ปัจจัยลบรอบด้าน พ.ร.บ.สงฆ์ใหม่ Set Zero มหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค ทำเอาพระผู้ใหญ่ที่เคยอุ้มชู “ธรรมกาย” หายเรียบ แถมพรรคเพื่อไทยยังเลือดไหลไม่หยุด ย้ายซบพรรคพลังประชารัฐ ความหวังกลับมาเป็นรัฐบาลเลือนราง ขณะที่ทุนทำบุญศิษย์เอกกระเป๋าหนักถูกดำเนินจนต้องถอยออกจากวัด ส่วนเครื่องมือทางการตลาดอย่างผู้นำพุทธโลก-ถูกยึดคืน เส้นทางเดินนับจากนี้ไม่ราบรื่นเหมือนก่อน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 17 กรกฎาคม 2561 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2561 ด้วยเหตุผล “มาตรา 5 ตรี เพื่อให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตลอดจนการดูแลการปกครองคณะสงฆ์เป็นไปเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และมีการรักษาพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป พระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอน สมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมตามพระราชบัญญัตินี้”
นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาคณะสงฆ์ของไทยที่เรื้อรังมานาน หลังจากรูปแบบเดิมได้สร้างระบบเครือข่ายในวงการพระสงฆ์ขึ้นมา จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ของพระพุทธศาสนาได้
หลังจากนี้ตำแหน่งในมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ และเจ้าคณะภาค จะต้องมีการสรรหากันใหม่ทั้งหมด 20 เก้าอี้ในมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ในส่วนของมหานิกาย 4 ตำแหน่ง คือ หนเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ ส่วนธรรมยุตมีตำแหน่งเดียวดูแลทั้งหมด
เจ้าคณะภาคมหานิกายมีเจ้าคณะภาค 18 ภาค รองเจ้าคณะภาคอีก 1 ตำแหน่งรวมเป็น 36 ตำแหน่ง ฝ่ายธรรมยุต เจ้าคณะภาคและรองเจ้าคณะรวมแล้ว 39 ตำแหน่ง รวมทั้งหมดราว 100 ตำแหน่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับวงการพระสงฆ์ของไทย
รอดได้ทุกครั้งเพราะมหาเถรสมาคม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาเถรสมาคมนั้น คือ กรณีของวัดพระธรรมกาย ที่ในอดีตเคยมีกรณีของพระธัมมชโยที่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินและที่ดินที่ญาติโยมบริจาคให้เมื่อปี 2541 แต่หลุดคดีมาได้ในปี 2549 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
แม้จะมีความพยายามรื้อคดีต้องอาบัติปาราชิกพระธัมมชโยจากเหตุในครั้งนั้น แต่มหาเถรสมาคมมีมติว่าพระธัมมชโยไม่ผิดพระวินัยถึง 2 ครั้ง คือ 20 กุมภาพันธ์ 2558 และ 10 กุมภาพันธ์ 2559
แต่คดีล่าสุดจากคดีทุจริตเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ส่งผลมาถึงพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายที่มีรายชื่อเป็นผู้รับเช็คจากสหกรณ์ จนถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งข้อหาร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร สุดท้ายรัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 ตรวจค้นวัดพระธรรมกายแต่ไม่พบพระธัมมชโย
แม้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เสนอเรื่องให้พระปกครองดำเนินการสึกพระธัมมชโย แต่ก็ทำได้เพียงแค่เปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายรูปใหม่คือ พระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทธิจินตโก
เป็นที่ทราบกันดีว่าวัดพระธรรมกายนั้นแนบแน่นกับพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม โดยเฉพาะกับสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ที่เคยกล่าวไว้ว่าวัดปากน้ำกับวัดพระธรรมกายเป็นวัดพี่วัดน้องกัน แถมสมเด็จช่วงฯ เคยเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ดังนั้นปัญหาของวัดพระธรรมกายจึงสามารถฝ่าวิกฤตมาได้ทุกครั้ง
สลายพระคุ้มครอง
พระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับใหม่ ส่งผลต่อวัดพระธรรมกายไม่น้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันของทางวัดเหลือน้อยลงทุกที อย่าลืมว่าคดีที่วัดพระธรรมกายแคล้วคลาดมาได้ ก็เพราะการแอบอิงกับเสียงข้างมากในมหาเถรสมาคม แต่วันนี้สถานะของพระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จไม่มีในมหาเถรสมาคมอีกต่อไป เจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคที่กำกับดูแลวัดต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ ต้องรอการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
วัดพระธรรมกาย อยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีเจ้าคณะตำบล อำเภอและเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีตามลำดับขั้น และอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าคณะภาค 1 โดยมี พระเทพสุธี(สายชล ฐานวุฑฺโฒ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้กำกับดูแล ต้องขึ้นตรงกับสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
เฉพาะคดีเกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น แม้คณะสงฆ์จะมีอำนาจสึกโดยที่เจ้าตัวไม่ต้องมารับทราบ เรื่องถูกดึงออกไปหลายเดือนสุดท้ายก็ไม่มีการสึกพระธัมมชโย
ในมหาเถรสมาคมนั้นสายของสมเด็จช่วงฯ ถือว่ามีเครือข่ายที่ครอบคลุมสายมหานิกายเกือบทั้งหมดและยังมีสายของธรรมยุตที่คล้อยตามอยู่อีกจำนวนไม่น้อย ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ของวัดพระธรรมกายจึงไร้เสียงคัดค้านจากพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม แม้กระทั่งคำสอนเรื่องนิพพานเป็นอัตตาก็ยังไม่ถูกชำระสะสางให้ถูกต้อง
ที่ผ่านมานับได้ว่าวัดพระธรรมกายมีพระผู้ใหญ่ที่มีอำนาจคอยปกป้องคุ้มครองเสมอมา เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว หากพระผู้ใหญ่เหล่านั้นต้องพลาดจากตำแหน่งในมหาเถรสมาคม ย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับวัดพระธรรมกาย นับเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดที่วัดพระธรรมกายกังวล
เพื่อไทยอ่อนยวบ
หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมด้านอื่น พบว่า แรงหนุนในทางการเมืองที่เข้มแข็งอย่างพรรคเพื่อไทย วันนี้สถานการณ์ของพรรคอาจไม่เข้มแข็งพอที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ทักษิณ ชินวัตรและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ ขณะที่อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวนมากก็ย้ายไปซบพรรคพลังประชารัฐ ที่ชูพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
อีกทั้งในทางการเมืองแล้ว ฝ่ายที่ไม่ใช่พรรคเพื่อไทยต่างจับจ้องไปที่วัดแห่งนี้ว่าเป็นฐานสำคัญ ที่ส่งผลต่อชัยชนะของพรรคเพื่อไทยมาหลายสมัย ยิ่งเมื่ออดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและวัดสระเกศถูกดำเนินคดีด้วยแล้ว แรงหนุนของพรรคเพื่อไทยก็ยิ่งลดลง
เมื่อโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะกลับมาเป็นรัฐบาลมีน้อยลง ความคาดหวังที่พรรคนี้จะมาช่วยเหลือเรื่องคดีเหมือนในปี 2549 หนทางนี้จึงเลือนราง
แม้สายธรรมกายและพระผู้ใหญ่จะมีพรรคแผ่นดินธรรมที่เกิดขึ้นใหม่ มี นายกรณ์ มีดี เป็นหัวหน้าพรรค แต่ประเมินศักยภาพแล้วคงยากที่จะก้าวขึ้นไปมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระดับชาติ
ศิษย์กระเป๋าหนักหายเรียบ
ขณะที่แรงทุนที่ศรัทธาต่อวัดพระธรรมกาย ลูกศิษย์เอกกระเป๋าหนักอย่างนายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และเจ้าพ่อผู้ให้บริการมือถือค่ายดีแทคอย่างนายบุญชัย เบญจรงคกุล ที่เคยบริจาคในหลักร้อยล้าน ต่างก็ถูกดำเนินคดีและถอยออกจากวัดไป
กระทั่งศิษย์บางกลุ่มที่ตั้งแชร์ลูกโซ่อย่าง ยูฟัน สโตร์ โดยนางสาวณมนพรรณ์ ธาราบัณฑิต ก็ถูกจับกุมเมื่อเมษายน 2558 และแชร์อีกวงของศิษย์ธรรมกายอย่าง OD Capital ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมไปเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561 ศิษย์เหล่านี้ก็ยังคงมาทำบุญกับวัดพระธรรมกายเสมอมา
เป็นอันว่าสภาพคล่องของวัดพระธรรมกายยามนี้อาจไม่คล่องตัวนักเหมือนในอดีต หากไม่นับลูกศิษย์ที่ศรัทธาเป็นรายบุคคลแล้ว ก่อนหน้านี้ศิษย์วัดพระธรรมกายอย่างนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นก็ถ่ายโอนเงินในสหกรณ์จำนวนหนึ่งมาทำบุญให้กับวัดพระธรรมกาย และยังดีที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีที่ตั้งในวัดพระธรรมกาย ที่มีโปรแกรมสินเชื่อเพื่อทำบุญ ไม่ได้รับความนิยมนัก
อีกทั้งมีศิษย์จำนวนหนึ่งถอนตัวออกมาจากวัดพระธรรมกาย ทั้งจากเรื่องคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นและไม่มีพระธัมมชโยเป็นผู้นำของวัดเหมือนก่อน ดังนั้นพลังศรัทธาในการทำบุญจำนวนไม่น้อยได้หายไปจากวัดแห่งนี้
การตลาดระดับโลกถูกยึดคืน
นอกจากนี้จุดขายอีกประการหนึ่งของวัดพระธรรมกาย ที่ลูกศิษย์คนสำคัญอย่างนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ (ปัจจุบันพระพรชัย) เคยเป็นประธานองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) World Fellowship of Buddhist Youth หรือ WFBY ใช้รางวัลผู้นำพุทธโลก เป็นเครื่องมือ แต่กลับมอบรางวัลนี้แก่กลุ่มพระสงฆ์ในประเทศพม่าที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติจนมีความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา รวมไปถึงการใช้เงินที่ขัดกับวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยไม่ได้รับการอนุมัติ จนถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายน 2559
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในการขอกลับเข้าไปเป็นสมาชิกยุวพุทธโลก จึงต้องไปตั้งองค์กรใหม่ในนาม World Alliance of Buddhist (WAB) ในต่างประเทศ และมอบรางวัลผู้นำพุทธเหมือนเดิม แต่เป้าหมายทั้งหมดมุ่งมาที่วัดพระธรรมกายเป็นหลัก
องค์การยุวพุทธโลกอยู่ในเมืองไทย ได้การยอมรับจากชาวพุทธทั่วโลก แต่ WAB ของพระพรชัย ไม่ได้รับการรับรองจากองค์กรพุทธในประเทศไทย แม้ทาง WAB ยังเดินหน้าทำกิจกรรมเหมือนเมื่อครั้งที่อยู่ยุวพุทธโลก แต่ระดับความน่าเชื่อถือยังไม่เทียบเท่ากับกิจกรรมขององค์การยุวพุทธโลก
ตอนนี้แม้แต่คนในวัดพระธรรมกายเองก็ประเมินสถานการณ์ออกว่า เส้นทางเดินนับจากนี้ไปอาจไม่ราบรื่นเหมือนก่อน เพราะปัจจัยทุกด้านไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ รวมถึงเจ้าคณะภาค ที่เคยเป็นเกราะกำบังที่สำคัญที่สุดอาจต้องเปลี่ยนไปจากเดิม แถมอำนาจทางการเมืองที่เคยหนุนวัดแห่งนี้อาจไม่ทรงพลังเหมือนเก่า ย่อมส่งผลต่อวัดพระธรรมกายเป็นอย่างยิ่ง
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 17 กรกฎาคม 2561 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2561 ด้วยเหตุผล “มาตรา 5 ตรี เพื่อให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ตลอดจนการดูแลการปกครองคณะสงฆ์เป็นไปเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และมีการรักษาพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป พระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง สถาปนา และถอดถอน สมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์ และแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมตามพระราชบัญญัตินี้”
นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาคณะสงฆ์ของไทยที่เรื้อรังมานาน หลังจากรูปแบบเดิมได้สร้างระบบเครือข่ายในวงการพระสงฆ์ขึ้นมา จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาใหญ่ของพระพุทธศาสนาได้
หลังจากนี้ตำแหน่งในมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ และเจ้าคณะภาค จะต้องมีการสรรหากันใหม่ทั้งหมด 20 เก้าอี้ในมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ในส่วนของมหานิกาย 4 ตำแหน่ง คือ หนเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ ส่วนธรรมยุตมีตำแหน่งเดียวดูแลทั้งหมด
เจ้าคณะภาคมหานิกายมีเจ้าคณะภาค 18 ภาค รองเจ้าคณะภาคอีก 1 ตำแหน่งรวมเป็น 36 ตำแหน่ง ฝ่ายธรรมยุต เจ้าคณะภาคและรองเจ้าคณะรวมแล้ว 39 ตำแหน่ง รวมทั้งหมดราว 100 ตำแหน่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับวงการพระสงฆ์ของไทย
รอดได้ทุกครั้งเพราะมหาเถรสมาคม
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาเถรสมาคมนั้น คือ กรณีของวัดพระธรรมกาย ที่ในอดีตเคยมีกรณีของพระธัมมชโยที่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินและที่ดินที่ญาติโยมบริจาคให้เมื่อปี 2541 แต่หลุดคดีมาได้ในปี 2549 ยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
แม้จะมีความพยายามรื้อคดีต้องอาบัติปาราชิกพระธัมมชโยจากเหตุในครั้งนั้น แต่มหาเถรสมาคมมีมติว่าพระธัมมชโยไม่ผิดพระวินัยถึง 2 ครั้ง คือ 20 กุมภาพันธ์ 2558 และ 10 กุมภาพันธ์ 2559
แต่คดีล่าสุดจากคดีทุจริตเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ส่งผลมาถึงพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายที่มีรายชื่อเป็นผู้รับเช็คจากสหกรณ์ จนถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตั้งข้อหาร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร สุดท้ายรัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 ตรวจค้นวัดพระธรรมกายแต่ไม่พบพระธัมมชโย
แม้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เสนอเรื่องให้พระปกครองดำเนินการสึกพระธัมมชโย แต่ก็ทำได้เพียงแค่เปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายรูปใหม่คือ พระครูสังฆรักษ์รังสฤษดิ์ อิทธิจินตโก
เป็นที่ทราบกันดีว่าวัดพระธรรมกายนั้นแนบแน่นกับพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม โดยเฉพาะกับสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ที่เคยกล่าวไว้ว่าวัดปากน้ำกับวัดพระธรรมกายเป็นวัดพี่วัดน้องกัน แถมสมเด็จช่วงฯ เคยเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ดังนั้นปัญหาของวัดพระธรรมกายจึงสามารถฝ่าวิกฤตมาได้ทุกครั้ง
สลายพระคุ้มครอง
พระราชบัญญัติสงฆ์ฉบับใหม่ ส่งผลต่อวัดพระธรรมกายไม่น้อย ทำให้ภูมิคุ้มกันของทางวัดเหลือน้อยลงทุกที อย่าลืมว่าคดีที่วัดพระธรรมกายแคล้วคลาดมาได้ ก็เพราะการแอบอิงกับเสียงข้างมากในมหาเถรสมาคม แต่วันนี้สถานะของพระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จไม่มีในมหาเถรสมาคมอีกต่อไป เจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาคที่กำกับดูแลวัดต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ ต้องรอการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
วัดพระธรรมกาย อยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มีเจ้าคณะตำบล อำเภอและเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีตามลำดับขั้น และอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าคณะภาค 1 โดยมี พระเทพสุธี(สายชล ฐานวุฑฺโฒ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้กำกับดูแล ต้องขึ้นตรงกับสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
เฉพาะคดีเกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น แม้คณะสงฆ์จะมีอำนาจสึกโดยที่เจ้าตัวไม่ต้องมารับทราบ เรื่องถูกดึงออกไปหลายเดือนสุดท้ายก็ไม่มีการสึกพระธัมมชโย
ในมหาเถรสมาคมนั้นสายของสมเด็จช่วงฯ ถือว่ามีเครือข่ายที่ครอบคลุมสายมหานิกายเกือบทั้งหมดและยังมีสายของธรรมยุตที่คล้อยตามอยู่อีกจำนวนไม่น้อย ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ของวัดพระธรรมกายจึงไร้เสียงคัดค้านจากพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม แม้กระทั่งคำสอนเรื่องนิพพานเป็นอัตตาก็ยังไม่ถูกชำระสะสางให้ถูกต้อง
ที่ผ่านมานับได้ว่าวัดพระธรรมกายมีพระผู้ใหญ่ที่มีอำนาจคอยปกป้องคุ้มครองเสมอมา เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว หากพระผู้ใหญ่เหล่านั้นต้องพลาดจากตำแหน่งในมหาเถรสมาคม ย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับวัดพระธรรมกาย นับเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดที่วัดพระธรรมกายกังวล
เพื่อไทยอ่อนยวบ
หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมด้านอื่น พบว่า แรงหนุนในทางการเมืองที่เข้มแข็งอย่างพรรคเพื่อไทย วันนี้สถานการณ์ของพรรคอาจไม่เข้มแข็งพอที่จะกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ทักษิณ ชินวัตรและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ ขณะที่อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวนมากก็ย้ายไปซบพรรคพลังประชารัฐ ที่ชูพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
อีกทั้งในทางการเมืองแล้ว ฝ่ายที่ไม่ใช่พรรคเพื่อไทยต่างจับจ้องไปที่วัดแห่งนี้ว่าเป็นฐานสำคัญ ที่ส่งผลต่อชัยชนะของพรรคเพื่อไทยมาหลายสมัย ยิ่งเมื่ออดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและวัดสระเกศถูกดำเนินคดีด้วยแล้ว แรงหนุนของพรรคเพื่อไทยก็ยิ่งลดลง
เมื่อโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะกลับมาเป็นรัฐบาลมีน้อยลง ความคาดหวังที่พรรคนี้จะมาช่วยเหลือเรื่องคดีเหมือนในปี 2549 หนทางนี้จึงเลือนราง
แม้สายธรรมกายและพระผู้ใหญ่จะมีพรรคแผ่นดินธรรมที่เกิดขึ้นใหม่ มี นายกรณ์ มีดี เป็นหัวหน้าพรรค แต่ประเมินศักยภาพแล้วคงยากที่จะก้าวขึ้นไปมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระดับชาติ
ศิษย์กระเป๋าหนักหายเรียบ
ขณะที่แรงทุนที่ศรัทธาต่อวัดพระธรรมกาย ลูกศิษย์เอกกระเป๋าหนักอย่างนายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และเจ้าพ่อผู้ให้บริการมือถือค่ายดีแทคอย่างนายบุญชัย เบญจรงคกุล ที่เคยบริจาคในหลักร้อยล้าน ต่างก็ถูกดำเนินคดีและถอยออกจากวัดไป
กระทั่งศิษย์บางกลุ่มที่ตั้งแชร์ลูกโซ่อย่าง ยูฟัน สโตร์ โดยนางสาวณมนพรรณ์ ธาราบัณฑิต ก็ถูกจับกุมเมื่อเมษายน 2558 และแชร์อีกวงของศิษย์ธรรมกายอย่าง OD Capital ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมไปเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561 ศิษย์เหล่านี้ก็ยังคงมาทำบุญกับวัดพระธรรมกายเสมอมา
เป็นอันว่าสภาพคล่องของวัดพระธรรมกายยามนี้อาจไม่คล่องตัวนักเหมือนในอดีต หากไม่นับลูกศิษย์ที่ศรัทธาเป็นรายบุคคลแล้ว ก่อนหน้านี้ศิษย์วัดพระธรรมกายอย่างนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นก็ถ่ายโอนเงินในสหกรณ์จำนวนหนึ่งมาทำบุญให้กับวัดพระธรรมกาย และยังดีที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีที่ตั้งในวัดพระธรรมกาย ที่มีโปรแกรมสินเชื่อเพื่อทำบุญ ไม่ได้รับความนิยมนัก
อีกทั้งมีศิษย์จำนวนหนึ่งถอนตัวออกมาจากวัดพระธรรมกาย ทั้งจากเรื่องคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้นและไม่มีพระธัมมชโยเป็นผู้นำของวัดเหมือนก่อน ดังนั้นพลังศรัทธาในการทำบุญจำนวนไม่น้อยได้หายไปจากวัดแห่งนี้
การตลาดระดับโลกถูกยึดคืน
นอกจากนี้จุดขายอีกประการหนึ่งของวัดพระธรรมกาย ที่ลูกศิษย์คนสำคัญอย่างนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ (ปัจจุบันพระพรชัย) เคยเป็นประธานองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) World Fellowship of Buddhist Youth หรือ WFBY ใช้รางวัลผู้นำพุทธโลก เป็นเครื่องมือ แต่กลับมอบรางวัลนี้แก่กลุ่มพระสงฆ์ในประเทศพม่าที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติจนมีความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา รวมไปถึงการใช้เงินที่ขัดกับวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยไม่ได้รับการอนุมัติ จนถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนเมษายน 2559
เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในการขอกลับเข้าไปเป็นสมาชิกยุวพุทธโลก จึงต้องไปตั้งองค์กรใหม่ในนาม World Alliance of Buddhist (WAB) ในต่างประเทศ และมอบรางวัลผู้นำพุทธเหมือนเดิม แต่เป้าหมายทั้งหมดมุ่งมาที่วัดพระธรรมกายเป็นหลัก
องค์การยุวพุทธโลกอยู่ในเมืองไทย ได้การยอมรับจากชาวพุทธทั่วโลก แต่ WAB ของพระพรชัย ไม่ได้รับการรับรองจากองค์กรพุทธในประเทศไทย แม้ทาง WAB ยังเดินหน้าทำกิจกรรมเหมือนเมื่อครั้งที่อยู่ยุวพุทธโลก แต่ระดับความน่าเชื่อถือยังไม่เทียบเท่ากับกิจกรรมขององค์การยุวพุทธโลก
ตอนนี้แม้แต่คนในวัดพระธรรมกายเองก็ประเมินสถานการณ์ออกว่า เส้นทางเดินนับจากนี้ไปอาจไม่ราบรื่นเหมือนก่อน เพราะปัจจัยทุกด้านไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ รวมถึงเจ้าคณะภาค ที่เคยเป็นเกราะกำบังที่สำคัญที่สุดอาจต้องเปลี่ยนไปจากเดิม แถมอำนาจทางการเมืองที่เคยหนุนวัดแห่งนี้อาจไม่ทรงพลังเหมือนเก่า ย่อมส่งผลต่อวัดพระธรรมกายเป็นอย่างยิ่ง