ธรรมกายเชิญญาติโยมตักบาตรพระ 2 หมื่นรูปที่มัณฑเลย์ สร้างอีเวนต์ข้ามประเทศ หลังเคยจัดธุดงค์ดอกดาวเรืองมาแล้วที่เมืองทวายเมื่อปี 2557 พบความเกื้อกูลระหว่างกันยาวนาน ทอดกฐิน-ผ้าป่า มิได้ขาด สัมพันธ์ลึกกับพระวีระธุ ผู้นำชาวพุทธต่อต้านชาวโรฮิงญาจนกลายเป็นปัญหาผู้อพยพ ที่ออกโรงประท้วงรัฐบาลไทยที่ใช้มาตรา 44 คุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย ปีนี้ธรรมกายเปิดวัดให้ชาวพม่าในไทยทำบุญครั้งใหญ่ 2 รอบ
9 ธันวาคม 2560 สำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย เชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมบุญครั้งใหม่ แต่ครั้งนี้จะเป็นประวัติศาสตร์เมียนมาร์-ไทย นั่นคือ พิธีตักบาตรอาหารแห้งพระภิกษุ 20,000 รูป จัดขึ้นที่เมืองมัณฑเลย์(สนามบินเก่า) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในวันที่ 21 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 06.30 น.
นับเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมทำบุญที่ทางวัดพระธรรมกายจัดขึ้นนอกประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยทางวัดพระธรรมกายก็มีโครงการตักบาตรพระเช่นกัน แต่พระธัมมชโยได้วางเป้าในการตักบาตรพระไว้ 2,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย โดยโครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปี 2559 แลว่างเว้นไปในปี 2560 หลังจากเกิดคดีกับพระธัมมชโย
ที่ผ่านมางานบุญในต่างประเทศของวัดพระธรรมกาย มีขึ้นในหลายกิจกรรมทั้งส่วนของสาขาในต่างประเทศหรืองานกฐิน ผ้าป่ากับวัดต่าง ๆ ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน แต่ที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษกับวัดพระธรรมกายนั่นคือวัดและคณะสงฆ์ในประเทศเมียนมาร์
ชาวพม่าจอง 2 รอบ
เห็นได้จากการที่ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มาทำบุญที่วัดพระธรรมกายจำนวนมากถึง 2 ครั้ง คือเมื่อ 27 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นวันธรรมชัยของทางวัด ทางวัดพระธรรมกายแจ้งว่าได้มีชาวเมียนมาร์ที่มาทำงานในประเทศไทย เดินทางมาร่วมงานบุญที่วัดพระธรรมกายกว่า 10,000 คน ได้ร่วมสวดธรรมจักฯ และถวายผ้าไตร นับว่าเป็นการรวมตัวกันทำความดีของชาวเมียนมาร์ในประเทศไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ครั้งที่ผ่านมาเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560 มีพิธีทอดผ้าป่าของชาวเมียนมาร์กว่า 1 หมื่นคนในประเทศไทย เข้าร่วมพิธีถวายเสื้อคลุม พระมหาธรรมกาย ประธานสงฆ์ในพิธีมีผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและมีพระเอสนะ วัดกานดะ จากย่างกุ้งเข้าร่วมพิธี
หรือแม้กระทั่งงานสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรชาวพม่าก็มาร่วมสวดไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และล่าสุด 10 ธันวาคม 2560 นักเรียน 400 คน ที่โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเยงเง เมืองทวาย ร่วมกันสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรอย่างเคารพและตั้งใจ
ยื่นมือช่วยพม่า
ความผูกพันที่มีกับศาสนาพุทธในเมียนมาร์กับวัดพระธรรมกายนั้นมีมานาน ด้านหนึ่งคือพุทธศาสนาในเมียนมาร์มีความเข้มแข็งโดยเฉพาะบทบาทของพระสงฆ์ อีกทั้งคนเมียนมาร์ส่วนใหญ่ล้วนให้ความสำคัญและศรัทธาต่อพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก นำมาซึ่งการนิยมทำบุญ
เช่นเดียวกับพระสงฆ์จากเมียนมาร์ที่เคยมาเรียนปฏิบัติธรรมในประเทศไทย เช่นที่วัดราชฐานหลวงป่าแดง พระสามแปง ธัมมวโร สมัยที่เคยมาเรียนพระปริยัติธรรมที่เชียงราย มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมอยู่ธุดงค์ มาฆบูชา ที่วัดพระธรรมกาย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ทำให้เกิดความศรัทธา ประทับใจในวัดพระธรรมกายเป็นอย่างมากและได้นำภาพกิจกรรมงานบุญของที่วัดพระธรรมกายไปติดที่เสาภายในพระอุโบสถ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับญาติโยมที่มาวัด ในเรื่องความสะอาด ความเป็นระบบระเบียบ
กิจกรรมบุญระหว่างวัดพระธรรมกายกับพระสงฆ์ในเมียนมาร์มีมาอย่างต่อเนื่อง อย่างในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เหล่าคณะกัลยาณมิตรได้เดินทางไปยังเมืองเชียงตุง เพื่อติดตั้งถวายจานดาวธรรม DMC ให้แก่วัดต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 19 วัด อาทิ วัดหัวข่วง ซึ่งเป็นวัดหลวงที่เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย
จากนั้นวัดแห่งนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยได้สร้างอาคาร โรงเรียนพระปริยัติธรรมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นตึกสูง 3 ชั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ในเชียงตุง
ธรรมกายทุ่มช่วยเหลือนาร์กีส
ยิ่งเมื่อเมียนมาร์ประสบปัญหาภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีสช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2551 มีผู้เสียชีวิตและสูญหายมากกว่าแสนคน นอกเหนือจากความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับสูงของไทยแล้ว ทางวัดพระธรรมกายนับว่าเป็นโต้โผใหญ่ในการระดมความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยหลายครั้ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกายในขณะนั้น มอบหมายให้พระสมุห์อำนวยศักดิ์ มุนิสกฺโก เป็นผู้แทนในการมอบถุงยังชีพและสิ่งของบรรเทาทุกข์แก่ตัวแทนของรัฐบาลเมียนมาร์
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.วีระวุธ ลวะเปารยะ ประธานไวยาวัจกร วัดพระธรรมกาย เป็นตัวแทนวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายนำถุงยังชีพที่บรรจุเครื่อง อุปโภคบริโภคชุดแรกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวพม่า โดยเครื่องบินซี 130 ของกองทัพอากาศ ที่สนามบินมิงกะลาดง เมืองย่างกุ้ง
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จึงได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.วีระวุธ ลวะเปารยะ ประธานไวยาวัจกร วัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยคณะกัลยาณมิตร เครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ไปให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ประสบภัย ที่วัดจระเข้ จังหวัดเมียวดี สหภาพเมียนมาร์ โดยได้ลำเลียงสิ่งของบรรทุกใส่รถ 10 ล้อ และ 6 ล้อรวมน้ำหนักสิ่งของจำนวนถึงกว่า 13 ตัน
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 คณะจากมูลนิธิธรรมกาย พร้อมด้วยคณะจากมูลนิธิ Life Education ของพระธรรมาจารย์ ไห่เทา ประเทศไต้หวัน เจ้าของสถานีโทรทัศน์ Life TV ที่ได้รับการแจ้งข่าวบุญให้ความช่วยเหลือชาวพม่าจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้รีบนำถุงยังชีพจากประเทศไต้หวันน้ำหนักประมาณ 3 ตันขนส่งมาทางอากาศ และทางคณะจากมูลนิธิธรรมกายได้มอบปัจจัยจำนวน 1 แสนจั๊ต เพื่อซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายรอบองค์พระมหาเจดีย์ด้วย และยังมอบปัจจัยจำนวน 1 ล้านจั๊ต เพื่อสมทบทุนซ่อมแซมหลังคาศาสนสถานภายในมหาวิทยาลัยแห่งชาติอีกด้วย
จัดธุดงค์ดาวเรืองให้พระพม่า
ไม่เพียงการเดินธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายอันลือลั่นเท่านั้น ในประเทศเมียนมาร์ก็มีการจัดเดินธุดงค์โปรยดอกดาวเรืองเช่นกัน โดยวัดพระธรรมกายร่วมมือกับวัดที่พม่าจัดงานตักบาตรเดินธุดงค์ดาวเรืองจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ณ ทวาย พม่า เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2557
14 พฤศจิกายน 2559 มีพิธีทอดกฐินธรรมชัย เชียงตุง ถวายโดย พระเทพญาณมหามุนี วัดพระธรรมกาย และศิษยานุศิษย์ ณ วัดสามัคคีสวนดอก เอิ่งกาดเต่า นครเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ระดับความสัมพันธ์กับพระสงฆ์ในเมียนมาร์ของวัดพระธรรมกายยังเชื่อมโยงไปถึงพระดังที่มีบทบาทสูงอย่างพระวีระธุ ผู้นำพระสงฆ์และชาวพุทธในเมียนมาร์ที่ตั้งกลุ่มต่อต้านชาวโรฮิงญา และชาวมุสลิมในเมียนมาร์ จนเกิดเหตุจลาจลระหว่างชุมชน ที่รัฐอาระกันและได้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นในเมียนมาร์และเกิดการอพยพของชาวมุสลิมในพม่าจำนวนมากข้ามไปยังประเทศอื่น พระรูปนี้แม้กระทั่งผู้นำประเทศตัวจริงอย่างนางอองซาน ซูจี ยังไม่สามารถเข้ามายุติปัญหานี้ได้ จนหลายชาติที่เคยมอบรางวัลแด่เธอมีการเพิกถอนรางวัลดังกล่าว
พระวีระธุป้องธรรมกายสุดตัว
ที่ฮือฮากันมากนั่นคือการปรากฏตัวของพระวีระธุที่วัดพระธรรมกาย พร้อมกระแสข่าวว่าพระรูปนี้ได้รับรางวัลผู้นำพุทธศาสนิกชนดีเด่น โดยทางวัดพระธรรมกายออกมาปฏิเสธว่าทางวัดไม่มีการมอบรางวัลดังกล่าว
แต่หน่วยงานที่เป็นผู้มอบรางวัลคือ องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(ยพสล.) ที่มีนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ ศิษย์เอกคนหนึ่งของวัดพระธรรมกายนั่งเป็นประธานในองค์กรแห่งนี้ พร้อมชี้แจงว่า องค์กรผู้นำพุทธโลก ไม่ได้มอบรางวัลให้พระวีระธุ แต่มอบให้องค์กรสันติภาพมะบะธะแห่งสหภาพเมียนมาร์ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพระวีระธุเป็นที่ปรึกษาขององค์กรมะบะธะและเดินทางเข้ามาในฐานะผู้ติดตาม
ในช่วงที่เกิดวิกฤตขึ้นกับวัดพระธรรมกาย คณะสงฆ์มะบะธะได้ยื่นหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชของไทยผ่านทางสถานทูตไทยที่กรุงย่างกุ้งมาก่อน เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการให้พระธัมมชโยปาราชิก ตามมาด้วยพระสงฆ์ของพม่าได้ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลไทยเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ที่เมืองมัณฑะเลย์ และเรียกร้องให้ตำรวจ ทหารถอนกำลังออกจากวัดพระธรรมกาย
รุ่งขึ้น 24 กุมภาพันธ์ 2560 พระสงฆ์และฆราวาสในนามกลุ่มชาตินิยมพุทธ(มะบะธะ) ได้เดินทางไปที่สถานทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง เรียกร้องให้รัฐบาลอย่าใช้ความรุนแรงและให้ยกเลิกมาตรา 44 กับวัดพระธรรมกายโดยไม่มีเงื่อนไข
เครือข่ายปกป้อง-ปูฐานต่อ
การออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายจากพระสงฆ์ในเมียนมาร์ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างกัน ที่พร้อมช่วยเหลือกันเมื่อยามมีภัย อีกทั้งพระวีระธุถือว่าเป็นนักเคลื่อนไหวในสายตาของสื่อทั่วโลก การเคลื่อนไหวใด ๆ ย่อมมีผลในสายตาของนานาชาติ เพียงแต่รัฐบาลไทยชุดนี้แตกต่างจากรัฐบาลชุดก่อน การเรียกร้องจึงไม่ได้ผลมากนัก
ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือในช่วงเวลานั้น บังเอิญว่าอดีตผู้นำของไทยอย่างนายทักษิณ ชินวัตร มาทำบุญที่เจดีย์ชเวดากอง เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 จะมีบางถ้อยคำที่แสดงความเป็นห่วงเรื่องศาสนาพุทธ หลังจากนั้นไม่กี่วันพระสงฆ์ในพม่าก็เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องวัดพระธรรมกาย
รวมไปถึงองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(ยพสล.) ที่มีนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ เป็นประธาน ได้เคลื่อนไหวที่ประเทศเกาหลีใต้เพื่อกดดันรัฐบาลไทย จนมีการตรวจสอบจากกระทรวงการต่างประเทศว่าการประชุมในครั้งนั้นไม่ได้มีมติกดดันประเทศไทย จากนั้นจึงมีการเปิดเผยออกมาว่านายแพทย์พรชัยและกรรมการทั้งคณะ ถูกปลดออกจากองค์การยุวพุทธโลก
แม้สถานการณ์ในวัดพระธรรมกายจะผ่านพ้นไป โดยไร้ตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี แต่กิจกรรมบุญของทางวัดกับคณะสงฆ์ในเมียนมาร์ ยังคงได้รับการสานต่อคณะสงฆ์และกัลยาณมิตรวัดพระธรรมกาย ร่วมพิธีฉลองสมณศักดิ์ พระครูบาสาม โซติกะและหยาดน้ำฉลองกุฏิ 4 ชั้น ณ วัดราชฐานหลวงหัวข่วง รัฐเชียงตุง ประเทศพม่า 19-20 พฤศจิกายน 2560
รวมถึงงานที่จะถึงคือพิธีตักบาตรอาหารแห้งพระภิกษุ 20,000 รูป ที่เมืองมัณฑเลย์ ในวันที่ 21 มกราคม 2561 นับเป็นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างวัดพระธรรมกายกับพระสงฆ์ในประเทศเมียนมาร์ ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
9 ธันวาคม 2560 สำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกาย เชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมบุญครั้งใหม่ แต่ครั้งนี้จะเป็นประวัติศาสตร์เมียนมาร์-ไทย นั่นคือ พิธีตักบาตรอาหารแห้งพระภิกษุ 20,000 รูป จัดขึ้นที่เมืองมัณฑเลย์(สนามบินเก่า) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในวันที่ 21 มกราคม 2561 ตั้งแต่เวลา 06.30 น.
นับเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมทำบุญที่ทางวัดพระธรรมกายจัดขึ้นนอกประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยทางวัดพระธรรมกายก็มีโครงการตักบาตรพระเช่นกัน แต่พระธัมมชโยได้วางเป้าในการตักบาตรพระไว้ 2,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย โดยโครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปี 2559 แลว่างเว้นไปในปี 2560 หลังจากเกิดคดีกับพระธัมมชโย
ที่ผ่านมางานบุญในต่างประเทศของวัดพระธรรมกาย มีขึ้นในหลายกิจกรรมทั้งส่วนของสาขาในต่างประเทศหรืองานกฐิน ผ้าป่ากับวัดต่าง ๆ ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน แต่ที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นพิเศษกับวัดพระธรรมกายนั่นคือวัดและคณะสงฆ์ในประเทศเมียนมาร์
ชาวพม่าจอง 2 รอบ
เห็นได้จากการที่ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มาทำบุญที่วัดพระธรรมกายจำนวนมากถึง 2 ครั้ง คือเมื่อ 27 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นวันธรรมชัยของทางวัด ทางวัดพระธรรมกายแจ้งว่าได้มีชาวเมียนมาร์ที่มาทำงานในประเทศไทย เดินทางมาร่วมงานบุญที่วัดพระธรรมกายกว่า 10,000 คน ได้ร่วมสวดธรรมจักฯ และถวายผ้าไตร นับว่าเป็นการรวมตัวกันทำความดีของชาวเมียนมาร์ในประเทศไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ครั้งที่ผ่านมาเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2560 มีพิธีทอดผ้าป่าของชาวเมียนมาร์กว่า 1 หมื่นคนในประเทศไทย เข้าร่วมพิธีถวายเสื้อคลุม พระมหาธรรมกาย ประธานสงฆ์ในพิธีมีผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและมีพระเอสนะ วัดกานดะ จากย่างกุ้งเข้าร่วมพิธี
หรือแม้กระทั่งงานสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรชาวพม่าก็มาร่วมสวดไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และล่าสุด 10 ธันวาคม 2560 นักเรียน 400 คน ที่โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเยงเง เมืองทวาย ร่วมกันสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรอย่างเคารพและตั้งใจ
ยื่นมือช่วยพม่า
ความผูกพันที่มีกับศาสนาพุทธในเมียนมาร์กับวัดพระธรรมกายนั้นมีมานาน ด้านหนึ่งคือพุทธศาสนาในเมียนมาร์มีความเข้มแข็งโดยเฉพาะบทบาทของพระสงฆ์ อีกทั้งคนเมียนมาร์ส่วนใหญ่ล้วนให้ความสำคัญและศรัทธาต่อพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก นำมาซึ่งการนิยมทำบุญ
เช่นเดียวกับพระสงฆ์จากเมียนมาร์ที่เคยมาเรียนปฏิบัติธรรมในประเทศไทย เช่นที่วัดราชฐานหลวงป่าแดง พระสามแปง ธัมมวโร สมัยที่เคยมาเรียนพระปริยัติธรรมที่เชียงราย มีโอกาสมาร่วมกิจกรรมอยู่ธุดงค์ มาฆบูชา ที่วัดพระธรรมกาย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ทำให้เกิดความศรัทธา ประทับใจในวัดพระธรรมกายเป็นอย่างมากและได้นำภาพกิจกรรมงานบุญของที่วัดพระธรรมกายไปติดที่เสาภายในพระอุโบสถ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับญาติโยมที่มาวัด ในเรื่องความสะอาด ความเป็นระบบระเบียบ
กิจกรรมบุญระหว่างวัดพระธรรมกายกับพระสงฆ์ในเมียนมาร์มีมาอย่างต่อเนื่อง อย่างในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เหล่าคณะกัลยาณมิตรได้เดินทางไปยังเมืองเชียงตุง เพื่อติดตั้งถวายจานดาวธรรม DMC ให้แก่วัดต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 19 วัด อาทิ วัดหัวข่วง ซึ่งเป็นวัดหลวงที่เจ้าฟ้าขุนศึกเม็งราย
จากนั้นวัดแห่งนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยได้สร้างอาคาร โรงเรียนพระปริยัติธรรมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นตึกสูง 3 ชั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร ในเชียงตุง
ธรรมกายทุ่มช่วยเหลือนาร์กีส
ยิ่งเมื่อเมียนมาร์ประสบปัญหาภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีสช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2551 มีผู้เสียชีวิตและสูญหายมากกว่าแสนคน นอกเหนือจากความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับสูงของไทยแล้ว ทางวัดพระธรรมกายนับว่าเป็นโต้โผใหญ่ในการระดมความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยหลายครั้ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกายในขณะนั้น มอบหมายให้พระสมุห์อำนวยศักดิ์ มุนิสกฺโก เป็นผู้แทนในการมอบถุงยังชีพและสิ่งของบรรเทาทุกข์แก่ตัวแทนของรัฐบาลเมียนมาร์
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.วีระวุธ ลวะเปารยะ ประธานไวยาวัจกร วัดพระธรรมกาย เป็นตัวแทนวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายนำถุงยังชีพที่บรรจุเครื่อง อุปโภคบริโภคชุดแรกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยชาวพม่า โดยเครื่องบินซี 130 ของกองทัพอากาศ ที่สนามบินมิงกะลาดง เมืองย่างกุ้ง
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ จึงได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.วีระวุธ ลวะเปารยะ ประธานไวยาวัจกร วัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยคณะกัลยาณมิตร เครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ไปให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ประสบภัย ที่วัดจระเข้ จังหวัดเมียวดี สหภาพเมียนมาร์ โดยได้ลำเลียงสิ่งของบรรทุกใส่รถ 10 ล้อ และ 6 ล้อรวมน้ำหนักสิ่งของจำนวนถึงกว่า 13 ตัน
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 คณะจากมูลนิธิธรรมกาย พร้อมด้วยคณะจากมูลนิธิ Life Education ของพระธรรมาจารย์ ไห่เทา ประเทศไต้หวัน เจ้าของสถานีโทรทัศน์ Life TV ที่ได้รับการแจ้งข่าวบุญให้ความช่วยเหลือชาวพม่าจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้รีบนำถุงยังชีพจากประเทศไต้หวันน้ำหนักประมาณ 3 ตันขนส่งมาทางอากาศ และทางคณะจากมูลนิธิธรรมกายได้มอบปัจจัยจำนวน 1 แสนจั๊ต เพื่อซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายรอบองค์พระมหาเจดีย์ด้วย และยังมอบปัจจัยจำนวน 1 ล้านจั๊ต เพื่อสมทบทุนซ่อมแซมหลังคาศาสนสถานภายในมหาวิทยาลัยแห่งชาติอีกด้วย
จัดธุดงค์ดาวเรืองให้พระพม่า
ไม่เพียงการเดินธุดงค์ธรรมชัยของวัดพระธรรมกายอันลือลั่นเท่านั้น ในประเทศเมียนมาร์ก็มีการจัดเดินธุดงค์โปรยดอกดาวเรืองเช่นกัน โดยวัดพระธรรมกายร่วมมือกับวัดที่พม่าจัดงานตักบาตรเดินธุดงค์ดาวเรืองจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ณ ทวาย พม่า เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2557
14 พฤศจิกายน 2559 มีพิธีทอดกฐินธรรมชัย เชียงตุง ถวายโดย พระเทพญาณมหามุนี วัดพระธรรมกาย และศิษยานุศิษย์ ณ วัดสามัคคีสวนดอก เอิ่งกาดเต่า นครเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
ระดับความสัมพันธ์กับพระสงฆ์ในเมียนมาร์ของวัดพระธรรมกายยังเชื่อมโยงไปถึงพระดังที่มีบทบาทสูงอย่างพระวีระธุ ผู้นำพระสงฆ์และชาวพุทธในเมียนมาร์ที่ตั้งกลุ่มต่อต้านชาวโรฮิงญา และชาวมุสลิมในเมียนมาร์ จนเกิดเหตุจลาจลระหว่างชุมชน ที่รัฐอาระกันและได้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นในเมียนมาร์และเกิดการอพยพของชาวมุสลิมในพม่าจำนวนมากข้ามไปยังประเทศอื่น พระรูปนี้แม้กระทั่งผู้นำประเทศตัวจริงอย่างนางอองซาน ซูจี ยังไม่สามารถเข้ามายุติปัญหานี้ได้ จนหลายชาติที่เคยมอบรางวัลแด่เธอมีการเพิกถอนรางวัลดังกล่าว
พระวีระธุป้องธรรมกายสุดตัว
ที่ฮือฮากันมากนั่นคือการปรากฏตัวของพระวีระธุที่วัดพระธรรมกาย พร้อมกระแสข่าวว่าพระรูปนี้ได้รับรางวัลผู้นำพุทธศาสนิกชนดีเด่น โดยทางวัดพระธรรมกายออกมาปฏิเสธว่าทางวัดไม่มีการมอบรางวัลดังกล่าว
แต่หน่วยงานที่เป็นผู้มอบรางวัลคือ องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(ยพสล.) ที่มีนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ ศิษย์เอกคนหนึ่งของวัดพระธรรมกายนั่งเป็นประธานในองค์กรแห่งนี้ พร้อมชี้แจงว่า องค์กรผู้นำพุทธโลก ไม่ได้มอบรางวัลให้พระวีระธุ แต่มอบให้องค์กรสันติภาพมะบะธะแห่งสหภาพเมียนมาร์ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพระวีระธุเป็นที่ปรึกษาขององค์กรมะบะธะและเดินทางเข้ามาในฐานะผู้ติดตาม
ในช่วงที่เกิดวิกฤตขึ้นกับวัดพระธรรมกาย คณะสงฆ์มะบะธะได้ยื่นหนังสือกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชของไทยผ่านทางสถานทูตไทยที่กรุงย่างกุ้งมาก่อน เพื่อขอให้ยุติการดำเนินการให้พระธัมมชโยปาราชิก ตามมาด้วยพระสงฆ์ของพม่าได้ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลไทยเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ที่เมืองมัณฑะเลย์ และเรียกร้องให้ตำรวจ ทหารถอนกำลังออกจากวัดพระธรรมกาย
รุ่งขึ้น 24 กุมภาพันธ์ 2560 พระสงฆ์และฆราวาสในนามกลุ่มชาตินิยมพุทธ(มะบะธะ) ได้เดินทางไปที่สถานทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง เรียกร้องให้รัฐบาลอย่าใช้ความรุนแรงและให้ยกเลิกมาตรา 44 กับวัดพระธรรมกายโดยไม่มีเงื่อนไข
เครือข่ายปกป้อง-ปูฐานต่อ
การออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายจากพระสงฆ์ในเมียนมาร์ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างกัน ที่พร้อมช่วยเหลือกันเมื่อยามมีภัย อีกทั้งพระวีระธุถือว่าเป็นนักเคลื่อนไหวในสายตาของสื่อทั่วโลก การเคลื่อนไหวใด ๆ ย่อมมีผลในสายตาของนานาชาติ เพียงแต่รัฐบาลไทยชุดนี้แตกต่างจากรัฐบาลชุดก่อน การเรียกร้องจึงไม่ได้ผลมากนัก
ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือในช่วงเวลานั้น บังเอิญว่าอดีตผู้นำของไทยอย่างนายทักษิณ ชินวัตร มาทำบุญที่เจดีย์ชเวดากอง เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 จะมีบางถ้อยคำที่แสดงความเป็นห่วงเรื่องศาสนาพุทธ หลังจากนั้นไม่กี่วันพระสงฆ์ในพม่าก็เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องวัดพระธรรมกาย
รวมไปถึงองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(ยพสล.) ที่มีนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ เป็นประธาน ได้เคลื่อนไหวที่ประเทศเกาหลีใต้เพื่อกดดันรัฐบาลไทย จนมีการตรวจสอบจากกระทรวงการต่างประเทศว่าการประชุมในครั้งนั้นไม่ได้มีมติกดดันประเทศไทย จากนั้นจึงมีการเปิดเผยออกมาว่านายแพทย์พรชัยและกรรมการทั้งคณะ ถูกปลดออกจากองค์การยุวพุทธโลก
แม้สถานการณ์ในวัดพระธรรมกายจะผ่านพ้นไป โดยไร้ตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดี แต่กิจกรรมบุญของทางวัดกับคณะสงฆ์ในเมียนมาร์ ยังคงได้รับการสานต่อคณะสงฆ์และกัลยาณมิตรวัดพระธรรมกาย ร่วมพิธีฉลองสมณศักดิ์ พระครูบาสาม โซติกะและหยาดน้ำฉลองกุฏิ 4 ชั้น ณ วัดราชฐานหลวงหัวข่วง รัฐเชียงตุง ประเทศพม่า 19-20 พฤศจิกายน 2560
รวมถึงงานที่จะถึงคือพิธีตักบาตรอาหารแห้งพระภิกษุ 20,000 รูป ที่เมืองมัณฑเลย์ ในวันที่ 21 มกราคม 2561 นับเป็นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างวัดพระธรรมกายกับพระสงฆ์ในประเทศเมียนมาร์ ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน