ย้อนวีรกรรมปกป้องวัดพระธรรมกายของอดีตพระพรหมดิลก ทั้งเป็นประธานพิธีตักบาตรพระ 12,600 รูปย่านสะพานควาย ยุคยิ่งลักษณ์ ป้องธุดงค์ธรรมชัยเป็นเรื่องดี รับกิจนิมนต์ต่างประเทศทั้งสวิตเซอร์แลนด์ แคลิฟอร์เนีย ญี่ปุ่น ฯลฯ บัดนี้ต้องโทษถูกจำคุก ไร้ยศ อำนาจ ช้ำหนักปลายปี 2561 ขึ้นศาลวันเดียวกับพานทองแท้ ที่คนเพื่อไทย เสื้อแดง แห่มาให้กำลังใจโอ๊ค ในจำนวนนั้นมีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในต่างประเทศร่วมด้วย แต่ไร้คนเหลียวแลอดีตพระในมหาเถรสมาคมที่เคยเกื้อหนุนธรรมกาย
คดีทุจริตเงินงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือที่เรียกรวมว่า “เงินทอนวัด” ที่เข้าสู่การพิจารณาคดีไปแล้วนั้น คดีแรกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางตัดสินคดีสำนวนแรกไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน2562 โดยพิพากษาจำคุก 26 ปี โดยไม่รอลงอาญา นายสมเกียรติ ขันทอง อายุ 55 ปี อดีตพระครูกิตติ พัชรคุณ และอดีตเจ้าคณะอำเภอชนแดน จ.เพชรบูรณ์ และเจ้าอาวาสวัดลาดแค ในความผิดฐานฟอกเงิน
ส่วนคดีที่ถูกจับตาจากสังคมเป็นอย่างมาก คือ คดีของพระชั้นผู้ใหญ่ชั้นพรหมและเป็นกรรมการในมหาเถรสมาคม 3 รูปที่ถูกดำเนินคดีและจับกุมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561 ประกอบด้วย พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ และพระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม รายนี้หนีคดีไปที่เยอรมนี
จำคุกอดีตพระพรหมดิลก 6 ปี
คดีที่เดินหน้าก่อนคือคดีของอดีตพระพรหมดิลก โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษาเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562 คดีหมายเลขดำที่ อท.196/2561 ฟอกเงินทุจริตจัดสรรงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ของวัดสามพระยา ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปราบการทุจริต 1 ได้ยื่นฟ้อง นายเอื้อน กลิ่นสาลี อดีตพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ อดีตพระอรรถกิจโสภณ และเลขานุการเจ้าคณะกรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 1-2
ศาลพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายมาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันฟอกเงิน 2 กระทง กระทงละ 2 ปี ให้จำคุกนายเอื้อน กลิ่นสาลี หรืออดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา รวมจำคุก 6 ปี และนายสมทรง อดีตพระอรรถกิจโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 จำคุก 2 กระทง กระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
ทั้งนี้ ทีมทนายความของอดีตพระพรหมดิลกได้ดำเนินการเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป
ป้องธรรมกายสุดลิ่ม
ในอดีตพระพรหมดิลกนับได้ว่าเป็นหนึ่งในพระผู้ใหญ่ในระดับกรรมการมหาเถรสมาคมที่มีความใกล้ชิดกับวัดพระธรรมกาย แถมยังเคยร่วมกิจกรรมกับทางวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด ตั้งแต่ยังเป็นเจ้าคณะภาค 14 พร้อมทั้งสนับสนุนวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด เช่น พระพรหมดิลก เป็นประธานร่วมงาน “พิธีตักบาตรพระ 12,600 รูป ณ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว-สี่แยกสะพานควาย” หนึ่งในโครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ในดำริของพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (พระธัมมชโย) เมื่อ 17 มีนาคม 2555 ในงานนี้มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมาร่วมงานในชุดอุบาสิกาของวัดพระธรรมกายด้วย
อย่างงานธุดงค์ธรรมชัยของทางวัดพระธรรมกาย ปีที่ 2 ช่วงต้นปี 2556 เจ้าอาวาสวัดสามพระยาได้ออกมาปกป้องกิจกรรมในครั้งนี้ว่า
“การเดินธุดงค์นี้เป็นประโยชน์ตามพุทธโอวาทของสมเด็จพระบรมศาสดาที่ทรงแสดงไว้ในเรื่องของธุดงคธรรม และการเดินธุดงค์นี้ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติว่า ชาวต่างชาติทั่วโลกเมื่อได้เห็นภาพการเดินธุดงค์แล้วจะได้เห็นภาพพจน์ของพระพุทธศาสนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศ ซึ่งยังไม่เคยเผยแพร่ไปในที่ใดๆ ถือว่าเป็นการเผยแผ่ให้ทั่วโลกได้รู้ว่า ประเทศไทยของเรามีพระพุทธศาสนาเป็นหลัก การเดินธุดงค์ครั้งนี้เราไม่ได้ทำกันเป็นประจำทุกๆ วัน นานๆ ครั้งเราจะทำขึ้นปีหนึ่งครั้งหนึ่ง คนที่ห่างบุญ คนไม่เข้าใจบุญเท่านั้นที่จะคิดว่าการเดินธุดงค์ในเมืองนี้ทำให้รถติด ทำให้คนลำบาก
ถามว่า ประชาชนทั้งหลายนี้เขามองเห็นรถถึงแม้ว่าจะติดนิดๆ หน่อยๆ แต่เมื่อเห็นพระมา ถามว่าคนทั้งหลายบ่นไหม หรือญาติโยมทั้งหลายเขานั่งรถผ่านมาแล้ว ไม่มีโอกาสได้มาใกล้ๆ พระเลย ถามว่าโยมที่นั่งอยู่ในรถบ่นไหม อาตมาเห็นญาติโยมทั้งหลายเขาเปิดกระจกกันยกมือสาธุ สาธุกันอยู่ตลอด”
ต่อมาประชุมมหาเถรสมาคม สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม ได้เสนอชื่อพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และเจ้าคณะภาค 14 ขึ้นเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานครรูปใหม่ เมื่อ 29 มีนาคม 2556
ธรรมกายนิมนต์ไม่ขาด
หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ท่านรับนิมนต์ในกิจกรรมของวัดพระธรรมกายมาอย่างต่อเนื่อง
14 กรกฎาคม 2556 พระพรหมดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร เดินทางมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมคณะพระเถรานุเถระ พิธีเปิดและฉลองวัดพระธรรมกายสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีคณะสงฆ์เจ้าอาวาสจาก 23 ศูนย์สาขาวัดพระธรรมกายในทวีปยุโรปร่วมงาน
จากนั้นวัดพระธรรมกายฮ่องกง และวัดพระธรรมกายไทเปอาราธนาพระพรหมดิลก วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม ให้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นประธานสงฆ์ในพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี และเยี่ยมชมกิจการด้านพระพุทธศาสนาในเมืองฮ่องกงและไต้หวัน 8-20 มีนาคม 2556 และเดินทางที่เดิมอีกครั้งระหว่าง 25-29 มกราคม 2557
โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 ที่วัดพระธรรมกายคานากาว่า ประเทศญี่ปุ่น พระพรหมดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานในพิธีมอบพัดรองและประกาศเกียรติคุณจากประธานรัฐสภาไทยแก่พระธรรมทูตสายต่างประเทศ เจ้าอาวาสศูนย์สาขาวัดพระธรรมกายภาคพื้นเอเชีย จาก 18 วัดใน 9 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย มองโกเลีย เกาหลี และอินโดนีเซีย
จากนั้น 16 พฤศจิกายน 2557 วัดพระธรรมกายได้กราบอาราธนานิมนต์พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9 Ph.D.) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม ให้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่า 18 วัด ณ วัดพระธรรมกายแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นวัดสาขาแห่งแรกของวัดพระธรรมกายในต่างประเทศ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 10 เอเคอร์ หรือประมาณ 25 ไร่
สัจธรรมวันที่หมดประโยชน์
จะเห็นได้ว่าอดีตพระพรหมดิลกนั้นได้ให้ความเมตตาวัดพระธรรมกายเป็นพิเศษ แม้กระทั่งก่อนเกิดคดีความกับพระผู้ใหญ่ทั้ง 3 รูป สายของพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมก็ยังคงสนับสนุนวัดใหญ่ย่านปทุมธานีเรื่อยมา
แต่พอถึงวันที่พระผู้ใหญ่ที่เคยให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายถูกดำเนินคดี ทำให้ได้เห็นสัจธรรมบางประการที่เกิดขึ้น อย่างตอนที่มีข่าวว่าอดีตพระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม หลบหนีการจับกุมไปประเทศเยอรมนี ได้รับความช่วยเหลือจากทางวัดพระธรรมกายที่เยอรมนี ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้ออกมาปฏิเสธ และนายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายได้ออกมากล่าวว่า "ช่วยอดีตพระพรหมเมธี วัดธรรมกายจะได้อะไร ผมไม่เห็นประโยชน์อันใดเลย"
“กลับมาที่การต่อสู้คดีของอดีตพระพรหมดิลก ทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยตัวเอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มชั้นยศที่อยู่ระดับต่ำกว่าเจ้าคุณเอื้อนทั้งสิ้นที่มีส่วนร่วมช่วย ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากพระผู้ใหญ่ในระดับที่สูงกว่า รวมถึงวัดพระธรรมกายด้วย” หนึ่งในคณะทำงานของอดีตพระพรหมดิลกกล่าว
ยามไร้อำนาจวาสนา
ครั้งหนึ่งเมื่อพฤศจิกายน 2561 วันนั้นอดีตพระพรหมดิลกต้องไปขึ้นศาล ขณะเดียวกันนายพานทองแท้ ชินวัตร ได้เดินทางมาที่ศาลทุจริต ตามคำสั่งนัดสอบปากคำครั้งแรก คดีร่วมกันฟอกเงินจากการปล่อยกู้สินเชื่อของธนาคารกรุงไทย มีครอบครัวและแกนนำพรรคเพื่อไทยมาให้กำลังใจจำนวนมาก
“แต่กลับไม่มีใครเข้ามาสอบถามหรือทักทายอดีตพระพรหมดิลก วันนั้นเราเห็นทั้งคุณหญิงหน่อย และคนสำคัญในพรรคเพื่อไทยมากมาย และยังเห็นมีพระระดับเจ้าอาวาสของวัดพระธรรมกายในต่างประเทศ มาให้กำลังใจนายพานทองแท้ด้วย แต่ไม่มีใครเหลียวแลอดีตพระพรหมดิลก”
นี่คือสัจธรรมที่เราเห็น ยามที่อดีตพระพรหมดิลกมียศ ตำแหน่ง มีบารมีในมหาเถรสมาคม วัดพระธรรมกายนิมนต์ไปร่วมกิจกรรมโดยตลอด ท่านให้ความช่วยเหลือและโดดออกมาปกป้องวัดพระธรรมกาย เมื่อยามที่พ้นจากตำแหน่ง อำนาจ มีคดีความติดตัวทุกฝ่ายต่างก็เมิน จึงไม่แปลกใจเรื่องของอดีตพระพรหมเมธีที่ถูกปฏิเสธจากทางวัดพระธรรมกายชนิดไร้เยื่อใย
ที่ผ่านมาหลายครั้งก็ได้เห็นการออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องในเรื่องคดีความต่างๆ ที่ไปพาดพิงวัดพระธรรมกายอยู่เสมอ แม้บางเรื่องจะเป็นการกระทำของบางกลุ่มลูกศิษย์ที่ปกป้องวัดพระธรรมกายก็ตาม
เดิมทีศิษย์สายธรรมกายและศิษย์พระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมมีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรกที่มีการจับกุมอดีต 3 พระผู้ใหญ่ แต่สุดท้ายก็เงียบหาย เมื่อมีคำพิพากษาคดีอดีตพระพรหมดิลกกลุ่มนี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวอีกครั้งในการเชิญชวนร่วมลงชื่อขอพระราชทานอภัยโทษเจ้าคุณเอื้อน อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กำหนดนัดรวมถวายฎีกาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2562
ดังนั้น ใครที่จะเคลื่อนไหวใดๆ ก็ควรดูกรณีของอดีตพระพรหมดิลกเป็นตัวอย่างให้ดีว่า เมื่อถึงคราวที่ตัวเองหมดประโยชน์ไปแล้วจะมีสภาพเป็นอย่างไร
คดีทุจริตเงินงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือที่เรียกรวมว่า “เงินทอนวัด” ที่เข้าสู่การพิจารณาคดีไปแล้วนั้น คดีแรกศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางตัดสินคดีสำนวนแรกไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน2562 โดยพิพากษาจำคุก 26 ปี โดยไม่รอลงอาญา นายสมเกียรติ ขันทอง อายุ 55 ปี อดีตพระครูกิตติ พัชรคุณ และอดีตเจ้าคณะอำเภอชนแดน จ.เพชรบูรณ์ และเจ้าอาวาสวัดลาดแค ในความผิดฐานฟอกเงิน
ส่วนคดีที่ถูกจับตาจากสังคมเป็นอย่างมาก คือ คดีของพระชั้นผู้ใหญ่ชั้นพรหมและเป็นกรรมการในมหาเถรสมาคม 3 รูปที่ถูกดำเนินคดีและจับกุมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561 ประกอบด้วย พระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ และพระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม รายนี้หนีคดีไปที่เยอรมนี
จำคุกอดีตพระพรหมดิลก 6 ปี
คดีที่เดินหน้าก่อนคือคดีของอดีตพระพรหมดิลก โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษาเมื่อ 16 พฤษภาคม 2562 คดีหมายเลขดำที่ อท.196/2561 ฟอกเงินทุจริตจัดสรรงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ของวัดสามพระยา ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปราบการทุจริต 1 ได้ยื่นฟ้อง นายเอื้อน กลิ่นสาลี อดีตพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา, กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กับนายสมทรง อรรถกฤษณ์ อดีตพระอรรถกิจโสภณ และเลขานุการเจ้าคณะกรุงเทพฯ เป็นจำเลยที่ 1-2
ศาลพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายมาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันฟอกเงิน 2 กระทง กระทงละ 2 ปี ให้จำคุกนายเอื้อน กลิ่นสาลี หรืออดีตพระพรหมดิลก เจ้าอาวาสวัดสามพระยา รวมจำคุก 6 ปี และนายสมทรง อดีตพระอรรถกิจโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส จำเลยที่ 2 จำคุก 2 กระทง กระทงละ 1 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 3 ปี
ทั้งนี้ ทีมทนายความของอดีตพระพรหมดิลกได้ดำเนินการเพื่อต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป
ป้องธรรมกายสุดลิ่ม
ในอดีตพระพรหมดิลกนับได้ว่าเป็นหนึ่งในพระผู้ใหญ่ในระดับกรรมการมหาเถรสมาคมที่มีความใกล้ชิดกับวัดพระธรรมกาย แถมยังเคยร่วมกิจกรรมกับทางวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด ตั้งแต่ยังเป็นเจ้าคณะภาค 14 พร้อมทั้งสนับสนุนวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด เช่น พระพรหมดิลก เป็นประธานร่วมงาน “พิธีตักบาตรพระ 12,600 รูป ณ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว-สี่แยกสะพานควาย” หนึ่งในโครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ในดำริของพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (พระธัมมชโย) เมื่อ 17 มีนาคม 2555 ในงานนี้มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมาร่วมงานในชุดอุบาสิกาของวัดพระธรรมกายด้วย
อย่างงานธุดงค์ธรรมชัยของทางวัดพระธรรมกาย ปีที่ 2 ช่วงต้นปี 2556 เจ้าอาวาสวัดสามพระยาได้ออกมาปกป้องกิจกรรมในครั้งนี้ว่า
“การเดินธุดงค์นี้เป็นประโยชน์ตามพุทธโอวาทของสมเด็จพระบรมศาสดาที่ทรงแสดงไว้ในเรื่องของธุดงคธรรม และการเดินธุดงค์นี้ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติว่า ชาวต่างชาติทั่วโลกเมื่อได้เห็นภาพการเดินธุดงค์แล้วจะได้เห็นภาพพจน์ของพระพุทธศาสนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศ ซึ่งยังไม่เคยเผยแพร่ไปในที่ใดๆ ถือว่าเป็นการเผยแผ่ให้ทั่วโลกได้รู้ว่า ประเทศไทยของเรามีพระพุทธศาสนาเป็นหลัก การเดินธุดงค์ครั้งนี้เราไม่ได้ทำกันเป็นประจำทุกๆ วัน นานๆ ครั้งเราจะทำขึ้นปีหนึ่งครั้งหนึ่ง คนที่ห่างบุญ คนไม่เข้าใจบุญเท่านั้นที่จะคิดว่าการเดินธุดงค์ในเมืองนี้ทำให้รถติด ทำให้คนลำบาก
ถามว่า ประชาชนทั้งหลายนี้เขามองเห็นรถถึงแม้ว่าจะติดนิดๆ หน่อยๆ แต่เมื่อเห็นพระมา ถามว่าคนทั้งหลายบ่นไหม หรือญาติโยมทั้งหลายเขานั่งรถผ่านมาแล้ว ไม่มีโอกาสได้มาใกล้ๆ พระเลย ถามว่าโยมที่นั่งอยู่ในรถบ่นไหม อาตมาเห็นญาติโยมทั้งหลายเขาเปิดกระจกกันยกมือสาธุ สาธุกันอยู่ตลอด”
ต่อมาประชุมมหาเถรสมาคม สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม ได้เสนอชื่อพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และเจ้าคณะภาค 14 ขึ้นเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานครรูปใหม่ เมื่อ 29 มีนาคม 2556
ธรรมกายนิมนต์ไม่ขาด
หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ท่านรับนิมนต์ในกิจกรรมของวัดพระธรรมกายมาอย่างต่อเนื่อง
14 กรกฎาคม 2556 พระพรหมดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร เดินทางมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมคณะพระเถรานุเถระ พิธีเปิดและฉลองวัดพระธรรมกายสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีคณะสงฆ์เจ้าอาวาสจาก 23 ศูนย์สาขาวัดพระธรรมกายในทวีปยุโรปร่วมงาน
จากนั้นวัดพระธรรมกายฮ่องกง และวัดพระธรรมกายไทเปอาราธนาพระพรหมดิลก วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม ให้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นประธานสงฆ์ในพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี และเยี่ยมชมกิจการด้านพระพุทธศาสนาในเมืองฮ่องกงและไต้หวัน 8-20 มีนาคม 2556 และเดินทางที่เดิมอีกครั้งระหว่าง 25-29 มกราคม 2557
โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 ที่วัดพระธรรมกายคานากาว่า ประเทศญี่ปุ่น พระพรหมดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานในพิธีมอบพัดรองและประกาศเกียรติคุณจากประธานรัฐสภาไทยแก่พระธรรมทูตสายต่างประเทศ เจ้าอาวาสศูนย์สาขาวัดพระธรรมกายภาคพื้นเอเชีย จาก 18 วัดใน 9 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย มองโกเลีย เกาหลี และอินโดนีเซีย
จากนั้น 16 พฤศจิกายน 2557 วัดพระธรรมกายได้กราบอาราธนานิมนต์พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9 Ph.D.) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร กรรมการมหาเถรสมาคม ให้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่า 18 วัด ณ วัดพระธรรมกายแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นวัดสาขาแห่งแรกของวัดพระธรรมกายในต่างประเทศ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 10 เอเคอร์ หรือประมาณ 25 ไร่
สัจธรรมวันที่หมดประโยชน์
จะเห็นได้ว่าอดีตพระพรหมดิลกนั้นได้ให้ความเมตตาวัดพระธรรมกายเป็นพิเศษ แม้กระทั่งก่อนเกิดคดีความกับพระผู้ใหญ่ทั้ง 3 รูป สายของพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมก็ยังคงสนับสนุนวัดใหญ่ย่านปทุมธานีเรื่อยมา
แต่พอถึงวันที่พระผู้ใหญ่ที่เคยให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายถูกดำเนินคดี ทำให้ได้เห็นสัจธรรมบางประการที่เกิดขึ้น อย่างตอนที่มีข่าวว่าอดีตพระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม หลบหนีการจับกุมไปประเทศเยอรมนี ได้รับความช่วยเหลือจากทางวัดพระธรรมกายที่เยอรมนี ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้ออกมาปฏิเสธ และนายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายได้ออกมากล่าวว่า "ช่วยอดีตพระพรหมเมธี วัดธรรมกายจะได้อะไร ผมไม่เห็นประโยชน์อันใดเลย"
“กลับมาที่การต่อสู้คดีของอดีตพระพรหมดิลก ทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยตัวเอง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มชั้นยศที่อยู่ระดับต่ำกว่าเจ้าคุณเอื้อนทั้งสิ้นที่มีส่วนร่วมช่วย ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากพระผู้ใหญ่ในระดับที่สูงกว่า รวมถึงวัดพระธรรมกายด้วย” หนึ่งในคณะทำงานของอดีตพระพรหมดิลกกล่าว
ยามไร้อำนาจวาสนา
ครั้งหนึ่งเมื่อพฤศจิกายน 2561 วันนั้นอดีตพระพรหมดิลกต้องไปขึ้นศาล ขณะเดียวกันนายพานทองแท้ ชินวัตร ได้เดินทางมาที่ศาลทุจริต ตามคำสั่งนัดสอบปากคำครั้งแรก คดีร่วมกันฟอกเงินจากการปล่อยกู้สินเชื่อของธนาคารกรุงไทย มีครอบครัวและแกนนำพรรคเพื่อไทยมาให้กำลังใจจำนวนมาก
“แต่กลับไม่มีใครเข้ามาสอบถามหรือทักทายอดีตพระพรหมดิลก วันนั้นเราเห็นทั้งคุณหญิงหน่อย และคนสำคัญในพรรคเพื่อไทยมากมาย และยังเห็นมีพระระดับเจ้าอาวาสของวัดพระธรรมกายในต่างประเทศ มาให้กำลังใจนายพานทองแท้ด้วย แต่ไม่มีใครเหลียวแลอดีตพระพรหมดิลก”
นี่คือสัจธรรมที่เราเห็น ยามที่อดีตพระพรหมดิลกมียศ ตำแหน่ง มีบารมีในมหาเถรสมาคม วัดพระธรรมกายนิมนต์ไปร่วมกิจกรรมโดยตลอด ท่านให้ความช่วยเหลือและโดดออกมาปกป้องวัดพระธรรมกาย เมื่อยามที่พ้นจากตำแหน่ง อำนาจ มีคดีความติดตัวทุกฝ่ายต่างก็เมิน จึงไม่แปลกใจเรื่องของอดีตพระพรหมเมธีที่ถูกปฏิเสธจากทางวัดพระธรรมกายชนิดไร้เยื่อใย
ที่ผ่านมาหลายครั้งก็ได้เห็นการออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องในเรื่องคดีความต่างๆ ที่ไปพาดพิงวัดพระธรรมกายอยู่เสมอ แม้บางเรื่องจะเป็นการกระทำของบางกลุ่มลูกศิษย์ที่ปกป้องวัดพระธรรมกายก็ตาม
เดิมทีศิษย์สายธรรมกายและศิษย์พระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมมีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงแรกที่มีการจับกุมอดีต 3 พระผู้ใหญ่ แต่สุดท้ายก็เงียบหาย เมื่อมีคำพิพากษาคดีอดีตพระพรหมดิลกกลุ่มนี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวอีกครั้งในการเชิญชวนร่วมลงชื่อขอพระราชทานอภัยโทษเจ้าคุณเอื้อน อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กำหนดนัดรวมถวายฎีกาในวันที่ 28 พฤษภาคม 2562
ดังนั้น ใครที่จะเคลื่อนไหวใดๆ ก็ควรดูกรณีของอดีตพระพรหมดิลกเป็นตัวอย่างให้ดีว่า เมื่อถึงคราวที่ตัวเองหมดประโยชน์ไปแล้วจะมีสภาพเป็นอย่างไร