วัดพระธรรมกายสานต่อกิจกรรมธรรมยาตราปีหน้า ชวนศิษย์เตรียมดินลงกระถาง รอปลูก 24 กันยายน รอบนี้คงเบญจทรัพย์ แต่เพิ่มทรัพย์บานชื่นอีกชนิด ยังไม่มีแคมเปญบอกบุญ ชาวสวนแจงบานชื่นปลูกง่ายกว่า ใช้แค่เมล็ดหว่าน 3 เดือนตัดดอกได้เหมือนเบญจมาศ คาดจัดงานมกราคมต้นปีหน้า ได้ทดสอบรัฐบาลทิศทางรัฐบาลที่อาจมีการเลือกตั้งกุมภาพันธ์ 2562
ตีเกราะเคาะไม้กันแล้วสำหรับกิจกรรมธุดงค์ธรรมยาตราของวัดพระธรรมกายที่จะมีขึ้นในปี 2562 ด้วยการประกาศเชิญชวนให้บรรดาลูกศิษย์มาร่วมกิจกรรมบุญเตรียมดินใส่กระถางสำหรับปลูกต้นเบญจทรัพย์ เริ่มเมื่อ 2 กันยายน 2561 ที่วิหารคดทิศเหนือ วัดพระธรรมกาย
“มาเอาบุญปลื้ม ๆ กัน ตั้งแต่เตรียมดิน พอถึงวันที่ 24 กันยายน วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายเราก็จะมาช่วยกันปลูก แล้วใกล้ ๆ เดินธรรมยาตราก็จะมาเก็บดอกกัน เรานักสร้างบารมีผู้มีปัญญาต้องเอาบุญให้ครบทั้ง 3 วาระ ตามที่หลวงพ่อเคยสอนไว้ให้มาเอาบุญอย่าตกบุญแม้แต่บุญเดียว เราจะได้ปลื้มกันสุด ๆ ด้วยอานิสงส์นี้ ขอให้ชีวิตของเรามีแต่ความสุขความเจริญ สมปรารถนาในทุกสิ่งทั้งปฐมวัย มัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย ถ้าไม่ได้มา...เสียดายจัง!!!”
รอบนี้ไม่มีเพียงการปลูกเบญจทรัพย์หรือต้นเบญจมาศเท่านั้น แต่ยังเพิ่มต้นทรัพย์บานชื่นเข้ามาอีก 1 รายการในรอบนี้
ธรรมยาตรานับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของวัดพระธรรมกาย ไม่ว่าจะเรียกว่าธุดงค์ธรรมยาตรา ธุดงค์ธรรมชัยหรือเดินธรรมยาตรา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละช่วงกับชื่อที่ใช้เรียกกิจกรรมนี้
ธรรมยาตรา-เพิ่มผู้ศรัทธา
แม้ว่าทางวัดพระธรรมกายจะมีกิจกรรมบุญให้ผู้ที่ศรัทธาได้ทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี แต่ธุดงค์ธรรมยาตราถือเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของทางวัดมาตั้งแต่ปี 2555 สามารถสร้างความสนใจให้กับผู้คนได้ในวงกว้าง โดยเฉพาะครั้งที่ 4 ปี 2558 ที่เดินธุดงค์ในกรุงเทพมหานคร มีทั้งเสียงสาธุจากผู้ที่ศรัทธาและเสียงตำหนิในคราวเดียวกัน
สถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ยึดอำนาจจากรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี 2557 เมื่อเกิดเสียงท้วงติงเรื่องการเดินธุดงค์จนทำให้เกิดปัญหารถติดเมื่อต้นปี 2558 จึงทำให้กิจกรรมธุดงค์ธรรมยาตราในปี 2559 จัดขึ้นภายในวัดพระธรรมกายเท่านั้น หลังจากที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีให้ทำกิจกรรมดังกล่าวนอกพื้นที่วัด
ภายในปี 2559 นั่นเองคดีทุจริตเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น พบหลักฐานเชื่อมโยงการโอนเงินมายังพระธัมมชโย เจ้าอาวาสในขณะนั้น จนถูกดำเนินคดีตามนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นและไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกาย เมื่อสถานการณ์ของทางวัดตรึงเครียดจึงไม่ได้จัดงานธุดงค์ธรรมยาตราในช่วงต้นปี 2560 เหมือนครั้งก่อน ๆ อีกทั้งยังถูกรัฐบาลประกาศใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกายเพื่อหาตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี สุดท้ายก็ไม่พบ
หลังผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนั้นมาได้ทางวัดพระธรรมกายก็ค่อย ๆ ฟื้นฟูวัด ภายใต้ผู้นำคนใหม่ที่เป็นเบอร์ 2 ของวัดที่ร่วมกันก่อตั้งวัดแห่งนี้มาพร้อม ๆ กับพระธัมมชโย นั่นคือ พระทัตตชีโว
รอบที่แล้วเบญจทรัพย์ 100 ล้าน
แม้จะไม่มีพระธัมมชโยมาเป็นผู้นำของวัดเหมือนในอดีต แต่วัดพระธรรมกายก็ค่อย ๆ ฟื้นกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาได้แทบจะไม่แตกต่างไปจากเดิม จนสามารถกลับมาจัดงานธรรมยาตราของทางวัดได้อีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2561
ก่อนงานธรรมยาตราปี 2561 จะมาถึง ทางวัดได้จัดกิจกรรมร่วมกันปลูกต้นเบญจทรัพย์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 เป็นต้นมา เพื่อเตรียมนำเอาดอกเบญจทรัพย์(เบญจมาศ) มาใช้โปรยบนทางเดินให้พระภิกษุ ครั้งนั้นเป็นที่ฮือฮาเป็นอย่างมากเนื่องจากมีการจัดพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์ให้กับลูกศิษย์ที่สนใจโดยบริจาคที่ต้นละ 1 หมื่นบาทรับจำนวน 1 หมื่นต้น คิดแล้วในรอบนั้นทางวัดจะได้เงินบริจาคเข้ามาขั้นต่ำ 100 ล้านบาท
กิจกรรมเดินธรรมยาตราครั้งที่ผ่านมา ไม่ใช่การเดินไปตามถนนเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่เป็นการขึ้นรถไปยังอนุสรณ์สถานที่เกี่ยวข้องกับทางวัดพระธรรมกาย 7 แห่ง และเดินยาตราภายในวัดและทำกิจกรรมด้านทางด้านสังคมกับวัดและพื้นที่ใกล้เคียง
การปรับกิจกรรมธรรมยาตราของทางวัด ถือเป็นการหลีกเลี่ยงผลกระที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์หากจะใช้วิธีการเดินแบบเดิม และยังเป็นการก้าวข้ามอำนาจของรัฐที่อาจสั่งห้ามกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งทางวัดพระธรรมกายเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์ที่ถูกควบคุมพื้นที่ตามมาตรา 44 มา นับว่าเป็นทางทางออกที่ลงตัวสำหรับทางวัด เพราะไม่ถูกสกัดกั้นและยังสามารถทำกิจกรรมที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของทางวัดต่อไปได้ แม้อาจจะไม่เต็มรูปแบบเหมือนเดิม
ดอกไม้ใหม่ ‘ทรัพย์บานชื่น’
ครั้งนี้มีการเพิ่มดอกไม้ที่จะใช้ปลูกเป็น 2 ชนิด คือ เบญจมาศเหมือนครั้งที่ผ่านมาและเพิ่มดอกบานชื่นเพิ่มเข้ามา เกษตรกรผู้ปลูกดอกบานชื่นกล่าวว่า ดอกไม้ทั้ง 2 ประเภทจะใช้เวลาปลูกจนถึงออกดอกราว 3 เดือนขึ้นไป
ต้นเบญจมาศจะมีการเพาะต้นกล้าอ่อนออกมาจำหน่าย โดยสามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินและปลูกในกระถาง ราคาต้นละประมาณ 1 บาท(ไม่รวมกระถาง) ส่วนต้นบานชื่นระยะเวลาในการปลูกจนได้ดอกใช้เวลาใกล้เคียงกัน แต่บานชื่นจะนิยมปลูกโดยใช้เมล็ดพันธ์นำไปเพาะ ใช้หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในพื้นที่ปลูกก็ได้ ขึ้นง่ายในทุกสภาพอากาศ
หากไม่สะดวกที่จะปลูกเอง ทางสวนก็มีบานชื่นพร้อมดอกความสูง 10-15 เซนติเมตร จำหน่ายราคา 10 บาท และยังขายเมล็ดพันธุ์ทั้งแบบซอง 10 กรัมราคา 140 บาท หากปลูกเยอะคิดกิโลกรัมละ 9 พันบาท
คาดจัดมกราคม 62
รอบที่แล้วของการปลูกต้นเบญจทรัพย์ แรก ๆ ก็ปลูกลงดิน มีป้าเช็งเป็นคนเตรียมพื้นที่ที่เรียกชื่อว่าทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย ต่อมาทางวัดได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกในกระถางแทน เนื่องจากต้องคอยจำกัดเรื่องวัชพืชตลอดเวลา
ตอนนี้มีเพียงการเชิญชวนให้เข้ามาช่วยกันเตรียมดินเพื่อปลูกดอกเบญจมาศและบานชื่น แต่ยังไม่เห็นจัดรายการพิเศษเหมือนกับปี 2560 ที่จัดรายการปลูกเบญจทรัพย์ต้นละ 1 หมื่นบาท แต่อาจต้องรอช่วงใกล้ ๆ 24 กันยายนอีกครั้ง เพราะการจัดกิจกรรมนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ทั้งนี้เมื่อประเมินจากระยะเวลาของการปลูกดอกไม้ทั้ง 2 ประเภท น่าจะพอคาดการณ์ได้ว่างานธรรมยาตราของวัดพระธรรมกายในครั้งต่อไป แม้จะยังไม่มีการกำหนดช่วงเวลาออกมา แต่น่าจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2562 ซึ่งทางวัดมักจัดงานดังกล่าวเป็นระยะเวลาราว 1 เดือน
สำหรับกิจกรรมธรรมยาตราครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมานั้น หากประเมินถึงความสำเร็จจากภาพที่ปรากฎนั้น นับได้ว่าในแต่ละจุดที่ทางวัดพระธรรมกายไปทำกิจกรรมตามอนุสรณ์สถานนั้น ล้วนมีลูกศิษย์เข้าไปร่วมพิธีจนเต็มพื้นที่ แต่นั่นเกิดจากระบบการจัดการที่มีการกำหนดโซนที่นั่งของลูกศิษย์ในแต่ละภาค
เครื่องชี้วัดรัฐและศรัทธา
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งนั่นคือระยะเวลาในการจัดงาน คาดว่าน่าจะกลับมาจัดในช่วงเดือนมกราคมเหมือนกับครั้งก่อน ๆ แต่ในปี 2562 นั้นทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประเมินว่าการเลือกตั้งจะมีได้อย่างเร็ววันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
แม้ทางวัดพระธรรมกายจะจัดงานด้านพุทธศาสนา แต่ในแวดวงการเมืองต่างก็ทราบดีว่าสายสัมพันธ์ของวัดนี้กับสายการเมืองพรรคใหญ่นั้นแนบแน่นกันมาโดยตลอด ภายใต้การจัดกิจกรรมธรรมยาตราหากรัฐบาลดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นเหตุให้กิจกรรมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางที่วัดกำหนดไว้ ย่อมมีสายที่สนับสนุนนำเอาเรื่องเหล่านี้ไปขยายความ จนอาจกระทบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลที่เตรียมจะลงการเมืองต่อ
งานนี้เหมือนกับเป็นเครื่องชี้วัดทิศทางและคะแนนนิยมของรัฐบาลปัจจุบันไปในตัว หากรัฐบาลไม่เข้าไปแตะวัดนี้ กิจกรรมของวัดก็จะเดินได้ตามวัตถุประสงค์ สะท้อนถึงการกลับมาสู่ความสำเร็จของวัดพระธรรมกายอีกครั้ง
ขณะเดียวกันกิจกรรมธรรมยาตรา ยังจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความกลมเกลียวกันของศิษย์วัดพระธรรมกายที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องของพระระดับสูงที่แต่ละฝ่ายศรัทธา มีการโจมตีกันและกันจนถึงขนาดมีประกาศห้ามบางบุคคลเข้าพื้นที่วัดพระธรรมกาย
ตีเกราะเคาะไม้กันแล้วสำหรับกิจกรรมธุดงค์ธรรมยาตราของวัดพระธรรมกายที่จะมีขึ้นในปี 2562 ด้วยการประกาศเชิญชวนให้บรรดาลูกศิษย์มาร่วมกิจกรรมบุญเตรียมดินใส่กระถางสำหรับปลูกต้นเบญจทรัพย์ เริ่มเมื่อ 2 กันยายน 2561 ที่วิหารคดทิศเหนือ วัดพระธรรมกาย
“มาเอาบุญปลื้ม ๆ กัน ตั้งแต่เตรียมดิน พอถึงวันที่ 24 กันยายน วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายเราก็จะมาช่วยกันปลูก แล้วใกล้ ๆ เดินธรรมยาตราก็จะมาเก็บดอกกัน เรานักสร้างบารมีผู้มีปัญญาต้องเอาบุญให้ครบทั้ง 3 วาระ ตามที่หลวงพ่อเคยสอนไว้ให้มาเอาบุญอย่าตกบุญแม้แต่บุญเดียว เราจะได้ปลื้มกันสุด ๆ ด้วยอานิสงส์นี้ ขอให้ชีวิตของเรามีแต่ความสุขความเจริญ สมปรารถนาในทุกสิ่งทั้งปฐมวัย มัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย ถ้าไม่ได้มา...เสียดายจัง!!!”
รอบนี้ไม่มีเพียงการปลูกเบญจทรัพย์หรือต้นเบญจมาศเท่านั้น แต่ยังเพิ่มต้นทรัพย์บานชื่นเข้ามาอีก 1 รายการในรอบนี้
ธรรมยาตรานับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของวัดพระธรรมกาย ไม่ว่าจะเรียกว่าธุดงค์ธรรมยาตรา ธุดงค์ธรรมชัยหรือเดินธรรมยาตรา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละช่วงกับชื่อที่ใช้เรียกกิจกรรมนี้
ธรรมยาตรา-เพิ่มผู้ศรัทธา
แม้ว่าทางวัดพระธรรมกายจะมีกิจกรรมบุญให้ผู้ที่ศรัทธาได้ทำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี แต่ธุดงค์ธรรมยาตราถือเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของทางวัดมาตั้งแต่ปี 2555 สามารถสร้างความสนใจให้กับผู้คนได้ในวงกว้าง โดยเฉพาะครั้งที่ 4 ปี 2558 ที่เดินธุดงค์ในกรุงเทพมหานคร มีทั้งเสียงสาธุจากผู้ที่ศรัทธาและเสียงตำหนิในคราวเดียวกัน
สถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ยึดอำนาจจากรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี 2557 เมื่อเกิดเสียงท้วงติงเรื่องการเดินธุดงค์จนทำให้เกิดปัญหารถติดเมื่อต้นปี 2558 จึงทำให้กิจกรรมธุดงค์ธรรมยาตราในปี 2559 จัดขึ้นภายในวัดพระธรรมกายเท่านั้น หลังจากที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีให้ทำกิจกรรมดังกล่าวนอกพื้นที่วัด
ภายในปี 2559 นั่นเองคดีทุจริตเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น พบหลักฐานเชื่อมโยงการโอนเงินมายังพระธัมมชโย เจ้าอาวาสในขณะนั้น จนถูกดำเนินคดีตามนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นและไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกาย เมื่อสถานการณ์ของทางวัดตรึงเครียดจึงไม่ได้จัดงานธุดงค์ธรรมยาตราในช่วงต้นปี 2560 เหมือนครั้งก่อน ๆ อีกทั้งยังถูกรัฐบาลประกาศใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกายเพื่อหาตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี สุดท้ายก็ไม่พบ
หลังผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนั้นมาได้ทางวัดพระธรรมกายก็ค่อย ๆ ฟื้นฟูวัด ภายใต้ผู้นำคนใหม่ที่เป็นเบอร์ 2 ของวัดที่ร่วมกันก่อตั้งวัดแห่งนี้มาพร้อม ๆ กับพระธัมมชโย นั่นคือ พระทัตตชีโว
รอบที่แล้วเบญจทรัพย์ 100 ล้าน
แม้จะไม่มีพระธัมมชโยมาเป็นผู้นำของวัดเหมือนในอดีต แต่วัดพระธรรมกายก็ค่อย ๆ ฟื้นกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาได้แทบจะไม่แตกต่างไปจากเดิม จนสามารถกลับมาจัดงานธรรมยาตราของทางวัดได้อีกครั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2561
ก่อนงานธรรมยาตราปี 2561 จะมาถึง ทางวัดได้จัดกิจกรรมร่วมกันปลูกต้นเบญจทรัพย์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 เป็นต้นมา เพื่อเตรียมนำเอาดอกเบญจทรัพย์(เบญจมาศ) มาใช้โปรยบนทางเดินให้พระภิกษุ ครั้งนั้นเป็นที่ฮือฮาเป็นอย่างมากเนื่องจากมีการจัดพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์ให้กับลูกศิษย์ที่สนใจโดยบริจาคที่ต้นละ 1 หมื่นบาทรับจำนวน 1 หมื่นต้น คิดแล้วในรอบนั้นทางวัดจะได้เงินบริจาคเข้ามาขั้นต่ำ 100 ล้านบาท
กิจกรรมเดินธรรมยาตราครั้งที่ผ่านมา ไม่ใช่การเดินไปตามถนนเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่เป็นการขึ้นรถไปยังอนุสรณ์สถานที่เกี่ยวข้องกับทางวัดพระธรรมกาย 7 แห่ง และเดินยาตราภายในวัดและทำกิจกรรมด้านทางด้านสังคมกับวัดและพื้นที่ใกล้เคียง
การปรับกิจกรรมธรรมยาตราของทางวัด ถือเป็นการหลีกเลี่ยงผลกระที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์หากจะใช้วิธีการเดินแบบเดิม และยังเป็นการก้าวข้ามอำนาจของรัฐที่อาจสั่งห้ามกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งทางวัดพระธรรมกายเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์ที่ถูกควบคุมพื้นที่ตามมาตรา 44 มา นับว่าเป็นทางทางออกที่ลงตัวสำหรับทางวัด เพราะไม่ถูกสกัดกั้นและยังสามารถทำกิจกรรมที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของทางวัดต่อไปได้ แม้อาจจะไม่เต็มรูปแบบเหมือนเดิม
ดอกไม้ใหม่ ‘ทรัพย์บานชื่น’
ครั้งนี้มีการเพิ่มดอกไม้ที่จะใช้ปลูกเป็น 2 ชนิด คือ เบญจมาศเหมือนครั้งที่ผ่านมาและเพิ่มดอกบานชื่นเพิ่มเข้ามา เกษตรกรผู้ปลูกดอกบานชื่นกล่าวว่า ดอกไม้ทั้ง 2 ประเภทจะใช้เวลาปลูกจนถึงออกดอกราว 3 เดือนขึ้นไป
ต้นเบญจมาศจะมีการเพาะต้นกล้าอ่อนออกมาจำหน่าย โดยสามารถปลูกได้ทั้งแบบลงดินและปลูกในกระถาง ราคาต้นละประมาณ 1 บาท(ไม่รวมกระถาง) ส่วนต้นบานชื่นระยะเวลาในการปลูกจนได้ดอกใช้เวลาใกล้เคียงกัน แต่บานชื่นจะนิยมปลูกโดยใช้เมล็ดพันธ์นำไปเพาะ ใช้หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในพื้นที่ปลูกก็ได้ ขึ้นง่ายในทุกสภาพอากาศ
หากไม่สะดวกที่จะปลูกเอง ทางสวนก็มีบานชื่นพร้อมดอกความสูง 10-15 เซนติเมตร จำหน่ายราคา 10 บาท และยังขายเมล็ดพันธุ์ทั้งแบบซอง 10 กรัมราคา 140 บาท หากปลูกเยอะคิดกิโลกรัมละ 9 พันบาท
คาดจัดมกราคม 62
รอบที่แล้วของการปลูกต้นเบญจทรัพย์ แรก ๆ ก็ปลูกลงดิน มีป้าเช็งเป็นคนเตรียมพื้นที่ที่เรียกชื่อว่าทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย ต่อมาทางวัดได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกในกระถางแทน เนื่องจากต้องคอยจำกัดเรื่องวัชพืชตลอดเวลา
ตอนนี้มีเพียงการเชิญชวนให้เข้ามาช่วยกันเตรียมดินเพื่อปลูกดอกเบญจมาศและบานชื่น แต่ยังไม่เห็นจัดรายการพิเศษเหมือนกับปี 2560 ที่จัดรายการปลูกเบญจทรัพย์ต้นละ 1 หมื่นบาท แต่อาจต้องรอช่วงใกล้ ๆ 24 กันยายนอีกครั้ง เพราะการจัดกิจกรรมนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ทั้งนี้เมื่อประเมินจากระยะเวลาของการปลูกดอกไม้ทั้ง 2 ประเภท น่าจะพอคาดการณ์ได้ว่างานธรรมยาตราของวัดพระธรรมกายในครั้งต่อไป แม้จะยังไม่มีการกำหนดช่วงเวลาออกมา แต่น่าจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2562 ซึ่งทางวัดมักจัดงานดังกล่าวเป็นระยะเวลาราว 1 เดือน
สำหรับกิจกรรมธรรมยาตราครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมานั้น หากประเมินถึงความสำเร็จจากภาพที่ปรากฎนั้น นับได้ว่าในแต่ละจุดที่ทางวัดพระธรรมกายไปทำกิจกรรมตามอนุสรณ์สถานนั้น ล้วนมีลูกศิษย์เข้าไปร่วมพิธีจนเต็มพื้นที่ แต่นั่นเกิดจากระบบการจัดการที่มีการกำหนดโซนที่นั่งของลูกศิษย์ในแต่ละภาค
เครื่องชี้วัดรัฐและศรัทธา
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งนั่นคือระยะเวลาในการจัดงาน คาดว่าน่าจะกลับมาจัดในช่วงเดือนมกราคมเหมือนกับครั้งก่อน ๆ แต่ในปี 2562 นั้นทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประเมินว่าการเลือกตั้งจะมีได้อย่างเร็ววันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562
แม้ทางวัดพระธรรมกายจะจัดงานด้านพุทธศาสนา แต่ในแวดวงการเมืองต่างก็ทราบดีว่าสายสัมพันธ์ของวัดนี้กับสายการเมืองพรรคใหญ่นั้นแนบแน่นกันมาโดยตลอด ภายใต้การจัดกิจกรรมธรรมยาตราหากรัฐบาลดำเนินการใด ๆ ที่จะเป็นเหตุให้กิจกรรมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางที่วัดกำหนดไว้ ย่อมมีสายที่สนับสนุนนำเอาเรื่องเหล่านี้ไปขยายความ จนอาจกระทบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลที่เตรียมจะลงการเมืองต่อ
งานนี้เหมือนกับเป็นเครื่องชี้วัดทิศทางและคะแนนนิยมของรัฐบาลปัจจุบันไปในตัว หากรัฐบาลไม่เข้าไปแตะวัดนี้ กิจกรรมของวัดก็จะเดินได้ตามวัตถุประสงค์ สะท้อนถึงการกลับมาสู่ความสำเร็จของวัดพระธรรมกายอีกครั้ง
ขณะเดียวกันกิจกรรมธรรมยาตรา ยังจะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความกลมเกลียวกันของศิษย์วัดพระธรรมกายที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องของพระระดับสูงที่แต่ละฝ่ายศรัทธา มีการโจมตีกันและกันจนถึงขนาดมีประกาศห้ามบางบุคคลเข้าพื้นที่วัดพระธรรมกาย