คอลัมน์ "EYE ON SPORTS" โดย กษิติ กมลนาวิน
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ได้ร่วมประชุมกันที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้ระบบหมุนเวียนให้ทวีปต่างๆผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ที่เรียกว่า “ Rotation Policy ” หรือ “ Rotation System ” โดยกรรมการทั้ง 23 คนต่างก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกล้มระบบ โรเทเชิ่น นี้ซะแล้ว
แต่ก่อนนี้ ยุโรป กับ อเมริกาใต้ ถือว่าเป็นเพียง 2 ทวีปหลัก ที่ผู้คนเล่นฟุตบอลอยู่ในระดับเก่งเข้าขั้น ผมจำได้ว่า นักเตะทีมชาติอินเดียยังเล่นบอลด้วยเท้าเปล่าอยู่เลย ดังนั้น การตัดสินให้ชาติใดได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกนั้น จะขึ้นอยู่กับชาติสมาชิกไม่กี่ชาติที่เข้าร่วมประชุม ฟีฟ่า คองเกรส โดยเฉพาะ ฟีฟ่า เวิร์ล คัพ ครั้งแรกในปี 1930 ก็มีการถกเถียงกันว่าจะเลือกทวีปใดดี ระหว่าง ยุโรป กับ อเมริกาใต้ แล้วหวยก็มาออกที่ อุรุกวัย ของอเมริกาใต้ ซึ่งหลายชาติในทวีปยุโรปต่างก็โวยหนักเลย เพราะในสมัยนั้น ใครจะเดินทางไปร่วมแข่งขัน ก็ต้องยอมทนโดยสารไปกับเรืออย่างแสนทรมาน อ้วกแล้วอ้วกอีก รอนแรมอยู่บนเรือนานเกือบเดือนกว่าจะถึงจุดหมาย ทำให้มีเพียง 4 ชาติยุโรปเท่านั้นที่เข้าร่วมฟุตบอลโลกหนแรก จากทั้งหมด 13 ทีม คือ ฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และเบลเยี่ยม
ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในทวีปยุโรปบ้าง โดย อิตาลี เป็นเจ้าภาพในปี 1934 แล้วอีก 4 ปีถัดมา ใครๆก็คิดว่าคราวนี้ เวิร์ล คัพ ต้องวนกลับไปจัดทางอเมริกาใต้ หวังเซ็ทระบบ โรเทเชิ่นตั้งแต่ยุคนั้นเลย แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะฝรั่งเศสดันคว้าสิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพไป เมื่อชาติยุโรปได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพ 2 ครั้งซ้อน จึงเป็นเหตุให้ประเทศทางอเมริกาใต้อย่าง อุรุกวัย และ อาร์เกนตินา ออกอาการฉุนจัด ไม่ยอมเข้าร่วมแข่งด้วย
ไอ้การคว้าสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกโดยชาติยุโรป 2 หนติดกันอย่างหน้าด้านๆ ยังมีให้เห็นอีกในปี 1954 ที่สวิตเซอร์แลนด์ และปี 1958 ที่สวีเดน ทั้งนี้ โลกเพิ่งผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไม่นาน จึงสบโอกาส อ้างว่าให้ชาติเป็นกลางเป็นผู้จัด จะได้มีชาติสมาชิกเข้าร่วมแข่งกันอย่างคับคั่ง หลังจากนั้น ฟีฟ่าคงจะอาย และก็ต้องการหลีกเลี่ยงการถูกบอยคอตต์จากชาติอเมริกาใต้ด้วย จึงเริ่มใช้ระบบผลัดกันระหว่าง ทวีปยุโรป กับ ทวีปอเมริกา ซึ่งระบบนี้ก็ใช้กันยืนยาวมาถึงปี 1998 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ
จบจาก ฟรองซ์ ’98 ฟีฟ่าก็เริ่มระบบ โรเทเชิ่น อย่างจริงๆจังๆ โดยให้ตี๋เอเชียได้สัมผัสความเป็นเจ้าบ้านบ้าง และฟุตบอลโลกในปี 2002 ก็เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วม คือ เกาหลีใต้ กับ ญี่ปุ่น ถัดจากนั้น ปี 2006 เยอรมนีทวง ฟีฟ่า เวิร์ล คัพ กลับไปจัดในยุโรปอีกแล้ว ก่อนที่ในปี 2010 ฟุตบอลโลกหนหน้าจะมุ่งสู่กาฬทวีป คือ อัฟริกาใต้ แล้ว ฟีฟ่า ก็วางแผนให้ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 20 ในปี 2014 กลับไปอเมริกาใต้ ซึ่งเดิมมี บราซิล กับ โกลอมเบีย เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ แต่ภายหลัง โกลอมเบีย ขอถอนตัว ทำให้เหลือเพียง บราซิล ประเทศเดียว ไร้คู่แข่ง แต่กระนั้น ฟีฟ่าก็ยังยึกยัก ออกตัวมาก่อนว่า ถ้าไม่มีชาติใดในอเมริกาใต้ที่สามารถเป็นเจ้าภาพได้เข้าขั้นมาตรฐานที่ ฟีฟ่า กำหนด สิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพก็อาจถูกมอบให้ทวีปอื่นได้เสมอ อย่างไรก็ตาม เซ็พพ์ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่าที่กำลังจะเดินทางมาเยือนเมืองไทยเพื่อเข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารจัดการกีฬา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมในวันที่ 7 พฤศจิกายนได้ออกมาบอกว่า
“ดูท่าว่า บราซิล คงจะได้ ผมคงยังชี้ชัดลงไปว่า บราซิลได้เป็นเจ้าภาพ ไม่ได้หรอก แต่ดูเหมือนว่า ลูกบอลมันกลิ้งเข้าไปในสนามของบราซิลแล้วหละ ” ที่ เซ็พพ์ ต้องพูดอย่างนี้ ก็เพราะว่า คณะกรรมการบริหารฟีฟ่ามีกำหนดชี้ขาดในวันที่ 30 ตุลาคม 2007 ซึ่งป่านนี้ ท่านผู้อ่านคงจะได้ทราบผลกันแล้วครับ
สำหรับ เวิร์ล คัพ ครั้งที่ 21 ในปี 2018 นั้น หากยังใช้ระบบ โรเทเชิ่น เช่นนี้ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพก็จะวนไปที่ทวีปอเมริกาเหนือ หรือแถบอเมริกากลาง แถวแคริบเบียน แต่นี่ ฟีฟ่า ตัดสินใจยกเลิกซะแล้ว ทำให้โอกาสเปิดกว้างสำหรับทุกชาติในโลก ยกเว้น ชาติที่เพิ่งจะเป็นเจ้าภาพไปหยกๆ จะมาเสนอหน้าอีกไม่ได้ เขาหมายถึง อัฟริกาใต้ ซึ่งเป็นเจ้าภาพปี 2010 และ บราซิล เจ้าภาพในปี 2014 นั่นก็ทำให้บรรดาชาติต่างๆรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นมาทันที โดยเฉพาะ อังกฤษ ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ครั้งที่ 8 ในปี 1966 และกำลังจ่อจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2018 นอกจากนั้น ก็ยังมีชาติอื่นๆทั้งที่เคยและไม่เคยจัด ให้ความสนใจเข้าชิงสิทธิ์เป็นเจ้าภาพด้วย อย่างเช่น รัสเซีย จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก รวมทั้ง กลุ่มเบเนลุกซ์ คือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ส และลุกซ็องบูร์ก
ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมฟีฟ่าจึงยกเลิกระบบ Rotation นี้ซะล่ะ ก็เพราะผู้ชมที่มีอำนาจซื้อสูงนั้น อยู่ในทวีปยุโรป ฟุตบอลดีๆอย่างนี้ต้องเตะกันให้ตรงกับช่วง พรายม์ ทายม์ ( Prime Time ) ของยุโรป คือ ราว 2 ทุ่มเห็นจะเหมาะ ถ้าดันไปจัดแข่งในทวีปอื่น คนยุโรปก็ต้องถ่างตาดูกันดึกเกินไป หรือถ้าจะให้เวลามันลงตัวสำหรับยุโรป บางครั้ง เจ้าภาพต้องจัดให้ซัดกันตอนแดดเปรี้ยงๆเลย อย่างฟุตบอลโลก ปี 1986 ที่ เม็กซิโก นั้น มีเตะกันรวม 52 แมตช์ ในจำนวนนี้ 35 แมตช์ คิกอ็อฟตอนเที่ยงตรงครับ สรุปว่า ต้องเลิกระบบหมุนเวียนก็เพื่อให้ชาติยุโรปได้จัดบ่อยๆนั้นเอง ส่วนคนทวีปอื่น ถ้าอยากชมฟุตบอลโลก ก็ถ่างตากันหน่อยแล้วกัน
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ได้ร่วมประชุมกันที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้ระบบหมุนเวียนให้ทวีปต่างๆผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ที่เรียกว่า “ Rotation Policy ” หรือ “ Rotation System ” โดยกรรมการทั้ง 23 คนต่างก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกล้มระบบ โรเทเชิ่น นี้ซะแล้ว
แต่ก่อนนี้ ยุโรป กับ อเมริกาใต้ ถือว่าเป็นเพียง 2 ทวีปหลัก ที่ผู้คนเล่นฟุตบอลอยู่ในระดับเก่งเข้าขั้น ผมจำได้ว่า นักเตะทีมชาติอินเดียยังเล่นบอลด้วยเท้าเปล่าอยู่เลย ดังนั้น การตัดสินให้ชาติใดได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกนั้น จะขึ้นอยู่กับชาติสมาชิกไม่กี่ชาติที่เข้าร่วมประชุม ฟีฟ่า คองเกรส โดยเฉพาะ ฟีฟ่า เวิร์ล คัพ ครั้งแรกในปี 1930 ก็มีการถกเถียงกันว่าจะเลือกทวีปใดดี ระหว่าง ยุโรป กับ อเมริกาใต้ แล้วหวยก็มาออกที่ อุรุกวัย ของอเมริกาใต้ ซึ่งหลายชาติในทวีปยุโรปต่างก็โวยหนักเลย เพราะในสมัยนั้น ใครจะเดินทางไปร่วมแข่งขัน ก็ต้องยอมทนโดยสารไปกับเรืออย่างแสนทรมาน อ้วกแล้วอ้วกอีก รอนแรมอยู่บนเรือนานเกือบเดือนกว่าจะถึงจุดหมาย ทำให้มีเพียง 4 ชาติยุโรปเท่านั้นที่เข้าร่วมฟุตบอลโลกหนแรก จากทั้งหมด 13 ทีม คือ ฝรั่งเศส ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และเบลเยี่ยม
ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในทวีปยุโรปบ้าง โดย อิตาลี เป็นเจ้าภาพในปี 1934 แล้วอีก 4 ปีถัดมา ใครๆก็คิดว่าคราวนี้ เวิร์ล คัพ ต้องวนกลับไปจัดทางอเมริกาใต้ หวังเซ็ทระบบ โรเทเชิ่นตั้งแต่ยุคนั้นเลย แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะฝรั่งเศสดันคว้าสิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพไป เมื่อชาติยุโรปได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพ 2 ครั้งซ้อน จึงเป็นเหตุให้ประเทศทางอเมริกาใต้อย่าง อุรุกวัย และ อาร์เกนตินา ออกอาการฉุนจัด ไม่ยอมเข้าร่วมแข่งด้วย
ไอ้การคว้าสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกโดยชาติยุโรป 2 หนติดกันอย่างหน้าด้านๆ ยังมีให้เห็นอีกในปี 1954 ที่สวิตเซอร์แลนด์ และปี 1958 ที่สวีเดน ทั้งนี้ โลกเพิ่งผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาไม่นาน จึงสบโอกาส อ้างว่าให้ชาติเป็นกลางเป็นผู้จัด จะได้มีชาติสมาชิกเข้าร่วมแข่งกันอย่างคับคั่ง หลังจากนั้น ฟีฟ่าคงจะอาย และก็ต้องการหลีกเลี่ยงการถูกบอยคอตต์จากชาติอเมริกาใต้ด้วย จึงเริ่มใช้ระบบผลัดกันระหว่าง ทวีปยุโรป กับ ทวีปอเมริกา ซึ่งระบบนี้ก็ใช้กันยืนยาวมาถึงปี 1998 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ
จบจาก ฟรองซ์ ’98 ฟีฟ่าก็เริ่มระบบ โรเทเชิ่น อย่างจริงๆจังๆ โดยให้ตี๋เอเชียได้สัมผัสความเป็นเจ้าบ้านบ้าง และฟุตบอลโลกในปี 2002 ก็เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วม คือ เกาหลีใต้ กับ ญี่ปุ่น ถัดจากนั้น ปี 2006 เยอรมนีทวง ฟีฟ่า เวิร์ล คัพ กลับไปจัดในยุโรปอีกแล้ว ก่อนที่ในปี 2010 ฟุตบอลโลกหนหน้าจะมุ่งสู่กาฬทวีป คือ อัฟริกาใต้ แล้ว ฟีฟ่า ก็วางแผนให้ฟุตบอลโลก ครั้งที่ 20 ในปี 2014 กลับไปอเมริกาใต้ ซึ่งเดิมมี บราซิล กับ โกลอมเบีย เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ แต่ภายหลัง โกลอมเบีย ขอถอนตัว ทำให้เหลือเพียง บราซิล ประเทศเดียว ไร้คู่แข่ง แต่กระนั้น ฟีฟ่าก็ยังยึกยัก ออกตัวมาก่อนว่า ถ้าไม่มีชาติใดในอเมริกาใต้ที่สามารถเป็นเจ้าภาพได้เข้าขั้นมาตรฐานที่ ฟีฟ่า กำหนด สิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพก็อาจถูกมอบให้ทวีปอื่นได้เสมอ อย่างไรก็ตาม เซ็พพ์ บลัทเทอร์ ประธานฟีฟ่าที่กำลังจะเดินทางมาเยือนเมืองไทยเพื่อเข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาบริหารจัดการกีฬา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมในวันที่ 7 พฤศจิกายนได้ออกมาบอกว่า
“ดูท่าว่า บราซิล คงจะได้ ผมคงยังชี้ชัดลงไปว่า บราซิลได้เป็นเจ้าภาพ ไม่ได้หรอก แต่ดูเหมือนว่า ลูกบอลมันกลิ้งเข้าไปในสนามของบราซิลแล้วหละ ” ที่ เซ็พพ์ ต้องพูดอย่างนี้ ก็เพราะว่า คณะกรรมการบริหารฟีฟ่ามีกำหนดชี้ขาดในวันที่ 30 ตุลาคม 2007 ซึ่งป่านนี้ ท่านผู้อ่านคงจะได้ทราบผลกันแล้วครับ
สำหรับ เวิร์ล คัพ ครั้งที่ 21 ในปี 2018 นั้น หากยังใช้ระบบ โรเทเชิ่น เช่นนี้ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าภาพก็จะวนไปที่ทวีปอเมริกาเหนือ หรือแถบอเมริกากลาง แถวแคริบเบียน แต่นี่ ฟีฟ่า ตัดสินใจยกเลิกซะแล้ว ทำให้โอกาสเปิดกว้างสำหรับทุกชาติในโลก ยกเว้น ชาติที่เพิ่งจะเป็นเจ้าภาพไปหยกๆ จะมาเสนอหน้าอีกไม่ได้ เขาหมายถึง อัฟริกาใต้ ซึ่งเป็นเจ้าภาพปี 2010 และ บราซิล เจ้าภาพในปี 2014 นั่นก็ทำให้บรรดาชาติต่างๆรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นมาทันที โดยเฉพาะ อังกฤษ ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ครั้งที่ 8 ในปี 1966 และกำลังจ่อจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2018 นอกจากนั้น ก็ยังมีชาติอื่นๆทั้งที่เคยและไม่เคยจัด ให้ความสนใจเข้าชิงสิทธิ์เป็นเจ้าภาพด้วย อย่างเช่น รัสเซีย จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก รวมทั้ง กลุ่มเบเนลุกซ์ คือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ส และลุกซ็องบูร์ก
ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมฟีฟ่าจึงยกเลิกระบบ Rotation นี้ซะล่ะ ก็เพราะผู้ชมที่มีอำนาจซื้อสูงนั้น อยู่ในทวีปยุโรป ฟุตบอลดีๆอย่างนี้ต้องเตะกันให้ตรงกับช่วง พรายม์ ทายม์ ( Prime Time ) ของยุโรป คือ ราว 2 ทุ่มเห็นจะเหมาะ ถ้าดันไปจัดแข่งในทวีปอื่น คนยุโรปก็ต้องถ่างตาดูกันดึกเกินไป หรือถ้าจะให้เวลามันลงตัวสำหรับยุโรป บางครั้ง เจ้าภาพต้องจัดให้ซัดกันตอนแดดเปรี้ยงๆเลย อย่างฟุตบอลโลก ปี 1986 ที่ เม็กซิโก นั้น มีเตะกันรวม 52 แมตช์ ในจำนวนนี้ 35 แมตช์ คิกอ็อฟตอนเที่ยงตรงครับ สรุปว่า ต้องเลิกระบบหมุนเวียนก็เพื่อให้ชาติยุโรปได้จัดบ่อยๆนั้นเอง ส่วนคนทวีปอื่น ถ้าอยากชมฟุตบอลโลก ก็ถ่างตากันหน่อยแล้วกัน