‘ป้าเช็ง น้ำหมัก’ กลับมาเป็นหัวแรงหลักเตรียมพื้นที่ 300 ไร่ย่านคลองหลวงปลูกต้นเบญจทรัพย์ 6 ล้านต้นของวัดพระธรรมกาย เตรียมโปรยบนเส้นทางธุดงค์ ลงทุนขับแทรกเตอร์ปรับพื้นที่เอง ปลื้มใจด้วยขอทำงานถวายหลวงพ่อ หลังจากที่เคยปฏิเสธว่าไม่ได้ให้พระเข้ามาก่อม็อบในพื้นที่ตลาดกลางคลองหลวง เมื่อครั้งวัดพระธรรมกายถูกควบคุมพื้นที่ตามมาตรา 44
แม้จะผ่านพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์(เบญจมาศ) ของวัดพระธรรมกายจำนวน 1 หมื่นต้นไปเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560 ที่บริเวณทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย ทำให้ได้ยอดเงินเข้ากองทุนเบญจทรัพย์สำหรับใช้จ่ายในการเดินธุดงค์ของทางวัด 100 ล้านบาท แต่ทางวัดพระธรรมกายยังคงเชิญชวนให้สาธุชนของวัดมาร่วมกันปลูกให้ครบ 6 ล้านต้น เพื่อใช้โปรยบนเส้นทางธุดงค์ไปยังอนุสถานพระผู้ปราบมาร ในวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ครั้งนี้ย้ำว่าปลูกฟรี
เฟซบุ๊ก ลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ได้แชร์วิดีโอจากเฟซบุ๊กของ Dhammakaya of America TV เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.37 น. ก่อนที่ในวันดังกล่าวนั้นทางวัดพระธรรมกายมีพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์ ณ ทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย เวลา 16.30 น.
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการกระตุ้นให้ผู้ที่ศรัทธาวัดพระธรรมกายเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ก่อนพิธีการจริงจะเริ่ม
เนรมิตทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย
เนื้อหาในช่วงท้ายเป็นการกล่าวถึงการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกต้นเบญจทรัพย์ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้จัดทำไว้ 1 หมื่นชุด บูชาชุดละ 1 m (1 หมื่นบาท) ที่มาของพื้นที่ดังกล่าวนั้นตั้งชื่อว่า ทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560 บริเวณตำบลคลอง 4 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่ 300 ไร่ ในวิดีโอระบุว่าใช้เวลาในการปรับพื้นที่เพียง 1 วันเท่านั้น แบ่งเป็น 6 แปลง แปลงละ 50 ไร่ มีทีมรถแบ็กโฮ-รถไถกว่า 40 คันเข้ามาร่วมกันปรับพื้นที่
ในส่วนของพระภิกษุมีพระครูวินัยธรวิเชียร วชิรนาโท และพระเจษฎา มหิทธิโก เป็นผู้รับผิดชอบปลูกต้นเบญจทรัพย์ 300 ไร่ ส่วนของฆราวาสมีนายนิกร ธรรมเจริญ เป็นผู้รับผิดชอบหารถแบ็กโฮมา 25 คันและมีนางศรวรรณ ศิริสุนทรินทร์ หรือที่รู้จักกันดีในนามป้าเช็ง เข้าร่วมปรับพื้นที่เตรียมการปลูกต้นเบญจทรัพย์
ป้าเช็งหัวแรงใหญ่
ป้าเช็งกล่าวว่า “อยากจะเห็นผืนนาแผงนี้เป็นผืนนาที่ปลูกต้นไม้ หรือต่อจากต้นไม้ ดอกไม้ ดอกเบญจทรัพย์ ดอกเบญจมาศ ซึ่งจะเก็บไว้โปรยในวันที่พระเดินธุดงค์ให้ท่านสบายเท้า ทุกคนที่ได้โปรยจะได้อยู่เย็นเป็นสุข แล้วหลวงพ่อก็ปรารถนาอยากจะเห็นผืนนาแปลงนี้ให้เป็นเกษตรปลอดสาร ไร้สาร สำหรับปลูกผัก ปลูกอะไร ตรงกับใจป้าเช็ง เริ่มด้วยปลูกเบญจทรัพย์ก่อน”
นอกจากนี้ป้าเช็งถึงขนาดขับรถแทรกเตอร์เองเพื่อปรับพื้นที่ “กว่า 30 ปีแล้วไม่ได้ขับแทรกเตอร์ ก็ลองดู ถอยหลังอยู่ไหน เดินหน้าอยู่ไหน เลี้ยวขวา-ซ้ายอยู่ไหน ตัวเดินอยู่ไหน คันยกคันเร่งอยู่ไหน กว่าจะสอนได้ พอรู้ว่ามันเดินตัวไหน ก็ไล่คนขับลงไปเลย ขับเอง แต่ถ้าขับสักชั่วโมง สองชั่วโมง ไอ้กองโต ๆ นี่ ป้าเช็งจะปราบให้เกลี้ยงเลย รับรองฝีมือ ป้าเข็งขับแทรกเตอร์มีฝีมือนะ ไม่แพ้คนขับรถแทรกเตอร์ทั้งหลาย มีอันดับพอสมควร แต่นี่ก็ลอง ไม่คิดว่าแก่หรอก มีแรงก็ทำได้ วันนี้ 80 แล้ว ป้าเช็งดีใจมากที่ได้พลิกผืนนาแปลงนี้ 300 ไร่ ให้เป็นเกษตร เกษตรปลอดสาร ป้าเช็งด้วยความยินดีและก็ขอทำงานถวายหลวงพ่อและขอถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในผืนแผ่นดินนี้”
ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่าพื้นที่ของทุ่งสวรรค์ตะวันฉายที่ใช้ในการปลูกต้นเบญจทรัพย์ 300 ไร่เป็นของป้าเช็ง ที่ยังศรัทธาในวัดพระธรรมกายอย่างต่อเนื่อง
ซุปเปอร์เช็ง-ตลาดกลางคลองหลวง
ที่ผ่านมานั้นนางศรวรรณ ศิริสุนทรินทร์ หรือป้าเช็ง โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศจากน้ำหมักที่รักษาโรคได้สารพัด และยังเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ซุปเปอร์เช็ง และมีการนำเอารายการธรรมมะและกิจกรรมของวัดพระธรรมกายมาออกอากาศบนสถานีโทรทัศน์ของตัวเองเสมอ แต่สุดท้ายน้ำหมักป้าเช็งก็ทำพิษ หลังจากถูกร้องเรียน ป้าเช็งถูกจับกุมในปลายเดือนมกราคม 2553 และพ้นโทษออกมาในปี 2558
ในปี 2560 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดของวัดพระธรรมกายที่พระธัมมชโย เจ้าอาวาสในขณะนั้นถูกออกหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร จากการรับเช็คบริจาคหลายฉบับจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ที่มีการทุจริตกันภายใน จนฝ่ายรัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกายตั้งแต่คืนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 แต่ไม่พบตัวพระธัมมชโย จนต้องยกเลิกปฏิบัติการตรวจค้นเมื่อ 10 มีนาคมและยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเมื่อ 11 เมษายน 2560
แต่ในระหว่างที่มีการควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย บรรดาลูกศิษย์และพระสงฆ์ในเครือข่ายที่ไม่สามารถเข้าไปสมทบกับบรรดาญาติธรรมภายในวัดได้ จึงไปรวมตัวกันที่ตลาดกลางคลองหลวง ห่างจากวัดพระธรรมกายราว 1 กิโลเมตร จนกลายเป็นพื้นที่ชุมนุม
เนื่องด้วยปริมาณคนที่มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งเข้าไปในตลาดของป้าเช็ง จนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายเรียกให้มาชี้แจง โดยป้าเช็งเข้ามารายงานตัวและยืนยันว่า ไม่ได้ให้พระเข้ามาก่อม็อบในพื้นที่ เพียงแต่ศิษย์ธรรมกายได้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอเช่าตลาด เพื่อทำบุญข้าวพระในวันที่ 5 มีนาคม 2560 ตนเองเป็นลูกศิษย์ทุกศาสนาจึงอนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยไม่ได้เก็บค่าเช่าเพื่อร่วมทำบุญด้วย และทราบว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นของวัดพระธรรมกาย
เป็นอันว่าปฏิบัติการของวัดพระธรรมกายเป็นฝ่ายมีชัยเหนือรัฐบาล คือ ทางการไม่สามารถจับกุมตัวพระธัมมชโยได้ จนในที่สุดต้องยกเลิกมาตรา 44
ในขณะนั้นแม้ป้าเช็งจะถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการชุมชุมของเครือข่ายวัดพระธรรมกายในพื้นที่ของตัวเอง แต่คำปฏิเสธดังกล่าวก็ไม่สามารถจะดำเนินการใด ๆ กับผู้ให้การสนับสนุนได้ และการแสดงตัวที่ชัดเจนของป้าเช็งในวันนี้ เรื่องพื้นที่ทุ่งสวรรค์ตะวันฉายก็ชัดเจนว่าป้าเช็งยังศรัทธาในวัดพระธรรมกายไม่เสื่อมคลาย
รุกต่อเนื่องกิจกรรมบุญ
ในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ ทางวัดพระธรรมกายจะมีการทำบุญใหญ่ 5 รายการ ช่วงเช้าพิธีบูชาข้าวพระ ซึ่งเป็นบุญใหญ่ของวัดที่ทำในวันอาทิตย์แรกของทุกต้นเดือน ช่วงบ่ายพิธีทอดผ้าป่ากองทุนต้นสมบัติจักรพรรดิ เพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลกถวายแด่เจ้าอาวาสและหัวหน้าศูนย์ 206 ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก ช่วงเย็นพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์ ณ ลานธรรม พระมหาธรรมกายเจดีย์ ช่วงค่ำพิธีจุดแสงทิพย์ รวีสวรรค์ และโคมประทีปบนพระมหาธรรมกายเจดีย์ 20,000 ดวงและพิธีเวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์
นอกจากนี้ยังมีพิธีถวายกองบุญอุปกรณ์เครื่องกันหนาวแด่พระภิกษุ สามเณร วัดพระธรรมกาย ในวันที่ 9 ธันวาคม 2560 และงานใหญ่อีกงานคือการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 277,777,777 จบ เพื่อบูชาธรรม เนื่องในวาระ 77 ปีหลวงพ่อทัตตชีโว และจัดโครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรม 77 ปีหลวงพ่อทัตตชีโว ระหว่าง 21 พฤศจิกายน-22 ธันวาคม 2560
ใครที่สวดธัมมจักฯครบ 777 จบ ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560-1 มกราคม 2561 รวม 44 วัน จะได้รับเหรียญล็อกเกตหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) ด้านหลังพิมพ์ภาพพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว พร้อมลายเซ็นคุณครูไม่เล็ก(พระทัตตชีโว)
นับเป็นกิจกรรมฟื้นวัดพระธรรมกายให้กลับมาสู่สภาพเดิม แม้จะไม่มีพระธัมมชโยที่เคยเป็นศูนย์รวมศรัทธา แต่ทางวัดก็ได้พระทัตตชีโวขึ้นมาทำหน้าที่แทน ขณะที่พระครูสังฆรักษ์รังสฤกษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก กลับไม่มีบทบาทในวัดมากนัก โดยที่เป้าหมายหลักของวัดพระธรรมกายยังคงมุ่งไปที่การเตรียมกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัยเส้นทางผู้ปราบมารในเดือนมีนาคม 2561 ส่วนจะสามารถจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ได้หรือไม่คงต้องวัดใจกับหน่วยงานของรัฐว่าจะอนุญาตหรือไม่
แม้จะผ่านพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์(เบญจมาศ) ของวัดพระธรรมกายจำนวน 1 หมื่นต้นไปเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560 ที่บริเวณทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย ทำให้ได้ยอดเงินเข้ากองทุนเบญจทรัพย์สำหรับใช้จ่ายในการเดินธุดงค์ของทางวัด 100 ล้านบาท แต่ทางวัดพระธรรมกายยังคงเชิญชวนให้สาธุชนของวัดมาร่วมกันปลูกให้ครบ 6 ล้านต้น เพื่อใช้โปรยบนเส้นทางธุดงค์ไปยังอนุสถานพระผู้ปราบมาร ในวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ครั้งนี้ย้ำว่าปลูกฟรี
เฟซบุ๊ก ลูกศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก ได้แชร์วิดีโอจากเฟซบุ๊กของ Dhammakaya of America TV เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.37 น. ก่อนที่ในวันดังกล่าวนั้นทางวัดพระธรรมกายมีพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์ ณ ทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย เวลา 16.30 น.
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการกระตุ้นให้ผู้ที่ศรัทธาวัดพระธรรมกายเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ก่อนพิธีการจริงจะเริ่ม
เนรมิตทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย
เนื้อหาในช่วงท้ายเป็นการกล่าวถึงการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกต้นเบญจทรัพย์ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้จัดทำไว้ 1 หมื่นชุด บูชาชุดละ 1 m (1 หมื่นบาท) ที่มาของพื้นที่ดังกล่าวนั้นตั้งชื่อว่า ทุ่งสวรรค์ตะวันฉาย เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560 บริเวณตำบลคลอง 4 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนพื้นที่ 300 ไร่ ในวิดีโอระบุว่าใช้เวลาในการปรับพื้นที่เพียง 1 วันเท่านั้น แบ่งเป็น 6 แปลง แปลงละ 50 ไร่ มีทีมรถแบ็กโฮ-รถไถกว่า 40 คันเข้ามาร่วมกันปรับพื้นที่
ในส่วนของพระภิกษุมีพระครูวินัยธรวิเชียร วชิรนาโท และพระเจษฎา มหิทธิโก เป็นผู้รับผิดชอบปลูกต้นเบญจทรัพย์ 300 ไร่ ส่วนของฆราวาสมีนายนิกร ธรรมเจริญ เป็นผู้รับผิดชอบหารถแบ็กโฮมา 25 คันและมีนางศรวรรณ ศิริสุนทรินทร์ หรือที่รู้จักกันดีในนามป้าเช็ง เข้าร่วมปรับพื้นที่เตรียมการปลูกต้นเบญจทรัพย์
ป้าเช็งหัวแรงใหญ่
ป้าเช็งกล่าวว่า “อยากจะเห็นผืนนาแผงนี้เป็นผืนนาที่ปลูกต้นไม้ หรือต่อจากต้นไม้ ดอกไม้ ดอกเบญจทรัพย์ ดอกเบญจมาศ ซึ่งจะเก็บไว้โปรยในวันที่พระเดินธุดงค์ให้ท่านสบายเท้า ทุกคนที่ได้โปรยจะได้อยู่เย็นเป็นสุข แล้วหลวงพ่อก็ปรารถนาอยากจะเห็นผืนนาแปลงนี้ให้เป็นเกษตรปลอดสาร ไร้สาร สำหรับปลูกผัก ปลูกอะไร ตรงกับใจป้าเช็ง เริ่มด้วยปลูกเบญจทรัพย์ก่อน”
นอกจากนี้ป้าเช็งถึงขนาดขับรถแทรกเตอร์เองเพื่อปรับพื้นที่ “กว่า 30 ปีแล้วไม่ได้ขับแทรกเตอร์ ก็ลองดู ถอยหลังอยู่ไหน เดินหน้าอยู่ไหน เลี้ยวขวา-ซ้ายอยู่ไหน ตัวเดินอยู่ไหน คันยกคันเร่งอยู่ไหน กว่าจะสอนได้ พอรู้ว่ามันเดินตัวไหน ก็ไล่คนขับลงไปเลย ขับเอง แต่ถ้าขับสักชั่วโมง สองชั่วโมง ไอ้กองโต ๆ นี่ ป้าเช็งจะปราบให้เกลี้ยงเลย รับรองฝีมือ ป้าเข็งขับแทรกเตอร์มีฝีมือนะ ไม่แพ้คนขับรถแทรกเตอร์ทั้งหลาย มีอันดับพอสมควร แต่นี่ก็ลอง ไม่คิดว่าแก่หรอก มีแรงก็ทำได้ วันนี้ 80 แล้ว ป้าเช็งดีใจมากที่ได้พลิกผืนนาแปลงนี้ 300 ไร่ ให้เป็นเกษตร เกษตรปลอดสาร ป้าเช็งด้วยความยินดีและก็ขอทำงานถวายหลวงพ่อและขอถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในผืนแผ่นดินนี้”
ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่าพื้นที่ของทุ่งสวรรค์ตะวันฉายที่ใช้ในการปลูกต้นเบญจทรัพย์ 300 ไร่เป็นของป้าเช็ง ที่ยังศรัทธาในวัดพระธรรมกายอย่างต่อเนื่อง
ซุปเปอร์เช็ง-ตลาดกลางคลองหลวง
ที่ผ่านมานั้นนางศรวรรณ ศิริสุนทรินทร์ หรือป้าเช็ง โด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศจากน้ำหมักที่รักษาโรคได้สารพัด และยังเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง ซุปเปอร์เช็ง และมีการนำเอารายการธรรมมะและกิจกรรมของวัดพระธรรมกายมาออกอากาศบนสถานีโทรทัศน์ของตัวเองเสมอ แต่สุดท้ายน้ำหมักป้าเช็งก็ทำพิษ หลังจากถูกร้องเรียน ป้าเช็งถูกจับกุมในปลายเดือนมกราคม 2553 และพ้นโทษออกมาในปี 2558
ในปี 2560 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดของวัดพระธรรมกายที่พระธัมมชโย เจ้าอาวาสในขณะนั้นถูกออกหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร จากการรับเช็คบริจาคหลายฉบับจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ที่มีการทุจริตกันภายใน จนฝ่ายรัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกายตั้งแต่คืนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 แต่ไม่พบตัวพระธัมมชโย จนต้องยกเลิกปฏิบัติการตรวจค้นเมื่อ 10 มีนาคมและยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเมื่อ 11 เมษายน 2560
แต่ในระหว่างที่มีการควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย บรรดาลูกศิษย์และพระสงฆ์ในเครือข่ายที่ไม่สามารถเข้าไปสมทบกับบรรดาญาติธรรมภายในวัดได้ จึงไปรวมตัวกันที่ตลาดกลางคลองหลวง ห่างจากวัดพระธรรมกายราว 1 กิโลเมตร จนกลายเป็นพื้นที่ชุมนุม
เนื่องด้วยปริมาณคนที่มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งเข้าไปในตลาดของป้าเช็ง จนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายเรียกให้มาชี้แจง โดยป้าเช็งเข้ามารายงานตัวและยืนยันว่า ไม่ได้ให้พระเข้ามาก่อม็อบในพื้นที่ เพียงแต่ศิษย์ธรรมกายได้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอเช่าตลาด เพื่อทำบุญข้าวพระในวันที่ 5 มีนาคม 2560 ตนเองเป็นลูกศิษย์ทุกศาสนาจึงอนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยไม่ได้เก็บค่าเช่าเพื่อร่วมทำบุญด้วย และทราบว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นของวัดพระธรรมกาย
เป็นอันว่าปฏิบัติการของวัดพระธรรมกายเป็นฝ่ายมีชัยเหนือรัฐบาล คือ ทางการไม่สามารถจับกุมตัวพระธัมมชโยได้ จนในที่สุดต้องยกเลิกมาตรา 44
ในขณะนั้นแม้ป้าเช็งจะถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการชุมชุมของเครือข่ายวัดพระธรรมกายในพื้นที่ของตัวเอง แต่คำปฏิเสธดังกล่าวก็ไม่สามารถจะดำเนินการใด ๆ กับผู้ให้การสนับสนุนได้ และการแสดงตัวที่ชัดเจนของป้าเช็งในวันนี้ เรื่องพื้นที่ทุ่งสวรรค์ตะวันฉายก็ชัดเจนว่าป้าเช็งยังศรัทธาในวัดพระธรรมกายไม่เสื่อมคลาย
รุกต่อเนื่องกิจกรรมบุญ
ในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ ทางวัดพระธรรมกายจะมีการทำบุญใหญ่ 5 รายการ ช่วงเช้าพิธีบูชาข้าวพระ ซึ่งเป็นบุญใหญ่ของวัดที่ทำในวันอาทิตย์แรกของทุกต้นเดือน ช่วงบ่ายพิธีทอดผ้าป่ากองทุนต้นสมบัติจักรพรรดิ เพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลกถวายแด่เจ้าอาวาสและหัวหน้าศูนย์ 206 ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก ช่วงเย็นพิธีปลูกต้นเบญจทรัพย์ ณ ลานธรรม พระมหาธรรมกายเจดีย์ ช่วงค่ำพิธีจุดแสงทิพย์ รวีสวรรค์ และโคมประทีปบนพระมหาธรรมกายเจดีย์ 20,000 ดวงและพิธีเวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์
นอกจากนี้ยังมีพิธีถวายกองบุญอุปกรณ์เครื่องกันหนาวแด่พระภิกษุ สามเณร วัดพระธรรมกาย ในวันที่ 9 ธันวาคม 2560 และงานใหญ่อีกงานคือการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 277,777,777 จบ เพื่อบูชาธรรม เนื่องในวาระ 77 ปีหลวงพ่อทัตตชีโว และจัดโครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรม 77 ปีหลวงพ่อทัตตชีโว ระหว่าง 21 พฤศจิกายน-22 ธันวาคม 2560
ใครที่สวดธัมมจักฯครบ 777 จบ ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560-1 มกราคม 2561 รวม 44 วัน จะได้รับเหรียญล็อกเกตหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) ด้านหลังพิมพ์ภาพพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว พร้อมลายเซ็นคุณครูไม่เล็ก(พระทัตตชีโว)
นับเป็นกิจกรรมฟื้นวัดพระธรรมกายให้กลับมาสู่สภาพเดิม แม้จะไม่มีพระธัมมชโยที่เคยเป็นศูนย์รวมศรัทธา แต่ทางวัดก็ได้พระทัตตชีโวขึ้นมาทำหน้าที่แทน ขณะที่พระครูสังฆรักษ์รังสฤกษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก กลับไม่มีบทบาทในวัดมากนัก โดยที่เป้าหมายหลักของวัดพระธรรมกายยังคงมุ่งไปที่การเตรียมกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัยเส้นทางผู้ปราบมารในเดือนมีนาคม 2561 ส่วนจะสามารถจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ได้หรือไม่คงต้องวัดใจกับหน่วยงานของรัฐว่าจะอนุญาตหรือไม่