การประกาศเลิกท่าเต้น ‘โรโบเคร้าช์’ เพื่อมุ่งสู่เกมฟุตบอลอย่างจริงจังของปีเตอร์ เคร้าช์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีกับท่าดีใจ ในการฉลองชัยเวลาที่ยิงประตูได้เมื่อไม่ถึงครึ่งเดือนที่ผ่านมา จนกลายเป็นท่าฮิตไปทั่วโลก โดยเฉพาะแฟนบอลชาวอังกฤษเอง รวมถึงเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ทรงโปรดปรานและมีพระราชปฏิสันฐานกับเคร้าช์เป็นพิเศษในคราวไปเยี่ยมแคมป์เก็บตัวนักเตะทีมชาติทรีไลอ้อนส์
แม้แต่บริษัทเกมชื่อดังของอังกฤษ ซับบิวเทโอ ก็มีหัวคิดทางการตลาดสร้างหุ่นจำลอง ปีเตอร์ เคร้าช์ เต้นท่าหุ่นยนต์ เตรียมจัดวางจำหน่ายให้แฟนบอลได้ซื้อและเก็บสะสม
ครั้งสุดท้ายที่แฟนบอลได้เห็นเคร้าช์เต้นก็คือแมทช์พบจาเมกาในเกมอุ่นเครื่อง ซึ่งเคร้าช์บอกอย่างแจ่มแจ้งว่า จะใช้ท่านี้อีกครั้งหากทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์โลกได้
การตื่นตัวและฮิตจนกลายเป็นแฟชั่นในท่าเต้นโรโบเคร้าช์ หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียนของอังกฤษ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ‘เป็นการสร้างชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว ประดุจฮีโร่ในความคลั่งไคล้ทางวัฒนธรรม!!’
จากปรากฏการณ์ที่อาศัยแรงกระตุ้นจากเกมฟุตบอล ในท้ายที่สุดก็สามารถมองเห็นว่า เคร้าช์นั้นมีพรสวรรค์ทั้งในสนามและนอกสนามในการสร้างปรากฏการณ์ ‘เคร้าช์มาเนีย’ ตั้งแต่ฟุตบอลโลกยังไม่ทันเริ่มต้น

สำหรับท่าเต้น ‘โรโบเคร้าช์’ มีรากเหง้าที่มาจากการเต้นรำที่เรียกว่า โรโบติก แดนซ์ หรือโรบ็อท แดนซ์ เป็นการเต้นท่าหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสไตล์การเต้นที่เปี่ยมด้วยมายาของการแสดงท่า ด้วยการเชื่อมเอาการเต้นรำแบบป๊อปปิงนำมาดัดแปลงเลียนแบบการเต้นรำของหุ่นยนต์ โดยมีทิศทางของร่างกายแข็งทื่อที่ไม่เป็นธรรมชาติในการเคลื่อนไหว มีการกระตุกของร่างกายเหมือนกับได้ใช้มอเตอร์หมุน ซึ่งกลายเป็นสไตล์การเต้นรำที่นิยมแพร่หลายกันทั่วไปในคลับทั้งอังกฤษและอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเป็นสไตล์โบรคเก้น แดนซ์อีกทางหนึ่งด้วย
ปฏิกิริยาของการเต้นรำแบบโรบ็อท แดนซ์จะรื่นเริงคึกคักเป็นพิเศษหากได้ใช้เต้นกับดนตรีที่มีบีทแบบอิเล็คทรอฟังค์ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปสามารถเต้นกับดนตรีทั่วๆ ไปก็ได้ แต่ถ้าจะดีเป็นที่สุดหากได้เต้นคลอไปกับการร้องแบบอะแคปเปลล่าที่ประสานเสียงอย่างช้าๆ ด้วยการร้องเสียงบี๊ปๆ และเสียงเลียนแบบมอเตอร์ที่เดินไปย่างช้าๆ
สำหรับโรบ็อท แดนซ์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเต้นรำอันเป็นที่นิยมกัน ก็มีหลักหมายสำคัญๆ คือ นักดนตรีที่ชื่อ บัคเก็ตเฮดใช้ท่านี้ในการเล่นดนตรีจนเป็นที่จดจำและรู้จักกัน, การเต้นโดยคิงจูเลียนในหนัง ‘มาดากัสการ์’ และอีกมากมายในวัฒนธรรมการเต้นรำบนเกาะอังกฤษตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา จนมาถึงคงปีเตอร์ เคร้าช์บนสนามฟุตบอลในยุคนี้
หากดูท่าดีใจของนักเตะในแต่ละชาติ บราซิลเป็นทีมหนึ่งที่นักฟุตบอลนำการเต้นรำแบบแซมบ้าและคาร์นิวาลมาใช้อย่างสม่ำเสมอจนเจนตา บางทีก็มีนักเตะแอฟริกาที่ใช้ท่าดีใจด้วยการเต้นรำแบบชนเผ่าแปลก
วงการฟุตบอลอังกฤษที่มีผูกพันแนบแน่นกับวงการเพลงและการเต้นรำ การชมฟุตบอลในผับในคับและเธคเป็นเรื่องปกติและเป็นกิจวัตรประจำของคนอังกฤษ รวมทั้งสนามฟุตบอลเองก็ล้วนเปิดเพลงเต้นรำหรือเพลงบริทพ็อพที่ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อเอาใจแฟนฟุตบอล แต่นักฟุตบอลอังกฤษไม่เคยนำเอาวัฒนธรรมการเต้นรำสุดคูลมาใช้ในสนามฟุตบอลเวลาแสดงความดีใจ ซึ่งปีเตอร์ เคร้าช์ เป็นคนที่ทำให้เห็นความแปลกและแตกต่างเป็นคนแรก
น่าเสียดายที่แฟนบอลทั่วโลกจะไม่ได้เห็นท่าเต้นรำ ‘โรโบเคร้าช์’ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอีกแล้ว ถ้าอังกฤษไม่ได้แชมป์โลก
แผนผังพัฒนาการของโรบ็อท แดนซ์
"Street dance"
Breakdancing - Hip hop dance - Krumping - Liquid dancing - Locking - Popping - Robot - Tutting - Uprock
* การเต้นรำป๊อปปิงมีรากมาจากใช้เต้นรำกับดนตรีฟังค์ และการเต้นรำตามท้องถนน โดยมีเทคนิคที่ใช้พื้นฐานของการเกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระตุกร่างกายในการเต้นและเคลื่อนไหว ซึ่งเชื่อกันโดยทั่วไปว่า การเต้นรำแบบป๊อปปิ้งได้ถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 70 โดยมีแรงบันดาลใจดั้งเดิมมาจากการเต้นแบบล็อกกิ้ง, เบรคแดนซ์ ซึ่งต่อมาได้กลืนกลายเข้าสู่วัฒนธรรมการเต้นรำในดนตรีแบบฮิพ-ฮอพ และอิเล็คทรอนิกา
แม้แต่บริษัทเกมชื่อดังของอังกฤษ ซับบิวเทโอ ก็มีหัวคิดทางการตลาดสร้างหุ่นจำลอง ปีเตอร์ เคร้าช์ เต้นท่าหุ่นยนต์ เตรียมจัดวางจำหน่ายให้แฟนบอลได้ซื้อและเก็บสะสม
ครั้งสุดท้ายที่แฟนบอลได้เห็นเคร้าช์เต้นก็คือแมทช์พบจาเมกาในเกมอุ่นเครื่อง ซึ่งเคร้าช์บอกอย่างแจ่มแจ้งว่า จะใช้ท่านี้อีกครั้งหากทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์โลกได้
การตื่นตัวและฮิตจนกลายเป็นแฟชั่นในท่าเต้นโรโบเคร้าช์ หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียนของอังกฤษ ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ‘เป็นการสร้างชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว ประดุจฮีโร่ในความคลั่งไคล้ทางวัฒนธรรม!!’
จากปรากฏการณ์ที่อาศัยแรงกระตุ้นจากเกมฟุตบอล ในท้ายที่สุดก็สามารถมองเห็นว่า เคร้าช์นั้นมีพรสวรรค์ทั้งในสนามและนอกสนามในการสร้างปรากฏการณ์ ‘เคร้าช์มาเนีย’ ตั้งแต่ฟุตบอลโลกยังไม่ทันเริ่มต้น
สำหรับท่าเต้น ‘โรโบเคร้าช์’ มีรากเหง้าที่มาจากการเต้นรำที่เรียกว่า โรโบติก แดนซ์ หรือโรบ็อท แดนซ์ เป็นการเต้นท่าหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นสไตล์การเต้นที่เปี่ยมด้วยมายาของการแสดงท่า ด้วยการเชื่อมเอาการเต้นรำแบบป๊อปปิงนำมาดัดแปลงเลียนแบบการเต้นรำของหุ่นยนต์ โดยมีทิศทางของร่างกายแข็งทื่อที่ไม่เป็นธรรมชาติในการเคลื่อนไหว มีการกระตุกของร่างกายเหมือนกับได้ใช้มอเตอร์หมุน ซึ่งกลายเป็นสไตล์การเต้นรำที่นิยมแพร่หลายกันทั่วไปในคลับทั้งอังกฤษและอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเป็นสไตล์โบรคเก้น แดนซ์อีกทางหนึ่งด้วย
ปฏิกิริยาของการเต้นรำแบบโรบ็อท แดนซ์จะรื่นเริงคึกคักเป็นพิเศษหากได้ใช้เต้นกับดนตรีที่มีบีทแบบอิเล็คทรอฟังค์ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปสามารถเต้นกับดนตรีทั่วๆ ไปก็ได้ แต่ถ้าจะดีเป็นที่สุดหากได้เต้นคลอไปกับการร้องแบบอะแคปเปลล่าที่ประสานเสียงอย่างช้าๆ ด้วยการร้องเสียงบี๊ปๆ และเสียงเลียนแบบมอเตอร์ที่เดินไปย่างช้าๆ
สำหรับโรบ็อท แดนซ์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเต้นรำอันเป็นที่นิยมกัน ก็มีหลักหมายสำคัญๆ คือ นักดนตรีที่ชื่อ บัคเก็ตเฮดใช้ท่านี้ในการเล่นดนตรีจนเป็นที่จดจำและรู้จักกัน, การเต้นโดยคิงจูเลียนในหนัง ‘มาดากัสการ์’ และอีกมากมายในวัฒนธรรมการเต้นรำบนเกาะอังกฤษตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา จนมาถึงคงปีเตอร์ เคร้าช์บนสนามฟุตบอลในยุคนี้
หากดูท่าดีใจของนักเตะในแต่ละชาติ บราซิลเป็นทีมหนึ่งที่นักฟุตบอลนำการเต้นรำแบบแซมบ้าและคาร์นิวาลมาใช้อย่างสม่ำเสมอจนเจนตา บางทีก็มีนักเตะแอฟริกาที่ใช้ท่าดีใจด้วยการเต้นรำแบบชนเผ่าแปลก
วงการฟุตบอลอังกฤษที่มีผูกพันแนบแน่นกับวงการเพลงและการเต้นรำ การชมฟุตบอลในผับในคับและเธคเป็นเรื่องปกติและเป็นกิจวัตรประจำของคนอังกฤษ รวมทั้งสนามฟุตบอลเองก็ล้วนเปิดเพลงเต้นรำหรือเพลงบริทพ็อพที่ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อเอาใจแฟนฟุตบอล แต่นักฟุตบอลอังกฤษไม่เคยนำเอาวัฒนธรรมการเต้นรำสุดคูลมาใช้ในสนามฟุตบอลเวลาแสดงความดีใจ ซึ่งปีเตอร์ เคร้าช์ เป็นคนที่ทำให้เห็นความแปลกและแตกต่างเป็นคนแรก
น่าเสียดายที่แฟนบอลทั่วโลกจะไม่ได้เห็นท่าเต้นรำ ‘โรโบเคร้าช์’ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอีกแล้ว ถ้าอังกฤษไม่ได้แชมป์โลก
แผนผังพัฒนาการของโรบ็อท แดนซ์
"Street dance"
Breakdancing - Hip hop dance - Krumping - Liquid dancing - Locking - Popping - Robot - Tutting - Uprock
* การเต้นรำป๊อปปิงมีรากมาจากใช้เต้นรำกับดนตรีฟังค์ และการเต้นรำตามท้องถนน โดยมีเทคนิคที่ใช้พื้นฐานของการเกร็งและผ่อนคลายกล้ามเนื้อและกระตุกร่างกายในการเต้นและเคลื่อนไหว ซึ่งเชื่อกันโดยทั่วไปว่า การเต้นรำแบบป๊อปปิ้งได้ถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 70 โดยมีแรงบันดาลใจดั้งเดิมมาจากการเต้นแบบล็อกกิ้ง, เบรคแดนซ์ ซึ่งต่อมาได้กลืนกลายเข้าสู่วัฒนธรรมการเต้นรำในดนตรีแบบฮิพ-ฮอพ และอิเล็คทรอนิกา