คอลัมน์ "หัวใจในกีฬา" โดย จำลอง ฝั่งชลจิตร
ก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนถึงการแตกตัวหรือสาขาของกีฬาหลักๆ เพื่อสนับสนุนตลาดสินค้ากีฬาเช่น เสื้อผ้า รองเท้า และ อุปกรณ์สำหรับเล่นกีฬานั้นๆ
นอกจากสนองตลาดสินค้ากีฬา ยังตอบสนองทักษะความสามารถของผู้เล่น ที่ไม่สามารถเล่นกีฬาหลักได้ เช่น ผู้ที่ไม่สามารถเล่นฟุตบอลสนามใหญ่ซึ่งเล่นฝ่ายละ 11 คน แต่พัฒนาตนเองเป็นนักฟุตซอลที่ยอดเยี่ยม หรือเล่นฟุตบอล 7 คนได้อย่างมีสีสัน
อย่างที่เคยบอกว่ามีผู้ขบคิดสร้างสรรค์กีฬาชนิดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา นอกจากจุดประสงค์ทางการตลาดดังกล่าวคร่าวๆ การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ เพื่อความสุขทั้งกายทั้งใจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมอุดมโรค ในสังคมที่พื้นที่สาธารณะกำลังหดตัวเอง กีฬาในร่มกีฬาที่ให้พื้นที่น้อยจะถูกคิดค้นออกมาเรื่อยๆ
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ขณะเดินเล่นอยู่ริมถนนในกรุงเทพฯ ผมได้ดูข่าวกีฬาทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 หรือ ช่อง 5 ไม่แน่ใจ ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการเล่นตลอดจนการควบคุมฝึกฝนนักเรียนให้เล่น และ แข่งขันวอลเล่ย์บอล ผมไม่แน่ใจอีกว่า อาจารย์ ท่านนั้นอยู่โรงเรียนอะไร ที่สมุทรสงครามหรือ สมุทรสาคร ก็ไม่แน่ใจอีก ขอความกรุณาคุณผู้อ่านที่เข้ามาอ่านคอลัมน์นี้ใน "ผู้จัดการออนไลน์" ช่วยเพิ่มเติมให้ถูกต้องสมบูรณ์ด้วยนะครับ
ประสบการณ์จากการฝึกสอนวอลเล่ย์บอลให้แก่นักเรียน และ พาเข้าร่วมแข่งขัน ทำให้อาจารย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ กีฬาวอลเล่ย์บอลชนิดใหม่มีชื่อเรียกว่า "อิมเมจิน วอลเล่ย์บอล" หรือวอลเล่ย์บอลที่เล่นโดยใช้จินตนาการ โดยลดจำนวนผู้เล่นเหลือฝ่ายละ 4 คน
วอลเล่ย์บอลปกติจะกั้นเน็ตสูง ผู้เล่นสองฝ่ายมองเห็นรูปร่างความเคลื่อนไหวและสีหน้าของฝ่ายตรงข้ามตลอดเวลา มองเห็นลูกที่ตีออกไปหรือลูกที่ตบข้ามมาเคลื่อนไหวไปทางใด ด้วยความเร็วประมาณไหน และจะตบไปลงช่องว่างตรงมุมสนามซ้ายหรือขวา หรือจะตบฝังลงข้างหน้า
ทว่าวอลเล่ย์บอลชนิดใหม่ ผู้เล่นสองฝ่ายไม่มีโอกาสเห็นผู้เล่นฝ่ายตรงข้าง (ขณะแข่งขัน) ไม่มีโอกาสเห็นว่าอีกฝ่ายจะเสิร์ฟลูกไปทางไหน ตีไปทางไหนการจะรับลูกของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้ จะต้องใช้จินตนาการ หรือ การคาดเดาเอาทั้งสิ้น
หัวใจสำคัญ หรือ ปัจจัยชี้ขาดที่ก่อให้เกิด "อิมเมจิน วอลเล่ย์บอล" คือเน็ตหรือตาข่ายครับผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้ใช้ผืนผ้าสีดำขนาดใหญ่ขึงเป็นเน็ต ผู้เล่นสองฝ่ายไม่สามารถมองเห็นศีรษะหรือปลายเท้าของกันและกัน ขณะผู้ชมมองเห็นความเคลื่อนไหวของผู้เล่นทุกคน อารมณ์กีฬาคล้ายๆปิดตาตีหม้อนะครับ
น่ายินดีที่กีฬาชนิดนี้เป็นที่สนใจ แล้วมีการแข่งขันสาธิต จะเพื่อทดสอบความนิยมหรือกำหนดกติกาให้เหมาะสมก็ตามใจ
น่ายินดีที่ผู้สร้างสรรค์เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเสนอแนะว่าควรจะพัฒนาให้เป็นที่ชื่นชอบและเล่นกันอย่างกว้างขวางอย่างไร
สำหรับผม ..ผมคิดว่าหัวใจสำคัญของกีฬาตัวนี้คือ เน็ต หรือ ตาข่าย แต่ผมไม่อภิเชษฐ์เอาเสียเลยที่ใช้ผืนผ้าสีดำเหมือนกำลังดูกีฬาในงานศพ!
กีฬาเป็นความสนุกสนาน ความรื่นเริง และความผ่อนคลาย ควรใช้ตาข่ายหรือเน็ตสีอื่น เช่นสีเทา สีน้ำเงินอมเทา สีน้ำเงิน ก็พอไปได้ อย่าใช้สีส้ม สีแสด หรือ สีโทนร้อน เพราะสีโทนนี้จะทำให้นักกีฬาเครียดได้ง่าย ประเดี๋ยวจะไม่สนุก
ใช้สีเทาเถอะครับสบายตา สบายอารมณ์ทั้งผู้ชมและผู้เล่น ทั้งยังมองไม่เห็นฝ่ายตรงข้ามอยู่ดี
ก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนถึงการแตกตัวหรือสาขาของกีฬาหลักๆ เพื่อสนับสนุนตลาดสินค้ากีฬาเช่น เสื้อผ้า รองเท้า และ อุปกรณ์สำหรับเล่นกีฬานั้นๆ
นอกจากสนองตลาดสินค้ากีฬา ยังตอบสนองทักษะความสามารถของผู้เล่น ที่ไม่สามารถเล่นกีฬาหลักได้ เช่น ผู้ที่ไม่สามารถเล่นฟุตบอลสนามใหญ่ซึ่งเล่นฝ่ายละ 11 คน แต่พัฒนาตนเองเป็นนักฟุตซอลที่ยอดเยี่ยม หรือเล่นฟุตบอล 7 คนได้อย่างมีสีสัน
อย่างที่เคยบอกว่ามีผู้ขบคิดสร้างสรรค์กีฬาชนิดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา นอกจากจุดประสงค์ทางการตลาดดังกล่าวคร่าวๆ การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ เพื่อความสุขทั้งกายทั้งใจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมอุดมโรค ในสังคมที่พื้นที่สาธารณะกำลังหดตัวเอง กีฬาในร่มกีฬาที่ให้พื้นที่น้อยจะถูกคิดค้นออกมาเรื่อยๆ
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ขณะเดินเล่นอยู่ริมถนนในกรุงเทพฯ ผมได้ดูข่าวกีฬาทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 หรือ ช่อง 5 ไม่แน่ใจ ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการเล่นตลอดจนการควบคุมฝึกฝนนักเรียนให้เล่น และ แข่งขันวอลเล่ย์บอล ผมไม่แน่ใจอีกว่า อาจารย์ ท่านนั้นอยู่โรงเรียนอะไร ที่สมุทรสงครามหรือ สมุทรสาคร ก็ไม่แน่ใจอีก ขอความกรุณาคุณผู้อ่านที่เข้ามาอ่านคอลัมน์นี้ใน "ผู้จัดการออนไลน์" ช่วยเพิ่มเติมให้ถูกต้องสมบูรณ์ด้วยนะครับ
ประสบการณ์จากการฝึกสอนวอลเล่ย์บอลให้แก่นักเรียน และ พาเข้าร่วมแข่งขัน ทำให้อาจารย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ กีฬาวอลเล่ย์บอลชนิดใหม่มีชื่อเรียกว่า "อิมเมจิน วอลเล่ย์บอล" หรือวอลเล่ย์บอลที่เล่นโดยใช้จินตนาการ โดยลดจำนวนผู้เล่นเหลือฝ่ายละ 4 คน
วอลเล่ย์บอลปกติจะกั้นเน็ตสูง ผู้เล่นสองฝ่ายมองเห็นรูปร่างความเคลื่อนไหวและสีหน้าของฝ่ายตรงข้ามตลอดเวลา มองเห็นลูกที่ตีออกไปหรือลูกที่ตบข้ามมาเคลื่อนไหวไปทางใด ด้วยความเร็วประมาณไหน และจะตบไปลงช่องว่างตรงมุมสนามซ้ายหรือขวา หรือจะตบฝังลงข้างหน้า
ทว่าวอลเล่ย์บอลชนิดใหม่ ผู้เล่นสองฝ่ายไม่มีโอกาสเห็นผู้เล่นฝ่ายตรงข้าง (ขณะแข่งขัน) ไม่มีโอกาสเห็นว่าอีกฝ่ายจะเสิร์ฟลูกไปทางไหน ตีไปทางไหนการจะรับลูกของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้ จะต้องใช้จินตนาการ หรือ การคาดเดาเอาทั้งสิ้น
หัวใจสำคัญ หรือ ปัจจัยชี้ขาดที่ก่อให้เกิด "อิมเมจิน วอลเล่ย์บอล" คือเน็ตหรือตาข่ายครับผู้คิดค้นกีฬาชนิดนี้ใช้ผืนผ้าสีดำขนาดใหญ่ขึงเป็นเน็ต ผู้เล่นสองฝ่ายไม่สามารถมองเห็นศีรษะหรือปลายเท้าของกันและกัน ขณะผู้ชมมองเห็นความเคลื่อนไหวของผู้เล่นทุกคน อารมณ์กีฬาคล้ายๆปิดตาตีหม้อนะครับ
น่ายินดีที่กีฬาชนิดนี้เป็นที่สนใจ แล้วมีการแข่งขันสาธิต จะเพื่อทดสอบความนิยมหรือกำหนดกติกาให้เหมาะสมก็ตามใจ
น่ายินดีที่ผู้สร้างสรรค์เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเสนอแนะว่าควรจะพัฒนาให้เป็นที่ชื่นชอบและเล่นกันอย่างกว้างขวางอย่างไร
สำหรับผม ..ผมคิดว่าหัวใจสำคัญของกีฬาตัวนี้คือ เน็ต หรือ ตาข่าย แต่ผมไม่อภิเชษฐ์เอาเสียเลยที่ใช้ผืนผ้าสีดำเหมือนกำลังดูกีฬาในงานศพ!
กีฬาเป็นความสนุกสนาน ความรื่นเริง และความผ่อนคลาย ควรใช้ตาข่ายหรือเน็ตสีอื่น เช่นสีเทา สีน้ำเงินอมเทา สีน้ำเงิน ก็พอไปได้ อย่าใช้สีส้ม สีแสด หรือ สีโทนร้อน เพราะสีโทนนี้จะทำให้นักกีฬาเครียดได้ง่าย ประเดี๋ยวจะไม่สนุก
ใช้สีเทาเถอะครับสบายตา สบายอารมณ์ทั้งผู้ชมและผู้เล่น ทั้งยังมองไม่เห็นฝ่ายตรงข้ามอยู่ดี