วัดพระธรรมกายจัดเทวดาประจำทิศร่วมพิธีผูกพัทธสีมาฝังตระกูลนิมิต ลูก-หลาน-เหลน-พ่อ-ทวดนิมิต อ้างคัดจาก 3 พันกว่าล้านคน คัดจากบนสวรรค์แล้วเอาลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ งานฝังลูกนิมิตเมื่อ 39 ปีก่อนก็จัดเทวดา สาขาในต่างประเทศก็มีเทวดา ขณะที่หนังสือ “ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน” โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เมื่อปี 2543 ให้คำตอบเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
พิธีผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต โบสถ์พระไตรปิฎก ณ วัดพระธรรมกาย ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นับเป็นงานบุญใหญ่ของทางวัดที่เชิญชวนผู้ที่ศรัทธาและผู้สนใจมาร่วมบุญกับทางวัดพระธรรมกาย หลังจากเมื่อต้นปี 2560 ทางวัดได้ปรับให้โบสถ์เดิมที่สร้างไว้เมื่อปี 2520 และแล้วเสร็จเมื่อปี 2525 เป็นโบสถ์พระไตรปิฎกหลังแรกของโลก
งานใหญ่ของวัดพระธรรมกายทั้งที ย่อมต้องมีการสร้างจุดน่าสนใจของงาน อย่างงานฝังลูกนิมิตครั้งนี้ ทางวัดได้มีการออกหลานนิมิตและเหลนนิมิตมาเพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพภายใต้สโลแกนนักบุญทุนน้อย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าการเป็นเจ้าภาพตัดลูกนิมิตนั้นจะต้องร่วมบุญในราคาที่ทางวัดกำหนด ยิ่งวัดใหญ่วัดดังราคาย่อมสูงตามไปด้วย ในเบื้องต้นนั้นเจ้าภาพลูกนิมิตของวัดพระธรรมกายน่าจะตกอยู่ที่ 1 ล้านบาท โดยลูกนิมิตทั้งหมดมี 100 ลูก และมีพ่อนิมิตอีก 8 ลูก คาดว่าน่าจะกำหนดไว้ประจำทิศทั้ง 8 แน่นอนว่าการเป็นเจ้าภาพพ่อนิมิตราคาย่อมต้องสูงเจ้าภาพลูกนิมิต
ส่วนผู้ที่ทรัพย์ไม่ถึงระดับเป็นเจ้าภาพพ่อหรือลูกนิมิต ทางวัดก็เปิดทางให้นักบุญทุนน้อยได้เป็นเจ้าภาพหลานนิมิตที่ 1 แสนบาท และเหลนนิมิตที่ 1 หมื่นบาท
เดิมสะดุด-ตอนนี้ฤกษ์ดี
พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย โพสต์เชิญชวนการร่วมบุญในครั้งนี้ว่า “ลูกนิมิต” แม้จะนานๆ มีที แต่ก็มีบ่อยๆ ตามวัดต่างๆ แต่หลาน และ เหลนนิมิต ไม่เคยมี เพิ่งจะมี ครั้งนี้ ครั้งแรก โบสถ์พระไตรปิฎกก็เช่นกัน ก็เป็นครั้งแรก ครั้งเดียว โอกาสเดียว เท่านั้น เพราะฉะนั้น นักบุญทุนน้อย แต่หัวใจยิ่งใหญ่ ต้องรีบมา ทำด่วน..!!! หลุมที่จะหย่อน ก็เป็นที่พิเศษสุดๆ ใครได้มาเป็นเจ้าของบุญครั้งนี้ จะลืมไม่ลง คงไม่ลืม ปลื้มทุกชาติ เพราะมันพิเศษสุดจริงๆ
เดิมทีทางวัดพระธรรมกายเตรียมการไว้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560 แต่เกิดปัญหาเรื่องคดีความของพระธัมมชโย จนรัฐบาลใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เพื่อหาต้องการนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี จึงเปลี่ยนชื่อลูกนิมิตที่เดิมตั้งไว้ว่าจุลนิมิตมหาจักรพรรดิรัตนะเศรษฐี(ลูกนิมิต)และมหานิมิตบรมจักรพรรดิรัตนะเศรษฐี(พ่อนิมิต) มาเป็นรัตนสิริทิพย์นิมิตมงคล
วัดพระธรรมกายต้องมีเทวดา
นอกเหนือไปจากการสร้างความแปลกใหม่ด้วยการมีหลานนิมิต เหลนนิมิตแล้ว ได้มีการเพิ่มพ่อนิมิตเข้ามาในภายหลังแล้ว ยังพบว่าพระสนิทวงศ์ ยังกล่าวถึงทวดนิมิตและยังมีจุลนิมิตอีก แต่ที่ฮือฮามากกว่านั้นคือ เฟสบุ๊กแฟนเพจของพระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ได้โพสต์ข้อความไว้เมื่อ 21 มิถุนายน 2562 ว่า เทวดาประจำทิศต่างๆ งานประดิษฐานลูกนิมิตและผูกสีมา โบสถ์พระไตรปิฎก
เทวดาสำคัญนะ ชายแมนๆ ตั้ง 3,000 กว่าล้านคน ที่จะคัดเป็นเทวดาได้ ไม่กี่คน คัดจากทั้งโลกเลย เหลือแค่ 24 คน คัดจากบนสวรรค์ แล้วเอาลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ แล้วคัดมาเป็นเทวดา ประจำทิศต่างๆ ไม่ธรรมดาหรอกแบบนี้ จึงเรียกว่า "เทวดา" เทวดาคัดเลือกมาเหลือแค่นี้ ตามกำลังบุญ กำลังบารมี
ขอเชิญร่วมพิธีสถาปนาอุโบสถพระไตรปิฎก ประดิษฐานลูกนิมิตและผูกสีมา ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ อุโบสถ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
เป็นอันว่าในวันที่ 7 กรกฎาคม 2562 ยังจะมีเทวดาอีก 24 คนมาร่วมในพิธีผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต โบสถ์พระไตรปิฎก ณ วัดพระธรรมกาย อีกด้วย เทวดาเหล่านี้จะมาประจำตามจุดของทิศทั้ง 8 เพื่อร่วมพิธีในการทักนิมิต
ทั้งนี้ทางวัดพระธรรมกายเคยจัดพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถมาแล้วเมื่อวันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2523 พิธีผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดพระธรรมกาย โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถระ) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นประธานสงฆ์ สวดประกาศญัตติทุติยกรรมวาจา สมมติสมานสังวาสสีมา และติจีวราวิปปวาส ท่ามกลางคณะสงฆ์ 170 รูป โดยมีพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นสักขีพยานกว่า 5,000 คน
ครั้งนั้นก็มีผู้แต่งชุดเทวดาร่วมในพิธี นอกจากนี้ตามสาขาในต่างประเทศของวัดพระธรรมกาย หากมีพิธีฝังลูกนิมิตก็มีการจัดให้มีการแต่งชุดเทวดาเข้ามาร่วมในพิธีเช่นเดียวกัน
ฝังลูกนิมิต วัดญาณเวศกวัน
อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่งของพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต มีหนังสือ “ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน” ปุจฉา - วิสัชนา โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เมื่อเมษายน 2543 หนังสือเล่มนี้เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในกิจกรรมประกอบงานฝังลูกนิมิต-ผูกสีมาของวัดญาณเวศกวัน เพื่อจะให้ความรู้ความเข้าใจในที่มาที่ไป ตลอดจนความหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีความแตกต่างจากแหล่งอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของผู้ที่จะมาร่วมบุญในงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต คำตอบจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ในขณะนั้น(ปัจจุบันสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)) ระบุว่า
อานิสงส์การปฏิบัติตามประเพณีงานบุญ
1. ชาวพุทธได้มีส่วนร่วมในกิจการพระพุทธศาสนา และได้เรียนรู้เรื่องราวในพระศาสนาของตน
2. ชาวพุทธได้มีส่วนร่วมสร้างโบสถ์ และทาให้วัดมีฐานะสมบูรณ์
3. ชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ได้มาสนับสนุนศาสนกิจของพระสงฆ์ เป็นการแสดงความสามัคคีของพุทธบริษัททั้ง 4
4. ชาวพุทธได้มีโอกาสทาบุญ บาเพ็ญกุศลกรรม ฝึกอบรมกาย วาจา ใจ ให้เจริญใน ทาน ศีล ภาวนา
5. ชาวพุทธได้ร่วมสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา โดยช่วยให้กิจการงานพระศาสนาทั้งหลาย เช่น การอุปสมบท และสังฆกรรมทุกอย่าง ที่จะมีมาตลอดกาลยาวนานข้างหน้า ดาเนินไปได้ เพื่อให้พระพุทธศาสนารุ่งเรือง มั่นคง นามาซึ่งประโยชน์สุขแก่มหาชนอย่างยั่งยืนนาน
6. ชาวพุทธได้อารมณ์บุญอันเด่น ที่จะแต่งจิตให้เอิบอิ่มด้วยปีติสุข และฝังไว้ในใจให้เป็นกรรมนิมิต เพื่อคติที่ดีสืบต่อไป
เมื่อลูกนิมิตเป็นของศักดิ์สิทธิ์
นอกจากนี้ยังได้อธิบายคำว่าลูกนิมิตไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวัตถุ 8 ชนิดให้ใช้เป็นเครื่องหมายกำหนดเขตที่เรียกว่า สีมา สีมาก็คือเขต วัตถุ 8 ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องหมายเขตได้ คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้า และน้า ถ้าใช้วัตถุที่ไม่มั่นคงทนทาน พัทธสีมาที่ผูกคือกำหนดกันไว้ ก็ไม่มั่นคงยั่งยืน มาถึงปัจจุบันจึงนิยมกันลงตัว เอาศิลาขนาดที่เป็นหลักเป็นฐาน จึงเรียกว่า “นิมิต”
ลูกนิมิต ก็กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพราะงานผูกสีมา ต้องอาศัยนิมิต นิมิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีนิมิตก็ผูกสีมาไม่ได้ นิมิตที่เป็นองค์ประกอบสำคัญก็เลยกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทีนี้อะไรที่เกี่ยวกับลูกนิมิต เช่น หวายสาแหรก ก็ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาอีก ดึงกัน แย่งกันเลย มีดตัดสาแหรก มีดตัดหวายก็ศักดิ์สิทธิ์อีก อะไรๆ ไม่รู้ ศักดิ์สิทธิ์ไปหมด ใครๆ ก็อยากได้
ความจริงในแง่หนึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอนุสรณ์สำคัญ ถ้าไม่มองในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ ใครๆ ก็อยากได้ไปเป็นอนุสรณ์ แต่นี่ไม่ใช่แค่อนุสรณ์ธรรมดา อนุสรณ์มีความศักดิ์สิทธิ์ในความหมายทางจิตใจที่ลึกซึ้งเข้าไปอีก พอนิมิตศักดิ์สิทธิ์ ทีนี้ปิดทองก็ตามมาอีก ชาวบ้านเขาอยากร่วมอุปถัมภ์อยู่แล้ว การปิดทองก็ชอบอยู่แล้ว เมื่อทำกันนานๆ ไป เรื่องก็อาจจะชักบานปลาย
โอกาสหาเงิน
ทีนี้ถ้าพระถือโอกาสหาเงินก็ไปกันใหญ่ จนเมืองไทยปัจจุบันนี้ชักจะกลายเป็นว่า เวลาจัดงานฝังลูกนิมิตผูกสีมา ก็พากันเน้นที่การหาเงินไปหมด คิดว่าทำอย่างไรจึงจะหาเงินได้มากๆ ก็ต้องจัดงานให้ใหญ่ที่สุด แล้วก็มีหลายๆ วัน มีดนตรี มีมหรสพต่างๆ และโฆษณากันใหญ่ ทาป้ายติดไปตามสี่แยก หรือข้างถนนใหญ่ บางทีทั่วประเทศ บางทีติดกันเป็นปีๆ แล้วก็ชอบมาจัดงานเอาตอนตรุษจีน อันนี้เป็นเรื่องประเพณีขยายมา คือประเพณีทำบุญนั่นเอง
การที่ชาวบ้านอยากได้บุญ เลยกลายเป็นจุดที่มาบรรจบกับพระในเรื่องที่ว่า ถ้าไม่ระวังแล้วจะเป็นจุดเสื่อม ก็คือกลายเป็นเรื่องหาเงินทองไป ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นไปมาก จึงเป็นจุดที่เราคงจะต้องระวังว่า จะทำอย่างไรให้ได้สาระ ไม่ใช่มาติดแค่ว่าจะหาเงิน
อย่างปิดทองลูกนิมิตนี่ จะเอาไหม ในเมื่อมันไม่ใช่ตัววินัย หรือพุทธบัญญัติ ซึ่งมีแค่ว่ามีลูกนิมิตที่ทางพระใช้กำหนดเอา ก็จบเรื่อง แต่จะปิดทองไหม นี่เป็นประเพณี ถ้าเราตกลงให้มีการปิดทองก็เป็นการอนุรักษ์ประเพณี แต่จะปิดทองเพื่อหาเงิน หรือจะเพียงให้ชาวบ้านได้บุญ แค่นั้นพอไหม สมมุติว่าเราไม่มุ่งหาเงิน แต่แค่ชาวบ้านบอกว่าได้บุญจากปิดทอง พอไหม?
การที่ชาวบ้านได้รู้สึกตัวว่าได้มีส่วนร่วมในพระพุทธศาสนาของเขา ในการที่ได้มาปิดทองลูกนิมิตที่ทาให้เป็นสีมาของวัดนี้ ทำให้วัดนี้มีพัทธสีมาได้ และมีส่วนร่วมทาให้เกิดโบสถ์หลังนี้ ที่พระสงฆ์จะได้ทำสังฆกรรมกัน
อะไรที่จะให้เกิดจิตสานึก หรือเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็พุ่งเป้าหมายไปที่นั่น คือให้เกิดความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นบุญอย่างแท้ที่สำคัญ แทนที่จะไปเน้นอยู่แค่ว่าฉันปิดทองแล้วได้บุญแบบเลื่อนลอย แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ และไปติดความงมงายอยากจะให้พรมน้ามนต์โดยไม่ได้ความรู้อะไร มาแล้วก็ได้แต่ความหลงกลับไป
ทุกอย่างเป็นเงิน
งานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตนั้นในด้านความเชื่อของคนไทย ต่างให้ความสำคัญกับงานฝังลูกนิมิตเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อกันว่าเป็นบุญใหญ่ วัด ๆ หนึ่งอาจจะมีงานฝังลูกนิมิตเพียงแค่ครั้งเดียว คนที่มีกำลังทรัพย์พอต่างแย่งกันจับจองเป็นเจ้าภาพตัดลูกนิมิต
นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนากล่าวว่า วัดแต่ละวัดก็กำหนดราคาของการเป็นเจ้าภาพแตกต่างกันไป อย่างวัดตามต่างจังหวัดที่ไม่มีชื่อเสียงนัก หาเจ้าภาพได้ยากราคาก็ไม่สูง บางแห่ง 2 หมื่นบาทก็เป็นเจ้าภาพตัดลูกนิมิตกลางโบสถ์ได้แล้ว ลูกนิมิตส่วนใหญ่จะมี 8 ลูกตามทิศต่าง ๆ แต่บางวัดอาจจัดให้มีลูกนิมิตมากถึง 108-109 ลูก บางวัดมีมากถึง 139 ลูก
พูดตรง ๆ คือเพื่อต้องการหาเงิน อย่างวัดที่ไม่ดังตามต่างจังหวัด อาจแยกค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพออกจากมีดตัดหวาย เช่นเจ้าภาพลูกนิมิตลูกละ 1 หมื่นบาท ลูกนิมิต 100 ลูกก็ 1 ล้านบาท มีดตัดหวายมีให้เลือกอีก 7 นิ้ว 4,999 บาท หรือ 9 นิ้ว 6,999 บาท ก็คูณตามจำนวนลูกนิมิตเข้าไป
ส่วนวัดใหญ่วัดดังราคาของการเป็นเจ้าภาพย่อมต้องสูงขึ้น แต่อาจรวมเรื่องของอุปกรณ์ตัดลูกนิมิตไว้ให้แล้ว อย่างวัดพระธรรมกายทราบว่าเฉพาะลูกนิมิตเจ้าภาพก็ 1 ล้านบาท 100 ลูกก็ 100 ล้านบาท ส่วนพ่อนิมิต 8 ลูกทางวัดไม่แจ้งราคาการเป็นเจ้าภาพ ราคาย่อมต้องสูงกว่า 1 ล้านบาทแน่นอน ยังไม่รวมถึงหลานนิมิตที่ 1 แสนบาท เหลนนิมิตที่ 1 หมื่นบาท ดังนั้นงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตของวัดพระธรรมกายน่าจะสร้างเม็ดเงินเข้าวัดได้เป็นจำนวนมาก
พิธีผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต โบสถ์พระไตรปิฎก ณ วัดพระธรรมกาย ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นับเป็นงานบุญใหญ่ของทางวัดที่เชิญชวนผู้ที่ศรัทธาและผู้สนใจมาร่วมบุญกับทางวัดพระธรรมกาย หลังจากเมื่อต้นปี 2560 ทางวัดได้ปรับให้โบสถ์เดิมที่สร้างไว้เมื่อปี 2520 และแล้วเสร็จเมื่อปี 2525 เป็นโบสถ์พระไตรปิฎกหลังแรกของโลก
งานใหญ่ของวัดพระธรรมกายทั้งที ย่อมต้องมีการสร้างจุดน่าสนใจของงาน อย่างงานฝังลูกนิมิตครั้งนี้ ทางวัดได้มีการออกหลานนิมิตและเหลนนิมิตมาเพื่อให้ผู้สนใจได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพภายใต้สโลแกนนักบุญทุนน้อย
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าการเป็นเจ้าภาพตัดลูกนิมิตนั้นจะต้องร่วมบุญในราคาที่ทางวัดกำหนด ยิ่งวัดใหญ่วัดดังราคาย่อมสูงตามไปด้วย ในเบื้องต้นนั้นเจ้าภาพลูกนิมิตของวัดพระธรรมกายน่าจะตกอยู่ที่ 1 ล้านบาท โดยลูกนิมิตทั้งหมดมี 100 ลูก และมีพ่อนิมิตอีก 8 ลูก คาดว่าน่าจะกำหนดไว้ประจำทิศทั้ง 8 แน่นอนว่าการเป็นเจ้าภาพพ่อนิมิตราคาย่อมต้องสูงเจ้าภาพลูกนิมิต
ส่วนผู้ที่ทรัพย์ไม่ถึงระดับเป็นเจ้าภาพพ่อหรือลูกนิมิต ทางวัดก็เปิดทางให้นักบุญทุนน้อยได้เป็นเจ้าภาพหลานนิมิตที่ 1 แสนบาท และเหลนนิมิตที่ 1 หมื่นบาท
เดิมสะดุด-ตอนนี้ฤกษ์ดี
พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย โพสต์เชิญชวนการร่วมบุญในครั้งนี้ว่า “ลูกนิมิต” แม้จะนานๆ มีที แต่ก็มีบ่อยๆ ตามวัดต่างๆ แต่หลาน และ เหลนนิมิต ไม่เคยมี เพิ่งจะมี ครั้งนี้ ครั้งแรก โบสถ์พระไตรปิฎกก็เช่นกัน ก็เป็นครั้งแรก ครั้งเดียว โอกาสเดียว เท่านั้น เพราะฉะนั้น นักบุญทุนน้อย แต่หัวใจยิ่งใหญ่ ต้องรีบมา ทำด่วน..!!! หลุมที่จะหย่อน ก็เป็นที่พิเศษสุดๆ ใครได้มาเป็นเจ้าของบุญครั้งนี้ จะลืมไม่ลง คงไม่ลืม ปลื้มทุกชาติ เพราะมันพิเศษสุดจริงๆ
เดิมทีทางวัดพระธรรมกายเตรียมการไว้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2560 แต่เกิดปัญหาเรื่องคดีความของพระธัมมชโย จนรัฐบาลใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เพื่อหาต้องการนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี จึงเปลี่ยนชื่อลูกนิมิตที่เดิมตั้งไว้ว่าจุลนิมิตมหาจักรพรรดิรัตนะเศรษฐี(ลูกนิมิต)และมหานิมิตบรมจักรพรรดิรัตนะเศรษฐี(พ่อนิมิต) มาเป็นรัตนสิริทิพย์นิมิตมงคล
วัดพระธรรมกายต้องมีเทวดา
นอกเหนือไปจากการสร้างความแปลกใหม่ด้วยการมีหลานนิมิต เหลนนิมิตแล้ว ได้มีการเพิ่มพ่อนิมิตเข้ามาในภายหลังแล้ว ยังพบว่าพระสนิทวงศ์ ยังกล่าวถึงทวดนิมิตและยังมีจุลนิมิตอีก แต่ที่ฮือฮามากกว่านั้นคือ เฟสบุ๊กแฟนเพจของพระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ได้โพสต์ข้อความไว้เมื่อ 21 มิถุนายน 2562 ว่า เทวดาประจำทิศต่างๆ งานประดิษฐานลูกนิมิตและผูกสีมา โบสถ์พระไตรปิฎก
เทวดาสำคัญนะ ชายแมนๆ ตั้ง 3,000 กว่าล้านคน ที่จะคัดเป็นเทวดาได้ ไม่กี่คน คัดจากทั้งโลกเลย เหลือแค่ 24 คน คัดจากบนสวรรค์ แล้วเอาลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ แล้วคัดมาเป็นเทวดา ประจำทิศต่างๆ ไม่ธรรมดาหรอกแบบนี้ จึงเรียกว่า "เทวดา" เทวดาคัดเลือกมาเหลือแค่นี้ ตามกำลังบุญ กำลังบารมี
ขอเชิญร่วมพิธีสถาปนาอุโบสถพระไตรปิฎก ประดิษฐานลูกนิมิตและผูกสีมา ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ อุโบสถ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
เป็นอันว่าในวันที่ 7 กรกฎาคม 2562 ยังจะมีเทวดาอีก 24 คนมาร่วมในพิธีผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต โบสถ์พระไตรปิฎก ณ วัดพระธรรมกาย อีกด้วย เทวดาเหล่านี้จะมาประจำตามจุดของทิศทั้ง 8 เพื่อร่วมพิธีในการทักนิมิต
ทั้งนี้ทางวัดพระธรรมกายเคยจัดพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถมาแล้วเมื่อวันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2523 พิธีผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดพระธรรมกาย โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถระ) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นประธานสงฆ์ สวดประกาศญัตติทุติยกรรมวาจา สมมติสมานสังวาสสีมา และติจีวราวิปปวาส ท่ามกลางคณะสงฆ์ 170 รูป โดยมีพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นสักขีพยานกว่า 5,000 คน
ครั้งนั้นก็มีผู้แต่งชุดเทวดาร่วมในพิธี นอกจากนี้ตามสาขาในต่างประเทศของวัดพระธรรมกาย หากมีพิธีฝังลูกนิมิตก็มีการจัดให้มีการแต่งชุดเทวดาเข้ามาร่วมในพิธีเช่นเดียวกัน
ฝังลูกนิมิต วัดญาณเวศกวัน
อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่งของพิธีผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต มีหนังสือ “ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน” ปุจฉา - วิสัชนา โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เมื่อเมษายน 2543 หนังสือเล่มนี้เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในกิจกรรมประกอบงานฝังลูกนิมิต-ผูกสีมาของวัดญาณเวศกวัน เพื่อจะให้ความรู้ความเข้าใจในที่มาที่ไป ตลอดจนความหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีความแตกต่างจากแหล่งอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องของผู้ที่จะมาร่วมบุญในงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต คำตอบจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ในขณะนั้น(ปัจจุบันสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)) ระบุว่า
อานิสงส์การปฏิบัติตามประเพณีงานบุญ
1. ชาวพุทธได้มีส่วนร่วมในกิจการพระพุทธศาสนา และได้เรียนรู้เรื่องราวในพระศาสนาของตน
2. ชาวพุทธได้มีส่วนร่วมสร้างโบสถ์ และทาให้วัดมีฐานะสมบูรณ์
3. ชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ได้มาสนับสนุนศาสนกิจของพระสงฆ์ เป็นการแสดงความสามัคคีของพุทธบริษัททั้ง 4
4. ชาวพุทธได้มีโอกาสทาบุญ บาเพ็ญกุศลกรรม ฝึกอบรมกาย วาจา ใจ ให้เจริญใน ทาน ศีล ภาวนา
5. ชาวพุทธได้ร่วมสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา โดยช่วยให้กิจการงานพระศาสนาทั้งหลาย เช่น การอุปสมบท และสังฆกรรมทุกอย่าง ที่จะมีมาตลอดกาลยาวนานข้างหน้า ดาเนินไปได้ เพื่อให้พระพุทธศาสนารุ่งเรือง มั่นคง นามาซึ่งประโยชน์สุขแก่มหาชนอย่างยั่งยืนนาน
6. ชาวพุทธได้อารมณ์บุญอันเด่น ที่จะแต่งจิตให้เอิบอิ่มด้วยปีติสุข และฝังไว้ในใจให้เป็นกรรมนิมิต เพื่อคติที่ดีสืบต่อไป
เมื่อลูกนิมิตเป็นของศักดิ์สิทธิ์
นอกจากนี้ยังได้อธิบายคำว่าลูกนิมิตไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวัตถุ 8 ชนิดให้ใช้เป็นเครื่องหมายกำหนดเขตที่เรียกว่า สีมา สีมาก็คือเขต วัตถุ 8 ชนิดอย่างใดอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องหมายเขตได้ คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้า และน้า ถ้าใช้วัตถุที่ไม่มั่นคงทนทาน พัทธสีมาที่ผูกคือกำหนดกันไว้ ก็ไม่มั่นคงยั่งยืน มาถึงปัจจุบันจึงนิยมกันลงตัว เอาศิลาขนาดที่เป็นหลักเป็นฐาน จึงเรียกว่า “นิมิต”
ลูกนิมิต ก็กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เพราะงานผูกสีมา ต้องอาศัยนิมิต นิมิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีนิมิตก็ผูกสีมาไม่ได้ นิมิตที่เป็นองค์ประกอบสำคัญก็เลยกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทีนี้อะไรที่เกี่ยวกับลูกนิมิต เช่น หวายสาแหรก ก็ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาอีก ดึงกัน แย่งกันเลย มีดตัดสาแหรก มีดตัดหวายก็ศักดิ์สิทธิ์อีก อะไรๆ ไม่รู้ ศักดิ์สิทธิ์ไปหมด ใครๆ ก็อยากได้
ความจริงในแง่หนึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอนุสรณ์สำคัญ ถ้าไม่มองในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ ใครๆ ก็อยากได้ไปเป็นอนุสรณ์ แต่นี่ไม่ใช่แค่อนุสรณ์ธรรมดา อนุสรณ์มีความศักดิ์สิทธิ์ในความหมายทางจิตใจที่ลึกซึ้งเข้าไปอีก พอนิมิตศักดิ์สิทธิ์ ทีนี้ปิดทองก็ตามมาอีก ชาวบ้านเขาอยากร่วมอุปถัมภ์อยู่แล้ว การปิดทองก็ชอบอยู่แล้ว เมื่อทำกันนานๆ ไป เรื่องก็อาจจะชักบานปลาย
โอกาสหาเงิน
ทีนี้ถ้าพระถือโอกาสหาเงินก็ไปกันใหญ่ จนเมืองไทยปัจจุบันนี้ชักจะกลายเป็นว่า เวลาจัดงานฝังลูกนิมิตผูกสีมา ก็พากันเน้นที่การหาเงินไปหมด คิดว่าทำอย่างไรจึงจะหาเงินได้มากๆ ก็ต้องจัดงานให้ใหญ่ที่สุด แล้วก็มีหลายๆ วัน มีดนตรี มีมหรสพต่างๆ และโฆษณากันใหญ่ ทาป้ายติดไปตามสี่แยก หรือข้างถนนใหญ่ บางทีทั่วประเทศ บางทีติดกันเป็นปีๆ แล้วก็ชอบมาจัดงานเอาตอนตรุษจีน อันนี้เป็นเรื่องประเพณีขยายมา คือประเพณีทำบุญนั่นเอง
การที่ชาวบ้านอยากได้บุญ เลยกลายเป็นจุดที่มาบรรจบกับพระในเรื่องที่ว่า ถ้าไม่ระวังแล้วจะเป็นจุดเสื่อม ก็คือกลายเป็นเรื่องหาเงินทองไป ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นไปมาก จึงเป็นจุดที่เราคงจะต้องระวังว่า จะทำอย่างไรให้ได้สาระ ไม่ใช่มาติดแค่ว่าจะหาเงิน
อย่างปิดทองลูกนิมิตนี่ จะเอาไหม ในเมื่อมันไม่ใช่ตัววินัย หรือพุทธบัญญัติ ซึ่งมีแค่ว่ามีลูกนิมิตที่ทางพระใช้กำหนดเอา ก็จบเรื่อง แต่จะปิดทองไหม นี่เป็นประเพณี ถ้าเราตกลงให้มีการปิดทองก็เป็นการอนุรักษ์ประเพณี แต่จะปิดทองเพื่อหาเงิน หรือจะเพียงให้ชาวบ้านได้บุญ แค่นั้นพอไหม สมมุติว่าเราไม่มุ่งหาเงิน แต่แค่ชาวบ้านบอกว่าได้บุญจากปิดทอง พอไหม?
การที่ชาวบ้านได้รู้สึกตัวว่าได้มีส่วนร่วมในพระพุทธศาสนาของเขา ในการที่ได้มาปิดทองลูกนิมิตที่ทาให้เป็นสีมาของวัดนี้ ทำให้วัดนี้มีพัทธสีมาได้ และมีส่วนร่วมทาให้เกิดโบสถ์หลังนี้ ที่พระสงฆ์จะได้ทำสังฆกรรมกัน
อะไรที่จะให้เกิดจิตสานึก หรือเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็พุ่งเป้าหมายไปที่นั่น คือให้เกิดความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นบุญอย่างแท้ที่สำคัญ แทนที่จะไปเน้นอยู่แค่ว่าฉันปิดทองแล้วได้บุญแบบเลื่อนลอย แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ และไปติดความงมงายอยากจะให้พรมน้ามนต์โดยไม่ได้ความรู้อะไร มาแล้วก็ได้แต่ความหลงกลับไป
ทุกอย่างเป็นเงิน
งานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตนั้นในด้านความเชื่อของคนไทย ต่างให้ความสำคัญกับงานฝังลูกนิมิตเป็นอย่างมาก เพราะเชื่อกันว่าเป็นบุญใหญ่ วัด ๆ หนึ่งอาจจะมีงานฝังลูกนิมิตเพียงแค่ครั้งเดียว คนที่มีกำลังทรัพย์พอต่างแย่งกันจับจองเป็นเจ้าภาพตัดลูกนิมิต
นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนากล่าวว่า วัดแต่ละวัดก็กำหนดราคาของการเป็นเจ้าภาพแตกต่างกันไป อย่างวัดตามต่างจังหวัดที่ไม่มีชื่อเสียงนัก หาเจ้าภาพได้ยากราคาก็ไม่สูง บางแห่ง 2 หมื่นบาทก็เป็นเจ้าภาพตัดลูกนิมิตกลางโบสถ์ได้แล้ว ลูกนิมิตส่วนใหญ่จะมี 8 ลูกตามทิศต่าง ๆ แต่บางวัดอาจจัดให้มีลูกนิมิตมากถึง 108-109 ลูก บางวัดมีมากถึง 139 ลูก
พูดตรง ๆ คือเพื่อต้องการหาเงิน อย่างวัดที่ไม่ดังตามต่างจังหวัด อาจแยกค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพออกจากมีดตัดหวาย เช่นเจ้าภาพลูกนิมิตลูกละ 1 หมื่นบาท ลูกนิมิต 100 ลูกก็ 1 ล้านบาท มีดตัดหวายมีให้เลือกอีก 7 นิ้ว 4,999 บาท หรือ 9 นิ้ว 6,999 บาท ก็คูณตามจำนวนลูกนิมิตเข้าไป
ส่วนวัดใหญ่วัดดังราคาของการเป็นเจ้าภาพย่อมต้องสูงขึ้น แต่อาจรวมเรื่องของอุปกรณ์ตัดลูกนิมิตไว้ให้แล้ว อย่างวัดพระธรรมกายทราบว่าเฉพาะลูกนิมิตเจ้าภาพก็ 1 ล้านบาท 100 ลูกก็ 100 ล้านบาท ส่วนพ่อนิมิต 8 ลูกทางวัดไม่แจ้งราคาการเป็นเจ้าภาพ ราคาย่อมต้องสูงกว่า 1 ล้านบาทแน่นอน ยังไม่รวมถึงหลานนิมิตที่ 1 แสนบาท เหลนนิมิตที่ 1 หมื่นบาท ดังนั้นงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตของวัดพระธรรมกายน่าจะสร้างเม็ดเงินเข้าวัดได้เป็นจำนวนมาก