ ก็คือพวกจบ ม.8 ส่วนพวกที่เข้าเรียนที่ ธรรมศาสตร์ นั้นไม่ได้จบ นิสิต นักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันดูจะไม่ค่อยจะกลมเกลียวกัน แถมมีดูแคลนกันอีก การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างกันจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1934 ปีแรกนั้นไปแข่งกันที่ท้องสนามหลวงเลย แล้วก็ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ครั้งต่อๆมาบางทีต้องไปขอยืมสถานที่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอยู่บ้าง จนในปี 1938 ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 5 ถึงไปจัดกันที่สนามศุภชลาศัย แล้วยิงยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งติดปัญหาสงครามโลก ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ต้องงดไปบ้างก็มี
ในเรื่องสถานที่ก็มีที่ต้องใช้สนามอื่นบ้าง เช่น เมื่อปีที่แล้วจัดแข่งกันที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ สนามจุ๊บ เพราะสนามศุภชลาศัยปิดซ่อม นอกจากนั้น หลายคนมีคำถามว่า ก็ในเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสนามกีฬาที่ทันสมัยเป็นของตนเองแล้วที่ศูนย์รังสิต ทำไมในปีที่ ธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจึงไม่ไปจัดที่นั่น ผมได้รับคำตอบว่า สถานที่ไกล ไปมาไม่สะดวกครับ ขืนไปจัดที่นั่นคงมีผู้ชมตะเกียกตะกายไปร่วมชมกันน้อยมาก และอีกประการที่สำคัญคือ ลักษณะอัฒจรรย์ที่มีช่องประตูทางขึ้นไม่เอื้ออำนวยต่อการแปรอักษร รวมความแล้วสนามศุภชลาศัยเหมาะที่สุด
เสน่ห์ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกมการแข่งขัน ทั้ง 2 ทีมมักจะมีนักเตะระดับทีมชาติร่วมอยู่ด้วย และนี่เป็นฟุตบอลนัดเดียว ดังนั้น ต่างก็ใส่กันเต็มๆแน่นอน นอกจากนั้น ยังมีการประชันกันด้านการเชียร์ โดยเฉพาะเชียร์ลีดเดอร์ของทั้ง 2 สถาบันที่ซุ่มซ้อมกันตั้งแต่เย็นยัน 5 ทุ่ม เที่ยงคืน นานร่วม 2 เดือน เพื่อวันนี้วันเดียว มีการแปรอักษรต่อปากต่อคำกัน แซวกันไปแซวกันมา และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขบวนพาเหรดล้อการเมือง ที่ประกอบด้วยหุ่นและป้ายข้อความล้อการเมืองต่างๆ ขณะเดียวกันก็สอดแทรกการแปรอักษรด้วยการเสียดสีการเมืองเป็นระยะ
สำหรับสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา 64 ครั้ง ธรรมศาสตร์ชนะ 21 ครั้ง จุฬาฯ ชนะ 13 ครั้ง นอกนั้น เสมอกัน 30 ครั้ง โดยมีช่วงปี 1964-1978 ที่ทีมจุฬาฯอ่อนเหลือเกิน ผูกปีแพ้ ธรรมศาสตร์ชนะถึง 9 จาก 12 ครั้ง ช่วงนี้แหละครับที่ทำให้ ธรรมศาสตร์ กำสถิติที่เหนือกว่า จุฬาฯ ในปัจจุบัน
แม้ว่าผู้คนจะติดอยู่กับชื่อ ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ แต่งานฟุตบอลประเพณีของทั้ง 2 สถาบันนั้น เขาผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งปีใดใครเป็นเจ้าภาพก็ให้ใช้ชื่อสถาบันนั้นขึ้นก่อน อย่างครั้งหน้าที่จะมีขึ้นสิ้นเดือนนี้เป็นครั้งที่ 65 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ ก็ต้องเรียกว่า ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 65 ชาวเหลืองแดงและเลือดสีชมพู พบกันที่สนามศุภชลาศัย ในวันเสาร์ที่ 31 มกราคมนี้ ตั้งแต่บ่ายต้นๆ ครับ
ในบรรดามหาวิทยาลัยเก่าแก่ของโลก ผมนึกไปถึงมหาวิทยาลัย โบโลญญา ( Universita di Bologna) ในเมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1088 นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป รองลงไปก็คงจะเป็นมหาวิทยาลัย ปารี ( Universite de Paris ) หรือที่เรียกกันก่อนปี 1793 ว่า ลา ซอรบอน ( La Sorbonne ) อันนี้เป็นของฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1253 แต่ความจริงเขามีการเรียนการสอนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แล้ว และมามีความสำคัญอย่างหนักเลยต่อวงการกีฬาโลก ก็เพราะ บารง ปิแอร เดอ กูแบรแต็ง ( Baron Pierre de Coubertin ) ได้ใช้ห้องประชุมที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ประชุมจัดตั้งคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( International Olympic Committee ) ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1894
ถัดจากนั้นก็ยังมีมหาวิทยาลัยอ็อกซเฟิร์ด ( University of Oxford ) ที่เมืองอ็อกซเฟิร์ด ประเทศอังกฤษ ที่เขาคุยว่าเปิดการสอนมาตั้งแต่ปี 1096 แต่เท่าที่เคยได้ยินมานั้น มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นมาก็เพราะ ในสมัยก่อนคนอังกฤษนิยมไปเรียนกันที่ ลา ซอรบอน ของฝรั่งเศส ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 อังกฤษกับฝรั่งเศสเหม็นหน้ากันอย่างจัง ในปี 1167 กษัตริย์อังกฤษก็สั่งห้ามคนของตนไปเรียนที่ฝรั่งเศส แล้วให้มาสุมหัวเรียนกันที่ อ็อกซเฟิร์ด
เมื่อมี อ็อกซเฟิร์ด ก็ต้องมี เคมบริดจ์ ( University of Cambridge ) ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้ถือว่าเป็น 2 มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอังกฤษ และยังเป็นคู่แข่งกันตลอดกาล ทั้งด้านวิชาการและกีฬา โดยเฉพาะทั้ง 2 มหาวิทยาลัยดังกล่าวมีประเพณีการแข่งขันเรือพาย ( The Oxford and Cambridge Boat Race ) กันมาตั้งแต่ปี 1829 ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในระยะแรกก็จัดกันตามสะดวก บางปึนึกจะจัดก็จัด บางปีก็เว้นไปบ้าง แต่พอถึงปี 1856 ก็เริ่มจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี รายการนี้มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ให้ชมกันด้วยครับ
การแข่งขันเรือพายประเพณีของ 2 สถาบันนี้เป็นแรงบันดาลใจให้พวกนักเรียนเก่าสวนกุหลาบเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้วที่แยกย้ายกันไปเรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดจัดกิจกรรมเพื่อสานความสามัคคีและสร้างความปรองดองระหว่างกัน เพราะสมัยนั้น พวกที่เรียน จุฬาฯ ก็คือพวกจบ ม.8 ส่วนพวกที่เข้าเรียนที่ ธรรมศาสตร์ นั้นไม่ได้จบ นิสิต นักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันดูจะไม่ค่อยจะกลมเกลียวกัน แถมมีดูแคลนกันอีก การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างกันจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1934 ปีแรกนั้นไปแข่งกันที่ท้องสนามหลวงเลย แล้วก็ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ครั้งต่อๆมาบางทีต้องไปขอยืมสถานที่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยอยู่บ้าง จนในปี 1938 ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 5 ถึงไปจัดกันที่สนามศุภชลาศัย แล้วยิงยาวมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งติดปัญหาสงครามโลก ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ต้องงดไปบ้างก็มี
ในเรื่องสถานที่ก็มีที่ต้องใช้สนามอื่นบ้าง เช่น เมื่อปีที่แล้วจัดแข่งกันที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ สนามจุ๊บ เพราะสนามศุภชลาศัยปิดซ่อม นอกจากนั้น หลายคนมีคำถามว่า ก็ในเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีสนามกีฬาที่ทันสมัยเป็นของตนเองแล้วที่ศูนย์รังสิต ทำไมในปีที่ ธรรมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจึงไม่ไปจัดที่นั่น ผมได้รับคำตอบว่า สถานที่ไกล ไปมาไม่สะดวกครับ ขืนไปจัดที่นั่นคงมีผู้ชมตะเกียกตะกายไปร่วมชมกันน้อยมาก และอีกประการที่สำคัญคือ ลักษณะอัฒจรรย์ที่มีช่องประตูทางขึ้นไม่เอื้ออำนวยต่อการแปรอักษร รวมความแล้วสนามศุภชลาศัยเหมาะที่สุด
เสน่ห์ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกมการแข่งขัน ทั้ง 2 ทีมมักจะมีนักเตะระดับทีมชาติร่วมอยู่ด้วย และนี่เป็นฟุตบอลนัดเดียว ดังนั้น ต่างก็ใส่กันเต็มๆแน่นอน นอกจากนั้น ยังมีการประชันกันด้านการเชียร์ โดยเฉพาะเชียร์ลีดเดอร์ของทั้ง 2 สถาบันที่ซุ่มซ้อมกันตั้งแต่เย็นยัน 5 ทุ่ม เที่ยงคืน นานร่วม 2 เดือน เพื่อวันนี้วันเดียว มีการแปรอักษรต่อปากต่อคำกัน แซวกันไปแซวกันมา และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขบวนพาเหรดล้อการเมือง ที่ประกอบด้วยหุ่นและป้ายข้อความล้อการเมืองต่างๆ ขณะเดียวกันก็สอดแทรกการแปรอักษรด้วยการเสียดสีการเมืองเป็นระยะ
สำหรับสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา 64 ครั้ง ธรรมศาสตร์ชนะ 21 ครั้ง จุฬาฯ ชนะ 13 ครั้ง นอกนั้น เสมอกัน 30 ครั้ง โดยมีช่วงปี 1964-1978 ที่ทีมจุฬาฯอ่อนเหลือเกิน ผูกปีแพ้ ธรรมศาสตร์ชนะถึง 9 จาก 12 ครั้ง ช่วงนี้แหละครับที่ทำให้ ธรรมศาสตร์ กำสถิติที่เหนือกว่า จุฬาฯ ในปัจจุบัน
แม้ว่าผู้คนจะติดอยู่กับชื่อ ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ แต่งานฟุตบอลประเพณีของทั้ง 2 สถาบันนั้น เขาผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งปีใดใครเป็นเจ้าภาพก็ให้ใช้ชื่อสถาบันนั้นขึ้นก่อน อย่างครั้งหน้าที่จะมีขึ้นสิ้นเดือนนี้เป็นครั้งที่ 65 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ ก็ต้องเรียกว่า ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 65 ชาวเหลืองแดงและเลือดสีชมพู พบกันที่สนามศุภชลาศัย ในวันเสาร์ที่ 31 มกราคมนี้ ตั้งแต่บ่ายต้นๆ ครับ