ศึกภายในวัดพระธรรมกาย ส่วนหนึ่งมาจากพระธัมมชโยมอบอาณาจักรให้พระเบอร์รองสร้างฐานผู้ศรัทธา ยกพระทัตตชีโวเป็นเบอร์ต้น ๆ สร้างพระมหาเจดีย์ฯให้ ที่กาญจนบุรี อีกแห่งที่เขาแก้วเสด็จ ปราจีนบุรี พระมหาสมชายคุม “มังกรซ้อนกาย”แฉศูนย์เมืองกาญจน์ สร้างไม่แล้วเสร็จเพราะถูกตัดงบ พร้อมทั้งพยายามโยกงบไปสร้างอาคารที่เขาแก้วเสด็จหวังเป็นศูนย์อบรมพระใหญ่ที่สุดในเอเชีย แต่ถูกพระธัมมชโยดับฝันสร้างอาคารพระผู้ปราบมารที่ปทุมฯ แทน
พระผู้ใหญ่วัดพระธรรมกายนอกเหนือจากงานปฏิบัติศาสนกิจในวัดแล้ว ยังมีภาระความรับผิดชอบในส่วนอื่น ๆ อีกตามที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหารของวัด พระรุ่นใหม่พรรษายังไม่มากนัก มักได้รับมอบหมายให้ไปพัฒนาศูนย์สาขาต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกาย โดยมีพระผู้ใหญ่ในวัดเป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
สาขาของวัดพระธรรมกายทั้งในและต่างประเทศมีมากกว่าร้อยแห่ง เป็นไปเพื่องานเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัด พระบางรูปได้ทุนจากทางวัดให้เรียนต่อในต่างประเทศเมื่อกลับมามักได้รับมอบหมายให้ดูแลหรือขยายสาขาในต่างประเทศ หากเป็นพระชั้นผู้ใหญ่บางรูปมักได้รับมอบหมายให้ดูแลทั้งสาขาต่างประเทศและในประเทศ
ศูนย์กลางหลักหรือสำนักงานใหญ่ยังคงเป็นวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ที่พระธัมมชโยได้สร้างอาณาจักรแห่งนี้ไว้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ขนาดใหญ่โต ด้วยเป้าหมายเพื่อให้วัดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาโลก ในส่วนนี้แม้พระธัมมชโยจะหลบหนีคดี แต่อาณาจักรแห่งนี้สิทธิ์ขาดต่าง ๆ ยังเป็นของพระธัมมชโย แม้ว่าอำนาจในการบริหารจะตกไปสู่พระในลำดับรองลงไป
ศูนย์ต่างจังหวัดอาณาจักรพระผู้ใหญ่
แต่การสร้างฐานศรัทธาของวัดพระธรรมกายยังคงมุ่งที่สาขาภายในประเทศ ที่มักเรียกว่าศูนย์ปฏิบัติธรรมและตามด้วยชื่อพื้นที่นั้น ๆ เมื่อพระของวัดพระธรรมกายได้บุกเบิกพื้นที่ดังกล่าวได้สำเร็จจากแรงบุญของคนในพื้นที่ หากพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพพอที่จะขยายให้ใหญ่ขึ้น ทัพหลวงจากส่วนกลางย่านปทุมธานีจะมีการบอกบุญจากลูกศิษย์ทั่วโลกเข้ามาร่วมบุญด้วย เพื่อให้เป้าหมายต่าง ๆ ประสบผลโดยเร็ว
ศูนย์สาขาต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายตามต่างจังหวัดนั้น นับเป็นฐานสำคัญของการสร้างสมาชิกใหม่ให้กับวัดพระธรรมกาย ที่เริ่มตั้งแต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาทั้งการเข้ามาปฏิบัติธรรมหรือส่งพระเข้าไปสอนพุทธศาสนาตามโรงเรียนต่าง ๆ กระทั่งการจัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ได้สมาชิกทั้งผู้บวชและผู้ปกครองให้เข้ามาศรัทธาต่อธรรมกาย
นอกจากนี้ศูนย์ปฏิบัติธรรมตามต่างจังหวัด เปรียบเสมือนกันการมอบอาณาจักรให้กับพระฝ่ายบริหารของวัดพระธรรมกาย เพื่อช่วยกันสร้างผลงานให้กับทางวัด ในจำนวนนี้มีเพียงพระทัตตชีโวที่ร่วมบุกเบิกวัดพระธรรมกายมาพร้อมกับพระธัมมชโย ที่ได้รับเกียรติจากพระธัมมชโยให้จัดสร้างพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว ขึ้นที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จังหวัดกาญจนบุรี บ้านเกิดของพระทัตตชีโว
อาณาจักรทัตตชีโวเมืองกาญจน์
เมื่อ 21 กันยายน 2557 ได้มีการบอกบุญจากพระธัมมชโย ในการสถาปนา “พระมหาเจดีย์ทัตตชีโว” ขึ้นที่ศูนย์อบรมเยาวชนกาญจนบุรี ริมแม่น้ำแควน้อย ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเพื่อประกาศคุณของพระทัตตชีโว(เผด็จ ทตฺตชีโว) คุณครูไม่เล็กผู้เป็นครูบาอาจารย์ ผู้บุกเบิกวัดพระธรรมกายและอุทิศชีวิตตนทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 40 ปี
การสถาปนาพระมหาเจดีย์แห่งนี้ เริ่มจากการที่หลวงพ่อธัมมชโย เล็งเห็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ว่า พื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างศูนย์อบรมเยาวชนกาญจนบุรีแห่งนี้ จักเป็นศูนย์กลางแห่งการฟื้นฟูศีลธรรมทั้งภายในประเทศและเชื่อมไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศเมียนมาร์ และขณะเดียวกัน ในปีพุทธศักราช 2557 หลวงพ่อทัตตชีโว ซึ่งถือกำเนิดที่จังหวัดกาญจนบุรี จะมีอายุวัฒนมงคลได้ 74 ปี ในวันที่ 21 ธันวาคม จึงสมควรที่แผ่นดินอันเป็นสิริมงคลแห่งนี้ จักเป็นที่ตั้งของพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว อันศักดิ์สิทธิ์ ไว้เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งในและต่างประเทศสืบไป
การจำลองแบบออกแบบ การเตรียมสถานที่ การวางแผนการก่อสร้าง ตลอดไปจนถึงการเตรียมขั้นตอนพิธีกรรมในพิธีโปรยทรายและตอกเสาเข็มมหามงคลเป็นปฐมเริ่มบนพื้นที่ก่อสร้างองค์เจดีย์ ใช้เวลาเตรียมการเสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และต้องสร้างให้เสร็จภายใน 3 เดือนเพื่อให้ทันฉลองวาระที่คุณครูไม่เล็กมีอายุเต็ม 74 ปี
ความเมตตาของคุณครูไม่ใหญ่ในครั้งนี้ เพื่อตอบแทนคุณครูไม่เล็กที่ทุ่มเททุกอย่าง รับงานแทบทุกเรื่องในวัดพระธรรมกายเพื่อปลดภาระกังวลให้คุณครูไม่ใหญ่(พระธัมมชโย)มีเวลานั่งหลับตาอย่างเต็มที่
เขาแก้วเสด็จ อาณาจักรพระมหาสมชาย
อาณาจักรอีกแห่งหนึ่งของพระระดับบริหารในวัดพระธรรมกายคือ ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ก่อนหน้านี้อดีตพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้มีดำริว่าจะขยายวิชชาธรรมกายให้กว้างไกลยิ่งขึ้น แต่จากสภาพพื้นที่ของวัดพระธรรมกายในสมัยสิบกว่าปีที่แล้วนั้น ได้มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้เนื้อที่วัดแน่นขนัด ไม่สามารถใช้เป็นพื้นที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาท ผู้ที่จะออกไปประกาศพระศาสนาให้อย่างเต็มที่ได้
ดังนั้นท่านจึงมองหาสถานที่สร้างศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทแห่งใหม่ ที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ ห่างไกลชุมชนเมือง สงบและวิเวกด้วยป่าเขาและธรรมชาติ ท่านจึงมอบนโยบายให้อดีตพระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หาสถานที่ดังกล่าวเพื่อเตรียมรองรับพระธรรมทายาทที่จะทวีจำนวนขึ้นในอนาคต
พระทัตตชีโวจึงได้ปรึกษากับพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถึงสถานที่ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอนาคต ประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นนายมาโนช ชัยสิทธิ์ ได้ปวารณาถวายพื้นที่แห่งนี้ พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒจึงเดินทางมาสำรวจพื้นที่ในครั้งแรก และตกลงใจว่า “เขาแก้วเสด็จ” แห่งนี้ คือ สถานที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาทได้อย่างแท้จริง การก่อสร้างและการบุกเบิกจึงได้เริ่มต้นขึ้นนับแต่นั้น
ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ การบุกเบิกครั้งแรกเริ่มขึ้น เมื่อพระภิกษุจากวัดพระธรรมกาย จำนวน 7 รูป อาสาเดินทางมาปักกลดอยู่ธุดงค์ และทำการขุดดินครั้งแรก ตรงกับวันอาสาฬหบูชา วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2542 นับเป็นวันก่อตั้งศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ การพัฒนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังไม่มีไฟฟ้าหรือประปา
นายมาโนช ชัยสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่าหลายร้อยไร่ในเขตเขาแก้วเสด็จ ได้พบกับหมู่คณะนักสร้างบารมี ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลเปี่ยมด้วยศีลาจารวัดร และยิ่งได้ฟังธรรมะจากพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ จึงมีจิตเลื่อมใสศรัทธา ตั้งใจถวายที่ดินผืนนี้ให้เป็นธรณีสงฆ์
เป้าหมายใหญ่สุดในเอเชีย
ในปี พ.ศ.2551 มีกลุ่มนักธุรกิจผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้าง “โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ” ถวายเป็นโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เจ้าหน้าที่ และสาธุชนผู้เดินทางมาสั่งสมบุญ ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย ได้เมตตารับเป็นประธานกฐิน สร้าง “ศูนย์อบรมธรรมทายาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์” มีศิษยานุศิษย์และสาธุชนผู้ใจบุญมาช่วยกันรับเป็นเจ้าภาพเป็นจำนวนมาก
จากนั้นจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ทยอยเกิดขึ้นตามลำดับ อาทิ กุฏิพระภิกษุ กุฏิสามเณร หอฉัน ศาลาแก้วกายธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาเตรียมพุทธศาสตร์ อาคารเรือนพยาบาลอายุวัฒนะ สระน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 3 สระ โรงกรองน้ำ ระบบไฟฟ้า โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ Network 21 ที่ผลิตอาหารหล่อเลี้ยงพระภิกษุได้วันละหมื่นรูป และที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ คือ ศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ศูนย์ฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียภูมิภาคที่สามารถรองรับพระภิกษุได้เป็นเรือนพันในแต่ละครั้งของการอบรม
ศึกชิงความยิ่งใหญ่
ทั้ง 2 อาณาจักรที่อยู่ภายใต้การดูแลของพระเบอร์ต้น ๆ ของวัดพระธรรมกาย นับเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกถึงบารมีของพระในลำดับรอง ๆ จากพระธัมมชโย ไม่ต่างไปจากการมอบหัวเมืองให้แม่ทัพคนสำคัญไปปกครอง
พระมหาเจดีย์ทัตตชีโว ที่ศูนย์อบรมเยาวชนกาญจนบุรี นับเป็นการบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับพระทัตตชีโวเป็นอย่างมาก ในฐานะที่เคียงคู่กันสร้างวัดพระธรรมกายมาพร้อมกับพระธัมมชโย ขณะที่ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ ที่อยู่ในความดูแลของพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นเพียงศูนย์แห่งหนึ่งของวัดพระธรรมกายเท่านั้น
แต่จากบทความของ”มังกรซ้อนกาย”เครือข่ายของนายอัยย์ เพชรทอง ที่มุ่งจับผิดพระมหาสมชาย ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการก่อสร้างที่ศูนย์อบรมจังหวัดกาญจนบุรี แม้องค์พระมหาเจดีย์ฯ แล้วเสร็จ แต่ส่วนพัฒนาด้านอื่น ๆ ยังมีข้อติดขัดในเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง และพุ่งเป้าไปที่ปัญหาภายในวัดพระธรรมกายว่ามีการตัดงบประมาณในส่วนนี้ออกไป
ขณะที่ศูนย์เขาแก้วเสด็จ เดิมมีโครงการของพระมหาสมชายที่จะสร้างเรือนพักสำหรับภิกษุ สามเณร เพื่อรอบรับพระเณรที่บวชในโครงการราว 10,000 รูป ทำให้บรรดาลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งเกรงกันว่า หากมีการพระเณรนับหมื่นรูปไปปฏิบัติธรรมที่เขาแก้วเสด็จแล้ว จะส่งผลกระทบต่อการเข้ามาทำบุญที่วัดพระธรรมกาย เกรงว่าจำนวนคนที่เข้าวัดพระธรรมกายจะน้อยลง
จากนั้นพระธัมมชโยจึงประกาศสร้างอาคารพระผู้ปราบมาร 8 อาคาร รองรับพระ 12,000 รูป เท่ากับเป็นการดับฝันโครงการของพระมหาสมชายที่เขาแก้วเสด็จ พร้อม ๆ กับการปลีกตัวออกจากอาณาจักรแห่งนี้
พระผู้ใหญ่วัดพระธรรมกายนอกเหนือจากงานปฏิบัติศาสนกิจในวัดแล้ว ยังมีภาระความรับผิดชอบในส่วนอื่น ๆ อีกตามที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหารของวัด พระรุ่นใหม่พรรษายังไม่มากนัก มักได้รับมอบหมายให้ไปพัฒนาศูนย์สาขาต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกาย โดยมีพระผู้ใหญ่ในวัดเป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
สาขาของวัดพระธรรมกายทั้งในและต่างประเทศมีมากกว่าร้อยแห่ง เป็นไปเพื่องานเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัด พระบางรูปได้ทุนจากทางวัดให้เรียนต่อในต่างประเทศเมื่อกลับมามักได้รับมอบหมายให้ดูแลหรือขยายสาขาในต่างประเทศ หากเป็นพระชั้นผู้ใหญ่บางรูปมักได้รับมอบหมายให้ดูแลทั้งสาขาต่างประเทศและในประเทศ
ศูนย์กลางหลักหรือสำนักงานใหญ่ยังคงเป็นวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ที่พระธัมมชโยได้สร้างอาณาจักรแห่งนี้ไว้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ขนาดใหญ่โต ด้วยเป้าหมายเพื่อให้วัดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาโลก ในส่วนนี้แม้พระธัมมชโยจะหลบหนีคดี แต่อาณาจักรแห่งนี้สิทธิ์ขาดต่าง ๆ ยังเป็นของพระธัมมชโย แม้ว่าอำนาจในการบริหารจะตกไปสู่พระในลำดับรองลงไป
ศูนย์ต่างจังหวัดอาณาจักรพระผู้ใหญ่
แต่การสร้างฐานศรัทธาของวัดพระธรรมกายยังคงมุ่งที่สาขาภายในประเทศ ที่มักเรียกว่าศูนย์ปฏิบัติธรรมและตามด้วยชื่อพื้นที่นั้น ๆ เมื่อพระของวัดพระธรรมกายได้บุกเบิกพื้นที่ดังกล่าวได้สำเร็จจากแรงบุญของคนในพื้นที่ หากพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพพอที่จะขยายให้ใหญ่ขึ้น ทัพหลวงจากส่วนกลางย่านปทุมธานีจะมีการบอกบุญจากลูกศิษย์ทั่วโลกเข้ามาร่วมบุญด้วย เพื่อให้เป้าหมายต่าง ๆ ประสบผลโดยเร็ว
ศูนย์สาขาต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายตามต่างจังหวัดนั้น นับเป็นฐานสำคัญของการสร้างสมาชิกใหม่ให้กับวัดพระธรรมกาย ที่เริ่มตั้งแต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาทั้งการเข้ามาปฏิบัติธรรมหรือส่งพระเข้าไปสอนพุทธศาสนาตามโรงเรียนต่าง ๆ กระทั่งการจัดบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ได้สมาชิกทั้งผู้บวชและผู้ปกครองให้เข้ามาศรัทธาต่อธรรมกาย
นอกจากนี้ศูนย์ปฏิบัติธรรมตามต่างจังหวัด เปรียบเสมือนกันการมอบอาณาจักรให้กับพระฝ่ายบริหารของวัดพระธรรมกาย เพื่อช่วยกันสร้างผลงานให้กับทางวัด ในจำนวนนี้มีเพียงพระทัตตชีโวที่ร่วมบุกเบิกวัดพระธรรมกายมาพร้อมกับพระธัมมชโย ที่ได้รับเกียรติจากพระธัมมชโยให้จัดสร้างพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว ขึ้นที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จังหวัดกาญจนบุรี บ้านเกิดของพระทัตตชีโว
อาณาจักรทัตตชีโวเมืองกาญจน์
เมื่อ 21 กันยายน 2557 ได้มีการบอกบุญจากพระธัมมชโย ในการสถาปนา “พระมหาเจดีย์ทัตตชีโว” ขึ้นที่ศูนย์อบรมเยาวชนกาญจนบุรี ริมแม่น้ำแควน้อย ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเพื่อประกาศคุณของพระทัตตชีโว(เผด็จ ทตฺตชีโว) คุณครูไม่เล็กผู้เป็นครูบาอาจารย์ ผู้บุกเบิกวัดพระธรรมกายและอุทิศชีวิตตนทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 40 ปี
การสถาปนาพระมหาเจดีย์แห่งนี้ เริ่มจากการที่หลวงพ่อธัมมชโย เล็งเห็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ว่า พื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างศูนย์อบรมเยาวชนกาญจนบุรีแห่งนี้ จักเป็นศูนย์กลางแห่งการฟื้นฟูศีลธรรมทั้งภายในประเทศและเชื่อมไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศเมียนมาร์ และขณะเดียวกัน ในปีพุทธศักราช 2557 หลวงพ่อทัตตชีโว ซึ่งถือกำเนิดที่จังหวัดกาญจนบุรี จะมีอายุวัฒนมงคลได้ 74 ปี ในวันที่ 21 ธันวาคม จึงสมควรที่แผ่นดินอันเป็นสิริมงคลแห่งนี้ จักเป็นที่ตั้งของพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว อันศักดิ์สิทธิ์ ไว้เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งในและต่างประเทศสืบไป
การจำลองแบบออกแบบ การเตรียมสถานที่ การวางแผนการก่อสร้าง ตลอดไปจนถึงการเตรียมขั้นตอนพิธีกรรมในพิธีโปรยทรายและตอกเสาเข็มมหามงคลเป็นปฐมเริ่มบนพื้นที่ก่อสร้างองค์เจดีย์ ใช้เวลาเตรียมการเสร็จสิ้นภายใน 7 วัน และต้องสร้างให้เสร็จภายใน 3 เดือนเพื่อให้ทันฉลองวาระที่คุณครูไม่เล็กมีอายุเต็ม 74 ปี
ความเมตตาของคุณครูไม่ใหญ่ในครั้งนี้ เพื่อตอบแทนคุณครูไม่เล็กที่ทุ่มเททุกอย่าง รับงานแทบทุกเรื่องในวัดพระธรรมกายเพื่อปลดภาระกังวลให้คุณครูไม่ใหญ่(พระธัมมชโย)มีเวลานั่งหลับตาอย่างเต็มที่
เขาแก้วเสด็จ อาณาจักรพระมหาสมชาย
อาณาจักรอีกแห่งหนึ่งของพระระดับบริหารในวัดพระธรรมกายคือ ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ ตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ก่อนหน้านี้อดีตพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้มีดำริว่าจะขยายวิชชาธรรมกายให้กว้างไกลยิ่งขึ้น แต่จากสภาพพื้นที่ของวัดพระธรรมกายในสมัยสิบกว่าปีที่แล้วนั้น ได้มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้เนื้อที่วัดแน่นขนัด ไม่สามารถใช้เป็นพื้นที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาท ผู้ที่จะออกไปประกาศพระศาสนาให้อย่างเต็มที่ได้
ดังนั้นท่านจึงมองหาสถานที่สร้างศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทแห่งใหม่ ที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ ห่างไกลชุมชนเมือง สงบและวิเวกด้วยป่าเขาและธรรมชาติ ท่านจึงมอบนโยบายให้อดีตพระภาวนาวิริยคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หาสถานที่ดังกล่าวเพื่อเตรียมรองรับพระธรรมทายาทที่จะทวีจำนวนขึ้นในอนาคต
พระทัตตชีโวจึงได้ปรึกษากับพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถึงสถานที่ก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอนาคต ประจวบเหมาะกับช่วงเวลานั้นนายมาโนช ชัยสิทธิ์ ได้ปวารณาถวายพื้นที่แห่งนี้ พระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒจึงเดินทางมาสำรวจพื้นที่ในครั้งแรก และตกลงใจว่า “เขาแก้วเสด็จ” แห่งนี้ คือ สถานที่ฝึกอบรมพระธรรมทายาทได้อย่างแท้จริง การก่อสร้างและการบุกเบิกจึงได้เริ่มต้นขึ้นนับแต่นั้น
ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ การบุกเบิกครั้งแรกเริ่มขึ้น เมื่อพระภิกษุจากวัดพระธรรมกาย จำนวน 7 รูป อาสาเดินทางมาปักกลดอยู่ธุดงค์ และทำการขุดดินครั้งแรก ตรงกับวันอาสาฬหบูชา วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2542 นับเป็นวันก่อตั้งศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ การพัฒนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังไม่มีไฟฟ้าหรือประปา
นายมาโนช ชัยสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่าหลายร้อยไร่ในเขตเขาแก้วเสด็จ ได้พบกับหมู่คณะนักสร้างบารมี ได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลเปี่ยมด้วยศีลาจารวัดร และยิ่งได้ฟังธรรมะจากพระมหาดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ จึงมีจิตเลื่อมใสศรัทธา ตั้งใจถวายที่ดินผืนนี้ให้เป็นธรณีสงฆ์
เป้าหมายใหญ่สุดในเอเชีย
ในปี พ.ศ.2551 มีกลุ่มนักธุรกิจผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้าง “โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ” ถวายเป็นโรงครัวประกอบอาหารเลี้ยงพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เจ้าหน้าที่ และสาธุชนผู้เดินทางมาสั่งสมบุญ ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย ได้เมตตารับเป็นประธานกฐิน สร้าง “ศูนย์อบรมธรรมทายาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์” มีศิษยานุศิษย์และสาธุชนผู้ใจบุญมาช่วยกันรับเป็นเจ้าภาพเป็นจำนวนมาก
จากนั้นจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ทยอยเกิดขึ้นตามลำดับ อาทิ กุฏิพระภิกษุ กุฏิสามเณร หอฉัน ศาลาแก้วกายธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาเตรียมพุทธศาสตร์ อาคารเรือนพยาบาลอายุวัฒนะ สระน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 3 สระ โรงกรองน้ำ ระบบไฟฟ้า โรงทานมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ Network 21 ที่ผลิตอาหารหล่อเลี้ยงพระภิกษุได้วันละหมื่นรูป และที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ คือ ศูนย์ฝึกอบรมธรรมทายาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ศูนย์ฝึกอบรมพระภิกษุที่ใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียภูมิภาคที่สามารถรองรับพระภิกษุได้เป็นเรือนพันในแต่ละครั้งของการอบรม
ศึกชิงความยิ่งใหญ่
ทั้ง 2 อาณาจักรที่อยู่ภายใต้การดูแลของพระเบอร์ต้น ๆ ของวัดพระธรรมกาย นับเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกถึงบารมีของพระในลำดับรอง ๆ จากพระธัมมชโย ไม่ต่างไปจากการมอบหัวเมืองให้แม่ทัพคนสำคัญไปปกครอง
พระมหาเจดีย์ทัตตชีโว ที่ศูนย์อบรมเยาวชนกาญจนบุรี นับเป็นการบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับพระทัตตชีโวเป็นอย่างมาก ในฐานะที่เคียงคู่กันสร้างวัดพระธรรมกายมาพร้อมกับพระธัมมชโย ขณะที่ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ ที่อยู่ในความดูแลของพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เป็นเพียงศูนย์แห่งหนึ่งของวัดพระธรรมกายเท่านั้น
แต่จากบทความของ”มังกรซ้อนกาย”เครือข่ายของนายอัยย์ เพชรทอง ที่มุ่งจับผิดพระมหาสมชาย ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการก่อสร้างที่ศูนย์อบรมจังหวัดกาญจนบุรี แม้องค์พระมหาเจดีย์ฯ แล้วเสร็จ แต่ส่วนพัฒนาด้านอื่น ๆ ยังมีข้อติดขัดในเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง และพุ่งเป้าไปที่ปัญหาภายในวัดพระธรรมกายว่ามีการตัดงบประมาณในส่วนนี้ออกไป
ขณะที่ศูนย์เขาแก้วเสด็จ เดิมมีโครงการของพระมหาสมชายที่จะสร้างเรือนพักสำหรับภิกษุ สามเณร เพื่อรอบรับพระเณรที่บวชในโครงการราว 10,000 รูป ทำให้บรรดาลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งเกรงกันว่า หากมีการพระเณรนับหมื่นรูปไปปฏิบัติธรรมที่เขาแก้วเสด็จแล้ว จะส่งผลกระทบต่อการเข้ามาทำบุญที่วัดพระธรรมกาย เกรงว่าจำนวนคนที่เข้าวัดพระธรรมกายจะน้อยลง
จากนั้นพระธัมมชโยจึงประกาศสร้างอาคารพระผู้ปราบมาร 8 อาคาร รองรับพระ 12,000 รูป เท่ากับเป็นการดับฝันโครงการของพระมหาสมชายที่เขาแก้วเสด็จ พร้อม ๆ กับการปลีกตัวออกจากอาณาจักรแห่งนี้