ธรรมกายสมหวัง “สมเกียรติ ศรลัมพ์” ศิษย์คนสำคัญทำสำเร็จ ยอมสละตำแหน่ง ส.ส. ไปเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ที่คุมสำนักงานพระพุทธศาสนาโดยตรง พลิกสถานะจากตกเป็นรองกลายเป็นคนคุม จากนี้ความเคลื่อนไหวใดๆ เกี่ยวกับคดีเงินทอนวัด คดีธรรมกาย ย่อมรู้ก่อน จะทำไม่ทำอีกเรื่องหนึ่ง จับตาคดีพระได้ประกันที่ส่งผลต่อพระธัมมชโย หลังอดีตพระพรหมสิทธิได้รับการประกันตัวแล้ว

ภาพของวัดพระธรรมกายในวันนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ล่าสุดคือโครงการอุปสมบทรุ่นบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เป็นโครงการบวชฟรี กำหนดเข้าโครงการตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม สิ้นสุดโครงการในวันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีการอุปสมบทของพระธัมมชโย เป้าหมายระดมคนเข้ามาบวชให้ได้ 5,000 รูป
แม้ศิษย์ของวัดพระธรรมกายอย่างนายอัยย์ เพชรทอง ได้ออกมาร้องทุกข์กล่าวโทษพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่ากระทำผิดมาตรา 161 และทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ 6 แห่งได้แก่ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการทหารบก และยังยื่นเพิ่มเติมไปยังพรรคการเมืองต่างๆ อีก
การเคลื่อนไหวของทีมงานอัยย์ เพชรทอง ทางวัดพระธรรมกายได้ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง “การดำเนินการใดๆ ที่ผ่านมาหรือที่จะดำเนินการต่อไปของนายอัยย์ เพชรทองและองค์กร อปพส. ไม่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย ไม่ใช่ตัวแทนวัด และไม่ใช่ตัวแทนศิษย์แต่อย่างใด รวมทั้งทางวัดไม่ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการแสดงทัศนคติด้านอื่นๆ ทุกประการ”
นับเป็นความพยายามในการสร้างความชัดเจนให้สาธารณชนได้เห็นว่าวัดพระธรรมกายไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และทางวัดมุ่งไปที่งานด้านพระพุทธศาสนาเพียงอย่างเดียว
ส.ส.ร้องขอพระได้ประกันตัว
แต่ในด้านฆราวาสนับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปิดให้มีการเลือกตั้งจนถึงการจัดตั้งรัฐบาล พบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างใช้สิทธิในการตั้งกระทู้สอบถามในเรื่องของสถานการณ์พระพุทธศาสนา โฟกัสไปที่การจับกุมพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมที่ควรได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อสู้คดี
ขณะเดียวกันส่วนที่อยู่นอกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ออกมาเคลื่อนไหวทั้งในนามขององค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ที่มีนายอัยย์ เพชรทอง ศิษย์ธรรมกายเป็นแกนนำ และยังมีนายกรณ์ มีดี หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม ออกมาโพสต์ในเรื่องการดำเนินคดีกับพระผู้ใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
เรียกได้ว่าฆราวาสสายพุทธฯ ขี่ม้าเลียบค่ายยกเอากรณีของอดีตพระพรหมทั้ง 3 รูปที่ถูกดำเนินคดียกมาเป็นตัวนำร่อง ด้านหนึ่งหากรัฐบาลรับไปดำเนินการให้สิทธิอดีตพระผู้ใหญ่ที่ถูกจับกุมตัวได้สิทธิประกันตัวสู้คดี ย่อมเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการช่วยเหลืออดีตพระผู้ใหญ่ที่เคยมีตำแหน่งในมหาเถรสมาคม
อีกด้านหนึ่งเป็นใบเบิกทางให้กับพระสงฆ์ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีได้เข้ามามอบตัวและได้สิทธิในการประกันตัวโดยไม่ต้องสึกจากความเป็นพระ เป้าหมายใหญ่น่าจะมุ่งไปที่พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งหลบหนีคดีและมาตรา 44 ของรัฐบาลเมื่อปี 2560 ไม่สามารถนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้
ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเรื่องการปล่อยชั่วคราว อดีตพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข) อายุ 63 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562

สมเกียรติ ศรลัมพ์ หัวหอก
เฉพาะนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วใช้สิทธิความเป็น ส.ส.ออกมา ท้วงติงการทำงานที่่ผ่านมาของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านพระพุทธศาสนา มีทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน แม้ว่ารอบนี้พรรคเพื่อไทยที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายผ่านตระกูลชินวัตร ได้ทำหน้าที่เพียงพรรคฝ่ายค้าน การช่วยเหลืออาจทำได้ไม่เต็มที่เหมือนเป็นรัฐบาล แต่การตั้งกระทู้สอบถามก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทางพรรคดำเนินการให้
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีศิษย์สายตรงของวัดพระธรรมกายอย่างนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ หัวหน้าพรรคประชาภิวัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้หารืออดีตกรรมการมหาเถรสมาคมที่ถูกดำเนินคดีควรได้สิทธิประกันตัว ซึ่งเรื่องนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งว่า
กรณีพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร พร้อมด้วยผู้ช่วยเจ้าอาวาสหนึ่งรูป และพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยพระราชาคณะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยพระราชาคณะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสอีก 3 รูปถูกจับดำเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินผิดประเภท โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน
จึงขอหารือเพื่อขอความเป็นธรรมกับพระคุณเจ้าให้ได้รับการประกันตัวตามสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณีนี้เป็นอำนาจของศาลในการพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรไม่อาจก้าวล่วงอำนาจศาลได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลให้อดีตพระชั้นผู้ใหญ่ได้รับสิทธิตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน และเพื่อบรรเทาความกังวลใจของพุทธศาสนิกชนบางส่วน จึงได้ส่งเรื่องให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาดำเนินการต่อไป
ส่วนเรื่องขอให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐากให้กับพระสังฆาธิการ อยู่ระหว่างส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
เป้าใหญ่คุมสำนักพุทธฯ
จากนั้น นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.มีผลในวันที่ 11 สิงหาคม 2562 เพื่อไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะทำให้นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 เลื่อนขึ้นมาแทน
แม้พรรคใหญ่ฝ่ายรัฐบาล เมื่อ ส.ส.เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีก็จะใช้สูตรลาออก แล้วให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อคนอื่นขึ้นมาแทนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสียงปริ่มน้ำของฝ่ายรัฐบาล ส่วนของพรรคเล็กก็เช่นกันที่เพิ่งจะลงตัวหลังจากที่บางส่วนขู่ถอนตัวจากรัฐบาล แต่กรณีของพรรคประชาภิวัฒน์นั้น การลาออกของนายสมเกียรตินับว่ามีนัยสูงมาก ถือว่าเป็นการตัดสินใจโดยยึดเป้าหมายใหญ่ของพรรคเป็นหลัก
เพราะเงินเดือน ส.ส.ได้เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท และเงินเพิ่มอีก 42,330 บาท รวมแล้ว 112,560 บาท ขณะที่เงินเดือนของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอยู่ที่ 60,000 บาท ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ตามที่ได้รับมอบหมายในการอำนวยการบริหารประเทศหรือการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
รายได้คงไม่ใช่เรื่องหลักของสมเกียรติ ศรลัมพ์ เขาถึงได้ยอมลงมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะมีอำนาจหน้าที่ในเชิงบริหารกลายๆ ภายใต้สายงานของรัฐมนตรี ที่สำคัญรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลหลายหน่วยงาน หนึ่งในนั้นคือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)

“พงศ์พร” ศัตรูเบอร์หนึ่ง
สำนักพุทธฯ น่าจะเป็นหน่วยงานหลักที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีรายนี้อยากเข้าไปดูแลมากที่สุด เนื่องจากหน่วยงานแห่งนี้เคยเป็นคู่กรณีกับหลายคดีที่เกิดขึ้นกับวงการสงฆ์ของไทย รวมถึงกรณีของวัดพระธรรมกาย ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ พันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เนื่องจากภายหลังที่มีการเปลี่ยนตัว ผอ.สำนักพุทธฯ จากนายพนม ศรศิลป์ มาเป็นพันตำรวจโทพงศ์พร ภายใต้รัฐบาล คสช. แม้กระทั่งอดีต ผอ.สำนักพุทธฯ อย่างนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ และนายพนม ศรศิลป์ และข้าราชการจำนวนหนึ่งก็ถูกดำเนินคดี หลังจากพบว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตคดีเงินทอนวัด
แม้ ผอ.สำนักพุทธฯ คนปัจจุบันจะเข้ามารับหน้าที่หลังจากที่ คสช.ใช้มาตรา 44 กับวัดพระธรรมกาย แต่การเดินเครื่องจากสำนักพุทธฯ กับวัดพระธรรมกาย ก็ทำเอาศิษย์วัดพระธรรมกายมองว่าพงศ์พรเป็นศัตรูเบอร์ต้นๆ ของวัดเช่นกัน โดยเฉพาะการทำหนังสือขอให้ใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 ข้อ 3 (1) กรณีพระภิกษุประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัยของพระธัมมชโย ต่อสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
สุดท้ายการใช้มาตรา 44 ก็ไม่สามารถนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้ ส่วนขั้นตอนของคณะสงฆ์ชั้นปกครองทำได้เพียงการเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
จากนั้นสำนักพุทธฯ ได้แจ้งความต่อกองปราบปรามดำเนินคดีกับวัดใหญ่ข้อหากระทำความผิดอาญาคดีทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม เมื่อ 11 เมษายน 2561 จากนั้น 24 พฤษภาคม 2561 ตำรวจกองปราบปรามได้เข้าจับกุมพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการ มส. และเจ้าคณะภาค 10 ซึ่งในวันดังกล่าวไม่อยู่ที่วัด แต่ได้มามอบตัวในภายหลัง ส่วนพระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม กรรมการ มส. ได้หลบหนีไปที่ประเทศเยอรมนี
ศิษย์ธรรมกายสมหวัง
งานนี้เท่ากับเป็นการพลิกสถานการณ์จากฝ่ายวัดพระธรรมกายที่เคยตกเป็นรองสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้กลายมาเป็นผู้กำกับดูแลงานของสำนักพุทธฯ ผ่านทางนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จากนี้ไปการขับเคลื่อนใดๆ ของ พศ.ที่อาจกระทบต่อวัดพระธรรมกายหรือพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมที่เคยเกื้อหนุนวัดพระธรรมกายมา ตลอดจนคดีเงินทอนวัดต่างๆ ย่อมต้องผ่านสายตาของสมเกียรติก่อนจะไปถึงนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นี่คือกลยุทธ์ของศิษย์ธรรมกายที่สละตัวเองจากตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อให้ได้เข้ามาในสายงานที่กำกับดูแลงานด้านพระพุทธศาสนาโดยตรง รวมไปถึงเรื่องของงบประมาณที่สนับสนุนงานด้านพระพุทธศาสนา ที่ในยุคพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ได้โยกไปให้กับสำนักงบประมาณพิจารณาแทน เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำรอยเงินทอนวัด อาจถูกดึงกลับมาให้สำนักพุทธฯ มีอำนาจในการอนุมัติงบประมาณได้เหมือนเดิม ด้วยเหตุที่ตัวของพงศ์พรเองจะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนกันยายนนี้
ภาพของวัดพระธรรมกายในวันนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ล่าสุดคือโครงการอุปสมบทรุ่นบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เป็นโครงการบวชฟรี กำหนดเข้าโครงการตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม สิ้นสุดโครงการในวันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีการอุปสมบทของพระธัมมชโย เป้าหมายระดมคนเข้ามาบวชให้ได้ 5,000 รูป
แม้ศิษย์ของวัดพระธรรมกายอย่างนายอัยย์ เพชรทอง ได้ออกมาร้องทุกข์กล่าวโทษพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่ากระทำผิดมาตรา 161 และทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ 6 แห่งได้แก่ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการทหารบก และยังยื่นเพิ่มเติมไปยังพรรคการเมืองต่างๆ อีก
การเคลื่อนไหวของทีมงานอัยย์ เพชรทอง ทางวัดพระธรรมกายได้ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้อง “การดำเนินการใดๆ ที่ผ่านมาหรือที่จะดำเนินการต่อไปของนายอัยย์ เพชรทองและองค์กร อปพส. ไม่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย ไม่ใช่ตัวแทนวัด และไม่ใช่ตัวแทนศิษย์แต่อย่างใด รวมทั้งทางวัดไม่ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือการแสดงทัศนคติด้านอื่นๆ ทุกประการ”
นับเป็นความพยายามในการสร้างความชัดเจนให้สาธารณชนได้เห็นว่าวัดพระธรรมกายไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และทางวัดมุ่งไปที่งานด้านพระพุทธศาสนาเพียงอย่างเดียว
ส.ส.ร้องขอพระได้ประกันตัว
แต่ในด้านฆราวาสนับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเปิดให้มีการเลือกตั้งจนถึงการจัดตั้งรัฐบาล พบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต่างใช้สิทธิในการตั้งกระทู้สอบถามในเรื่องของสถานการณ์พระพุทธศาสนา โฟกัสไปที่การจับกุมพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมที่ควรได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อสู้คดี
ขณะเดียวกันส่วนที่อยู่นอกสภาผู้แทนราษฎรต่างก็ออกมาเคลื่อนไหวทั้งในนามขององค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ(อปพส.) ที่มีนายอัยย์ เพชรทอง ศิษย์ธรรมกายเป็นแกนนำ และยังมีนายกรณ์ มีดี หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม ออกมาโพสต์ในเรื่องการดำเนินคดีกับพระผู้ใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
เรียกได้ว่าฆราวาสสายพุทธฯ ขี่ม้าเลียบค่ายยกเอากรณีของอดีตพระพรหมทั้ง 3 รูปที่ถูกดำเนินคดียกมาเป็นตัวนำร่อง ด้านหนึ่งหากรัฐบาลรับไปดำเนินการให้สิทธิอดีตพระผู้ใหญ่ที่ถูกจับกุมตัวได้สิทธิประกันตัวสู้คดี ย่อมเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการช่วยเหลืออดีตพระผู้ใหญ่ที่เคยมีตำแหน่งในมหาเถรสมาคม
อีกด้านหนึ่งเป็นใบเบิกทางให้กับพระสงฆ์ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีได้เข้ามามอบตัวและได้สิทธิในการประกันตัวโดยไม่ต้องสึกจากความเป็นพระ เป้าหมายใหญ่น่าจะมุ่งไปที่พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งหลบหนีคดีและมาตรา 44 ของรัฐบาลเมื่อปี 2560 ไม่สามารถนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้
ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเรื่องการปล่อยชั่วคราว อดีตพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขโข) อายุ 63 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562
สมเกียรติ ศรลัมพ์ หัวหอก
เฉพาะนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วใช้สิทธิความเป็น ส.ส.ออกมา ท้วงติงการทำงานที่่ผ่านมาของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านพระพุทธศาสนา มีทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน แม้ว่ารอบนี้พรรคเพื่อไทยที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายผ่านตระกูลชินวัตร ได้ทำหน้าที่เพียงพรรคฝ่ายค้าน การช่วยเหลืออาจทำได้ไม่เต็มที่เหมือนเป็นรัฐบาล แต่การตั้งกระทู้สอบถามก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทางพรรคดำเนินการให้
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีศิษย์สายตรงของวัดพระธรรมกายอย่างนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ หัวหน้าพรรคประชาภิวัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้หารืออดีตกรรมการมหาเถรสมาคมที่ถูกดำเนินคดีควรได้สิทธิประกันตัว ซึ่งเรื่องนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งว่า
กรณีพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร พร้อมด้วยผู้ช่วยเจ้าอาวาสหนึ่งรูป และพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยพระราชาคณะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยพระราชาคณะ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสอีก 3 รูปถูกจับดำเนินคดีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินผิดประเภท โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2561 จนถึงปัจจุบัน
จึงขอหารือเพื่อขอความเป็นธรรมกับพระคุณเจ้าให้ได้รับการประกันตัวตามสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณีนี้เป็นอำนาจของศาลในการพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวหรือไม่ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรไม่อาจก้าวล่วงอำนาจศาลได้
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลให้อดีตพระชั้นผู้ใหญ่ได้รับสิทธิตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน และเพื่อบรรเทาความกังวลใจของพุทธศาสนิกชนบางส่วน จึงได้ส่งเรื่องให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาดำเนินการต่อไป
ส่วนเรื่องขอให้ข้าราชการสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐากให้กับพระสังฆาธิการ อยู่ระหว่างส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
เป้าใหญ่คุมสำนักพุทธฯ
จากนั้น นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.มีผลในวันที่ 11 สิงหาคม 2562 เพื่อไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะทำให้นางนันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 เลื่อนขึ้นมาแทน
แม้พรรคใหญ่ฝ่ายรัฐบาล เมื่อ ส.ส.เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีก็จะใช้สูตรลาออก แล้วให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อคนอื่นขึ้นมาแทนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสียงปริ่มน้ำของฝ่ายรัฐบาล ส่วนของพรรคเล็กก็เช่นกันที่เพิ่งจะลงตัวหลังจากที่บางส่วนขู่ถอนตัวจากรัฐบาล แต่กรณีของพรรคประชาภิวัฒน์นั้น การลาออกของนายสมเกียรตินับว่ามีนัยสูงมาก ถือว่าเป็นการตัดสินใจโดยยึดเป้าหมายใหญ่ของพรรคเป็นหลัก
เพราะเงินเดือน ส.ส.ได้เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท และเงินเพิ่มอีก 42,330 บาท รวมแล้ว 112,560 บาท ขณะที่เงินเดือนของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอยู่ที่ 60,000 บาท ซึ่งผู้ช่วยรัฐมนตรีมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ตามที่ได้รับมอบหมายในการอำนวยการบริหารประเทศหรือการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
รายได้คงไม่ใช่เรื่องหลักของสมเกียรติ ศรลัมพ์ เขาถึงได้ยอมลงมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะมีอำนาจหน้าที่ในเชิงบริหารกลายๆ ภายใต้สายงานของรัฐมนตรี ที่สำคัญรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลหลายหน่วยงาน หนึ่งในนั้นคือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)
“พงศ์พร” ศัตรูเบอร์หนึ่ง
สำนักพุทธฯ น่าจะเป็นหน่วยงานหลักที่ผู้ช่วยรัฐมนตรีรายนี้อยากเข้าไปดูแลมากที่สุด เนื่องจากหน่วยงานแห่งนี้เคยเป็นคู่กรณีกับหลายคดีที่เกิดขึ้นกับวงการสงฆ์ของไทย รวมถึงกรณีของวัดพระธรรมกาย ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ พันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เนื่องจากภายหลังที่มีการเปลี่ยนตัว ผอ.สำนักพุทธฯ จากนายพนม ศรศิลป์ มาเป็นพันตำรวจโทพงศ์พร ภายใต้รัฐบาล คสช. แม้กระทั่งอดีต ผอ.สำนักพุทธฯ อย่างนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ และนายพนม ศรศิลป์ และข้าราชการจำนวนหนึ่งก็ถูกดำเนินคดี หลังจากพบว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตคดีเงินทอนวัด
แม้ ผอ.สำนักพุทธฯ คนปัจจุบันจะเข้ามารับหน้าที่หลังจากที่ คสช.ใช้มาตรา 44 กับวัดพระธรรมกาย แต่การเดินเครื่องจากสำนักพุทธฯ กับวัดพระธรรมกาย ก็ทำเอาศิษย์วัดพระธรรมกายมองว่าพงศ์พรเป็นศัตรูเบอร์ต้นๆ ของวัดเช่นกัน โดยเฉพาะการทำหนังสือขอให้ใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 ข้อ 3 (1) กรณีพระภิกษุประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณ ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัยของพระธัมมชโย ต่อสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
สุดท้ายการใช้มาตรา 44 ก็ไม่สามารถนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้ ส่วนขั้นตอนของคณะสงฆ์ชั้นปกครองทำได้เพียงการเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
จากนั้นสำนักพุทธฯ ได้แจ้งความต่อกองปราบปรามดำเนินคดีกับวัดใหญ่ข้อหากระทำความผิดอาญาคดีทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม เมื่อ 11 เมษายน 2561 จากนั้น 24 พฤษภาคม 2561 ตำรวจกองปราบปรามได้เข้าจับกุมพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการ มส. และเจ้าคณะภาค 10 ซึ่งในวันดังกล่าวไม่อยู่ที่วัด แต่ได้มามอบตัวในภายหลัง ส่วนพระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม กรรมการ มส. ได้หลบหนีไปที่ประเทศเยอรมนี
ศิษย์ธรรมกายสมหวัง
งานนี้เท่ากับเป็นการพลิกสถานการณ์จากฝ่ายวัดพระธรรมกายที่เคยตกเป็นรองสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้กลายมาเป็นผู้กำกับดูแลงานของสำนักพุทธฯ ผ่านทางนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
จากนี้ไปการขับเคลื่อนใดๆ ของ พศ.ที่อาจกระทบต่อวัดพระธรรมกายหรือพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมที่เคยเกื้อหนุนวัดพระธรรมกายมา ตลอดจนคดีเงินทอนวัดต่างๆ ย่อมต้องผ่านสายตาของสมเกียรติก่อนจะไปถึงนายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นี่คือกลยุทธ์ของศิษย์ธรรมกายที่สละตัวเองจากตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อให้ได้เข้ามาในสายงานที่กำกับดูแลงานด้านพระพุทธศาสนาโดยตรง รวมไปถึงเรื่องของงบประมาณที่สนับสนุนงานด้านพระพุทธศาสนา ที่ในยุคพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ได้โยกไปให้กับสำนักงบประมาณพิจารณาแทน เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำรอยเงินทอนวัด อาจถูกดึงกลับมาให้สำนักพุทธฯ มีอำนาจในการอนุมัติงบประมาณได้เหมือนเดิม ด้วยเหตุที่ตัวของพงศ์พรเองจะเกษียณอายุราชการในสิ้นเดือนกันยายนนี้