กระเพื่อมหนักหลังสำนักพุทธฯกล่าวโทษพระผู้ใหญ่ 3 รูปเป็นพระชั้นพรหมและกรรมการมหาเถรสมาคม ส่งผลดุลอำนาจในมหาเถรสมาคมฝ่ายที่กุมเสียงข้างมาก คะแนนโหวตอาจเปลี่ยนไป กระเทือนถึงวัดพระธรรมกายที่เสียงที่เคยปกป้องอาจหายไป หากรื้อฟื้นคดีสึกพระธัมมชโยขึ้นมาอาจตกที่นั่งลำบาก แถมชิ่งต่อไปถึงฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยที่เครือข่ายของวัดสายนี้มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่ในพรรค
เงียบหายไปนับตั้งแต่กลับเข้ามารับตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2 สำหรับพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) จนหลายคนปลงแล้วว่า คงทำหน้าที่รับใช้พระผู้ใหญ่เหมือนกับผู้อำนวยการ พศ. ท่านอื่น แต่ช่วงก่อนสงกรานต์ 11 เมษายน 2561 ท่านกลับเข้ายื่นร้องทุกข์ต่อกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ(บก.ปปป.) กล่าวโทษต่อพระชั้นผู้ใหญ่ 5 รูป ในคดีทุจริตเงินทอนวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง 4 คดี ประกอบด้วย
1. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
2. พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม กรรมการ มส.
3. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการ มส. และเจ้าคณะภาค 10
4. พระเมธีสุทธิกร (สังคม ญาณวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ
5. พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ในข้อหากระทำความผิดอาญาคดี ทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม
พร้อมทั้งมีข้อความที่ระบุว่า “การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1-3 นอกจากกระทำผิดทางอาญาแล้ว ยังเข้าข่ายอาบัติปาราชิก ตามพระธรรมวินัย ไม่สมควรครองสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง และดำรงตำแหน่งกรรมการ มส.”
อย่างไรก็ตามการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อ 20 เมษายน 2561 ทั้งผู้อำนวยการสำนักพุทธ และกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 3 รูปที่ถูกกล่าวโทษ ต่างเข้าประชุมร่วมกัน
3 รูปคีย์แมนมหาเถระ
แม้จะยังไม่มีพระชั้นสมเด็จถูกกล่าวโทษ แต่พระชั้นพรหมทั้ง 3 ก็ถือว่าเป็นพระระดับสูงรองจากชั้นสมเด็จ แถมยังเป็นพระปกครองในระดับเจ้าคณะภาคและยังเป็นกรรมการในมหาเถรสมาคม มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายเรื่องของวงการสงฆ์ภายในประเทศไทย
ที่ผ่านมาคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จำนวนหนึ่ง ล้วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองในยุคที่มีการชุมนุมต่อต้านคนในตระกูลชินวัตร และร่วมกันปกป้องและสนับสนุนกิจกรรมของวัดพระธรรมกายในฐานะวัดน้องของวัดปากน้ำ แถมยังเปิดหน้ามาชนพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.สำนักพุทธ ที่เข้าตรวจสอบเรื่องทุจริตเงินทอนวัดในช่วงแรก จนพงศ์พรต้องพ้นจากเก้าอี้ไปรอบหนึ่ง
ทุกวันนี้สายมหานิกายนับได้ว่าเรืองอำนาจที่สุด สามารถคุมเสียงโหวตในสายนี้ได้ทั้งหมด แม้ในมหาเถรสมาคมจะมีกรรมการจากทั้งมหานิกายและธรรมยุตเท่า ๆ กัน แต่เป็นที่รู้กันดีว่าสายธรรมยุตที่แปรพักตร์มาหนุนมหานิกายก็มีไม่น้อย ดังนั้นเรื่องของวัดพระธรรมกายจึงอยู่รอดปลอดภัยมาได้ทุกครั้ง หากต้องพิจารณาผ่านคณะสงฆ์ในมหาเถรสมาคม
หลายคนอาจมองว่าครั้งนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาทั้งสายมหานิกายและธรรมยุต น่าจะไม่เชื่อมโยงไปถึงกรณีของวัดพระธรรมกาย แต่พระชั้นพรหมทั้ง 3 ต่างมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของวัดพระธรรมกายไม่น้อย อาจจะมีพระพรหมสิทธิ หรือเจ้าคุณธงชัย วัดสระเกศ ที่หลังจากเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสก็พยายามวางตัวเป็นกลาง ไม่ออกงานใด ๆ ร่วมกับทางธรรมกาย แต่ด้วยความแน่นแฟ้นกับวัดปากน้ำ วัดผู้พี่ของวัดพระธรรมกาย จึงทำให้แยกออกจากกันไม่ขาด
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า 3 วัดที่ถูกกล่าวโทษเกี่ยวข้องกับธรรมกายแล้วจึงถูกดำเนินคดี เพราะสิ่งที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตรวจสอบเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณของรัฐผิดวัตถุประสงค์ อย่างวัดสัมพันธวงศาราม ไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแต่ก็ได้งบไป ที่เหลือเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์
เสียงโหวตแกว่ง
แม้ก่อนหน้าจะมีการกล่าวโทษพระ 4 รูป หนึ่งในนั้นคือพระราชรัตนมุนี หรือเจ้าคุณบุญเทียม เลขานุการสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดพิชยญาติการาม แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการกล่าวโทษพระชั้นผู้ใหญ่ที่มีระดับสูงที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงกระเพื่อมในครั้งนี้มีผลต่อโครงสร้างของเสียงโหวตในมหาเถรสมาคม หากยึดจากฝ่ายมหานิกาย 10 เสียง ธรรมยุต 10 เสียง ตัดสระเกศ 1 สามพระยา 1 ก็จะเหลือ 8 เสียง เมื่อหักอีก 1 เสียงของวัดญาณวิศกวันออก สายนี้จะเหลือเสียงโหวตเพียง 7 เสียง
ส่วนธรรมยุตหักวัดสัมพันธวงศ์ของเจ้าคุณจำนง 1 และอีก 1 เสียงของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ที่ท่านอาพาธอยู่ สายธรรมยุตจะมี 8 เสียง หากสายนี้ไม่แตกแถว ดุลอำนาจในการลงมติภายในมหาเถรสมาคมจะเปลี่ยนไปจากเดิมทันที
เว้นแต่มีการแต่งตั้งพระรูปใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แน่นอนว่าแต่ละสายก็ต้องหาคนของตัวเองที่ไว้ใจได้เข้ามาทำหน้าที่แทน เพื่อความมั่นใจในการลงมติสำคัญแต่ละครั้ง หากเป็นเช่นนั้นเสียงโหวตจะเป็น 9 ต่อ 9 มหานิกายหักเสียงของสมเด็จประยุทธ์ ธรรมยุตหักเสียงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ที่ท่านอาพาธอยู่
กระทบชิ่งธรรมกาย
เมื่อเสียงโหวตในมหาเถรสมาคมเปลี่ยนไป ย่อมส่งผลต่อไปยังวัดพระธรรมกายอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมการสายมหานิกาย+ธรรมยุตบางรูป อาจไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้เหมือนเดิม เชื่อว่าฝ่ายนั้นก็คงต้องหาทางรับมือในเรื่องนี้เช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะส่งผลต่อกิจกรรมของทางวัดหรือหากมีการรื้อฟื้นเรื่องการสึกพระธัมมชโยขึ้นมาอีกอาจกลายเป็นผลด้านลบต่อทางวัด
คดีของพระธัมมชโยทั้งในอดีต ผ่านวิกฤตมาได้ก็ด้วยมติของมหาเถรสมาคมที่อุ้มไว้ และคดีล่าสุดนั้นก็ดึงเรื่องไว้ไม่มีการสึกพระธัมมชโยแต่อย่างใด ด้วยการกุมเสียงข้างมากในมหาเถรสมาคมอย่างปากน้ำ สระเกศและพิชยญาติฯ ดังนั้นพระในลำดับชั้นรองลงไปอย่างเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด อำเภอและตำบล ย่อมต้องปฏิบัติไปตามแนวทางของพระผู้ใหญ่ ทั้งหมดจึงทำเพียงแค่เปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเพียงพระภายในวัด และยกพระทัตตชีโวเบอร์ 2 ของวัดขึ้นทำหน้าที่ผู้นำ
3 เสียงที่หายไปคือมหานิกาย 2 และธรรมยุต 1 จึงถือว่ามีความสำคัญกับวัดพระธรรมกายมาก
เพื่อไทยกระเทือน
ไม่เพียงแค่นั้น การกล่าวโทษในครั้งนี้ยังกระทบไปถึงฐานเสียงทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ใหญ่ในพรรคก็ไปทำบุญที่วัดสระเกศและวัดพระธรรมกายอยู่หลายคน เป็นที่รู้กันว่าฐานเสียงจำนวนหนึ่งที่เลือกพรรคเพื่อไทยก็มาจากเครือข่ายของวัดเหล่านี้ เห็นได้จากช่วงที่เกิดปัญหากับวัดพระธรรมกาย คนของพรรคเพื่อไทยต่างออกมาปกป้องและแสดงตัวกันอย่างชัดเจน
อย่าลืมว่าฐานลูกศิษย์ของวัดใหญ่แต่ละวัดมีเป็นจำนวนมาก เมื่อนักการเมืองปรากฏตัวว่าเป็นผู้ที่มีศรัทธาต่อวัดเหล่านี้ ย่อมเป็นอีกแรงจูงใจหนึ่งที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียงในตอนเลือกตั้ง อีกทั้งงานบุญของทางวัดที่มีคนมาร่วมนับพัน นับหมื่น หรือถึงหลักแสนนั้น ย่อมง่ายต่อการหาเสียง
หากพระผู้ใหญ่หรือเจ้าอาวาสของวัดที่เคยเป็นฐานเสียงเดิม ถูกกล่าวโทษอย่างนี้ ย่อมส่งผลต่อศรัทธาของผู้คน ซึ่งจะทำให้จำนวนคนที่จะเข้ามาในวัดน้อยลง แน่นอนว่าย่อมไม่เป็นผลดีกับนักการเมืองเหล่านี้
ครั้งนี้ก็เช่นกันเริ่มมีอาการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกล่าวโทษพระผู้ใหญ่ 5 รูป ทั้งจากสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยที่ผันตัวเองไปเป็นพรรคแผ่นดินธรรม โดย ดร.บรรณจบ บรรณรุจิ ประธานสมาพันธ์ฯ ได้ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก
ตามมาด้วยนางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ที่ออกมากล่าวว่า “ตอนนี้เรามีเรื่องการสงฆ์ คุณจะเอาการทหาร คุณจะเอาการเมือง ไปจัดการเรื่องของสงฆ์ไม่ได้”
งานนี้คงมีการเคลื่อนไหวออกมาเรื่อย ๆ ไม่เช่นนั้นดุลอำนาจในมหาเถรสมาคมที่ฝ่ายเสียงข้างมากกุมอำนาจมาอย่างยาวนานอาจต้องสูญเสียไปในคราวนี้ ขณะที่ฝ่ายสำนักพุทธ ยังกุมข้อมูลสำคัญในเรื่องทุจริตเงินงบประมาณอยู่ ไม่มีใครทราบได้ว่าการกล่าวโทษครั้งต่อไปจะมีรายชื่อพระผู้ใหญ่ที่สูงกว่าพระชั้นพรหมติดร่างแหด้วยหรือไม่
เงียบหายไปนับตั้งแต่กลับเข้ามารับตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2 สำหรับพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) จนหลายคนปลงแล้วว่า คงทำหน้าที่รับใช้พระผู้ใหญ่เหมือนกับผู้อำนวยการ พศ. ท่านอื่น แต่ช่วงก่อนสงกรานต์ 11 เมษายน 2561 ท่านกลับเข้ายื่นร้องทุกข์ต่อกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ(บก.ปปป.) กล่าวโทษต่อพระชั้นผู้ใหญ่ 5 รูป ในคดีทุจริตเงินทอนวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง 4 คดี ประกอบด้วย
1. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร
2. พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม กรรมการ มส.
3. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรรมการ มส. และเจ้าคณะภาค 10
4. พระเมธีสุทธิกร (สังคม ญาณวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ
5. พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ในข้อหากระทำความผิดอาญาคดี ทุจริตเงินอุดหนุนการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม
พร้อมทั้งมีข้อความที่ระบุว่า “การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1-3 นอกจากกระทำผิดทางอาญาแล้ว ยังเข้าข่ายอาบัติปาราชิก ตามพระธรรมวินัย ไม่สมควรครองสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง และดำรงตำแหน่งกรรมการ มส.”
อย่างไรก็ตามการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อ 20 เมษายน 2561 ทั้งผู้อำนวยการสำนักพุทธ และกรรมการมหาเถรสมาคมทั้ง 3 รูปที่ถูกกล่าวโทษ ต่างเข้าประชุมร่วมกัน
3 รูปคีย์แมนมหาเถระ
แม้จะยังไม่มีพระชั้นสมเด็จถูกกล่าวโทษ แต่พระชั้นพรหมทั้ง 3 ก็ถือว่าเป็นพระระดับสูงรองจากชั้นสมเด็จ แถมยังเป็นพระปกครองในระดับเจ้าคณะภาคและยังเป็นกรรมการในมหาเถรสมาคม มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายเรื่องของวงการสงฆ์ภายในประเทศไทย
ที่ผ่านมาคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จำนวนหนึ่ง ล้วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองในยุคที่มีการชุมนุมต่อต้านคนในตระกูลชินวัตร และร่วมกันปกป้องและสนับสนุนกิจกรรมของวัดพระธรรมกายในฐานะวัดน้องของวัดปากน้ำ แถมยังเปิดหน้ามาชนพันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.สำนักพุทธ ที่เข้าตรวจสอบเรื่องทุจริตเงินทอนวัดในช่วงแรก จนพงศ์พรต้องพ้นจากเก้าอี้ไปรอบหนึ่ง
ทุกวันนี้สายมหานิกายนับได้ว่าเรืองอำนาจที่สุด สามารถคุมเสียงโหวตในสายนี้ได้ทั้งหมด แม้ในมหาเถรสมาคมจะมีกรรมการจากทั้งมหานิกายและธรรมยุตเท่า ๆ กัน แต่เป็นที่รู้กันดีว่าสายธรรมยุตที่แปรพักตร์มาหนุนมหานิกายก็มีไม่น้อย ดังนั้นเรื่องของวัดพระธรรมกายจึงอยู่รอดปลอดภัยมาได้ทุกครั้ง หากต้องพิจารณาผ่านคณะสงฆ์ในมหาเถรสมาคม
หลายคนอาจมองว่าครั้งนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาทั้งสายมหานิกายและธรรมยุต น่าจะไม่เชื่อมโยงไปถึงกรณีของวัดพระธรรมกาย แต่พระชั้นพรหมทั้ง 3 ต่างมีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของวัดพระธรรมกายไม่น้อย อาจจะมีพระพรหมสิทธิ หรือเจ้าคุณธงชัย วัดสระเกศ ที่หลังจากเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสก็พยายามวางตัวเป็นกลาง ไม่ออกงานใด ๆ ร่วมกับทางธรรมกาย แต่ด้วยความแน่นแฟ้นกับวัดปากน้ำ วัดผู้พี่ของวัดพระธรรมกาย จึงทำให้แยกออกจากกันไม่ขาด
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า 3 วัดที่ถูกกล่าวโทษเกี่ยวข้องกับธรรมกายแล้วจึงถูกดำเนินคดี เพราะสิ่งที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตรวจสอบเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณของรัฐผิดวัตถุประสงค์ อย่างวัดสัมพันธวงศาราม ไม่มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแต่ก็ได้งบไป ที่เหลือเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์
เสียงโหวตแกว่ง
แม้ก่อนหน้าจะมีการกล่าวโทษพระ 4 รูป หนึ่งในนั้นคือพระราชรัตนมุนี หรือเจ้าคุณบุญเทียม เลขานุการสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดพิชยญาติการาม แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการกล่าวโทษพระชั้นผู้ใหญ่ที่มีระดับสูงที่สุด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงกระเพื่อมในครั้งนี้มีผลต่อโครงสร้างของเสียงโหวตในมหาเถรสมาคม หากยึดจากฝ่ายมหานิกาย 10 เสียง ธรรมยุต 10 เสียง ตัดสระเกศ 1 สามพระยา 1 ก็จะเหลือ 8 เสียง เมื่อหักอีก 1 เสียงของวัดญาณวิศกวันออก สายนี้จะเหลือเสียงโหวตเพียง 7 เสียง
ส่วนธรรมยุตหักวัดสัมพันธวงศ์ของเจ้าคุณจำนง 1 และอีก 1 เสียงของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ที่ท่านอาพาธอยู่ สายธรรมยุตจะมี 8 เสียง หากสายนี้ไม่แตกแถว ดุลอำนาจในการลงมติภายในมหาเถรสมาคมจะเปลี่ยนไปจากเดิมทันที
เว้นแต่มีการแต่งตั้งพระรูปใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทน แน่นอนว่าแต่ละสายก็ต้องหาคนของตัวเองที่ไว้ใจได้เข้ามาทำหน้าที่แทน เพื่อความมั่นใจในการลงมติสำคัญแต่ละครั้ง หากเป็นเช่นนั้นเสียงโหวตจะเป็น 9 ต่อ 9 มหานิกายหักเสียงของสมเด็จประยุทธ์ ธรรมยุตหักเสียงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ที่ท่านอาพาธอยู่
กระทบชิ่งธรรมกาย
เมื่อเสียงโหวตในมหาเถรสมาคมเปลี่ยนไป ย่อมส่งผลต่อไปยังวัดพระธรรมกายอยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมการสายมหานิกาย+ธรรมยุตบางรูป อาจไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้เหมือนเดิม เชื่อว่าฝ่ายนั้นก็คงต้องหาทางรับมือในเรื่องนี้เช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะส่งผลต่อกิจกรรมของทางวัดหรือหากมีการรื้อฟื้นเรื่องการสึกพระธัมมชโยขึ้นมาอีกอาจกลายเป็นผลด้านลบต่อทางวัด
คดีของพระธัมมชโยทั้งในอดีต ผ่านวิกฤตมาได้ก็ด้วยมติของมหาเถรสมาคมที่อุ้มไว้ และคดีล่าสุดนั้นก็ดึงเรื่องไว้ไม่มีการสึกพระธัมมชโยแต่อย่างใด ด้วยการกุมเสียงข้างมากในมหาเถรสมาคมอย่างปากน้ำ สระเกศและพิชยญาติฯ ดังนั้นพระในลำดับชั้นรองลงไปอย่างเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด อำเภอและตำบล ย่อมต้องปฏิบัติไปตามแนวทางของพระผู้ใหญ่ ทั้งหมดจึงทำเพียงแค่เปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเพียงพระภายในวัด และยกพระทัตตชีโวเบอร์ 2 ของวัดขึ้นทำหน้าที่ผู้นำ
3 เสียงที่หายไปคือมหานิกาย 2 และธรรมยุต 1 จึงถือว่ามีความสำคัญกับวัดพระธรรมกายมาก
เพื่อไทยกระเทือน
ไม่เพียงแค่นั้น การกล่าวโทษในครั้งนี้ยังกระทบไปถึงฐานเสียงทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ใหญ่ในพรรคก็ไปทำบุญที่วัดสระเกศและวัดพระธรรมกายอยู่หลายคน เป็นที่รู้กันว่าฐานเสียงจำนวนหนึ่งที่เลือกพรรคเพื่อไทยก็มาจากเครือข่ายของวัดเหล่านี้ เห็นได้จากช่วงที่เกิดปัญหากับวัดพระธรรมกาย คนของพรรคเพื่อไทยต่างออกมาปกป้องและแสดงตัวกันอย่างชัดเจน
อย่าลืมว่าฐานลูกศิษย์ของวัดใหญ่แต่ละวัดมีเป็นจำนวนมาก เมื่อนักการเมืองปรากฏตัวว่าเป็นผู้ที่มีศรัทธาต่อวัดเหล่านี้ ย่อมเป็นอีกแรงจูงใจหนึ่งที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียงในตอนเลือกตั้ง อีกทั้งงานบุญของทางวัดที่มีคนมาร่วมนับพัน นับหมื่น หรือถึงหลักแสนนั้น ย่อมง่ายต่อการหาเสียง
หากพระผู้ใหญ่หรือเจ้าอาวาสของวัดที่เคยเป็นฐานเสียงเดิม ถูกกล่าวโทษอย่างนี้ ย่อมส่งผลต่อศรัทธาของผู้คน ซึ่งจะทำให้จำนวนคนที่จะเข้ามาในวัดน้อยลง แน่นอนว่าย่อมไม่เป็นผลดีกับนักการเมืองเหล่านี้
ครั้งนี้ก็เช่นกันเริ่มมีอาการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกล่าวโทษพระผู้ใหญ่ 5 รูป ทั้งจากสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยที่ผันตัวเองไปเป็นพรรคแผ่นดินธรรม โดย ดร.บรรณจบ บรรณรุจิ ประธานสมาพันธ์ฯ ได้ออกมาแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก
ตามมาด้วยนางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ที่ออกมากล่าวว่า “ตอนนี้เรามีเรื่องการสงฆ์ คุณจะเอาการทหาร คุณจะเอาการเมือง ไปจัดการเรื่องของสงฆ์ไม่ได้”
งานนี้คงมีการเคลื่อนไหวออกมาเรื่อย ๆ ไม่เช่นนั้นดุลอำนาจในมหาเถรสมาคมที่ฝ่ายเสียงข้างมากกุมอำนาจมาอย่างยาวนานอาจต้องสูญเสียไปในคราวนี้ ขณะที่ฝ่ายสำนักพุทธ ยังกุมข้อมูลสำคัญในเรื่องทุจริตเงินงบประมาณอยู่ ไม่มีใครทราบได้ว่าการกล่าวโทษครั้งต่อไปจะมีรายชื่อพระผู้ใหญ่ที่สูงกว่าพระชั้นพรหมติดร่างแหด้วยหรือไม่