ด้วยวัย 49 ปี 10 เดือน “พเยาว์ พูนธรัตน์” นักชกเหรียญโอลิมปิกคนแรกของไทย จากโลกใบนี้ไปอย่างสงบหลังจากต่อสู้กับโรค ALS “Amyotrophic lateral sclerosis” อันเป็นโรคที่เกิดจากการตายของเซลล์ ประสาทในไขสันหลัง ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย มานานถึง 5 ปีเป็นการจากไปอย่างสงบที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 49 ที่ผ่านมา

การเสียชีวิตของ “พเยาว์ พูลธรัตน์” อดีตเด็กหนุ่มจากบางสะพาน ผู้มี “โผน กิ่งเพชร” เป็นแม่แบบในการต่อสู้บนสังเวียนผืนผ้าใบ มิใช่รายแรกของการสูญเสียวีรบุรุษในวงการกีฬาไทยแต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบโดยตรงไม่ได้คิดแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในขณะที่ช่วงปีก่อนที่ “พเยาว์” จะเสียชีวิตเขากลับคิดถึงพี่น้องร่วมวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการหมัดมวยซึ่งเป็นกีฬาในลักษณะปะทะโดยตรงและเป็นต้นเหตุฮีโร่เหรียญโอลิมปิกต้องจากไปด้วยก่อนวัยอันควร
27 เมษายน 2548 ในงานมอบรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทยได้มีพิธีมอบรางวัลทำเนียบเกียรติยศนักกีฬาไทยให้กับ พเยาว์ พูลธรัตน์ ในฐานะนักชกผู้ชิตเหรียญรางวัลโอลิมปิกคนแรกของไทยเป็นงานแรกที่อดีตนักมวยผู้แข็งแกร่ง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ยอมปรากฏกายสู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีด้วยสภาพที่หลายคนเห็นแล้วเหมือนกับมีก้อนอะไรบางอย่างมาจุกที่ลำคอ
ในวันดังกล่าว พเยาว์ ที่ต้องนั่งอยู่บนรถเข็นตลอดเวลาเนื่องจากอาการป่วยเดินทางมาพร้อมกับนางอดาวัลย์ พูลธรัตน์ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากแม้จะตื้นตันกับเกียรติยศที่ได้รับ แต่พเยาว์ ก็ไม่สามารถแม้แต่จะแสดงความยินดีออกทางใบหน้าหรือคำพูดเช่นคนปกติทั่วไป แต่ด้วยความเป็นนักสู้แม้รู้ว่าโรคของตนเองนั้นรักษาไม่หายแต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ เขาตัดสินใจสู้กับชะตาชีวิตของตนเองอีกครั้ง ด้วยการเขียนหนังสือร้องเรียนโดยใช้ปากคาบหลอดกาแฟแล้วจิ้มไปยังพยัญชนะและสระบนแผ่นกระ ดาษก่อนหน้าเดินทางมาร่วมงาน โดยมีใจความในเอกสารร้องเรียนว่า
"ผมเป็นโรคเอแอลเอสไม่มีทางรักษาได้ ในอังกฤษมีคนเป็นกันมาก บ้านเราก็เป็นหนึ่งในล้าน ผมโชคไม่ดี อาการของโรคจะมีอาการหายใจติดขัด กินอาหารก็ลำบาก มีอาการสำลักตลอดเวลา ทุกวันผมต้องต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ผมเดินไม่ได้ แขนขาขยับไม่ได้ แต่ความจำและสมองของผมยังดีอยู่"

ขณะที่ข้อความต่อจากนั้นยังระบุถึงต้นสายปลายเหตุด้วยว่า "สาเหตุของการเกิดโรคนั้นเป็นผลมาจากอาการบอบช้ำของการต่อสู้ในกีฬามวยมาเป็นเวลานานโดยผลกระทบดังกล่าวทำให้ไม่สามารถนำเลือดที่เสียส่วนนี้มาฟอกให้ดีได้ และผมซึ่งเป็นรายแรกๆของประเทศที่ป่วยด้วยโรคนี้อยากเรียกร้องให้รัฐบาลจัดงานวิจัย จัดงบประมาณให้มากกว่านี้ ผมขอเรียกร้องว่า ครั้งหนึ่งผมได้เหรียญทองแดงในปี พ.ศ. 2519 และได้รับความช่วยเหลือในปี พ.ศ. 2545 ผมกำลังจะหมดลมหายใจ ทุกวันนี้มีค่าใช้จ่ายในเรื่องยาซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท และค่าอาหารทางด้านโปรตีน และอื่นๆ ก็ตกเดือนละประมาณ 20,000 บาท"
จากวันที่พเยาว์ปรากฏตัวเพื่อรับรางวัลเมื่อเดือนเมษายนปี 2548 จนกระทั่งถึงวันที่ 13 สิงหาคม 49 อันเป็นวันที่ พเยาว์ เสียชีวิตนับรวมเป็นเวลา 15 เดือนที่อดีตฮีโร่โอลิมปิกได้ใช้ ปากคาบหลอดกาแฟจิ้มตัวอักษรเพื่อทำหนังสือร้องเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่เสียงตอบรับทั้งจากภาครัฐ หรือ แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยใช้ต้นทุนทางสังคมอันมีมูลค่าประเมินไม่ได้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของ “พเยาว์ พูลธรัตน์” ในฐานะผู้แทนราษฎรมีเพียงเสียงตอบกลับเบาๆจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าได้ให้ความช่วยเหลือกับครอบครัว “พเยาว์” ไปแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ล้านบาทในขณะที่หน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลนักกีฬาโดยตรงได้ให้เงินช่วยเหลือเพียงเดือนละ 5 พันบาทในขณะที่ค่าใช้จ่ายจริงของ “พเยาว์” สูงถึงเดือนละ 4 หมื่นบาท
ในยุคสมัยที่สังคมประเมินค่าของเหรียญรางวัลของนักกีฬาในมหกรรมกีฬาอย่างโอลิมปิก เอเชี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ หรือแม้กระทั่งกีฬาแห่งชาติเป็นตัวเลขของเงินอัดฉีด แต่ความเป็นจริงนั้นเหรียญรางวัลที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศรู้สึกภาคภูมิใจเดินเชิดหน้าในสังคมโลกอย่างไม่อายใคร เป็นเหรียญรางวัลที่ประเมินค่าไม่ได้และสิ่งที่ “พเยาว์ พูลธรัตน์” เรียกร้องให้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจก็ไม่ได้เป็นการเรียกร้องเพื่อตนเอง หากเป็นการบอกกล่าวแก่สังคมรวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้รู้ว่าอดีตฮีโร่ที่เคยแข็งแกร่งบนสังเวียนการต่อสู้นั้นในวันหนึ่งสังขารก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับโรคร้าย และโรคร้ายดังกล่าวนั้นก็เกิดขึ้นจากการต่อสู้เพื่อนำเอาความภาคภูมิใจมาสู่มาตุภูมินั่นเอง
การเสียชีวิตของ “พเยาว์ พูลธรัตน์” อดีตเด็กหนุ่มจากบางสะพาน ผู้มี “โผน กิ่งเพชร” เป็นแม่แบบในการต่อสู้บนสังเวียนผืนผ้าใบ มิใช่รายแรกของการสูญเสียวีรบุรุษในวงการกีฬาไทยแต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบโดยตรงไม่ได้คิดแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในขณะที่ช่วงปีก่อนที่ “พเยาว์” จะเสียชีวิตเขากลับคิดถึงพี่น้องร่วมวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการหมัดมวยซึ่งเป็นกีฬาในลักษณะปะทะโดยตรงและเป็นต้นเหตุฮีโร่เหรียญโอลิมปิกต้องจากไปด้วยก่อนวัยอันควร
27 เมษายน 2548 ในงานมอบรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทยได้มีพิธีมอบรางวัลทำเนียบเกียรติยศนักกีฬาไทยให้กับ พเยาว์ พูลธรัตน์ ในฐานะนักชกผู้ชิตเหรียญรางวัลโอลิมปิกคนแรกของไทยเป็นงานแรกที่อดีตนักมวยผู้แข็งแกร่ง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ยอมปรากฏกายสู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีด้วยสภาพที่หลายคนเห็นแล้วเหมือนกับมีก้อนอะไรบางอย่างมาจุกที่ลำคอ
ในวันดังกล่าว พเยาว์ ที่ต้องนั่งอยู่บนรถเข็นตลอดเวลาเนื่องจากอาการป่วยเดินทางมาพร้อมกับนางอดาวัลย์ พูลธรัตน์ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากแม้จะตื้นตันกับเกียรติยศที่ได้รับ แต่พเยาว์ ก็ไม่สามารถแม้แต่จะแสดงความยินดีออกทางใบหน้าหรือคำพูดเช่นคนปกติทั่วไป แต่ด้วยความเป็นนักสู้แม้รู้ว่าโรคของตนเองนั้นรักษาไม่หายแต่ก็ยังไม่ยอมแพ้ เขาตัดสินใจสู้กับชะตาชีวิตของตนเองอีกครั้ง ด้วยการเขียนหนังสือร้องเรียนโดยใช้ปากคาบหลอดกาแฟแล้วจิ้มไปยังพยัญชนะและสระบนแผ่นกระ ดาษก่อนหน้าเดินทางมาร่วมงาน โดยมีใจความในเอกสารร้องเรียนว่า
"ผมเป็นโรคเอแอลเอสไม่มีทางรักษาได้ ในอังกฤษมีคนเป็นกันมาก บ้านเราก็เป็นหนึ่งในล้าน ผมโชคไม่ดี อาการของโรคจะมีอาการหายใจติดขัด กินอาหารก็ลำบาก มีอาการสำลักตลอดเวลา ทุกวันผมต้องต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้ผมเดินไม่ได้ แขนขาขยับไม่ได้ แต่ความจำและสมองของผมยังดีอยู่"
ขณะที่ข้อความต่อจากนั้นยังระบุถึงต้นสายปลายเหตุด้วยว่า "สาเหตุของการเกิดโรคนั้นเป็นผลมาจากอาการบอบช้ำของการต่อสู้ในกีฬามวยมาเป็นเวลานานโดยผลกระทบดังกล่าวทำให้ไม่สามารถนำเลือดที่เสียส่วนนี้มาฟอกให้ดีได้ และผมซึ่งเป็นรายแรกๆของประเทศที่ป่วยด้วยโรคนี้อยากเรียกร้องให้รัฐบาลจัดงานวิจัย จัดงบประมาณให้มากกว่านี้ ผมขอเรียกร้องว่า ครั้งหนึ่งผมได้เหรียญทองแดงในปี พ.ศ. 2519 และได้รับความช่วยเหลือในปี พ.ศ. 2545 ผมกำลังจะหมดลมหายใจ ทุกวันนี้มีค่าใช้จ่ายในเรื่องยาซึ่งตกเดือนละประมาณ 25,000 บาท และค่าอาหารทางด้านโปรตีน และอื่นๆ ก็ตกเดือนละประมาณ 20,000 บาท"
จากวันที่พเยาว์ปรากฏตัวเพื่อรับรางวัลเมื่อเดือนเมษายนปี 2548 จนกระทั่งถึงวันที่ 13 สิงหาคม 49 อันเป็นวันที่ พเยาว์ เสียชีวิตนับรวมเป็นเวลา 15 เดือนที่อดีตฮีโร่โอลิมปิกได้ใช้ ปากคาบหลอดกาแฟจิ้มตัวอักษรเพื่อทำหนังสือร้องเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่เสียงตอบรับทั้งจากภาครัฐ หรือ แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยใช้ต้นทุนทางสังคมอันมีมูลค่าประเมินไม่ได้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของ “พเยาว์ พูลธรัตน์” ในฐานะผู้แทนราษฎรมีเพียงเสียงตอบกลับเบาๆจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าได้ให้ความช่วยเหลือกับครอบครัว “พเยาว์” ไปแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ล้านบาทในขณะที่หน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลนักกีฬาโดยตรงได้ให้เงินช่วยเหลือเพียงเดือนละ 5 พันบาทในขณะที่ค่าใช้จ่ายจริงของ “พเยาว์” สูงถึงเดือนละ 4 หมื่นบาท
ในยุคสมัยที่สังคมประเมินค่าของเหรียญรางวัลของนักกีฬาในมหกรรมกีฬาอย่างโอลิมปิก เอเชี่ยนเกมส์ ซีเกมส์ หรือแม้กระทั่งกีฬาแห่งชาติเป็นตัวเลขของเงินอัดฉีด แต่ความเป็นจริงนั้นเหรียญรางวัลที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศรู้สึกภาคภูมิใจเดินเชิดหน้าในสังคมโลกอย่างไม่อายใคร เป็นเหรียญรางวัลที่ประเมินค่าไม่ได้และสิ่งที่ “พเยาว์ พูลธรัตน์” เรียกร้องให้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่เขาจะหมดลมหายใจก็ไม่ได้เป็นการเรียกร้องเพื่อตนเอง หากเป็นการบอกกล่าวแก่สังคมรวมไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ได้รู้ว่าอดีตฮีโร่ที่เคยแข็งแกร่งบนสังเวียนการต่อสู้นั้นในวันหนึ่งสังขารก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับโรคร้าย และโรคร้ายดังกล่าวนั้นก็เกิดขึ้นจากการต่อสู้เพื่อนำเอาความภาคภูมิใจมาสู่มาตุภูมินั่นเอง