ผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ คาดสายตรงธรรมกายได้ สมเกียรติ ศรลัมพ์ จากพรรคประชาภิวัฒน์ บัญชีรายชื่อ ฝั่งต้านธรรมกายได้ ไพบูลย์ นิติตะวัน จากประชาชนปฏิรูป เล่นเอาศิษย์วัดออกโรงถล่ม พร้อมหนุนพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล คนใกล้ชิดไพบูลย์ยันเดินหน้าตรวจสอบธรรมกายต่อ เผยสมเกียรติยื่นไมตรีโหวต“ลุงตู่”เป็นนายก หวังปกป้องวัดพระธรรรมกาย
ผลการเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562 หลังจากรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คืนอำนาจให้กับประชาชนได้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบประชาธิปไตย แม้จะยังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในเบื้องต้นพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการฟอร์มทีมในการจัดตั้งรัฐบาลตามแนวทางที่ตรงกันของแต่ละกลุ่ม
แต่ที่น่าจับตาไม่น้อยนั่นคือ การคำนวณคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่มีสิทธิยกระดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะยังไม่มีความชัดเจนจากทาง กกต.ในสูตรการคำนวณ แต่เป็นที่ทราบกันเบื้องต้นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีพรรคเล็ก ที่แม้จะไม่ได้รับการเลือกตั้งในระดับเขต แต่ได้คะแนนของพรรคมากพอที่จะเลื่อนผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีมากกว่า 10 พรรคที่ได้ที่นั่ง ส.ส. พรรคละ 1 ที่นั่ง ทั้งหมดนี้ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจาก กกต.อีกครั้ง
สายธรรมกายได้ “สมเกียรติ ศรลัมพ์”
ที่น่าสนใจมี 2 พรรคที่ได้สิทธิตามเกณฑ์ดังกล่าว(อย่างไม่เป็นทางการ)นั้น พบว่ามีหัวหน้าพรรคที่ให้การสนับสนุนและไม่สนับสนุนวัดพระธรรมกายได้เข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนในครั้งนี้ ได้แก่พรรคประชาภิวัฒน์และพรรคประชาชนปฏิรูป
พรรคประชาภิวัฒน์ ของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย ถือว่าเป็นศิษย์วัดพระธรรมกายคนสำคัญคนหนึ่ง ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือวัดพระธรรมกายเมื่อครั้งที่ทางวัดถูกมาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งมีรายชื่อเกี่ยวข้องกับการชุมนุมต่อต้านมาตรการของทางรัฐบาลที่ตลาดกลางคลองหลวง
นอกจากนี้เขาเคยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เรียกร้องให้มีการบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมและวัดพระธรรมกาย และยังได้รับเกียรติจากทางวัดพระธรรมกายในการร่วมพิธีสำคัญกับทางวัดมาโดยตลอด รวมถึงโครงการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2 เมื่อต้นปี 2556
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค มีศิษย์สายของธรรมกายจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุน จนถูกศิษย์บางกลุ่มโจมตีที่ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับทางวัด นอกจากนี้ยังมีรองหัวหน้าพรรค พลตรี ไชยนาจ ญาติฉิมพลี เป็นอดีตนายกสมาคมเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย สายที่หนุนพระผู้ใหญ่และมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทางวัดพระธรรมกายเข้ามาร่วมงานด้วย
ต้านธรรมกายได้ “ไพบูลย์ นิติตะวัน”
ขณะที่พรรคประชาชนปฏิรูปของนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีนายแพทย์มโน เลาหวนิช เป็นเลขาธิการพรรค ทั้ง 2 รายนี้ศิษย์วัดพระธรรมกายทราบดีว่า มีบทบาทในการตรวจสอบวัดพระธรรมกายและกิจการคณะสงฆ์ต่าง ๆ มาโดยตลอด
คนที่ติดตามเรื่องพระสงฆ์ในช่วงที่ผ่านมา คงพอจะทราบดีว่า การทำงานของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ครั้งใหญ่ เกราะกำบังในมหาเถรสมาคมของวัดพระธรรมกายหายไป รวมไปถึงคดีทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่เชื่อมโยงไปยังพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย จนต้องหลบหนีคดี
“แน่นอนว่าลูกศิษย์ธรรมกายส่วนใหญ่ไม่ชอบ 2 ท่านนี้ เพราะมองว่าร่วมมือกับรัฐบาลในการทำให้วัดเสียหายและทำให้พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสมีคดีติดตัวจนต้องหลบหนีไป กลุ่มลูกศิษย์จึงพยายามรณรงค์ให้เลือกตั้งพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล”
ลีลาวดี-หลุด สุชาติ-พรรคถูกยุบ
เดิมศิษย์สายธรรมกายมุ่งไปที่พรรคเพื่อไทย ไทยรักษาชาติและเพื่อชาติ ซึ่งเป็นพรรคที่แตกตัวมาจากเพื่อไทยแต่ยังอยู่สายเดียวกัน เมื่อไทยรักษาชาติถูกยุบพรรค จึงให้น้ำหนักไปที่พรรคอื่นอย่างพรรคเสรีรวมไทย แม้ช่วงแรกจะไม่ชื่นชอบพรรคประชาชาติของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และพรรคอนาคตใหม่ ที่มีท่าทีด้านบวกกับต่างศาสนา
เมื่อเข้าโค้งสุดท้ายของการหาเสียง สายธรรมกายจึงเริ่มใส่ชื่อพรรคประชาชาติและอนาคตใหม่เพิ่มเข้ามา พร้อมทั้งรณรงค์ช่วยกันโหวตให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
แต่การเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562 ปรากฏว่าศิษย์ธรรมกายคนดังอย่างนางสาวลีลาวดี วัชโรบล จากเพื่อไทยพ่ายแพ้ต่อนางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ จากพรรคพลังประชารัฐ ส่วนดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ที่เปิดตัวกับวัดพระธรรมกายมากขึ้นในระยะหลัง ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ถูกตัดสิทธิเพราะพรรคถูกยุบ
พรรคแผ่นดินธรรมของนายกรณ์ มีดี อดีตคนเสื้อแดง นนทบุรี ที่พัฒนาจากกลุ่มสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยขึ้นมาเป็นพรรคการเมือง แม้จะพยายามหาเสียงกับสายธรรมกายมาตลอด และชิงจังหวะลงไปช่วยเหลือเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อชิงฐานเสียงชาวพุทธ แต่ไม่ได้รับการเลือกเข้ามา
ทำให้ศิษย์สายตรงในเวลานี้มีเพียงนายสมเกียรติ์ ศรลัมพ์ จากพรรคประชาภิวัฒน์เท่านั้น ที่เหลือจึงต้องฝากความหวังกับพรรคใหญ่อย่างเพื่อไทย ที่คนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทางวัดพระธรรมกาย
โหมเชียร์เพื่อไทยเป็นรัฐบาล
ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง คะแนนอย่างไม่เป็นทางการของพรรคประชาชนปฏิรูปได้เพียง 4.5 หมื่นคะแนน ไม่ได้รับการเลือกตั้งในระบบเขต ไม่พบการได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในเวลานั้น ขณะที่พรรคประชาภิวัฒน์ 6.9 หมื่นคะแนน มีโอกาสได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง
จึงเป็นเรื่องดีสำหรับวัดพระธรรมกายที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ไม่มีโอกาสเข้ามาทำงานด้านการเมืองอีก แต่เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเริ่มคำนวณคะแนนของพรรคการเมืองตามสูตร พรรคเล็ก ๆ หลายพรรค รวมถึงพรรคประชาชนปฏิรูป มีโอกาสได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง
เมื่อนายไพบูลย์ มีโอกาสได้กลับเข้ามาในฐานะ ส.ส.เช่นเดียวกับนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ แม้จะยังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ก็ทำเอาลูกศิษย์วัดพระธรรมกายออกโรงถล่มนายไพบูลย์อีกเป็นระลอก รวมถึง กกต.
ทั้งนี้ต้องรอผลการจับขั้วเพื่อตั้งรัฐบาลให้ชัดเจนก่อน เพราะจะมีผลต่อสถานการณ์ของวัดพระธรรมกาย ตอนนี้ศิษย์สายวัดพระธรรมกายเทน้ำหนักไปที่พรรคเพื่อไทย หนุนให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากเคยเกื้อหนุนกันมาตลอด โดยที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลของตระกูลชินวัตร พระธัมมชโยรอดพ้นจากคดีความต่าง ๆ มาได้ทุกครั้ง
ภายใต้ความบอบช้ำของวัดพระธรรมกายในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ความหวังทั้งหมดจึงมุ่งไปที่พรรคเพื่อไทยต้องเป็นรัฐบาล เพื่อทำให้คดีความของพระธัมมชโยผ่านพ้นไปได้ด้วยดีและนำความยิ่งใหญ่กลับมาที่วัดพระธรรมกายอีกครั้ง
ประชาภิวัฒน์ยื่นไมตรีโหวต “ลุงตู่”
แต่หากพรรคพลังประชารัฐได้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งชูพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบกับพรรคประชาชนปฏิรูปของนายไพบูลย์ ที่ออกตัวล่วงหน้าสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เช่นกัน หากได้เข้าร่วมรัฐบาล ย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับวัดพระธรรมกาย
“เราเดินหน้าต่อในเรื่องวัดพระธรรมกายแน่นอน หากได้บัญชีรายชื่อมาเพียง 1 ที่นั่น ซึ่งก็มากพอที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบต่อไป แต่ตอนนี้ทราบข่าวมาว่าทางพรรคประชาภิวัฒน์ที่น่าจะได้ 1 ที่นั่งจากบัญชีรายชื่อเช่นกัน เตรียมโหวตให้พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน” แหล่งข่าวจากพรรคประชาชนปฏิรูปกล่าว
ถือว่าเป็นความแหลมคมของพรรคประชาภิวัฒน์ ที่พยายามแสดงไมตรีต่อพลเอกประยุทธ์ แม้ช่วงกุมภาพันธ์ 2560 ทางวัดพระธรรมกายจะถูกมาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เพื่อนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี ซึ่งนายสมเกียรติ ก็ตกเป็นข่าวว่าร่วมเคลื่อนไหวกับศิษย์วัดพระธรรมกายคนอื่น ๆ ที่ตลาดกลางคลองหลวง ด้วยหวังว่าไมตรีที่มอบให้นั้นอาจช่วยให้งานตรวจสอบวัดพระธรรมกายลดน้อยลง
ทั้งนี้เป็นเพราะแนวโน้มในการจัดตั้งรัฐบาลนั้นมาอยู่ที่พรรคพลังประชารัฐ หากน้ำหนักไปอยู่ที่พรรคเพื่อไทย เชื่อว่าทางพรรคประชาภิวัฒน์คงสนับสนุนทางเพื่อไทย เพราะเป็นสายเดียวกันและจะเกิดผลดีกับวัดพระธรรมกายมากกว่า แต่เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นใจการโหวตให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางหนึ่งในการปกป้องวัดพระธรรมกาย
ผลการเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562 หลังจากรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คืนอำนาจให้กับประชาชนได้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบประชาธิปไตย แม้จะยังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในเบื้องต้นพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการฟอร์มทีมในการจัดตั้งรัฐบาลตามแนวทางที่ตรงกันของแต่ละกลุ่ม
แต่ที่น่าจับตาไม่น้อยนั่นคือ การคำนวณคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่มีสิทธิยกระดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะยังไม่มีความชัดเจนจากทาง กกต.ในสูตรการคำนวณ แต่เป็นที่ทราบกันเบื้องต้นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีพรรคเล็ก ที่แม้จะไม่ได้รับการเลือกตั้งในระดับเขต แต่ได้คะแนนของพรรคมากพอที่จะเลื่อนผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีมากกว่า 10 พรรคที่ได้ที่นั่ง ส.ส. พรรคละ 1 ที่นั่ง ทั้งหมดนี้ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการจาก กกต.อีกครั้ง
สายธรรมกายได้ “สมเกียรติ ศรลัมพ์”
ที่น่าสนใจมี 2 พรรคที่ได้สิทธิตามเกณฑ์ดังกล่าว(อย่างไม่เป็นทางการ)นั้น พบว่ามีหัวหน้าพรรคที่ให้การสนับสนุนและไม่สนับสนุนวัดพระธรรมกายได้เข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนในครั้งนี้ ได้แก่พรรคประชาภิวัฒน์และพรรคประชาชนปฏิรูป
พรรคประชาภิวัฒน์ ของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย ถือว่าเป็นศิษย์วัดพระธรรมกายคนสำคัญคนหนึ่ง ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือวัดพระธรรมกายเมื่อครั้งที่ทางวัดถูกมาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งมีรายชื่อเกี่ยวข้องกับการชุมนุมต่อต้านมาตรการของทางรัฐบาลที่ตลาดกลางคลองหลวง
นอกจากนี้เขาเคยเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เรียกร้องให้มีการบัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมและวัดพระธรรมกาย และยังได้รับเกียรติจากทางวัดพระธรรมกายในการร่วมพิธีสำคัญกับทางวัดมาโดยตลอด รวมถึงโครงการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2 เมื่อต้นปี 2556
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ในฐานะหัวหน้าพรรค มีศิษย์สายของธรรมกายจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุน จนถูกศิษย์บางกลุ่มโจมตีที่ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับทางวัด นอกจากนี้ยังมีรองหัวหน้าพรรค พลตรี ไชยนาจ ญาติฉิมพลี เป็นอดีตนายกสมาคมเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย สายที่หนุนพระผู้ใหญ่และมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทางวัดพระธรรมกายเข้ามาร่วมงานด้วย
ต้านธรรมกายได้ “ไพบูลย์ นิติตะวัน”
ขณะที่พรรคประชาชนปฏิรูปของนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีนายแพทย์มโน เลาหวนิช เป็นเลขาธิการพรรค ทั้ง 2 รายนี้ศิษย์วัดพระธรรมกายทราบดีว่า มีบทบาทในการตรวจสอบวัดพระธรรมกายและกิจการคณะสงฆ์ต่าง ๆ มาโดยตลอด
คนที่ติดตามเรื่องพระสงฆ์ในช่วงที่ผ่านมา คงพอจะทราบดีว่า การทำงานของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการสงฆ์ครั้งใหญ่ เกราะกำบังในมหาเถรสมาคมของวัดพระธรรมกายหายไป รวมไปถึงคดีทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่เชื่อมโยงไปยังพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย จนต้องหลบหนีคดี
“แน่นอนว่าลูกศิษย์ธรรมกายส่วนใหญ่ไม่ชอบ 2 ท่านนี้ เพราะมองว่าร่วมมือกับรัฐบาลในการทำให้วัดเสียหายและทำให้พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสมีคดีติดตัวจนต้องหลบหนีไป กลุ่มลูกศิษย์จึงพยายามรณรงค์ให้เลือกตั้งพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล”
ลีลาวดี-หลุด สุชาติ-พรรคถูกยุบ
เดิมศิษย์สายธรรมกายมุ่งไปที่พรรคเพื่อไทย ไทยรักษาชาติและเพื่อชาติ ซึ่งเป็นพรรคที่แตกตัวมาจากเพื่อไทยแต่ยังอยู่สายเดียวกัน เมื่อไทยรักษาชาติถูกยุบพรรค จึงให้น้ำหนักไปที่พรรคอื่นอย่างพรรคเสรีรวมไทย แม้ช่วงแรกจะไม่ชื่นชอบพรรคประชาชาติของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และพรรคอนาคตใหม่ ที่มีท่าทีด้านบวกกับต่างศาสนา
เมื่อเข้าโค้งสุดท้ายของการหาเสียง สายธรรมกายจึงเริ่มใส่ชื่อพรรคประชาชาติและอนาคตใหม่เพิ่มเข้ามา พร้อมทั้งรณรงค์ช่วยกันโหวตให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
แต่การเลือกตั้งเมื่อ 24 มีนาคม 2562 ปรากฏว่าศิษย์ธรรมกายคนดังอย่างนางสาวลีลาวดี วัชโรบล จากเพื่อไทยพ่ายแพ้ต่อนางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ จากพรรคพลังประชารัฐ ส่วนดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ที่เปิดตัวกับวัดพระธรรมกายมากขึ้นในระยะหลัง ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ถูกตัดสิทธิเพราะพรรคถูกยุบ
พรรคแผ่นดินธรรมของนายกรณ์ มีดี อดีตคนเสื้อแดง นนทบุรี ที่พัฒนาจากกลุ่มสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยขึ้นมาเป็นพรรคการเมือง แม้จะพยายามหาเสียงกับสายธรรมกายมาตลอด และชิงจังหวะลงไปช่วยเหลือเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อชิงฐานเสียงชาวพุทธ แต่ไม่ได้รับการเลือกเข้ามา
ทำให้ศิษย์สายตรงในเวลานี้มีเพียงนายสมเกียรติ์ ศรลัมพ์ จากพรรคประชาภิวัฒน์เท่านั้น ที่เหลือจึงต้องฝากความหวังกับพรรคใหญ่อย่างเพื่อไทย ที่คนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทางวัดพระธรรมกาย
โหมเชียร์เพื่อไทยเป็นรัฐบาล
ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง คะแนนอย่างไม่เป็นทางการของพรรคประชาชนปฏิรูปได้เพียง 4.5 หมื่นคะแนน ไม่ได้รับการเลือกตั้งในระบบเขต ไม่พบการได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในเวลานั้น ขณะที่พรรคประชาภิวัฒน์ 6.9 หมื่นคะแนน มีโอกาสได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง
จึงเป็นเรื่องดีสำหรับวัดพระธรรมกายที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ไม่มีโอกาสเข้ามาทำงานด้านการเมืองอีก แต่เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเริ่มคำนวณคะแนนของพรรคการเมืองตามสูตร พรรคเล็ก ๆ หลายพรรค รวมถึงพรรคประชาชนปฏิรูป มีโอกาสได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง
เมื่อนายไพบูลย์ มีโอกาสได้กลับเข้ามาในฐานะ ส.ส.เช่นเดียวกับนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ แม้จะยังไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ก็ทำเอาลูกศิษย์วัดพระธรรมกายออกโรงถล่มนายไพบูลย์อีกเป็นระลอก รวมถึง กกต.
ทั้งนี้ต้องรอผลการจับขั้วเพื่อตั้งรัฐบาลให้ชัดเจนก่อน เพราะจะมีผลต่อสถานการณ์ของวัดพระธรรมกาย ตอนนี้ศิษย์สายวัดพระธรรมกายเทน้ำหนักไปที่พรรคเพื่อไทย หนุนให้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เนื่องจากเคยเกื้อหนุนกันมาตลอด โดยที่ผ่านมาภายใต้รัฐบาลของตระกูลชินวัตร พระธัมมชโยรอดพ้นจากคดีความต่าง ๆ มาได้ทุกครั้ง
ภายใต้ความบอบช้ำของวัดพระธรรมกายในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ความหวังทั้งหมดจึงมุ่งไปที่พรรคเพื่อไทยต้องเป็นรัฐบาล เพื่อทำให้คดีความของพระธัมมชโยผ่านพ้นไปได้ด้วยดีและนำความยิ่งใหญ่กลับมาที่วัดพระธรรมกายอีกครั้ง
ประชาภิวัฒน์ยื่นไมตรีโหวต “ลุงตู่”
แต่หากพรรคพลังประชารัฐได้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งชูพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบกับพรรคประชาชนปฏิรูปของนายไพบูลย์ ที่ออกตัวล่วงหน้าสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เช่นกัน หากได้เข้าร่วมรัฐบาล ย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับวัดพระธรรมกาย
“เราเดินหน้าต่อในเรื่องวัดพระธรรมกายแน่นอน หากได้บัญชีรายชื่อมาเพียง 1 ที่นั่น ซึ่งก็มากพอที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบต่อไป แต่ตอนนี้ทราบข่าวมาว่าทางพรรคประชาภิวัฒน์ที่น่าจะได้ 1 ที่นั่งจากบัญชีรายชื่อเช่นกัน เตรียมโหวตให้พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน” แหล่งข่าวจากพรรคประชาชนปฏิรูปกล่าว
ถือว่าเป็นความแหลมคมของพรรคประชาภิวัฒน์ ที่พยายามแสดงไมตรีต่อพลเอกประยุทธ์ แม้ช่วงกุมภาพันธ์ 2560 ทางวัดพระธรรมกายจะถูกมาตรา 44 ควบคุมพื้นที่เพื่อนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี ซึ่งนายสมเกียรติ ก็ตกเป็นข่าวว่าร่วมเคลื่อนไหวกับศิษย์วัดพระธรรมกายคนอื่น ๆ ที่ตลาดกลางคลองหลวง ด้วยหวังว่าไมตรีที่มอบให้นั้นอาจช่วยให้งานตรวจสอบวัดพระธรรมกายลดน้อยลง
ทั้งนี้เป็นเพราะแนวโน้มในการจัดตั้งรัฐบาลนั้นมาอยู่ที่พรรคพลังประชารัฐ หากน้ำหนักไปอยู่ที่พรรคเพื่อไทย เชื่อว่าทางพรรคประชาภิวัฒน์คงสนับสนุนทางเพื่อไทย เพราะเป็นสายเดียวกันและจะเกิดผลดีกับวัดพระธรรมกายมากกว่า แต่เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นใจการโหวตให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางหนึ่งในการปกป้องวัดพระธรรมกาย