ทีมงาน“อัยย์ เพชรทอง”เดือด จวกพระสนิทวงศ์เลือกปฏิบัติเข้าข้าง“สมเกียรติ ศรลัมพ์”ไม่ออกมาปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง ขณะที่เก้าอี้ ผอ.พศ.ว่างสิ้นเดือนกันยายน สิทธิเสนอชื่ออยู่ที่รมต.ประจำสำนักฯ เรื่องที่สมเกียรติร้องขอต่อสภาฯ ยังมีอีก ขอให้ข้าราชการ พศ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐากให้กับพระสังฆาธิการ ตีความได้ว่างบวัดควรกลับมาอยู่ที่เดิม ใช้แต้มต่อรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำลากคดีพระธัมมชโย

“เอาวัดมาอ้างเพื่อทำลายคนเห็นต่าง? ฝากถึงพระที่สำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย หลวงพี่สนิทวงศ์ กรณีข่าวที่ MGR Online พยายามชี้นำเรื่อง ส.ส.สมเกียรติ ศรลัมพ์ ศิษย์เอกวัดดัง จังหวัดปทุมธานี ลาออกจากปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ เพื่อมากำกับดูแลสำนักพุทธฯ ไม่ทราบว่าทำไม สำนักสื่อสารองค์กรถึงไม่ออกเอกสารว่ากรณีสมเกียรติ ศรลัมพ์ ไม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย เพราะวัดไม่เล่นการเมือง ทำไมไม่เหมือนทำกับที่จงใจทำกับคุณอัยย์ เพชรทองและ อปพส. ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นยังไม่มีข่าวเลย แต่สำนักสื่อสารองค์กรจงใจ ออกมาสกัดก่อนเลย ทำไมคราวนี้ถึงเงียบกริบ ไหนบอกว่าวัดไม่ยุ่งการเมืองงัย? หรือเลือกได้ว่าจะแอบช่วยใคร ไม่ช่วยใคร แต่ขอให้เลือกให้ดี ๆ นะเพราะควรจะเลือกช่วยหลวงพ่อ ไม่ใช่ช่วยพวกหนอน ฝากด้วย”
นี่คือข้อความที่ทีมงานของนายอัยย์ เพชรทอง สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันของวัดพระธรรมกายที่เลือกปฎิบัติต่อศิษย์วัดพระธรรมกายทั้ง 2 คน ทั้งนี้เมื่อ 5 สิงหาคม 2562 ทีมนายอัยย์ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กระทำผิดมาตรา 161 กับหน่วยงานต่าง ๆ แต่ถูกสำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกายออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องในทันที
แต่การเดินเครื่องเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้สิทธิประกันตัวกับพระผู้ใหญ่ที่ถูกดำเนินคดีของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ รวมไปถึงการออกมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทางวัดพระธรรมกายกลับเงียบกับบทบาทของนายสมเกียรติ
แหล่งข่าวจากพรรคร่วมรัฐบาลกล่าวว่า จริงตามที่ทีมงานของอัยย์กล่าว เพราะทั้งอัยย์และสมเกียรติไม่ค่อยลงรอยกัน สถานะของศิษย์ทั้ง 2 ก็แตกต่างกัน คนหนึ่งอยู่นอกสภาเดินเกมรุกไปที่พลเอกประยุทธ์ อีกคนเป็น ส.ส.ในสภา ย่อมทำอะไรได้มากกว่าและผลงานที่อดีตพระผู้ใหญ่ได้ประกันตัวเป็นที่ประจักษ์ แถมยังจะมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีที่คุมสำนักพุทธฯ ที่ให้คุณให้โทษวัดพระธรรมกายได้ รวมไปถึงภาพลักษณ์ที่สมเกียรติทำได้ดีกว่า
แต่ข้อความดังกล่าวที่มาจากศิษย์ของวัดพระธรรมกายเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าวัดพระธรรมกายเกี่ยวข้องกับการเมืองผ่านทางลูกศิษย์คนสำคัญอย่างนายสมเกียรติ ศรลัมพ์

โชว์ผลงานปล่อยตัวอดีตพระพรหมสิทธิ
จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 13 สิงหาคม 2562 แต่งตั้งนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาภิวัฒน์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กลายเป็นเสียงฮือฮาสำหรับวงการพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
เนื่องด้วยนายสมเกียรติ เป็นศิษย์เอกคนหนึ่งของวัดพระธรรมกาย เมื่อได้รับโอกาสเข้ามาเป็น ส.ส. ได้แสดงเจตจำนงที่จะสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดกับความรู้สึกของศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นอย่างมาก เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับวัดพระธรรมกายจนพระธัมมชโยต้องถูกถอดสมณศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส หลบหนีคดีจนไม่มีใครพบตัว เป็นเพราะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์
แต่การใช้ความเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลใช้เวทีของสภาผู้แทนราษฎร สอบถามในเรื่องของอดีตพระชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกดำเนินคดีควรได้รับสิทธิประกันตัว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา
ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเรื่องการปล่อยชั่วคราวอดีตพระพรหมสิทธิ ธงชัย สุขโข อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม จำเลยที่ 5 คดีหมายเลขดำ อท.257/2561 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 2 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายพนม ศรศิลป์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กับพวกรวม 5 คน ซึ่งมีทั้งพระเถระชั้นผู้ใหญ่ กับฆราวาส เป็นจำเลยที่ 1-5 พร้อมกับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวอดีตพระมหาสังคมหรือสังคม ญาณวฑฒโน และอดีตพระวิจิตรธรรมาภรณ์ หรือเจ้าคุณเทอด
ส่งผลให้บรรดาศิษย์พระผู้ใหญ่และสายธรรมกายต่างชื่นชมผลงานของนายสมเกียรดิเป็นอย่างมาก ด้วยความคาดหวังว่าจะกลายเป็นตัวนำร่องให้กับพระรูปอื่น ๆ ที่ถูกดำเนินคดีเงินทอนวัด และหมายรวมไปถึงคดีของพระธัมมชโยที่อาจจะกลับมามอบตัวสู้คดีโดยไม่ต้องสึกจากความเป็นพระ
และการที่นายสมเกียรติได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยิ่งมีความหมายต่อคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่และวัดพระธรรมกายเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่กำกับดูแลงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) อีกด้วย
สำนักพุทธฯ จะขยับอะไรเกี่ยวกับเรื่องคดี ยังงัยก็ต้องรายงานผ่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แน่นอนว่าผู้ช่วยรัฐมนตรีก็ต้องทราบก่อน จากเดิมที่สายวัดธรรมกายต่างตกเป็นรองสำนักพุทธฯ ในรัฐบาลก่อน บัดนี้กลับมามีอำนาจเหนือสำนักพุทธฯ ได้อีกครั้ง

เก้าอี้ผอ.พศ.ใกล้ว่าง
ประการต่อมา เป็นที่ทราบกันดีว่าพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธฯ จะเกษียณอายุราชการสิ้นเดือนกันยายนนี้ และภายใต้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากหลายพรรคการเมืองเข้ามารวมตัวกัน อำนาจการเสนอชื่อ ผอ.พศ.คนใหม่อยู่ที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ส่วนผู้ช่วยรัฐมนตรีอย่างนายสมเกียรติจะมีบทบาทช่วยคัดกรองหรือไม่คงต้องรอติดตาม
อีกทั้งข้าราชการใน พศ. ส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยและทำงานร่วมกับอดีตพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมมาโดยตลอด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมในอดีตนั้นมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายอย่างไร
หากได้ ผอ.พศ.คนใหม่ที่มีสายสัมพันธ์กับขั้วอำนาจเดิมและอยู่ภายใต้สายการกำกับดูแลของผู้ช่วยรัฐมนตรีสมเกียรติ นโยบายการทำงานอาจเปลี่ยนไปจากยุคของพันตำรวจโทพงศ์พร

จับตาดึงงบกลับ พศ.
นอกจากนี้เมื่อครั้งที่นายสมเกียรติทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาฯ ยังได้ทำเรื่องขอต่อสภาฯ อีก 1 เรื่องนอกเหนือจากเรื่องขอให้อดีตพระผู้ใหญ่ได้สิทธิประกันตัว นั่นคือขอให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐากให้กับพระสังฆาธิการ เพื่อความเหมาะสมต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ส่งถึงนายกรัฐมนตรีและอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้หลังจากเกิดคดีเงินทอนวัด ที่มีข้าราชการระดับ ผอ.พศ.คนก่อนถูกดำเนินคดีด้วย เนื่องจาก พศ.กุมงบประมาณในการเบิกจ่ายให้กับวัดต่าง ๆ ได้เอง ยุคของพงศ์พรจึงปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 พศ.จัดให้งบประมาณบูรณปฎิสังขรณ์วัดเป็นงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ หากมีวัดที่ต้องการจะรับงบประมาณนี้ให้ทำเรื่องแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และเจ้าคณะผู้ปกครองในพื้นที่ จากนั้นจะมีการส่งเรื่องมายังกองพุทธศาสนสถาน พศ. เพื่อพิจารณาและส่งไปให้สำนักงบประมาณพิจารณาในการอนุมัติงบประมาณ เท่ากับว่าต่อไปนี้งบประมาณบูรณปฏิสังขรณ์วัดทางสำนักงบประมาณจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติงบประมาณให้กับวัดโดยตรง
นี่คือความหมายที่แท้จริงที่มีการร้องขอให้ข้าราชการ พศ.กลับมารับใช้ดูแลเป็นพี่เลี้ยงให้กับพระสังฆาธิการทั้งประเทศ เนื่องจากการที่ พศ. โยนเรื่องการอนุมัติงบจากวัดต่าง ๆ กลับไปที่สำนักงบประมาณทำให้การของบไม่สะดวกเหมือนเดิม ที่สำคัญทำให้อำนาจและบารมีของพระผู้ใหญ่มหาเถรสมาคมหายไป เพราะวัดที่ต้องการงบต้องวิ่งเข้าหา เอาอกเอาใจพระผู้ใหญ่ ทำให้เกิดระบบเครือข่ายในวงการพระสงฆ์ขึ้นมา
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ที่ผ่านมาไม่ใช่ทุกวัดที่ขอเงินจะได้ทั้งหมด วัดในเครือข่ายของพระผู้ใหญ่จะได้ก่อนเสมอ วัดนอกเครือข่ายก็ต้องดิ้นรนกันเอง หากคณะรัฐมนตรีจะเห็นชอบตามที่นายสมเกียรติร้องขอ ปัญหาเก่า ๆ ก็อาจจะกลับมาอีกครั้ง เว้นแต่มีการเพิ่มกฎระเบียบต่าง ๆ ที่รัดกุมมากกว่าเดิม
งบมา-อำนาจมี-บารมีเกิด
ตอนนี้มีความพยายามใช้ความเป็นผู้แทนราษฎร ช่วยเหลือพระผู้ใหญ่และวัดต่าง ๆ ให้ฟื้นกลับมาแข็งแรงกว่าเดิมเป็นลำดับแรก เนื่องจากพระผู้ใหญ่เหล่านี้เคยเป็นเกราะกำบังชั้นดีให้กับวัดพระธรรมกาย เพราะในโลกของพระสงฆ์แล้ว รัฐมักปล่อยให้ฝ่ายสงฆ์จัดการกันเอง
เมื่อศิษย์วัดพระธรรมกายสร้างความมั่นใจให้กับพระชั้นปกครองได้แล้ว หากจะดำเนินการใด ๆ กับวัดพระธรรมกายในทางคดีแล้ว ผลที่ออกมาคาดกันว่าย่อมเป็นคุณมากกว่าโทษหรือหนักเป็นเบา
สำหรับคดีของพระธัมมชโย ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับเมื่อ 17 พฤษภาคม 2559 ฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร จากคดีทุจริตเงินในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งคดีของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ถูกศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 ให้จำคุก 14 ปี แต่จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 7 ปี
นี่จึงเป็นความกังวลหนึ่งของบรรดาศิษย์วัดพระธรรมกาย ที่ต้องหาทางช่วยเหลือทั้งในทางคดีและในทางสงฆ์ ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คดีพระธัมมชโย-ไม่เร็ว
วันนี้เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคและมีสถานะเสียงปริ่มน้ำ ต่างจากรัฐบาลชุด คสช.ที่ทำทุกอย่างได้เด็ดขาดและไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการจะดำเนินการใด ๆ อย่างรวดเร็วเหมือนในอดีตอาจทำได้ยาก อำนาจการต่อรองของพรรคการเมืองแม้จะเป็นพรรคเล็กที่ร่วมรัฐบาลมีสูง หากเกิดการกระทบกระทั่งกันแล้วพรรคเล็ก ๆ รวมตัวกันถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว รัฐบาลย่อมอยู่ยาก ดังนั้นการแตะไปที่วัดพระธรรมกายภายใต้รัฐบาลนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ประเมินกันว่าคดีของวัดพระธรรมกายที่ลงไปเฉพาะตัวพระธัมมชโยอาจต้องยืดออกไป ด้วยสถานะของรัฐบาลเอง ด้านหนึ่งคือการประคองความเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศในภาพรวม อีกด้านหนึ่งความเป็นรัฐบาลผสม ทำให้ไม่สามารถสั่งการรัฐมนตรีได้เหมือนในอดีต และหากพรรคร่วมถอนตัวรัฐบาลก็เดินหน้าต่อไม่ได้ แน่นอนว่าคดีของพระธัมมชโยก็ต้องยืดออกไปอีกเช่นกัน หรือหากสถานการณ์ทางการเมืองภายหน้าเปลี่ยนไปจนมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แล้วได้พรรคการเมืองที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล ย่อมเป็นเรื่องบวกกับวัดพระธรรมกายมากยิ่งขึ้น
“เอาวัดมาอ้างเพื่อทำลายคนเห็นต่าง? ฝากถึงพระที่สำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย หลวงพี่สนิทวงศ์ กรณีข่าวที่ MGR Online พยายามชี้นำเรื่อง ส.ส.สมเกียรติ ศรลัมพ์ ศิษย์เอกวัดดัง จังหวัดปทุมธานี ลาออกจากปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ เพื่อมากำกับดูแลสำนักพุทธฯ ไม่ทราบว่าทำไม สำนักสื่อสารองค์กรถึงไม่ออกเอกสารว่ากรณีสมเกียรติ ศรลัมพ์ ไม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย เพราะวัดไม่เล่นการเมือง ทำไมไม่เหมือนทำกับที่จงใจทำกับคุณอัยย์ เพชรทองและ อปพส. ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นยังไม่มีข่าวเลย แต่สำนักสื่อสารองค์กรจงใจ ออกมาสกัดก่อนเลย ทำไมคราวนี้ถึงเงียบกริบ ไหนบอกว่าวัดไม่ยุ่งการเมืองงัย? หรือเลือกได้ว่าจะแอบช่วยใคร ไม่ช่วยใคร แต่ขอให้เลือกให้ดี ๆ นะเพราะควรจะเลือกช่วยหลวงพ่อ ไม่ใช่ช่วยพวกหนอน ฝากด้วย”
นี่คือข้อความที่ทีมงานของนายอัยย์ เพชรทอง สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันของวัดพระธรรมกายที่เลือกปฎิบัติต่อศิษย์วัดพระธรรมกายทั้ง 2 คน ทั้งนี้เมื่อ 5 สิงหาคม 2562 ทีมนายอัยย์ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กระทำผิดมาตรา 161 กับหน่วยงานต่าง ๆ แต่ถูกสำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกายออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องในทันที
แต่การเดินเครื่องเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้สิทธิประกันตัวกับพระผู้ใหญ่ที่ถูกดำเนินคดีของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ รวมไปถึงการออกมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทางวัดพระธรรมกายกลับเงียบกับบทบาทของนายสมเกียรติ
แหล่งข่าวจากพรรคร่วมรัฐบาลกล่าวว่า จริงตามที่ทีมงานของอัยย์กล่าว เพราะทั้งอัยย์และสมเกียรติไม่ค่อยลงรอยกัน สถานะของศิษย์ทั้ง 2 ก็แตกต่างกัน คนหนึ่งอยู่นอกสภาเดินเกมรุกไปที่พลเอกประยุทธ์ อีกคนเป็น ส.ส.ในสภา ย่อมทำอะไรได้มากกว่าและผลงานที่อดีตพระผู้ใหญ่ได้ประกันตัวเป็นที่ประจักษ์ แถมยังจะมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีที่คุมสำนักพุทธฯ ที่ให้คุณให้โทษวัดพระธรรมกายได้ รวมไปถึงภาพลักษณ์ที่สมเกียรติทำได้ดีกว่า
แต่ข้อความดังกล่าวที่มาจากศิษย์ของวัดพระธรรมกายเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าวัดพระธรรมกายเกี่ยวข้องกับการเมืองผ่านทางลูกศิษย์คนสำคัญอย่างนายสมเกียรติ ศรลัมพ์
โชว์ผลงานปล่อยตัวอดีตพระพรหมสิทธิ
จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 13 สิงหาคม 2562 แต่งตั้งนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาภิวัฒน์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กลายเป็นเสียงฮือฮาสำหรับวงการพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
เนื่องด้วยนายสมเกียรติ เป็นศิษย์เอกคนหนึ่งของวัดพระธรรมกาย เมื่อได้รับโอกาสเข้ามาเป็น ส.ส. ได้แสดงเจตจำนงที่จะสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งขัดกับความรู้สึกของศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นอย่างมาก เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับวัดพระธรรมกายจนพระธัมมชโยต้องถูกถอดสมณศักดิ์ พ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส หลบหนีคดีจนไม่มีใครพบตัว เป็นเพราะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์
แต่การใช้ความเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลใช้เวทีของสภาผู้แทนราษฎร สอบถามในเรื่องของอดีตพระชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกดำเนินคดีควรได้รับสิทธิประกันตัว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา
ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเรื่องการปล่อยชั่วคราวอดีตพระพรหมสิทธิ ธงชัย สุขโข อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม จำเลยที่ 5 คดีหมายเลขดำ อท.257/2561 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 2 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายพนม ศรศิลป์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กับพวกรวม 5 คน ซึ่งมีทั้งพระเถระชั้นผู้ใหญ่ กับฆราวาส เป็นจำเลยที่ 1-5 พร้อมกับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวอดีตพระมหาสังคมหรือสังคม ญาณวฑฒโน และอดีตพระวิจิตรธรรมาภรณ์ หรือเจ้าคุณเทอด
ส่งผลให้บรรดาศิษย์พระผู้ใหญ่และสายธรรมกายต่างชื่นชมผลงานของนายสมเกียรดิเป็นอย่างมาก ด้วยความคาดหวังว่าจะกลายเป็นตัวนำร่องให้กับพระรูปอื่น ๆ ที่ถูกดำเนินคดีเงินทอนวัด และหมายรวมไปถึงคดีของพระธัมมชโยที่อาจจะกลับมามอบตัวสู้คดีโดยไม่ต้องสึกจากความเป็นพระ
และการที่นายสมเกียรติได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยิ่งมีความหมายต่อคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่และวัดพระธรรมกายเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่กำกับดูแลงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) อีกด้วย
สำนักพุทธฯ จะขยับอะไรเกี่ยวกับเรื่องคดี ยังงัยก็ต้องรายงานผ่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แน่นอนว่าผู้ช่วยรัฐมนตรีก็ต้องทราบก่อน จากเดิมที่สายวัดธรรมกายต่างตกเป็นรองสำนักพุทธฯ ในรัฐบาลก่อน บัดนี้กลับมามีอำนาจเหนือสำนักพุทธฯ ได้อีกครั้ง
เก้าอี้ผอ.พศ.ใกล้ว่าง
ประการต่อมา เป็นที่ทราบกันดีว่าพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธฯ จะเกษียณอายุราชการสิ้นเดือนกันยายนนี้ และภายใต้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง มาจากหลายพรรคการเมืองเข้ามารวมตัวกัน อำนาจการเสนอชื่อ ผอ.พศ.คนใหม่อยู่ที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ส่วนผู้ช่วยรัฐมนตรีอย่างนายสมเกียรติจะมีบทบาทช่วยคัดกรองหรือไม่คงต้องรอติดตาม
อีกทั้งข้าราชการใน พศ. ส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยและทำงานร่วมกับอดีตพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมมาโดยตลอด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมในอดีตนั้นมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายอย่างไร
หากได้ ผอ.พศ.คนใหม่ที่มีสายสัมพันธ์กับขั้วอำนาจเดิมและอยู่ภายใต้สายการกำกับดูแลของผู้ช่วยรัฐมนตรีสมเกียรติ นโยบายการทำงานอาจเปลี่ยนไปจากยุคของพันตำรวจโทพงศ์พร
จับตาดึงงบกลับ พศ.
นอกจากนี้เมื่อครั้งที่นายสมเกียรติทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาฯ ยังได้ทำเรื่องขอต่อสภาฯ อีก 1 เรื่องนอกเหนือจากเรื่องขอให้อดีตพระผู้ใหญ่ได้สิทธิประกันตัว นั่นคือขอให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐากให้กับพระสังฆาธิการ เพื่อความเหมาะสมต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ส่งถึงนายกรัฐมนตรีและอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้หลังจากเกิดคดีเงินทอนวัด ที่มีข้าราชการระดับ ผอ.พศ.คนก่อนถูกดำเนินคดีด้วย เนื่องจาก พศ.กุมงบประมาณในการเบิกจ่ายให้กับวัดต่าง ๆ ได้เอง ยุคของพงศ์พรจึงปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 พศ.จัดให้งบประมาณบูรณปฎิสังขรณ์วัดเป็นงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ หากมีวัดที่ต้องการจะรับงบประมาณนี้ให้ทำเรื่องแจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และเจ้าคณะผู้ปกครองในพื้นที่ จากนั้นจะมีการส่งเรื่องมายังกองพุทธศาสนสถาน พศ. เพื่อพิจารณาและส่งไปให้สำนักงบประมาณพิจารณาในการอนุมัติงบประมาณ เท่ากับว่าต่อไปนี้งบประมาณบูรณปฏิสังขรณ์วัดทางสำนักงบประมาณจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติงบประมาณให้กับวัดโดยตรง
นี่คือความหมายที่แท้จริงที่มีการร้องขอให้ข้าราชการ พศ.กลับมารับใช้ดูแลเป็นพี่เลี้ยงให้กับพระสังฆาธิการทั้งประเทศ เนื่องจากการที่ พศ. โยนเรื่องการอนุมัติงบจากวัดต่าง ๆ กลับไปที่สำนักงบประมาณทำให้การของบไม่สะดวกเหมือนเดิม ที่สำคัญทำให้อำนาจและบารมีของพระผู้ใหญ่มหาเถรสมาคมหายไป เพราะวัดที่ต้องการงบต้องวิ่งเข้าหา เอาอกเอาใจพระผู้ใหญ่ ทำให้เกิดระบบเครือข่ายในวงการพระสงฆ์ขึ้นมา
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ที่ผ่านมาไม่ใช่ทุกวัดที่ขอเงินจะได้ทั้งหมด วัดในเครือข่ายของพระผู้ใหญ่จะได้ก่อนเสมอ วัดนอกเครือข่ายก็ต้องดิ้นรนกันเอง หากคณะรัฐมนตรีจะเห็นชอบตามที่นายสมเกียรติร้องขอ ปัญหาเก่า ๆ ก็อาจจะกลับมาอีกครั้ง เว้นแต่มีการเพิ่มกฎระเบียบต่าง ๆ ที่รัดกุมมากกว่าเดิม
งบมา-อำนาจมี-บารมีเกิด
ตอนนี้มีความพยายามใช้ความเป็นผู้แทนราษฎร ช่วยเหลือพระผู้ใหญ่และวัดต่าง ๆ ให้ฟื้นกลับมาแข็งแรงกว่าเดิมเป็นลำดับแรก เนื่องจากพระผู้ใหญ่เหล่านี้เคยเป็นเกราะกำบังชั้นดีให้กับวัดพระธรรมกาย เพราะในโลกของพระสงฆ์แล้ว รัฐมักปล่อยให้ฝ่ายสงฆ์จัดการกันเอง
เมื่อศิษย์วัดพระธรรมกายสร้างความมั่นใจให้กับพระชั้นปกครองได้แล้ว หากจะดำเนินการใด ๆ กับวัดพระธรรมกายในทางคดีแล้ว ผลที่ออกมาคาดกันว่าย่อมเป็นคุณมากกว่าโทษหรือหนักเป็นเบา
สำหรับคดีของพระธัมมชโย ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับเมื่อ 17 พฤษภาคม 2559 ฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร จากคดีทุจริตเงินในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งคดีของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ถูกศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์เมื่อ 20 สิงหาคม 2562 ให้จำคุก 14 ปี แต่จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 7 ปี
นี่จึงเป็นความกังวลหนึ่งของบรรดาศิษย์วัดพระธรรมกาย ที่ต้องหาทางช่วยเหลือทั้งในทางคดีและในทางสงฆ์ ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คดีพระธัมมชโย-ไม่เร็ว
วันนี้เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคและมีสถานะเสียงปริ่มน้ำ ต่างจากรัฐบาลชุด คสช.ที่ทำทุกอย่างได้เด็ดขาดและไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการจะดำเนินการใด ๆ อย่างรวดเร็วเหมือนในอดีตอาจทำได้ยาก อำนาจการต่อรองของพรรคการเมืองแม้จะเป็นพรรคเล็กที่ร่วมรัฐบาลมีสูง หากเกิดการกระทบกระทั่งกันแล้วพรรคเล็ก ๆ รวมตัวกันถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว รัฐบาลย่อมอยู่ยาก ดังนั้นการแตะไปที่วัดพระธรรมกายภายใต้รัฐบาลนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ประเมินกันว่าคดีของวัดพระธรรมกายที่ลงไปเฉพาะตัวพระธัมมชโยอาจต้องยืดออกไป ด้วยสถานะของรัฐบาลเอง ด้านหนึ่งคือการประคองความเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศในภาพรวม อีกด้านหนึ่งความเป็นรัฐบาลผสม ทำให้ไม่สามารถสั่งการรัฐมนตรีได้เหมือนในอดีต และหากพรรคร่วมถอนตัวรัฐบาลก็เดินหน้าต่อไม่ได้ แน่นอนว่าคดีของพระธัมมชโยก็ต้องยืดออกไปอีกเช่นกัน หรือหากสถานการณ์ทางการเมืองภายหน้าเปลี่ยนไปจนมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แล้วได้พรรคการเมืองที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายกลับเข้ามาเป็นรัฐบาล ย่อมเป็นเรื่องบวกกับวัดพระธรรมกายมากยิ่งขึ้น