ทีมกฎหมายวัดพระธรรมกายเตรียมแนวทางต่อสู้ หลังครบกำหนดอายัดอาคาร 100 ปีในวันที่ 9 กันยายนนี้ ระดมใบ MPL จากลูกศิษย์ใช้แสดงหลักฐานความเป็นเจ้าของ เปลี่ยนทีมทนายความใหม่มีประสบการณ์ อ่านเส้นทาง ปปง. ร่างคำร้องคัดค้านอัยการฟ้องศาลริบทรัพย์ หากไม่สำเร็จเตรียมร้องขัดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด

“ลูกหลานยาย ร่วมปกป้องอาคาร 100 ปี คุณยายฯ นำใบ MPL สร้างอาคาร 100 ปี + สำเนา MPL สำเนาบัตรประชาชน เซ็นเอกสารคำร้อง(รับที่ผู้ประสานงาน) ส่งผู้ประสานได้ทุกวันตั้งแต่วันนี้หรือจุดรับเอกสารเสา M5 ในวันที่ 25-27 สิงหาคม 2 และ 9 กันยายน 2561” นี่คือข้อความเชิญชวนของวัดพระธรรมกายที่ส่งต่อไปยังบรรดาลูกศิษย์ให้นำใบ MPL มามอบให้กับทีมงาน
พร้อมด้วยการนำเอาเรื่องราวการก่อสร้างอาคาร 100 ปีคุณยายฯ กลับมาโพสต์ย้ำเตือนความทรงจำให้กับบรรดาลูกศิษย์อีกครั้ง
สืบเนื่องจากคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย.87/2561 เรื่อง อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระความผิดไว้ชั่วคราว ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เมื่อ 18 มิถุนายน 2561 ที่มีมติอายัดอาคารตามโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตั้งอยู่โฉนดที่ดินจำนวน 91 แปลง มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2561-9 กันยายน 2561
หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตรวจสอบเส้นทางการเงิน มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง รับเงินจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และพระธัมมชโย โดยมูลนิธิธรรมกาย ได้นำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
พฤติกรรมของผู้ต้องหาเกิดเหตุระหว่างปี 2552-2555 นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวก ได้เขีนเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำนวน 27 ฉบับ จำนวนเงิน 1,458,560,000 บาท สั่งจ่ายเงินให้กับพระธัมมชโย และนางสาวศศิธร โชคประสิทธิ์ โดยมีเจตนาทุจริต การกระทำเข้าข่ายความผิดฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
ในกรณีผู้ซึ่งถูกอายัดทรัพย์สินตามคำสั่งนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าวประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดดังกล่าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือทราบคำสั่งนี้

ระดมใบเสร็จอ้างสิทธิเจ้าของ
วันที่ 9 กันยายนนี้จะครบกำหนดที่ ปปง. มีคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายฯ ดังนั้นทางวัดพระธรรมกายจึงเร่งเชิญชวนให้ลูกศิษย์นำใบบริจาคมารวบรวมไว้ที่ทางวัด เพื่อหวังใช้เป็นหลักฐานในการแสดงให้เจ้าหน้าที่เห็นว่า เงินที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารดังกล่าวมาจากเงินบริจาคจากบรรดาลูกศิษย์
โดย MPL นั้นย่อมาจาก My Papa Love เป็นการทำบุญกับพระธัมมชโยโดยตรง เงินบริจาคดังกล่าวเปิดกว้างให้ใช้ตามความประสงค์ของพระธัมมชโย ด้านท้ายมีอักษรอาคาร 100 ปีคุณยายฯ แต่ MPL นี้ไม่ถือว่าเป็นใบอนุโมทนาบัตร ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ และไม่ต้องแจ้งต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
“ตรงนี้คงต้องมีการตีความกันว่าใบเสร็จรับเงินดังกล่าว จะสามารถนำมาใช้แสดงเป็นหลักฐานว่าเป็นเงินบริจาคในการก่อสร้างอาคาร 100 ปี ได้หรือไม่ เพราะถือว่าไม่ใช่ใบอนุโมทนาบัตร อีกทั้งเป็นเพียงการระบุว่า บูชาธรรมพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของหลวงพ่อ แม้จะมีข้อความที่ระบุว่าอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ตรงนี้ทางวัดคงต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์”
อาคาร 100 ปีคุณยายฯ นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของวัดพระธรรมกาย แต่ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดิน 91 แปลง มีผู้ถือครองกรรมสิทธิ์คือมูลนิธิธรรมกายและมูลนิธิธรรมประสิทธิ์
หากพบผิดส่งอัยการฟ้อง
ก่อนหน้านี้ ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษและปปง. ได้ตรวจสอบแล้วว่าเงินที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร 100 ปีนั้น มาจากการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จึงมีมติอายัดอาคารดังกล่าว
สำหรับคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายฯ นั้นจะครบกำหนดอายัด 90 วันในวันที่ 9 กันยายนนี้ ในทางปฏิบัติของ ปปง. แล้ว ทางคณะกรรมการธุรกรรมจะต้องพิจารณาว่า หลักฐานที่มีนั้นอาคารดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือไม่ หากพบความผิดก็จะส่งเรื่องให้อัยการดำเนินการฟ้องต่อไป แต่หากไม่พบความผิดก็ต้องคืนอาคารดังกล่าว
ทั้งนี้ในทางปฏิบัติแล้ว อาคาร 100 ปีคุณยายฯ นั้น มูลค่าการก่อสร้างประเมินว่าสูงกว่า 4 พันล้านบาท หากลูกศิษย์วัดพระธรรมกายนำหลักฐานการบริจาคเงินมาแสดง ก็ต้องไล่ตรวจสอบบัญชีของวัดพระธรรมกายว่าเป็นของลูกศิษย์จำนวนเท่าไหร่ ที่เหลือเอาจากที่ไหนมาก่อสร้าง เกี่ยวพันกับเงินที่โอนมาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นหรือไม่ ดังนั้นเรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทาง ปปง.

เตรียมแก้ลำอัยการฟ้องริบทรัพย์
แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีอื่น ๆ หากพบว่าสิ่งปลูกสร้างใดมาจากเงินที่ได้จากการกระทำความผิด เมื่อส่งเรื่องให้อัยการฟ้องต่อศาล หากไม่สามารถชี้แจงที่มาที่ไปได้ ทรัพย์นั้นจะถูกนำไปชดใช้ให้กับผู้เสียหายหรืออาจถูกริบเป็นของแผ่นดิน
ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ เชื่อว่าทางวัดพระธรรมกายทราบดีว่าทิศทางของคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปี คุณยายฯ จะเป็นไปในทิศทางใด เห็นได้จากการระดมใบ MPL พร้อมทั้งมีแบบฟอร์มคำร้องคัดค้านไว้ให้ผู้บริจาคได้กรอกรายละเอียด ดังนี้
ข้าพเจ้า ........... บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ......... อาชีพ ....... เป็นเจ้าของร่วมในอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ซึ่งได้รับความเสียหายจากกรณีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ที่อ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายหรือตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยข้าพเจ้าขอชี้แจงว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ร่วมบริจาคเงิน จำนวน ........ บาท รายละเอียดปรากฏตามหลักฐานการรับบริจาค(MPL) เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1 เพื่อร่วมสร้างอาคาร 100 ปี คุณยายฯ กับหลวงพ่อธัมมชโยและผู้บริจาครายอื่นนับแสนราย สำหรับใช้ในกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ข้าพเจ้าทราบว่าอาคาร 100 ปี ดังกล่าวใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่า 4,000 ล้านบาทและค่าก่อสร้างดังกล่าว ส่วนใหญ่ได้มาจากข้าพเจ้าและผู้บริจาคทั้งสิ้น ดังนั้นอาคาร 100 ปี คุณยายฯ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามคำร้องของพนักงานอัยการผู้ร้อง
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รับความเสียหาย จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้ยกคำร้องของพนักงานอัยการ เพื่อที่ทรัพย์สินดังกล่าวจะได้กลับคืนสู่สถานะเดิม ตามเจตนารมณ์ของข้าพเจ้าและผู้บริจาครายอื่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ร้องขัดทรัพย์ก่อนขายทอดตลอด
จะเห็นได้ว่าข้อความของคำร้องคัดค้านได้มุ่งไปที่ “กรณีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ที่อ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายหรือตกเป็นของแผ่นดิน” นับเป็นการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าของทีมงาน ขณะที่ทาง ปปง.ยังไม่มีคำสั่งใด ๆ ออกมา
อีกทั้งยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ส่งมอบใบ MPL ให้กับทีมกฎหมายของทางวัด ดังนี้
ในสถานการณ์ขณะนี้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในตอนนี้ เพราะหลักกฎหมายฟอกเงิน ภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของเราทุกคน ต้องแสดงความจริงให้ปรากฎว่าใครเป็นเจ้าของเงิน เงินที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นของพวกเราทุกคนและพวกเราเป็นเจ้าของอาคาร 100 ปีคุณยายฯ ที่แท้จริง
ใบ MPL เอาให้มากที่สุด เพื่อรักษาสิทธิและพิสูจน์สิทธิ์ตามกฎหมาย
ทนายความเป็นชุดใหม่ ที่ได้มีการคัดเลือกทนายที่ดีที่สุดในด้านนี้ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำคดีมากว่า 30 ปี
การเบิกความในชั้นศาล ขอตัวแทนที่สมัครใจเพียง 100 ท่าน มาเป็น “หนึ่งในร้อย” มาปกป้องอาคาร 100 ปีคุณยาย
ในการนี้อาจมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบข้อมูลบ้าง ให้ตอบตามความจริงว่า มีศรัทธาจึงสร้างอาคาร 100 ปี คุณยายฯ โดยถวายผ่านมาทางหลวงพ่อ เพื่อให้หลวงพ่อเป็นประธานนำเงินของเราไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายการก่อสร้างอาคาร 100 ปี ถ้ามีเจ้าหน้าที่มาสอบถาม ทางนิติการ มีทีมกฎหมายพร้อมให้ปรึกษาและช่วยเหลือ
นอกจากนี้หากขั้นตอนการร้องคัดค้านไม่สำเร็จ ทางทีมงานด้านกฎหมายของวัดพระธรรมกายยังเตรียมที่จะทำการร้องขัดทรัพย์ต้องทำก่อนที่ศาลจะทำการขายทอดตลาด
นี่คือแนวทางในการต่อสู้ทางกฎหมายของทีมงานวัดพระธรรมกาย เพื่อแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ของพวกเขา โดยมองข้ามไปถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 9 กันยายน 2561 ที่ครบกำหนดอายัดจาก ปปง. ซึ่งเป็นในส่วนเฉพาะศิษย์ที่บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารหลังหนี้
แต่ยังมิได้กล่าวถึงหลักฐานจากทางวัดพระธรรมกายว่าเงินบริจาคจากลูกศิษย์เหล่านี้ถูกนำมาใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างอาคาร 100 ปีจริงหรือไม่ ได้รับเงินบริจาคมาเท่าไหร่ จ่ายจริงไปเท่าไหร่และเงินมาจากการรับบริจาคเพียงทางเดียว หรือมีเงินที่ได้รับมาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ เรื่องนี้ทางวัดคงต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลอีกทางหนึ่ง
“ลูกหลานยาย ร่วมปกป้องอาคาร 100 ปี คุณยายฯ นำใบ MPL สร้างอาคาร 100 ปี + สำเนา MPL สำเนาบัตรประชาชน เซ็นเอกสารคำร้อง(รับที่ผู้ประสานงาน) ส่งผู้ประสานได้ทุกวันตั้งแต่วันนี้หรือจุดรับเอกสารเสา M5 ในวันที่ 25-27 สิงหาคม 2 และ 9 กันยายน 2561” นี่คือข้อความเชิญชวนของวัดพระธรรมกายที่ส่งต่อไปยังบรรดาลูกศิษย์ให้นำใบ MPL มามอบให้กับทีมงาน
พร้อมด้วยการนำเอาเรื่องราวการก่อสร้างอาคาร 100 ปีคุณยายฯ กลับมาโพสต์ย้ำเตือนความทรงจำให้กับบรรดาลูกศิษย์อีกครั้ง
สืบเนื่องจากคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย.87/2561 เรื่อง อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระความผิดไว้ชั่วคราว ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เมื่อ 18 มิถุนายน 2561 ที่มีมติอายัดอาคารตามโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตั้งอยู่โฉนดที่ดินจำนวน 91 แปลง มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2561-9 กันยายน 2561
หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ตรวจสอบเส้นทางการเงิน มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง รับเงินจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และพระธัมมชโย โดยมูลนิธิธรรมกาย ได้นำเงินไปใช้ในการก่อสร้างโครงการ 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
พฤติกรรมของผู้ต้องหาเกิดเหตุระหว่างปี 2552-2555 นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวก ได้เขีนเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำนวน 27 ฉบับ จำนวนเงิน 1,458,560,000 บาท สั่งจ่ายเงินให้กับพระธัมมชโย และนางสาวศศิธร โชคประสิทธิ์ โดยมีเจตนาทุจริต การกระทำเข้าข่ายความผิดฐานสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
ในกรณีผู้ซึ่งถูกอายัดทรัพย์สินตามคำสั่งนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าวประสงค์จะขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่แสดงว่าเงินหรือทรัพย์สินที่ถูกอายัดดังกล่าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือทราบคำสั่งนี้
ระดมใบเสร็จอ้างสิทธิเจ้าของ
วันที่ 9 กันยายนนี้จะครบกำหนดที่ ปปง. มีคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายฯ ดังนั้นทางวัดพระธรรมกายจึงเร่งเชิญชวนให้ลูกศิษย์นำใบบริจาคมารวบรวมไว้ที่ทางวัด เพื่อหวังใช้เป็นหลักฐานในการแสดงให้เจ้าหน้าที่เห็นว่า เงินที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารดังกล่าวมาจากเงินบริจาคจากบรรดาลูกศิษย์
โดย MPL นั้นย่อมาจาก My Papa Love เป็นการทำบุญกับพระธัมมชโยโดยตรง เงินบริจาคดังกล่าวเปิดกว้างให้ใช้ตามความประสงค์ของพระธัมมชโย ด้านท้ายมีอักษรอาคาร 100 ปีคุณยายฯ แต่ MPL นี้ไม่ถือว่าเป็นใบอนุโมทนาบัตร ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ และไม่ต้องแจ้งต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
“ตรงนี้คงต้องมีการตีความกันว่าใบเสร็จรับเงินดังกล่าว จะสามารถนำมาใช้แสดงเป็นหลักฐานว่าเป็นเงินบริจาคในการก่อสร้างอาคาร 100 ปี ได้หรือไม่ เพราะถือว่าไม่ใช่ใบอนุโมทนาบัตร อีกทั้งเป็นเพียงการระบุว่า บูชาธรรมพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของหลวงพ่อ แม้จะมีข้อความที่ระบุว่าอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ตรงนี้ทางวัดคงต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์”
อาคาร 100 ปีคุณยายฯ นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของวัดพระธรรมกาย แต่ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดิน 91 แปลง มีผู้ถือครองกรรมสิทธิ์คือมูลนิธิธรรมกายและมูลนิธิธรรมประสิทธิ์
หากพบผิดส่งอัยการฟ้อง
ก่อนหน้านี้ ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษและปปง. ได้ตรวจสอบแล้วว่าเงินที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร 100 ปีนั้น มาจากการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จึงมีมติอายัดอาคารดังกล่าว
สำหรับคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปีคุณยายฯ นั้นจะครบกำหนดอายัด 90 วันในวันที่ 9 กันยายนนี้ ในทางปฏิบัติของ ปปง. แล้ว ทางคณะกรรมการธุรกรรมจะต้องพิจารณาว่า หลักฐานที่มีนั้นอาคารดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือไม่ หากพบความผิดก็จะส่งเรื่องให้อัยการดำเนินการฟ้องต่อไป แต่หากไม่พบความผิดก็ต้องคืนอาคารดังกล่าว
ทั้งนี้ในทางปฏิบัติแล้ว อาคาร 100 ปีคุณยายฯ นั้น มูลค่าการก่อสร้างประเมินว่าสูงกว่า 4 พันล้านบาท หากลูกศิษย์วัดพระธรรมกายนำหลักฐานการบริจาคเงินมาแสดง ก็ต้องไล่ตรวจสอบบัญชีของวัดพระธรรมกายว่าเป็นของลูกศิษย์จำนวนเท่าไหร่ ที่เหลือเอาจากที่ไหนมาก่อสร้าง เกี่ยวพันกับเงินที่โอนมาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นหรือไม่ ดังนั้นเรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทาง ปปง.
เตรียมแก้ลำอัยการฟ้องริบทรัพย์
แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีอื่น ๆ หากพบว่าสิ่งปลูกสร้างใดมาจากเงินที่ได้จากการกระทำความผิด เมื่อส่งเรื่องให้อัยการฟ้องต่อศาล หากไม่สามารถชี้แจงที่มาที่ไปได้ ทรัพย์นั้นจะถูกนำไปชดใช้ให้กับผู้เสียหายหรืออาจถูกริบเป็นของแผ่นดิน
ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ เชื่อว่าทางวัดพระธรรมกายทราบดีว่าทิศทางของคำสั่งอายัดอาคาร 100 ปี คุณยายฯ จะเป็นไปในทิศทางใด เห็นได้จากการระดมใบ MPL พร้อมทั้งมีแบบฟอร์มคำร้องคัดค้านไว้ให้ผู้บริจาคได้กรอกรายละเอียด ดังนี้
ข้าพเจ้า ........... บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ ......... อาชีพ ....... เป็นเจ้าของร่วมในอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ซึ่งได้รับความเสียหายจากกรณีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ที่อ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายหรือตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยข้าพเจ้าขอชี้แจงว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ร่วมบริจาคเงิน จำนวน ........ บาท รายละเอียดปรากฏตามหลักฐานการรับบริจาค(MPL) เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1 เพื่อร่วมสร้างอาคาร 100 ปี คุณยายฯ กับหลวงพ่อธัมมชโยและผู้บริจาครายอื่นนับแสนราย สำหรับใช้ในกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ข้าพเจ้าทราบว่าอาคาร 100 ปี ดังกล่าวใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่า 4,000 ล้านบาทและค่าก่อสร้างดังกล่าว ส่วนใหญ่ได้มาจากข้าพเจ้าและผู้บริจาคทั้งสิ้น ดังนั้นอาคาร 100 ปี คุณยายฯ จึงมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามคำร้องของพนักงานอัยการผู้ร้อง
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รับความเสียหาย จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้ยกคำร้องของพนักงานอัยการ เพื่อที่ทรัพย์สินดังกล่าวจะได้กลับคืนสู่สถานะเดิม ตามเจตนารมณ์ของข้าพเจ้าและผู้บริจาครายอื่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ร้องขัดทรัพย์ก่อนขายทอดตลอด
จะเห็นได้ว่าข้อความของคำร้องคัดค้านได้มุ่งไปที่ “กรณีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ที่อ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายหรือตกเป็นของแผ่นดิน” นับเป็นการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าของทีมงาน ขณะที่ทาง ปปง.ยังไม่มีคำสั่งใด ๆ ออกมา
อีกทั้งยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ส่งมอบใบ MPL ให้กับทีมกฎหมายของทางวัด ดังนี้
ในสถานการณ์ขณะนี้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในตอนนี้ เพราะหลักกฎหมายฟอกเงิน ภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของเราทุกคน ต้องแสดงความจริงให้ปรากฎว่าใครเป็นเจ้าของเงิน เงินที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นของพวกเราทุกคนและพวกเราเป็นเจ้าของอาคาร 100 ปีคุณยายฯ ที่แท้จริง
ใบ MPL เอาให้มากที่สุด เพื่อรักษาสิทธิและพิสูจน์สิทธิ์ตามกฎหมาย
ทนายความเป็นชุดใหม่ ที่ได้มีการคัดเลือกทนายที่ดีที่สุดในด้านนี้ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำคดีมากว่า 30 ปี
การเบิกความในชั้นศาล ขอตัวแทนที่สมัครใจเพียง 100 ท่าน มาเป็น “หนึ่งในร้อย” มาปกป้องอาคาร 100 ปีคุณยาย
ในการนี้อาจมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบข้อมูลบ้าง ให้ตอบตามความจริงว่า มีศรัทธาจึงสร้างอาคาร 100 ปี คุณยายฯ โดยถวายผ่านมาทางหลวงพ่อ เพื่อให้หลวงพ่อเป็นประธานนำเงินของเราไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายการก่อสร้างอาคาร 100 ปี ถ้ามีเจ้าหน้าที่มาสอบถาม ทางนิติการ มีทีมกฎหมายพร้อมให้ปรึกษาและช่วยเหลือ
นอกจากนี้หากขั้นตอนการร้องคัดค้านไม่สำเร็จ ทางทีมงานด้านกฎหมายของวัดพระธรรมกายยังเตรียมที่จะทำการร้องขัดทรัพย์ต้องทำก่อนที่ศาลจะทำการขายทอดตลาด
นี่คือแนวทางในการต่อสู้ทางกฎหมายของทีมงานวัดพระธรรมกาย เพื่อแสดงสิทธิความเป็นเจ้าของอาคาร 100 ปี คุณยายฯ ของพวกเขา โดยมองข้ามไปถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 9 กันยายน 2561 ที่ครบกำหนดอายัดจาก ปปง. ซึ่งเป็นในส่วนเฉพาะศิษย์ที่บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารหลังหนี้
แต่ยังมิได้กล่าวถึงหลักฐานจากทางวัดพระธรรมกายว่าเงินบริจาคจากลูกศิษย์เหล่านี้ถูกนำมาใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างอาคาร 100 ปีจริงหรือไม่ ได้รับเงินบริจาคมาเท่าไหร่ จ่ายจริงไปเท่าไหร่และเงินมาจากการรับบริจาคเพียงทางเดียว หรือมีเงินที่ได้รับมาจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ เรื่องนี้ทางวัดคงต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลอีกทางหนึ่ง