ปปง.อายัดอาคารมหารัตนวิหารคต เพิ่มน้ำหนักข้อสังเกตสายอัยย์ เพชรทอง ที่สงสัยเรื่องทนายวัดวางยา จนถูกอายัดครั้งที่ 2 ปลุกความน่าเชื่อถือครั้งใหม่ หลังข้อเรียกร้องโดนทุกหน่วยงานเล่นบทนิ่ง-เงียบ ขณะที่พระเป้าหมายเดินทางไปต่างประเทศ จนกระแสขับไล่แผ่ว รุกครั้งใหม่เดินหน้าแชร์พิรุธพฤติกรรม“พญาหนอน”ทุกช่องทาง

15 พฤศจิกายน 2561 สื่อมวลชนได้เผยแพร่คำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) อายัดอาคารมหารัตนวิหารคด ของวัดพระธรรมกาย คำสั่งดังกล่าวลงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น
นับเป็นการอายัดอาคารและสิ่งปลูกสร้างครั้งที่ 2 ในวัดพระธรรมกาย
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการธุรกรรม ปปง.ได้ออกคำสั่งที่ ย.87/2561 เมื่อ 18 มิถุนายน 2561 อายัดอาคารตามโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินจำนวน 91 แปลง อยู่ในชื่อมูลนิธิธรรมกาย มูลนิธิธรรมประสิทธิ์
หลังสอบสวนเส้นทางการเงินคดียักยอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด พบว่า มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย โดยมูลนิธิธรรมกายได้รับเงินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผ่านเช็คจำนวน 27 ฉบับ รวมวงเงิน 1,458 ล้านบาท และนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
อายัดมหารัตนวิหารคต
รอบนี้ คณะกรรมการธุรกรรม ปปง. มีคำสั่ง ที่ ย.206/2561 เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำผิดไว้ชั่วคราว อายัดอาคารมหารัตนวิหารคต ของวัดพระธรรมกาย ตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 186,187,188 และ 189 เลขที่ดิน 7,8,9 และ 10 ตำบลคลองซอยที่ 2 ฝั่งตะวันออก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินคือมูลนิธิธรรมกาย มูลค่า 778,400,000 บาท มีกำหนดไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือวันที่ 25 กันยายน 2561 ถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2561
ทั้งนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดําเนินการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษที่ 27/2559 โดยผลการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบว่าวัดพระธรรมกายได้รับเงินตามเช็ค สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จํากัด นําเข้าบัญชีเงินธนาคารของวัดพระธรรมกาย เป็นเงินรวม 778,400,000 บาท และจากการขยายผลการตรวจสอบวิเคราะห์เส้นทางการเงินยังพบว่าวัดพระธรรมกายได้นําเงินดังกล่าวไปใช้ในการก่อสร้างโครงการมหารัตนวิหารคต การกระทําความผิดเหล่านั้นในความผิดฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร
ความจุ 1 ล้านคน
สำหรับอาคารมหารัตนวิหารคต เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 เป็นอาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดี้ยม และเป็นอาคารหลังใหญ่ไร้กำแพง ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสรายล้อมรอบลานธรรมและองค์มหาธรรมกายเจดีย์ มีความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร
หลังคาเป็นโลหะสแตนเลสชนิดพิเศษทรงพีระมิดแบบพื้นลาด 4 ด้าน ใต้หลังคามีฉนวนกันความร้อน เสาและคานทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย ส่วนพื้นเป็นคอนกรีตขัดมัน รวมทั้ง 2 ชั้นของมหารัตนวิหารคดมีพื้นที่ใช้งาน 631,776 ตารางเมตร เมื่อรวมกับพื้นที่ของลานธรรมอีกจำนวนกว่า 430,000 ตารางเมตรแล้ว จะมีพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางเมตร ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับพระภิกษุ สามเณร และสาธุชนจากทั่วโลก ที่จะมาเจริญสมาธิภาวนาซึ่งจะสามารถรองรับพุทธบริษัทที่มาร่วมประกอบพิธีแต่ละครั้งได้ถึง 1 ล้านกว่าคน
ส่วนอาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง สร้างขึ้นในวาระครบ 100 ปีของคุณยายอาจารย์ฯ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก" โดยพระธัมมชโยเป็นประธานก่อสร้างอาคารหลังนี้
อาคารทรงลูกโลกหลังนี้ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังใหม่ของวัดพระธรรมกาย เพื่อใช้รองรับการศึกษาพระบาลีและนักธรรมของพระภิกษุสามเณร เป็นที่ตั้งของสำนักงานซึ่งเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารกับวัดสาขาและศูนย์สาขาของวัดพระธรรมกายในทวีปต่างๆ ทั่วโลก เป็นศูนย์กลางของงานอบรมศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมไทย นับตั้งแต่นักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคลากรจากหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการอบรมธรรมทายาททั้งชายและหญิงทุกระดับ โครงการเด็กดี V-Star ผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก

รอบนี้ไม่ระดมหลักฐาน
คำสั่งอายัดดังกล่าว ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 แต่พบการเผยแพร่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งในระหว่างนี้จะมีขั้นตอนให้ผู้มีส่วนได้เสียทำเรื่องคัดค้านภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งอายัด นั่นหมายถึงครบกำหนดคัดค้านไปเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561
แต่ครั้่งนี้ไม่พบการเชิญชวนลูกศิษย์ที่บริจาคเงินให้กับทางวัดนำหลักฐานมาแสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ แตกต่างจากครั้งอาคาร 100 ปีที่มีการตั้งโต๊ะรวบรวมหลักฐานเพื่อสิทธิกันอย่างเป็นทางการโดยพระในฝ่ายสื่อสารองค์กรเป็นโต้โผหลัก รวมถึงการอายัดอาคารมหารัตนวิหารคต ไม่มีการแจ้งข้อมูลใด ๆ จากทางวัดพระธรรมกายในวันปิดหมายอายัดที่ตัวอาคาร
กลายเป็นเรื่องที่เข้าทางกลุ่มของนายอัยย์ เพชรทอง ที่เดินหน้าตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลกับคณะบริหารในวัดพระธรรมกาย หนึ่งในทีมงานอย่างนายประพันธุ์ กิตติฤดีกุล ได้ตั้งคำถามกับเรื่องที่เกิดขึ้นว่า “จะนิ่ง ให้เขามายึดจนหมดวัดใช่ไหม ใครรู้ช่วยตอบที”
1. ทนายวัดมีใครบ้าง ทำไมไม่เคยแถลงข่าวช่วยวัด มีแต่พระออกมาแถลง จนพระมีคดีความกันเป็นแถว อย่าบอกว่า ว่าความให้ฟรีนะ มีผู้รู้บอกว่าเบิกเงินทำคดีไปหลายร้อยล้านบาทแล้ว
2. พระรูปใด คุมทีมทนาย ทำไมวัดมีแต่แพ้ และห้ามตรวจสอบ
3. การยึด อาคาร 100 ปีคุณยาย และมาถึงการยึด รัตนมหาวิหารคด ไม่เกี่ยวกับการฟอกเงิน แต่ทีมทนายอ่อนมาก ปิดข่าว จนล่วงเลยเวลาการต่อสู้
4. การใช้หลักฐานตอบโต้ เป็นหลักฐานที่มัดตัวเองมากกว่าจะใช้โต้แย้ง
5. มีทนายถูกกันตัวไว้เป็นพยาน นั่นแปลว่า อยู่คนละช้างกับหลวงพ่อแล้ว เขาต้องให้การซัดทอดที่ไม่เป็นคุณกับวัด กับหลวงพ่อ แล้วจะมีความชอบธรรมอะไรในการมีฐานะเป็นทนายความให้วัด
ทำไมคนวัดไม่เคยรู้สถานะคดี ความคืบหน้าของคดีใดใดของวัดเลย รู้แต่ว่า วัดแพ้ไม่เป็นท่าเกือบทุกคดี ไม่ใช่ไม่มีหนทางสู้ แต่ทีมทนายอ่อนหัด ตอบโต้ช้า แม้จะมีโอกาสสู้ แต่กลับปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไป เหมือนจงใจให้วัดแพ้ เหมือนจงใจให้อาคารภายในวัดถูกยึด ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นหัวใจของวัด เป็นศูนย์รวมของพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก
คิดให้ดี ใครได้ประโยชน์ ยึดวิหารคด แล้วใครล่ะ เป็นคนไถ่ถอน รางวัลนำจับ ใครได้ เงินประมูลใครเก็บ แล้วตอนระดมเงินใครทำรั่วอีก ผมฝากไปคิดครับ ยังไม่หมด คำถามยังมีอีก แต่ขอคำตอบเพียง 5 ข้อนี้ คาดว่าจะได้รับคำตอบ “เงียบ“ จากวัดอีกเช่นเคย ขอไว้อาลัยกับทีมทนาย ลงชื่อ“นาลันทา ธรรมกาย“

เพิ่มน้ำหนักสายอัยย์
ทั้งนี้ทีมงานของอัยย์ ได้ยื่นเรื่องขอให้พระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทธิจินตโก เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและพระทัตตชีโว สอบอธิกรณ์พระฝ่ายบริหาร 6 รูป แต่เรื่องเงียบ จึงได้ส่งเรื่องต่อให้พระเทพรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็นคนกลางเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และเรื่องก็เงียบอีกเช่นเคย
จากนั้นแนวรุกของทีมอัยย์ จึงแผ่วลง เพราะต้นทางของพระปกครองต่างนิ่งเงียบกับเรื่องที่เกิดขึ้น และอำนาจในการแก้ปัญหาอยู่ที่คณะสงฆ์เท่านั้น การเคลื่อนไหวจึงจำกัดกันเฉพาะกลุ่มไลน์ของผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน
มีความพยายามปลุกเรื่องการอายัดอาคารมหารัตนวิหารคตครั้งนี้ขึ้นมา ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในวัดพระธรรมกาย แต่ทีมทนายของวัดก็เลือกที่จะเงียบเช่นเดียวกัน
“คนนอกวัดพระธรรมกาย ก็ไม่ค่อยเชื่อเรื่องข้อสังเกตที่ทีมอัยย์เปิดเผยออกมา เพราะไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรม แต่พอมีการอายัดอาคารมหารัตนวิหารคต ข้อสังเกตเรื่องทีมทนายความของวัดพระธรรมกายก็ดูเหมือนจะมีน้ำหนักมากขึ้น”
ลำพังการอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายจันทร์ฯ อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่น่าจะเกิดกับอาคารมหารัตนวิหารคตเป็นครั้งที่ 2 เพราะอาคารนี้ถูกสร้างล้อมพระมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งชาวธรรมกายใช้ทำกิจกรรมเป็นหลัก ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงคล้ายจานบินนั้นถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ของวัด ท้ายที่สุดหากศาลพิจารณาให้อาคารดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินและขายทอดตลาด อาจกระทบต่อกิจกรรมบุญของวัดพระธรรมกาย
ตอนนี้พระฝ่ายบริหารที่เป็นเป้าหมายในการตรวจสอบนั้น หลายรูปได้เดินทางไปต่างประเทศ หลังจากวันออกพรรษา ดังนั้นเรื่องการเชิญพระปกครองมาตรวจสอบย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้นตอนนี้ฝ่ายของอัยย์จึงอาศัยเหตุที่ ปปง.อายัดอาคารมหารัตนวิหารคดมาโหมแชร์พฤติกรรมที่น่าสงสัยของพระฝ่ายบริหารของวัดพระธรรมกายในทุกช่องทางของสื่อออนไลน์
พร้อมทั้งนัดวิพากษ์การต่อสู้ด้านกฎหมายของวัดพระธรรมกายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 โดยสมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.) ที่นายวุฒิสาร พนารี สายของอัยย์เป็นนายกสมาคมฯ
15 พฤศจิกายน 2561 สื่อมวลชนได้เผยแพร่คำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) อายัดอาคารมหารัตนวิหารคด ของวัดพระธรรมกาย คำสั่งดังกล่าวลงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น
นับเป็นการอายัดอาคารและสิ่งปลูกสร้างครั้งที่ 2 ในวัดพระธรรมกาย
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการธุรกรรม ปปง.ได้ออกคำสั่งที่ ย.87/2561 เมื่อ 18 มิถุนายน 2561 อายัดอาคารตามโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินจำนวน 91 แปลง อยู่ในชื่อมูลนิธิธรรมกาย มูลนิธิธรรมประสิทธิ์
หลังสอบสวนเส้นทางการเงินคดียักยอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด พบว่า มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย โดยมูลนิธิธรรมกายได้รับเงินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ผ่านเช็คจำนวน 27 ฉบับ รวมวงเงิน 1,458 ล้านบาท และนำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
อายัดมหารัตนวิหารคต
รอบนี้ คณะกรรมการธุรกรรม ปปง. มีคำสั่ง ที่ ย.206/2561 เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำผิดไว้ชั่วคราว อายัดอาคารมหารัตนวิหารคต ของวัดพระธรรมกาย ตั้งอยู่บนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 186,187,188 และ 189 เลขที่ดิน 7,8,9 และ 10 ตำบลคลองซอยที่ 2 ฝั่งตะวันออก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินคือมูลนิธิธรรมกาย มูลค่า 778,400,000 บาท มีกำหนดไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือวันที่ 25 กันยายน 2561 ถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2561
ทั้งนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ดําเนินการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษที่ 27/2559 โดยผลการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบว่าวัดพระธรรมกายได้รับเงินตามเช็ค สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น จํากัด นําเข้าบัญชีเงินธนาคารของวัดพระธรรมกาย เป็นเงินรวม 778,400,000 บาท และจากการขยายผลการตรวจสอบวิเคราะห์เส้นทางการเงินยังพบว่าวัดพระธรรมกายได้นําเงินดังกล่าวไปใช้ในการก่อสร้างโครงการมหารัตนวิหารคต การกระทําความผิดเหล่านั้นในความผิดฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร
ความจุ 1 ล้านคน
สำหรับอาคารมหารัตนวิหารคต เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 เป็นอาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดี้ยม และเป็นอาคารหลังใหญ่ไร้กำแพง ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสรายล้อมรอบลานธรรมและองค์มหาธรรมกายเจดีย์ มีความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร
หลังคาเป็นโลหะสแตนเลสชนิดพิเศษทรงพีระมิดแบบพื้นลาด 4 ด้าน ใต้หลังคามีฉนวนกันความร้อน เสาและคานทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย ส่วนพื้นเป็นคอนกรีตขัดมัน รวมทั้ง 2 ชั้นของมหารัตนวิหารคดมีพื้นที่ใช้งาน 631,776 ตารางเมตร เมื่อรวมกับพื้นที่ของลานธรรมอีกจำนวนกว่า 430,000 ตารางเมตรแล้ว จะมีพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางเมตร ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับพระภิกษุ สามเณร และสาธุชนจากทั่วโลก ที่จะมาเจริญสมาธิภาวนาซึ่งจะสามารถรองรับพุทธบริษัทที่มาร่วมประกอบพิธีแต่ละครั้งได้ถึง 1 ล้านกว่าคน
ส่วนอาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง สร้างขึ้นในวาระครบ 100 ปีของคุณยายอาจารย์ฯ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก" โดยพระธัมมชโยเป็นประธานก่อสร้างอาคารหลังนี้
อาคารทรงลูกโลกหลังนี้ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังใหม่ของวัดพระธรรมกาย เพื่อใช้รองรับการศึกษาพระบาลีและนักธรรมของพระภิกษุสามเณร เป็นที่ตั้งของสำนักงานซึ่งเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารกับวัดสาขาและศูนย์สาขาของวัดพระธรรมกายในทวีปต่างๆ ทั่วโลก เป็นศูนย์กลางของงานอบรมศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมไทย นับตั้งแต่นักเรียน นิสิต นักศึกษา บุคลากรจากหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการอบรมธรรมทายาททั้งชายและหญิงทุกระดับ โครงการเด็กดี V-Star ผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก
รอบนี้ไม่ระดมหลักฐาน
คำสั่งอายัดดังกล่าว ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2561 แต่พบการเผยแพร่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งในระหว่างนี้จะมีขั้นตอนให้ผู้มีส่วนได้เสียทำเรื่องคัดค้านภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีคำสั่งอายัด นั่นหมายถึงครบกำหนดคัดค้านไปเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561
แต่ครั้่งนี้ไม่พบการเชิญชวนลูกศิษย์ที่บริจาคเงินให้กับทางวัดนำหลักฐานมาแสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ แตกต่างจากครั้งอาคาร 100 ปีที่มีการตั้งโต๊ะรวบรวมหลักฐานเพื่อสิทธิกันอย่างเป็นทางการโดยพระในฝ่ายสื่อสารองค์กรเป็นโต้โผหลัก รวมถึงการอายัดอาคารมหารัตนวิหารคต ไม่มีการแจ้งข้อมูลใด ๆ จากทางวัดพระธรรมกายในวันปิดหมายอายัดที่ตัวอาคาร
กลายเป็นเรื่องที่เข้าทางกลุ่มของนายอัยย์ เพชรทอง ที่เดินหน้าตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลกับคณะบริหารในวัดพระธรรมกาย หนึ่งในทีมงานอย่างนายประพันธุ์ กิตติฤดีกุล ได้ตั้งคำถามกับเรื่องที่เกิดขึ้นว่า “จะนิ่ง ให้เขามายึดจนหมดวัดใช่ไหม ใครรู้ช่วยตอบที”
1. ทนายวัดมีใครบ้าง ทำไมไม่เคยแถลงข่าวช่วยวัด มีแต่พระออกมาแถลง จนพระมีคดีความกันเป็นแถว อย่าบอกว่า ว่าความให้ฟรีนะ มีผู้รู้บอกว่าเบิกเงินทำคดีไปหลายร้อยล้านบาทแล้ว
2. พระรูปใด คุมทีมทนาย ทำไมวัดมีแต่แพ้ และห้ามตรวจสอบ
3. การยึด อาคาร 100 ปีคุณยาย และมาถึงการยึด รัตนมหาวิหารคด ไม่เกี่ยวกับการฟอกเงิน แต่ทีมทนายอ่อนมาก ปิดข่าว จนล่วงเลยเวลาการต่อสู้
4. การใช้หลักฐานตอบโต้ เป็นหลักฐานที่มัดตัวเองมากกว่าจะใช้โต้แย้ง
5. มีทนายถูกกันตัวไว้เป็นพยาน นั่นแปลว่า อยู่คนละช้างกับหลวงพ่อแล้ว เขาต้องให้การซัดทอดที่ไม่เป็นคุณกับวัด กับหลวงพ่อ แล้วจะมีความชอบธรรมอะไรในการมีฐานะเป็นทนายความให้วัด
ทำไมคนวัดไม่เคยรู้สถานะคดี ความคืบหน้าของคดีใดใดของวัดเลย รู้แต่ว่า วัดแพ้ไม่เป็นท่าเกือบทุกคดี ไม่ใช่ไม่มีหนทางสู้ แต่ทีมทนายอ่อนหัด ตอบโต้ช้า แม้จะมีโอกาสสู้ แต่กลับปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไป เหมือนจงใจให้วัดแพ้ เหมือนจงใจให้อาคารภายในวัดถูกยึด ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นหัวใจของวัด เป็นศูนย์รวมของพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก
คิดให้ดี ใครได้ประโยชน์ ยึดวิหารคด แล้วใครล่ะ เป็นคนไถ่ถอน รางวัลนำจับ ใครได้ เงินประมูลใครเก็บ แล้วตอนระดมเงินใครทำรั่วอีก ผมฝากไปคิดครับ ยังไม่หมด คำถามยังมีอีก แต่ขอคำตอบเพียง 5 ข้อนี้ คาดว่าจะได้รับคำตอบ “เงียบ“ จากวัดอีกเช่นเคย ขอไว้อาลัยกับทีมทนาย ลงชื่อ“นาลันทา ธรรมกาย“
เพิ่มน้ำหนักสายอัยย์
ทั้งนี้ทีมงานของอัยย์ ได้ยื่นเรื่องขอให้พระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทธิจินตโก เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและพระทัตตชีโว สอบอธิกรณ์พระฝ่ายบริหาร 6 รูป แต่เรื่องเงียบ จึงได้ส่งเรื่องต่อให้พระเทพรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เป็นคนกลางเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ และเรื่องก็เงียบอีกเช่นเคย
จากนั้นแนวรุกของทีมอัยย์ จึงแผ่วลง เพราะต้นทางของพระปกครองต่างนิ่งเงียบกับเรื่องที่เกิดขึ้น และอำนาจในการแก้ปัญหาอยู่ที่คณะสงฆ์เท่านั้น การเคลื่อนไหวจึงจำกัดกันเฉพาะกลุ่มไลน์ของผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน
มีความพยายามปลุกเรื่องการอายัดอาคารมหารัตนวิหารคตครั้งนี้ขึ้นมา ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในวัดพระธรรมกาย แต่ทีมทนายของวัดก็เลือกที่จะเงียบเช่นเดียวกัน
“คนนอกวัดพระธรรมกาย ก็ไม่ค่อยเชื่อเรื่องข้อสังเกตที่ทีมอัยย์เปิดเผยออกมา เพราะไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรม แต่พอมีการอายัดอาคารมหารัตนวิหารคต ข้อสังเกตเรื่องทีมทนายความของวัดพระธรรมกายก็ดูเหมือนจะมีน้ำหนักมากขึ้น”
ลำพังการอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายจันทร์ฯ อาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่น่าจะเกิดกับอาคารมหารัตนวิหารคตเป็นครั้งที่ 2 เพราะอาคารนี้ถูกสร้างล้อมพระมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งชาวธรรมกายใช้ทำกิจกรรมเป็นหลัก ซึ่งพระมหาธรรมกายเจดีย์รูปทรงคล้ายจานบินนั้นถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ของวัด ท้ายที่สุดหากศาลพิจารณาให้อาคารดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินและขายทอดตลาด อาจกระทบต่อกิจกรรมบุญของวัดพระธรรมกาย
ตอนนี้พระฝ่ายบริหารที่เป็นเป้าหมายในการตรวจสอบนั้น หลายรูปได้เดินทางไปต่างประเทศ หลังจากวันออกพรรษา ดังนั้นเรื่องการเชิญพระปกครองมาตรวจสอบย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้นตอนนี้ฝ่ายของอัยย์จึงอาศัยเหตุที่ ปปง.อายัดอาคารมหารัตนวิหารคดมาโหมแชร์พฤติกรรมที่น่าสงสัยของพระฝ่ายบริหารของวัดพระธรรมกายในทุกช่องทางของสื่อออนไลน์
พร้อมทั้งนัดวิพากษ์การต่อสู้ด้านกฎหมายของวัดพระธรรมกายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 โดยสมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.) ที่นายวุฒิสาร พนารี สายของอัยย์เป็นนายกสมาคมฯ