ตลอดเส้นทาง 20 สเตจของการแข่งขันจักรยานทางไกลรายการที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกอย่าง ตูร์ เดอร์ ฟรองซ์ ประจำปี 2006 จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าบ้างว่าขีดจำกัดของความอดทนของ ฟลอยด์ แลนดิส นักปั่นชาวสหรัฐฯจากทีมฟีนัค ซึ่งเข้าเส้นชัยในฐานะผู้ชนะเวลารวมของการชิงชัยเสื้อเหลืองบนถนน ฌองป์ส เอลิเซย์ กลางกรุงปารีส กับอาการบาดเจ็บที่สะโพกนั้น เป็นความอดทนในระดับที่มนุษย์ธรรมดาจะทานทนได้หรือไม่ หากไร้ซึ่งความมุ่งมั่นในชัยชนะเบื้องหน้า
การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ประจำปี 2006 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นชัยชนะของนักปั่นชาวสหรัฐฯ คนที่สามอย่าง ฟลอยด์ แลนดิส ที่มาถึงจุดหมายปลายทางของการชิงชัยเสื้อเหลืองได้สำเร็จต่อจาก เกรก เลมอนด์ และ แลนซ์ อาร์มสตรอง โดยการแข่งขันจักรยานทางไกลที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดในโลกครั้งนี้ ขาดดาราดังอย่าง อาร์มสตรอง ที่อำลาวงการหลังคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 7 ขาด แยน อูลล์ริช และ อีวาน บาสโซ ซึ่งถูกห้ามลงทำการแข่งขันหลังจากผลการตรวจพบว่าใช้สารกระตุ้นในการแข่งขันที่สเปน
เมื่อการแข่งขันต้องเริ่มต้นเยี่ยงนี้ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ประจำปี 2006 จึงเป็นการชิงชัยเสื้อเหลืองไร้เงาของซูเปอร์สตาร์ แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้การแข่งขันจักรยานทางไกลรายการนี้ลดความน่าสนใจลง เพราะถึงแม้จะไม่มีนักปั่นชื่อดังลงสนามการแข่งขัน แต่เส้นทางตลอดทั้ง 20 สเตจ ได้กลายเป็นสนามเปิดให้นักปั่นทุกคนมีโอกาสใน “เสื้อเหลือง” เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญกองเชียร์ทั้งขาประจำและขาจร ต่างก็คาดเดาไม่ถูกว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในเวลารวมเมื่อเข้าสู่เส้นชัยที่กรุงปารีส

ชัยชนะของ “แลนดิส” แม้จะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับแชมป์สมัยที่ 7 ของ แลนซ์ อาร์มสตรอง แต่กว่าจะถึงเส้นชัยที่ปารีสได้ ผลงานของ แลนดิส กลายเป็นอีกหนึ่งตำนานที่นักปั่นทุกคนต้องจดจำ เพราะนับตั้งแต่เริ่มการแข่งขัน นักปั่นวัย 30 ปีชาวสหรัฐฯ ต้องลงสนามด้วยอาการบาดเจ็บที่สะโพกด้านขวาอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากอุบัติเหตุในครั้งเก่าซึ่งทำให้ขาด้านซ้าย และ ขวาของเขานั้นไม่เท่ากัน
แน่นอนว่าตลอดทั้ง 20 สเตจของการแข่งขันนอกจากแลนดิส จะต้องต่อสู้กับนักปั่นจากทีมอื่น ต่อสู้กับเส้นทางอันลาดชันในการขึ้นเขา นักปั่นจากทีมฟีนัคผู้นี้ยังต้องต่อสู้กับอาการบาดเจ็บของตนเองอีกด้วย ซึ่งอาการโดยรวมของ แลนดิส นั้นเขาไม่สามารถไขว้ขาขวาข้ามไปยังขาซ้ายได้ เมื่อต้องลงสนามในการแข่งขันทุกสเตจนักปั่นชาวสหรัฐฯผู้นี้ จะต้องวางขาขวาบนจักรยานก่อนขาซ้าย เมื่อเริ่มต้นการปั่นเขาจะต้องทนกับความเจ็บปวดตลอดระยะทางเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง
ความอดทนของ ฟลอยด์ แลนดิส สัมฤทธิ์ผลเมื่อเขาได้ขึ้นเป็นผู้นำในเวลารวมเมื่อถึงสเตจที่ 11 เป็นการสวมเสื้อเหลืองครั้งแรกในชีวิตหลังจากปล่อยให้ นักปั่นชาวสเปนอย่าง ออสการ์ เปไรย์โร ทำคะแนนขึ้นไปก่อน แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อ แลนดิส ประสบอุบัติเหตุในช่วงเส้นทางขึ้นเขา ทำให้เวลารวมตามหลังผู้นำอยู่ถึง 10 นาที แต่ในสเตจที่ 17 แลนดิส ได้แสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดของมนุษย์คนหนึ่งด้วยการคว้าชัยในสเตจดังกล่าว และสามารถขึ้นเป็นผู้นำในเวลารวมเหนือ เปไรโร่ ถึง 30 วินาที และทำให้เขาพลิกสถานะตนเองจากผู้ตามกลายเป็นผู้นำที่คว้าชัยชนะจากสเตจดังกล่าวจนกระทั่งเข้าเส้นชัยในกรุงปารีสได้สำเร็จ
ชัยชนะดังกล่าวนับเป็นความฝันตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีของแลนดิส นับตั้งแต่ทิ้งบ้านเกิดในเพนซิลวาเนีย เข้ามาหาความสำเร็จพร้อมกับเปลี่ยนเส้นทางตนเองจากนักจักรยานภูเขา มาเป็น นักปั่นจักรยานทางไกล การต่อสู้จากกับอาการบาดเจ็บที่สะโพกในการแข่งขันครั้งนี้อาจเป็นความอดทนเพียงเล็กน้อยหากจะเทียบกับความอดทนที่ แลนดิส ต้องเผชิญหน้าในชีวิตจริงนับตั้งแต่ฝืนคำสั่งของครอบครัว จนกระทั่งเป็นบันไดให้แลนซ์ คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ครั้งที่สี่ ซึ่งในวันนี้ชายหนุ่มจากเพนซิลวาเนียได้ขึ้นสวมเสื้อเหลือง และ รับช่อมะกอกแห่งชัยชนะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
หลังพิธีการอันเต็มไปด้วยรอยยิ้มของผู้ชนะผ่านไป แลนดิส ให้สัมภาษณ์ว่า "จากนี้ไปชีวิตผมคงเปลี่ยนไป แต่การเดินทางมาถึงความสำเร็จในรายการตูร์ เดอ ฟรองซ์ ได้เช่นนี้ต้องยกความดีทั้งหมดให้กับพ่อและแม่ที่สอนให้เป็นผมเป็นคนทำงานอย่างจริงจัง และ มีความอดทนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันจะทำให้เราถึงเป้าหมายในชีวิตได้ และคำสอนดังกล่าวได้ช่วยผมในการแข่งขันครั้งนี้ให้อดทนกับความเจ็บปวด โดยผลสำเร็จของมันนั้นคุ้มค่าจริงๆ”
ประวัติการแข่งขันของ ฟลอยด์ แลนดิส ปัจจุบนสังกัดทีม ฟีนัค
- ปี 1990 ซื้อรถจักรยานจักรยานภูเขาคันแรก
- ปี 1992 แชมป์จูเนียร์ระดับชาติในการแข่งขันจักรยานภูเขา
- ปี 1993 ทีมชาติจักรยานภูเขา สหรัฐอเมริกา
- ปี 1998 หลังย้ายมาอยู่แคลิฟอร์เนีย แลนดิส เปลี่ยนมาเป็นนักปั่นจักรยานทางไกล
- ปี 1999 เข้าร่วมทีม เมอร์คิวรี่ย์ อันเป็นทีมจักรยานทางไกลอาชีพ
- ปี 2000 ชนะการแข่งขันรายการ ตูร์ ดู ปัวตูย์- คาเรนเตส
- ปี 2002 เข้าร่วมทีม ยูเอส โพสทัล และเข้าร่วมการแข่งขัน ตูร์ เดอ ฟรองซ์ เป็นครั้งแรก
- ปี 2003 เดือนมกราคม เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บที่สะโพก
- ปี 2003 เดือนกรกฎาคม ช่วยให้ อาร์มสตรอง คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ครั้งที่ 4
- ปี 2004 คว้าชัยในการแข่งขัน ตูร์ ดัลกรีฟ
- ปี 2005 เข้าร่วมทีม ฟีนัค และจบอันดับที่ 9 ในการแขง่ขันตูร์ เดอ ฟรองซ์
- ปี 2006 คว้าชัยในการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์
การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ประจำปี 2006 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นชัยชนะของนักปั่นชาวสหรัฐฯ คนที่สามอย่าง ฟลอยด์ แลนดิส ที่มาถึงจุดหมายปลายทางของการชิงชัยเสื้อเหลืองได้สำเร็จต่อจาก เกรก เลมอนด์ และ แลนซ์ อาร์มสตรอง โดยการแข่งขันจักรยานทางไกลที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดในโลกครั้งนี้ ขาดดาราดังอย่าง อาร์มสตรอง ที่อำลาวงการหลังคว้าแชมป์เป็นสมัยที่ 7 ขาด แยน อูลล์ริช และ อีวาน บาสโซ ซึ่งถูกห้ามลงทำการแข่งขันหลังจากผลการตรวจพบว่าใช้สารกระตุ้นในการแข่งขันที่สเปน
เมื่อการแข่งขันต้องเริ่มต้นเยี่ยงนี้ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ประจำปี 2006 จึงเป็นการชิงชัยเสื้อเหลืองไร้เงาของซูเปอร์สตาร์ แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้การแข่งขันจักรยานทางไกลรายการนี้ลดความน่าสนใจลง เพราะถึงแม้จะไม่มีนักปั่นชื่อดังลงสนามการแข่งขัน แต่เส้นทางตลอดทั้ง 20 สเตจ ได้กลายเป็นสนามเปิดให้นักปั่นทุกคนมีโอกาสใน “เสื้อเหลือง” เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญกองเชียร์ทั้งขาประจำและขาจร ต่างก็คาดเดาไม่ถูกว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะในเวลารวมเมื่อเข้าสู่เส้นชัยที่กรุงปารีส
ชัยชนะของ “แลนดิส” แม้จะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับแชมป์สมัยที่ 7 ของ แลนซ์ อาร์มสตรอง แต่กว่าจะถึงเส้นชัยที่ปารีสได้ ผลงานของ แลนดิส กลายเป็นอีกหนึ่งตำนานที่นักปั่นทุกคนต้องจดจำ เพราะนับตั้งแต่เริ่มการแข่งขัน นักปั่นวัย 30 ปีชาวสหรัฐฯ ต้องลงสนามด้วยอาการบาดเจ็บที่สะโพกด้านขวาอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากอุบัติเหตุในครั้งเก่าซึ่งทำให้ขาด้านซ้าย และ ขวาของเขานั้นไม่เท่ากัน
แน่นอนว่าตลอดทั้ง 20 สเตจของการแข่งขันนอกจากแลนดิส จะต้องต่อสู้กับนักปั่นจากทีมอื่น ต่อสู้กับเส้นทางอันลาดชันในการขึ้นเขา นักปั่นจากทีมฟีนัคผู้นี้ยังต้องต่อสู้กับอาการบาดเจ็บของตนเองอีกด้วย ซึ่งอาการโดยรวมของ แลนดิส นั้นเขาไม่สามารถไขว้ขาขวาข้ามไปยังขาซ้ายได้ เมื่อต้องลงสนามในการแข่งขันทุกสเตจนักปั่นชาวสหรัฐฯผู้นี้ จะต้องวางขาขวาบนจักรยานก่อนขาซ้าย เมื่อเริ่มต้นการปั่นเขาจะต้องทนกับความเจ็บปวดตลอดระยะทางเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง
ความอดทนของ ฟลอยด์ แลนดิส สัมฤทธิ์ผลเมื่อเขาได้ขึ้นเป็นผู้นำในเวลารวมเมื่อถึงสเตจที่ 11 เป็นการสวมเสื้อเหลืองครั้งแรกในชีวิตหลังจากปล่อยให้ นักปั่นชาวสเปนอย่าง ออสการ์ เปไรย์โร ทำคะแนนขึ้นไปก่อน แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อ แลนดิส ประสบอุบัติเหตุในช่วงเส้นทางขึ้นเขา ทำให้เวลารวมตามหลังผู้นำอยู่ถึง 10 นาที แต่ในสเตจที่ 17 แลนดิส ได้แสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดของมนุษย์คนหนึ่งด้วยการคว้าชัยในสเตจดังกล่าว และสามารถขึ้นเป็นผู้นำในเวลารวมเหนือ เปไรโร่ ถึง 30 วินาที และทำให้เขาพลิกสถานะตนเองจากผู้ตามกลายเป็นผู้นำที่คว้าชัยชนะจากสเตจดังกล่าวจนกระทั่งเข้าเส้นชัยในกรุงปารีสได้สำเร็จ
ชัยชนะดังกล่าวนับเป็นความฝันตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีของแลนดิส นับตั้งแต่ทิ้งบ้านเกิดในเพนซิลวาเนีย เข้ามาหาความสำเร็จพร้อมกับเปลี่ยนเส้นทางตนเองจากนักจักรยานภูเขา มาเป็น นักปั่นจักรยานทางไกล การต่อสู้จากกับอาการบาดเจ็บที่สะโพกในการแข่งขันครั้งนี้อาจเป็นความอดทนเพียงเล็กน้อยหากจะเทียบกับความอดทนที่ แลนดิส ต้องเผชิญหน้าในชีวิตจริงนับตั้งแต่ฝืนคำสั่งของครอบครัว จนกระทั่งเป็นบันไดให้แลนซ์ คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ครั้งที่สี่ ซึ่งในวันนี้ชายหนุ่มจากเพนซิลวาเนียได้ขึ้นสวมเสื้อเหลือง และ รับช่อมะกอกแห่งชัยชนะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
หลังพิธีการอันเต็มไปด้วยรอยยิ้มของผู้ชนะผ่านไป แลนดิส ให้สัมภาษณ์ว่า "จากนี้ไปชีวิตผมคงเปลี่ยนไป แต่การเดินทางมาถึงความสำเร็จในรายการตูร์ เดอ ฟรองซ์ ได้เช่นนี้ต้องยกความดีทั้งหมดให้กับพ่อและแม่ที่สอนให้เป็นผมเป็นคนทำงานอย่างจริงจัง และ มีความอดทนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันจะทำให้เราถึงเป้าหมายในชีวิตได้ และคำสอนดังกล่าวได้ช่วยผมในการแข่งขันครั้งนี้ให้อดทนกับความเจ็บปวด โดยผลสำเร็จของมันนั้นคุ้มค่าจริงๆ”
ประวัติการแข่งขันของ ฟลอยด์ แลนดิส ปัจจุบนสังกัดทีม ฟีนัค
- ปี 1990 ซื้อรถจักรยานจักรยานภูเขาคันแรก
- ปี 1992 แชมป์จูเนียร์ระดับชาติในการแข่งขันจักรยานภูเขา
- ปี 1993 ทีมชาติจักรยานภูเขา สหรัฐอเมริกา
- ปี 1998 หลังย้ายมาอยู่แคลิฟอร์เนีย แลนดิส เปลี่ยนมาเป็นนักปั่นจักรยานทางไกล
- ปี 1999 เข้าร่วมทีม เมอร์คิวรี่ย์ อันเป็นทีมจักรยานทางไกลอาชีพ
- ปี 2000 ชนะการแข่งขันรายการ ตูร์ ดู ปัวตูย์- คาเรนเตส
- ปี 2002 เข้าร่วมทีม ยูเอส โพสทัล และเข้าร่วมการแข่งขัน ตูร์ เดอ ฟรองซ์ เป็นครั้งแรก
- ปี 2003 เดือนมกราคม เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บที่สะโพก
- ปี 2003 เดือนกรกฎาคม ช่วยให้ อาร์มสตรอง คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ครั้งที่ 4
- ปี 2004 คว้าชัยในการแข่งขัน ตูร์ ดัลกรีฟ
- ปี 2005 เข้าร่วมทีม ฟีนัค และจบอันดับที่ 9 ในการแขง่ขันตูร์ เดอ ฟรองซ์
- ปี 2006 คว้าชัยในการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์