ธรรมกายจัดตักบาตรพระ 1 หมื่นรูปช่วยน้ำท่วม โชว์ความยิ่งใหญ่ถึง 2 ครั้ง ลูกศิษย์ร่วมงานเนืองแน่นแม้ไม่มีพระธัมมชโย แถมประกาศเป็นเจ้าภาพตักบาตรพระที่พม่า 3 หมื่นรูปที่มัณฑะเลย์ ชี้สภาพการเมืองที่เป็นอยู่เอื้อธรรมกายคืนชีพ มือพิฆาตอย่างพงศ์พร ผอ.สำนักพุทธฯ เกษียณ ไพบูลย์ นิติตะวัน แม้นั่งกรรมาธิการศาสนา แต่ถูกสกัดโดยศิษย์ธรรมกายจนทำอะไรไม่ได้ พร้อมทั้งถูกจับตาจากเจ้าคุณประสารที่ออกโรงครั้งใหม่ แถมด้วยทีมอัยย์ เพชรทอง ร้องยุติปฏิบัติหน้าที่
แม้หลายฝ่ายประเมินกันว่าศรัทธาของลูกศิษย์ในวัดพระธรรมกายจะค่อยๆ ลดลง หลังจากที่พระธัมมชโยถูกดำเนินคดี แถมยังถูกรัฐบาลใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เพื่อนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี และแม้ปัจจุบันวัดพระธรรมกายจะไม่มีพระธัมมชโยเป็นเจ้าอาวาสเหมือนเดิม แต่ระยะเวลากว่า 2 ปี ทางวัดได้เดินเครื่องฟื้นศรัทธาผ่านกิจกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
2 กิจกรรมใหญ่ที่สะท้อนถึงศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ได้ฟื้นกลับคืนมา ที่อาจเรียกได้ว่าใกล้เข้าสู่ภาวะปกติของทางวัด นั่นคือพิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยจัดงานขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ 22 กันยายน 2562 ครั้งที่ 2 จัดที่จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ 5 ตุลาคม 2562
ไม่ว่างานในวันดังกล่าวจะมีวิธีการอย่างไร แต่ภาพที่ออกมาสู่สาธารณะนั้นยิ่งใหญ่อลังการมาก ทั้งจำนวนพระและผู้เข้าร่วมกิจกรรม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของทีมงานและความสำเร็จด้านกลยุทธ์ของทางวัดที่สามารถฟื้นศรัทธาเหล่าผู้คนให้หันเข้าหาวัดพระธรรมกายได้แทบไม่ต่างไปจากเดิม
ปริมาณคนร่วมงานนับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือชี้วัดได้ว่า ด้านหนึ่งคือความสำเร็จของวัด และอีกด้านหนึ่งคือสิ่งที่บ่งบอกต่อฝ่ายตรงข้ามกับวัดพระธรรมกายว่า มวลชนศิษย์วัดยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก การจะดำเนินการใดๆ อาจไม่ง่ายเหมือนครั้งที่ผ่านมา
รุกตักบาตรพระพม่า 3 หมื่นรูป
การสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร นับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทางวัดพระธรรมกายใช้มาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ เชื่อมให้ลูกศิษย์นึกถึงวัดอยู่ตลอดเวลา ครั้งแรกตั้งเป้าสวดเพียง 1 ล้านจบและขยายเป้าเรื่อยมา ด้วยคำบอกกล่าวเรื่องบุญกุศลที่จะได้รับ จนไปถึงความมหัศจรรย์ของการสวดดังกล่าว ซึ่งสิ้นปี 2562 ทางวัดตั้งเป้าไว้ที่ 2,000 ล้านจบ
ในระหว่างโครงการสวดธัมมจักฯ ก็จะมีกิจกรรมบุญอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติมตลอดเวลา นอกจากวันสำคัญทางศาสนาแล้ว ก็ยังมีพิธีบูชาข้าวพระทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน งานธุดงค์ธรรมยาตรที่จัดทุกปี และมีวันครบรอบต่างๆ ทั้งของพระธัมมชโยเอง เช่น วันเกิด วันบวช มีวันเกิด วันละสังขารของแม่ชีจันทร์ขนนกยูง ไปจนถึงงานของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ที่ทางวัดถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ
รวมไปถึงโครงการบวชพระ เณร ทั้งภาคฤดูร้อน บวชธรรมทายาท บวชบูชาธรรมให้กับบุคคลสำคัญของทางวัดอีกหลายโครงการ งานบอกบุญสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ของทางวัด ทั้งที่วัดพระธรรมกายและวัดสาขาต่างๆ ตามต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ
ไม่เพียงแค่กิจกรรมภายในประเทศเท่านั้น วัดพระธรรมกายยังเดินหน้าสานความสัมพันธ์กับพระสงฆ์เมียนมา ที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้วยการจัดงานตักบาตรอาหารแห้งแด่พระภิกษุ 30,000 รูป ในวันที่ 8 ธันวาคม 2562 เมืองมัณฑะเลย์(สนามบินเก่า) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นับเป็นปีที่ 3 ที่ทางวัดพระธรรมกายเข้าไปเป็นเจ้าภาพจัดงาน
เขาเพิ่มพระปีละหมื่นรูป จากเริ่มที่ 10,000 ขยับเป็น 20,000 และ 30,000 รูป นับว่าไม่ธรรมดาเลยสำหรับคณะทำงานของวัดพระธรรมกายที่เพิ่มจำนวนพระปีละหมื่นรูป
อ้างรัฐบาลร่วมจังหวัดปทุมฯ
สำหรับกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เดิมวัดพระธรรมกายเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาคข้าวของเครื่องใช้เพื่อนำไปช่วยเหลือ และทางวัดเขียนเขต โดยพระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้จัดตักบาตรพระ 100 รูป เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเช่นกัน เมื่อ 14 กันยายน 2562 ที่ศูนย์การค้าตลาดรังสิต
จากนั้นวัดพระธรรมกายได้จัดงานตักบาตรพระ 1 หมื่นรูปเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 แต่ไม่นานนักก็กลายมาเป็นความร่วมมือกันระหว่างเจ้าคณะจังหวัดปทุมฯ กับวัดพระธรรมกาย ซึ่งงานวันดังกล่าวนั้นมีพระธรรมรัตนาภรณ์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ศิษย์วัดพระธรรมกาย กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
พร้อมทั้งมีการนำเสนอข่าวการจัดงานครั้งนี้ว่า ”เจ้าอาวาสวัดเขียนเขตร่วมกับรัฐบาล ภาคส่วน และพุทธศาสนิกชนชาวปทุมธานี ตักบาตรพระ 10,000 รูป มอบทานน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” แต่งานนี้ไม่ใช่งานของรัฐบาลที่มาเข้าร่วมกับทางวัดเขียนเขต แต่กลับออกข่าวว่าร่วมกับรัฐบาลภายหลังมีการลบหัวข้อข่าวดังกล่าวออกไป
กลับมาแกร่ง
วันนั้นคนมาร่วมบุญกันเยอะมาก ส่วนหนึ่งเพราะวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ประสบภัยที่เดือดร้อน และงานตักบาตรพระ 10,000 รูปจัดขึ้นอีกครั้งที่จังหวัดกาญจนบุรี บ้านเกิดของพระทัตตชีโว เบอร์ 2 ของวัดพระธรรมกาย มีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า เวลานี้ธรรมกายได้กลับมาแข็งแกร่งไม่ต่างไปจากเดิม แม้วัดแห่งนี้จะไม่มีพระธัมมชโยปรากฏกายให้เห็นเป็นศูนย์รวมใจเหมือนครั้งก่อน
เพราะนับตั้งแต่การยกเลิกมาตรา 44 ต่อวัดพระธรรมกายก่อนเทศกาลสงกรานต์ 2560 รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม ปล่อยเป็นขั้นตอนของกฎหมาย มีเพียงคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายจันทร์และอาคารมหารัตนวิหารคด ที่ยังต้องต่อสู้กันในชั้นศาล
ส่วนทางสงฆ์ผู้ปกครองมีแค่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้แต่งตั้งพระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทธิจินตโก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนพระธัมมชโยเท่านั้น จากนั้นวัดพระธรรมกายจะมีกิจกรรมใดไม่พบข้อห้ามจากคณะสงฆ์ชั้นปกครอง
พงศ์พรเกษียณ-ไพบูลย์ถูกสกัด
การเปลี่ยนรัฐบาลจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้ศิษย์สายธรรมกายจะคาดหวังอย่างเต็มที่ว่าพรรคเพื่อไทยและเครือข่ายจะได้กลับมาเป็นรัฐบาล ซึ่งจะมีสิ่งดีๆ ต่อวัดพระธรรมกาย แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน ธรรมกายก็ยังมีสายสัมพันธ์กับบุคคลในฝ่ายรัฐบาลไม่น้อยเช่นกัน ยิ่งรัฐบาลปัจจุบันมีสถานะเสียงปริ่มน้ำ ยิ่งยากต่อการเดินหน้ารุกต่อวัดพระธรรมกายเหมือนครั้งก่อน
บุคคลอันตรายสำหรับวัดพระธรรมกายอย่างพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้สายของธรรมกายและพระผู้ใหญ่สบายใจไปเปลาะหนึ่ง และอดีต ผอ.สำนักพุทธฯ ท่านนี้ อาจถูกตรวจสอบการทำงานที่ผ่านมาจากฝ่ายการเมืองฝั่งฝ่ายค้านด้วยเช่นกัน
อีกบุคคลหนึ่งที่เดินหน้าเรื่องวัดพระธรรมกายมาตลอดอย่างนายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แม้ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นอีกส่วนงานหนึ่งที่เคยทำให้วัดพระธรรมกายหวั่นไหวมาแล้ว แต่การได้เป็นเพียงรองประธานคนที่ 2 ต่อจากนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล จากพรรคเพื่อไทย รองประธานคนที่ 1 คงไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก
เนื่องจากนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เป็นศิษย์วัดพระธรรมกายเต็มตัว ร่วมกิจกรรมกับทางวัดบ่อยครั้ง แถมยังนามสกุลเดียวกับพระถวัลย์ศักดิ์ บุญศิริวัฒนกุล หรือพระถวัลย์ศักดิ์ ยติสักโก รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากร วัดพระธรรมกาย ซึ่งนับว่าเป็นพระบริหารในลำดับต้นๆ ที่ทำงานใกล้ชิดกับพระธัมมชโย
“ตอนนี้ก็ไม่ต้องทำอะไร อยู่กันไปอย่างนี้ เสนออะไรที่ไปขัดกับฝั่งตรงข้ามก็ไม่เห็นชอบ ในกรรมาธิการชุดนี้มีทั้งธรรมกาย เพื่อไทย เสื้อแดง หรือถ้าแม้จะดึงดันจนชนะโหวตในกรรมาธิการ แต่ข่าวก็จะไหลเข้าหูของวัดทันที เขาย่อมเตรียมการรับมือได้ทันท่วงที” แหล่งข่าวจากกรรมาธิการกล่าว
ขนาดเป็นรัฐบาลพิเศษยังจัดการอะไรธรรมกายไม่ได้มากนัก แล้วเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การทำอะไรในทางลับคงไม่สามารถทำได้อีกต่อไป
เจ้าคุณประสารออกโรง
ไม่ใช่แค่เพียงการสกัดนายไพบูลย์ นิติตะวัน บุคคลอันตรายของวัดพระธรรมกายในชั้นของกรรมาธิการศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีแรงต้านจากนอกสภาผู้แทนราษฎรด้วยเช่นกัน พระเมธีธรรมาจารย์หรือเจ้าคุณประสาร ที่เคยนำม็อบพระมาแสดงพลังที่พุทธมณฑลเพื่อสนับสนุนสมเด็จช่วงขึ้นเป็นพระสังฆราช ที่เคยเงียบไป บัดนี้ไม่มีมาตรา 44 อีกแล้ว ได้กลับมาแสดงความเห็นอีกครั้งว่า คอยจับตาการทำงานของนายไพบูลย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการศาสนา และผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาคนใหม่ด้วย
ตามมาด้วยองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ที่ขับเคลื่อนโดยนายอัยย์ เพชรทอง ศิษย์วัดพระธรรมกายที่จัดเสวนาเรื่องพระพุทธศาสนาตามที่ต่างๆ โดยเมื่อ 29 กันยายน 2562 ได้ออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้นายไพบูลย์ยุติการปฏิบัติหน้าที่
ขณะที่ท่าทีของรัฐบาลต่อวัดพระธรรมกายนั้นอ่อนลงนับตั้งแต่ยกเลิกมาตรา 44 โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์บุกจับพระพรหม 3 รูปจนเป็นข่าวใหญ่ จนมาถึงการเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปแม้จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง แต่แนวทางในการดำเนินการกับวัดพระธรรมกายกลับหายไป จนคนที่เคยทำงานในเรื่องนี้ให้ต้องตกอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวอะไรไม่ได้ ถูกจับตาจากศิษย์สายวัดพระธรรมกายโดยตลอด
สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ สายธรรมกายแต่ละทีมต่างเดินหน้าสกัดบุคคลเป้าหมายที่เคยรุกวัดพระธรรมกายมาเมื่อครั้งก่อน จนไม่สามารถเคลื่อนไหวอะไรได้จนเรื่องคดีความต่างๆ เงียบสนิท ขณะที่ทางวัดกลับมีการทำกิจกรรมเสริมศรัทธาสร้างฐานลูกศิษย์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง จนธรรมกายกลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้อีกครั้ง
แม้หลายฝ่ายประเมินกันว่าศรัทธาของลูกศิษย์ในวัดพระธรรมกายจะค่อยๆ ลดลง หลังจากที่พระธัมมชโยถูกดำเนินคดี แถมยังถูกรัฐบาลใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เพื่อนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี และแม้ปัจจุบันวัดพระธรรมกายจะไม่มีพระธัมมชโยเป็นเจ้าอาวาสเหมือนเดิม แต่ระยะเวลากว่า 2 ปี ทางวัดได้เดินเครื่องฟื้นศรัทธาผ่านกิจกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
2 กิจกรรมใหญ่ที่สะท้อนถึงศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ได้ฟื้นกลับคืนมา ที่อาจเรียกได้ว่าใกล้เข้าสู่ภาวะปกติของทางวัด นั่นคือพิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยจัดงานขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ 22 กันยายน 2562 ครั้งที่ 2 จัดที่จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ 5 ตุลาคม 2562
ไม่ว่างานในวันดังกล่าวจะมีวิธีการอย่างไร แต่ภาพที่ออกมาสู่สาธารณะนั้นยิ่งใหญ่อลังการมาก ทั้งจำนวนพระและผู้เข้าร่วมกิจกรรม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของทีมงานและความสำเร็จด้านกลยุทธ์ของทางวัดที่สามารถฟื้นศรัทธาเหล่าผู้คนให้หันเข้าหาวัดพระธรรมกายได้แทบไม่ต่างไปจากเดิม
ปริมาณคนร่วมงานนับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือชี้วัดได้ว่า ด้านหนึ่งคือความสำเร็จของวัด และอีกด้านหนึ่งคือสิ่งที่บ่งบอกต่อฝ่ายตรงข้ามกับวัดพระธรรมกายว่า มวลชนศิษย์วัดยังมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก การจะดำเนินการใดๆ อาจไม่ง่ายเหมือนครั้งที่ผ่านมา
รุกตักบาตรพระพม่า 3 หมื่นรูป
การสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร นับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทางวัดพระธรรมกายใช้มาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์ เชื่อมให้ลูกศิษย์นึกถึงวัดอยู่ตลอดเวลา ครั้งแรกตั้งเป้าสวดเพียง 1 ล้านจบและขยายเป้าเรื่อยมา ด้วยคำบอกกล่าวเรื่องบุญกุศลที่จะได้รับ จนไปถึงความมหัศจรรย์ของการสวดดังกล่าว ซึ่งสิ้นปี 2562 ทางวัดตั้งเป้าไว้ที่ 2,000 ล้านจบ
ในระหว่างโครงการสวดธัมมจักฯ ก็จะมีกิจกรรมบุญอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติมตลอดเวลา นอกจากวันสำคัญทางศาสนาแล้ว ก็ยังมีพิธีบูชาข้าวพระทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน งานธุดงค์ธรรมยาตรที่จัดทุกปี และมีวันครบรอบต่างๆ ทั้งของพระธัมมชโยเอง เช่น วันเกิด วันบวช มีวันเกิด วันละสังขารของแม่ชีจันทร์ขนนกยูง ไปจนถึงงานของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ที่ทางวัดถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ
รวมไปถึงโครงการบวชพระ เณร ทั้งภาคฤดูร้อน บวชธรรมทายาท บวชบูชาธรรมให้กับบุคคลสำคัญของทางวัดอีกหลายโครงการ งานบอกบุญสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ของทางวัด ทั้งที่วัดพระธรรมกายและวัดสาขาต่างๆ ตามต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ
ไม่เพียงแค่กิจกรรมภายในประเทศเท่านั้น วัดพระธรรมกายยังเดินหน้าสานความสัมพันธ์กับพระสงฆ์เมียนมา ที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้วยการจัดงานตักบาตรอาหารแห้งแด่พระภิกษุ 30,000 รูป ในวันที่ 8 ธันวาคม 2562 เมืองมัณฑะเลย์(สนามบินเก่า) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา นับเป็นปีที่ 3 ที่ทางวัดพระธรรมกายเข้าไปเป็นเจ้าภาพจัดงาน
เขาเพิ่มพระปีละหมื่นรูป จากเริ่มที่ 10,000 ขยับเป็น 20,000 และ 30,000 รูป นับว่าไม่ธรรมดาเลยสำหรับคณะทำงานของวัดพระธรรมกายที่เพิ่มจำนวนพระปีละหมื่นรูป
อ้างรัฐบาลร่วมจังหวัดปทุมฯ
สำหรับกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เดิมวัดพระธรรมกายเชิญชวนให้ร่วมกันบริจาคข้าวของเครื่องใช้เพื่อนำไปช่วยเหลือ และทางวัดเขียนเขต โดยพระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้จัดตักบาตรพระ 100 รูป เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเช่นกัน เมื่อ 14 กันยายน 2562 ที่ศูนย์การค้าตลาดรังสิต
จากนั้นวัดพระธรรมกายได้จัดงานตักบาตรพระ 1 หมื่นรูปเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 แต่ไม่นานนักก็กลายมาเป็นความร่วมมือกันระหว่างเจ้าคณะจังหวัดปทุมฯ กับวัดพระธรรมกาย ซึ่งงานวันดังกล่าวนั้นมีพระธรรมรัตนาภรณ์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ศิษย์วัดพระธรรมกาย กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
พร้อมทั้งมีการนำเสนอข่าวการจัดงานครั้งนี้ว่า ”เจ้าอาวาสวัดเขียนเขตร่วมกับรัฐบาล ภาคส่วน และพุทธศาสนิกชนชาวปทุมธานี ตักบาตรพระ 10,000 รูป มอบทานน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” แต่งานนี้ไม่ใช่งานของรัฐบาลที่มาเข้าร่วมกับทางวัดเขียนเขต แต่กลับออกข่าวว่าร่วมกับรัฐบาลภายหลังมีการลบหัวข้อข่าวดังกล่าวออกไป
กลับมาแกร่ง
วันนั้นคนมาร่วมบุญกันเยอะมาก ส่วนหนึ่งเพราะวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ประสบภัยที่เดือดร้อน และงานตักบาตรพระ 10,000 รูปจัดขึ้นอีกครั้งที่จังหวัดกาญจนบุรี บ้านเกิดของพระทัตตชีโว เบอร์ 2 ของวัดพระธรรมกาย มีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า เวลานี้ธรรมกายได้กลับมาแข็งแกร่งไม่ต่างไปจากเดิม แม้วัดแห่งนี้จะไม่มีพระธัมมชโยปรากฏกายให้เห็นเป็นศูนย์รวมใจเหมือนครั้งก่อน
เพราะนับตั้งแต่การยกเลิกมาตรา 44 ต่อวัดพระธรรมกายก่อนเทศกาลสงกรานต์ 2560 รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม ปล่อยเป็นขั้นตอนของกฎหมาย มีเพียงคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายจันทร์และอาคารมหารัตนวิหารคด ที่ยังต้องต่อสู้กันในชั้นศาล
ส่วนทางสงฆ์ผู้ปกครองมีแค่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้แต่งตั้งพระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทธิจินตโก ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนพระธัมมชโยเท่านั้น จากนั้นวัดพระธรรมกายจะมีกิจกรรมใดไม่พบข้อห้ามจากคณะสงฆ์ชั้นปกครอง
พงศ์พรเกษียณ-ไพบูลย์ถูกสกัด
การเปลี่ยนรัฐบาลจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้ศิษย์สายธรรมกายจะคาดหวังอย่างเต็มที่ว่าพรรคเพื่อไทยและเครือข่ายจะได้กลับมาเป็นรัฐบาล ซึ่งจะมีสิ่งดีๆ ต่อวัดพระธรรมกาย แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน ธรรมกายก็ยังมีสายสัมพันธ์กับบุคคลในฝ่ายรัฐบาลไม่น้อยเช่นกัน ยิ่งรัฐบาลปัจจุบันมีสถานะเสียงปริ่มน้ำ ยิ่งยากต่อการเดินหน้ารุกต่อวัดพระธรรมกายเหมือนครั้งก่อน
บุคคลอันตรายสำหรับวัดพระธรรมกายอย่างพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้สายของธรรมกายและพระผู้ใหญ่สบายใจไปเปลาะหนึ่ง และอดีต ผอ.สำนักพุทธฯ ท่านนี้ อาจถูกตรวจสอบการทำงานที่ผ่านมาจากฝ่ายการเมืองฝั่งฝ่ายค้านด้วยเช่นกัน
อีกบุคคลหนึ่งที่เดินหน้าเรื่องวัดพระธรรมกายมาตลอดอย่างนายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แม้ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นอีกส่วนงานหนึ่งที่เคยทำให้วัดพระธรรมกายหวั่นไหวมาแล้ว แต่การได้เป็นเพียงรองประธานคนที่ 2 ต่อจากนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล จากพรรคเพื่อไทย รองประธานคนที่ 1 คงไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก
เนื่องจากนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เป็นศิษย์วัดพระธรรมกายเต็มตัว ร่วมกิจกรรมกับทางวัดบ่อยครั้ง แถมยังนามสกุลเดียวกับพระถวัลย์ศักดิ์ บุญศิริวัฒนกุล หรือพระถวัลย์ศักดิ์ ยติสักโก รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทรัพยากร วัดพระธรรมกาย ซึ่งนับว่าเป็นพระบริหารในลำดับต้นๆ ที่ทำงานใกล้ชิดกับพระธัมมชโย
“ตอนนี้ก็ไม่ต้องทำอะไร อยู่กันไปอย่างนี้ เสนออะไรที่ไปขัดกับฝั่งตรงข้ามก็ไม่เห็นชอบ ในกรรมาธิการชุดนี้มีทั้งธรรมกาย เพื่อไทย เสื้อแดง หรือถ้าแม้จะดึงดันจนชนะโหวตในกรรมาธิการ แต่ข่าวก็จะไหลเข้าหูของวัดทันที เขาย่อมเตรียมการรับมือได้ทันท่วงที” แหล่งข่าวจากกรรมาธิการกล่าว
ขนาดเป็นรัฐบาลพิเศษยังจัดการอะไรธรรมกายไม่ได้มากนัก แล้วเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบนี้ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การทำอะไรในทางลับคงไม่สามารถทำได้อีกต่อไป
เจ้าคุณประสารออกโรง
ไม่ใช่แค่เพียงการสกัดนายไพบูลย์ นิติตะวัน บุคคลอันตรายของวัดพระธรรมกายในชั้นของกรรมาธิการศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีแรงต้านจากนอกสภาผู้แทนราษฎรด้วยเช่นกัน พระเมธีธรรมาจารย์หรือเจ้าคุณประสาร ที่เคยนำม็อบพระมาแสดงพลังที่พุทธมณฑลเพื่อสนับสนุนสมเด็จช่วงขึ้นเป็นพระสังฆราช ที่เคยเงียบไป บัดนี้ไม่มีมาตรา 44 อีกแล้ว ได้กลับมาแสดงความเห็นอีกครั้งว่า คอยจับตาการทำงานของนายไพบูลย์ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการศาสนา และผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาคนใหม่ด้วย
ตามมาด้วยองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ที่ขับเคลื่อนโดยนายอัยย์ เพชรทอง ศิษย์วัดพระธรรมกายที่จัดเสวนาเรื่องพระพุทธศาสนาตามที่ต่างๆ โดยเมื่อ 29 กันยายน 2562 ได้ออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้นายไพบูลย์ยุติการปฏิบัติหน้าที่
ขณะที่ท่าทีของรัฐบาลต่อวัดพระธรรมกายนั้นอ่อนลงนับตั้งแต่ยกเลิกมาตรา 44 โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์บุกจับพระพรหม 3 รูปจนเป็นข่าวใหญ่ จนมาถึงการเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วไปแม้จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง แต่แนวทางในการดำเนินการกับวัดพระธรรมกายกลับหายไป จนคนที่เคยทำงานในเรื่องนี้ให้ต้องตกอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวอะไรไม่ได้ ถูกจับตาจากศิษย์สายวัดพระธรรมกายโดยตลอด
สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ สายธรรมกายแต่ละทีมต่างเดินหน้าสกัดบุคคลเป้าหมายที่เคยรุกวัดพระธรรมกายมาเมื่อครั้งก่อน จนไม่สามารถเคลื่อนไหวอะไรได้จนเรื่องคดีความต่างๆ เงียบสนิท ขณะที่ทางวัดกลับมีการทำกิจกรรมเสริมศรัทธาสร้างฐานลูกศิษย์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง จนธรรมกายกลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้อีกครั้ง