แฉธรรมกายดอดขอกลับเข้าเป็นสมาชิกใน ย.พ.ส.ล. ส่งพระภาสุระ ทนตมโน หัวหน้ากององค์กรระหว่างประเทศพร้อมด้วยนายแพทย์พรชัย แจงเหตุทั้งหมดเกิดจากหมอพรชัยทำไปโดยพลการ วัดไม่เกี่ยว แสดงให้เห็นความจริงใจขั้นแรก ปิดเฟซบุ๊กที่เปิดซ้อน เตรียมส่งพระผู้ใหญ่ชี้แจงที่ประชุมใหญ่ ชี้หากไม่เคลียร์แบนยาว
แม้ว่าศิษย์ของวัดพระธรรมกายจะหันไปตั้งองค์กรพุทธแห่งใหม่ที่ศรีลังกา อย่างองค์กรผู้นำพุทธโลก World Alliance of Buddhist Leader หรือ WABL โดยนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ เป็นประธานขององค์กรแห่งนี้ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านพุทธศาสนาและพ่วงกิจกรรมของวัดพระธรรมกายเข้าไปด้วยและยังมีกิจกรรมในรูปแบบเดิม คือการมอบรางวัลผู้นำพุทธโลก
การไปหาองค์กรพุทธแห่งใหม่ในต่างประเทศของสายวัดพระธรรมกาย เกิดขึ้นหลังจากทั้งนายแพทย์พรชัย ในตำแหน่งประธานและมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ถูกปลดออกจากองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) World Fellowship of Buddhist Youth หรือ WFBY ช่วงเดือนเมษายน 2559
พร้อมกับการเปิดฉากสู้ไม่ยอมรับการถูกปลด ด้วยการเปิดเฟซบุ๊ก World Fellowship of Buddhist Youth (WFBY) ขึ้นมาใหม่ขนานไปกับของเดิมที่มีทีมชุดใหม่เข้ามาบริหาร และยังทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาต่อ จนเกิดกรณีที่ใช้สมาชิกจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรา 44 ต่อวัดพระธรรมกาย
แต่จู่ ๆ เฟซบุ๊ก WFBY ในสายของวัดพระธรรมกายก็หายไป เมื่อ 26 เมษายน 2560
ขอกลับเข้า ย.พ.ส.ล.
แหล่งข่าวจากองค์กรยุวพุทธโลกชุดปัจจุบันกล่าวว่า ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเจรจา โดยทางวัดพระธรรมกายได้เดินทางมาเพื่อแสดงความต้องการจะกลับเข้ามาเป็นสมาชิกในองค์กรยุวพุทธ (ย.พ.ส.ล.) เหมือนเดิม ครั้งนั้นมีพระภาสุระ ทนตมโน หัวหน้ากององค์กรระหว่างประเทศ สำนักต่างประเทศ วัดพระธรรมกาย 1 ใน 14 รูปที่ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ช่วงที่มีการใช้มาตรา 44 กับวัดพระธรรมกาย
มาพร้อมกับนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ อดีตประธาน ย.พ.ส.ล. ที่ถูกปลดออกเมื่อ 4 เมษายน 2559 ซึ่งไม่ยอมรับมติของ ย.พ.ส.ล.
ทางธรรมกายต้องการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกใน ย.พ.ส.ล. ใหม่อีกครั้ง จึงขอปิดเฟซบุ๊กชื่อเดียวกับองค์กร ย.พ.ส.ล. โดยมีการปิดเพจดังกล่าวจริงเมื่อ 26 เมษายน 2560 และได้ชี้แจงเหตุผลถึงสาเหตุที่มีการปลดนายแพทย์พรชัยและระงับการเป็นสมาชิกของมูลนิธิวัดพระธรรมกาย
เช่น พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนายแพทย์พรชัย ทั้งเรื่องการมอบรางวัลผู้นำพุทธโลกแก่กลุ่มพระสงฆ์ในประเทศพม่าที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติจนมีความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา รวมไปถึงการใช้เงินที่ขัดกับวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยไม่ได้รับการอนุมัติ
โยนหมอพรชัยทำโดยพลการ-วัดไม่เกี่ยว
ตอนที่ทั้งพระภาสุระและนายแพทย์พรชัยมาพร้อมกันและเข้ามาเจรจาต่อรอง ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่เคยเป็นสาเหตุของการปลดนายแพทย์พรชัยและมูลนิธิวัดพระธรรมกายออกไปนั้น ทั้งหมดพระภาสุระเป็นผู้ตอบแทนทั้งหมดว่า เป็นการกระทำโดยพลการของนายแพทย์พรชัย ทางวัดพระธรรมกายไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งหมด ทำเอาหมอพรชัยต้องเงียบและตอบแค่ครับอย่างเดียว
การมาชี้แจงดังกล่าวนั้น ไม่ได้หมายความว่ามูลนิธิวัดพระธรรมกายจะได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกใน ย.พ.ส.ล. ทุกอย่างต้องไปชี้แจงต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อขอมติว่าจะยกเลิกมติเมื่อ 4 เมษายน 2559 แล้วรับมูลนิธิวัดพระธรรมกายกลับมาเป็นสมาชิกตามเดิมหรือไม่
ส่วนเรื่องของนายแพทย์พรชัยนั้นคงไม่มีการหารือ เนื่องจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แล้วตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2559 โดยมีนายเด่นพงศ์ สุวรรณชัยรบ เป็นประธานคนใหม่ นายนพเก้า ไชยะ บุรินทร์ รองประธาน นายจิรายุ แก้วพะเนาว์ เหรัญญิก นายอิชฌน์อนนท์ ไทยอารี เลขาธิการ
ประชุมใหญ่ที่ญี่ปุ่น
การประชุมใหญ่ครั้งต่อไปกำหนดสถานที่ไว้เป็นประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้สมาชิกทั่วโลกพิจารณาและลงมติ ทั้งนี้การจัดประชุมในต่างประเทศเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดคิดจะตามมา เนื่องจากหากจัดการประชุมในประเทศไทยอาจมีโอกาสที่จะถูกกดดันจากสมาชิกจากวัดพระธรรมกายได้
โดยทางวัดพระธรรมกายรับปากว่า จะมีการส่งพระชั้นผู้ใหญ่ไปชี้แจงเรื่องดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ ย.พ.ส.ล.นั้น จะพิจารณาทั้งเรื่องตัวเจ้าอาวาสวัดว่าจะเป็นใคร ประธานและกรรมการมูลนิธิวัดพระธรรมกายว่าเป็นบุคคลใด รวมถึงแผนในการบริหารมูลนิธิว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
ธรรมกายเดือดร้อน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า งานนี้ถ้าเขาไม่เดือดร้อนก็คงไม่ยอมเข้ามาเจรจาแน่ เพราะการถูกระงับจากการเป็นสมาชิก ย.พ.ส.ล.จะส่งผลให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายในต่างประเทศย่อมไม่ได้รับการรับรอง อีกทั้งองค์กรยุวพุทธโลกถือเป็นองค์กรพุทธขนาดใหญ่มีประเทศสมาชิกมากและทั่วโลกให้การยอมรับ
อีกทั้งวัดพระธรรมกายถือว่าเป็นวัดในสังกัดประเทศไทย และมีการขยายสาขาไปในหลายประเทศ ซึ่งการขยายสาขาไปในต่างประเทศจะต้องมีการรับรองจากทั้งประเทศปลายทางและองค์กรด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย
การที่วัดพระธรรมกายถูก ย.พ.ส.ล.แบน ย่อมส่งผลกระทบต่อโอกาสในการขยายสาขาของวัดพระธรรมกาย รวมไปถึงกิจกรรมในต่างประเทศของสาขาที่มีอยู่แล้ว ย่อมไม่ได้การรับรองจากองค์กรพุทธในประเทศไทย เพราะเป้าหมายของวัดพระธรรมกายคือการขยายสาขาไปต่างประเทศทั่วโลก ส่วนองค์พุทธแห่งใหม่ที่ศรีลังกานั้น ไม่ได้ตอบโจทย์ให้วัดพระธรรมกายมากนัก
ถ้าไม่เคลียร์ระงับยาว
เรื่องเจ้าอาวาสขณะนี้ทางวัดธรรมกายก็ยังไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีเพียงรักษาการเจ้าอาวาส แต่เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วคงเป็นพระมหาสมชาย ฐานวุฒโท เพราะถือเป็นสายตรงที่พระธัมมชโยวางตัวไว้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องกรรมการในมูลนิธิวัดพระธรรมกายก็ต้องชัดเจนว่าเป็นบุคคลใดบ้าง รวมไปถึงทิศทางในการดำเนินงานของมูลนิธิจะเป็นไปในทางใด หากเข้าไปเกี่ยวข้องหรือมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ ย.พ.ส.ล. ก็เป็นเรื่องลำบากในการพิจารณา
อย่างไรก็ดีที่ญี่ปุ่นก็มีสาขาของวัดพระธรรมกายอยู่เช่นกัน แต่ไม่น่าเป็นปัญหาเนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยของญี่ปุ่นค่อนข้างดี และยังมีสายสัมพันธ์อันดีกับบางนิกายในญี่ปุ่นที่นับถือผู้นำของลัทธิเป็นสำคัญ แต่กลุ่มดังกล่าวไม่ใช่พุทธที่คนญี่ปุ่นนับถือกันมากนัก
ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมใหญ่ว่าจะเป็นอย่างไร หากยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้กับที่ประชุมได้ก็คงต้องถูกระงับการเป็นสมาชิกต่อไป
ส่วนเรื่องผลการสอบสวนการจัดประชุมประเทศเกาหลีใต้เมื่อ 21-25 กุมภาพันธ์ 2560 โดยอ้างว่าเป็นการประชุมขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ วัดฮงปอบซา จังหวัดปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ที่ระบุว่าที่ประชุมในครั้งนี้มีมติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการใช้มาตรา 44 ต่อวัดพระธรรมกาย ซึ่งไม่ใช่การประชุมของ ย.พ.ส.ล.เนื่องจากมีการปลดนายแพทย์พรชัยออกไปเมื่อเดือนเมษายน 2559
ทางเกาหลีแจ้งว่าเหตุทั้งหมดเกิดจากความเข้าใจผิดของพระภายในวัดของเกาหลีเอง เป็นอันจบเรื่อง ซึ่งไม่ต่างกับกรณีในประเทศไทยที่โยนความผิดทั้งหมดให้เป็นของนายแพทย์พรชัยที่ดำเนินการเองโดยพลการ เป็นอันว่าลูกศิษย์วัดนี้ต้องพร้อมเสียสละเพื่อให้เป้าหมายใหญ่ของวัดเดินหน้าต่อไปได้
แม้ว่าศิษย์ของวัดพระธรรมกายจะหันไปตั้งองค์กรพุทธแห่งใหม่ที่ศรีลังกา อย่างองค์กรผู้นำพุทธโลก World Alliance of Buddhist Leader หรือ WABL โดยนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ เป็นประธานขององค์กรแห่งนี้ เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านพุทธศาสนาและพ่วงกิจกรรมของวัดพระธรรมกายเข้าไปด้วยและยังมีกิจกรรมในรูปแบบเดิม คือการมอบรางวัลผู้นำพุทธโลก
การไปหาองค์กรพุทธแห่งใหม่ในต่างประเทศของสายวัดพระธรรมกาย เกิดขึ้นหลังจากทั้งนายแพทย์พรชัย ในตำแหน่งประธานและมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ถูกปลดออกจากองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย.พ.ส.ล.) World Fellowship of Buddhist Youth หรือ WFBY ช่วงเดือนเมษายน 2559
พร้อมกับการเปิดฉากสู้ไม่ยอมรับการถูกปลด ด้วยการเปิดเฟซบุ๊ก World Fellowship of Buddhist Youth (WFBY) ขึ้นมาใหม่ขนานไปกับของเดิมที่มีทีมชุดใหม่เข้ามาบริหาร และยังทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาต่อ จนเกิดกรณีที่ใช้สมาชิกจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกมาตรา 44 ต่อวัดพระธรรมกาย
แต่จู่ ๆ เฟซบุ๊ก WFBY ในสายของวัดพระธรรมกายก็หายไป เมื่อ 26 เมษายน 2560
ขอกลับเข้า ย.พ.ส.ล.
แหล่งข่าวจากองค์กรยุวพุทธโลกชุดปัจจุบันกล่าวว่า ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเจรจา โดยทางวัดพระธรรมกายได้เดินทางมาเพื่อแสดงความต้องการจะกลับเข้ามาเป็นสมาชิกในองค์กรยุวพุทธ (ย.พ.ส.ล.) เหมือนเดิม ครั้งนั้นมีพระภาสุระ ทนตมโน หัวหน้ากององค์กรระหว่างประเทศ สำนักต่างประเทศ วัดพระธรรมกาย 1 ใน 14 รูปที่ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ช่วงที่มีการใช้มาตรา 44 กับวัดพระธรรมกาย
มาพร้อมกับนายแพทย์พรชัย พิญญพงษ์ อดีตประธาน ย.พ.ส.ล. ที่ถูกปลดออกเมื่อ 4 เมษายน 2559 ซึ่งไม่ยอมรับมติของ ย.พ.ส.ล.
ทางธรรมกายต้องการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกใน ย.พ.ส.ล. ใหม่อีกครั้ง จึงขอปิดเฟซบุ๊กชื่อเดียวกับองค์กร ย.พ.ส.ล. โดยมีการปิดเพจดังกล่าวจริงเมื่อ 26 เมษายน 2560 และได้ชี้แจงเหตุผลถึงสาเหตุที่มีการปลดนายแพทย์พรชัยและระงับการเป็นสมาชิกของมูลนิธิวัดพระธรรมกาย
เช่น พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนายแพทย์พรชัย ทั้งเรื่องการมอบรางวัลผู้นำพุทธโลกแก่กลุ่มพระสงฆ์ในประเทศพม่าที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติจนมีความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา รวมไปถึงการใช้เงินที่ขัดกับวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยไม่ได้รับการอนุมัติ
โยนหมอพรชัยทำโดยพลการ-วัดไม่เกี่ยว
ตอนที่ทั้งพระภาสุระและนายแพทย์พรชัยมาพร้อมกันและเข้ามาเจรจาต่อรอง ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่เคยเป็นสาเหตุของการปลดนายแพทย์พรชัยและมูลนิธิวัดพระธรรมกายออกไปนั้น ทั้งหมดพระภาสุระเป็นผู้ตอบแทนทั้งหมดว่า เป็นการกระทำโดยพลการของนายแพทย์พรชัย ทางวัดพระธรรมกายไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งหมด ทำเอาหมอพรชัยต้องเงียบและตอบแค่ครับอย่างเดียว
การมาชี้แจงดังกล่าวนั้น ไม่ได้หมายความว่ามูลนิธิวัดพระธรรมกายจะได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกใน ย.พ.ส.ล. ทุกอย่างต้องไปชี้แจงต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อขอมติว่าจะยกเลิกมติเมื่อ 4 เมษายน 2559 แล้วรับมูลนิธิวัดพระธรรมกายกลับมาเป็นสมาชิกตามเดิมหรือไม่
ส่วนเรื่องของนายแพทย์พรชัยนั้นคงไม่มีการหารือ เนื่องจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่แล้วตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2559 โดยมีนายเด่นพงศ์ สุวรรณชัยรบ เป็นประธานคนใหม่ นายนพเก้า ไชยะ บุรินทร์ รองประธาน นายจิรายุ แก้วพะเนาว์ เหรัญญิก นายอิชฌน์อนนท์ ไทยอารี เลขาธิการ
ประชุมใหญ่ที่ญี่ปุ่น
การประชุมใหญ่ครั้งต่อไปกำหนดสถานที่ไว้เป็นประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้สมาชิกทั่วโลกพิจารณาและลงมติ ทั้งนี้การจัดประชุมในต่างประเทศเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดคิดจะตามมา เนื่องจากหากจัดการประชุมในประเทศไทยอาจมีโอกาสที่จะถูกกดดันจากสมาชิกจากวัดพระธรรมกายได้
โดยทางวัดพระธรรมกายรับปากว่า จะมีการส่งพระชั้นผู้ใหญ่ไปชี้แจงเรื่องดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ ย.พ.ส.ล.นั้น จะพิจารณาทั้งเรื่องตัวเจ้าอาวาสวัดว่าจะเป็นใคร ประธานและกรรมการมูลนิธิวัดพระธรรมกายว่าเป็นบุคคลใด รวมถึงแผนในการบริหารมูลนิธิว่าจะเป็นไปในทิศทางใด
ธรรมกายเดือดร้อน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า งานนี้ถ้าเขาไม่เดือดร้อนก็คงไม่ยอมเข้ามาเจรจาแน่ เพราะการถูกระงับจากการเป็นสมาชิก ย.พ.ส.ล.จะส่งผลให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายในต่างประเทศย่อมไม่ได้รับการรับรอง อีกทั้งองค์กรยุวพุทธโลกถือเป็นองค์กรพุทธขนาดใหญ่มีประเทศสมาชิกมากและทั่วโลกให้การยอมรับ
อีกทั้งวัดพระธรรมกายถือว่าเป็นวัดในสังกัดประเทศไทย และมีการขยายสาขาไปในหลายประเทศ ซึ่งการขยายสาขาไปในต่างประเทศจะต้องมีการรับรองจากทั้งประเทศปลายทางและองค์กรด้านพุทธศาสนาในประเทศไทย
การที่วัดพระธรรมกายถูก ย.พ.ส.ล.แบน ย่อมส่งผลกระทบต่อโอกาสในการขยายสาขาของวัดพระธรรมกาย รวมไปถึงกิจกรรมในต่างประเทศของสาขาที่มีอยู่แล้ว ย่อมไม่ได้การรับรองจากองค์กรพุทธในประเทศไทย เพราะเป้าหมายของวัดพระธรรมกายคือการขยายสาขาไปต่างประเทศทั่วโลก ส่วนองค์พุทธแห่งใหม่ที่ศรีลังกานั้น ไม่ได้ตอบโจทย์ให้วัดพระธรรมกายมากนัก
ถ้าไม่เคลียร์ระงับยาว
เรื่องเจ้าอาวาสขณะนี้ทางวัดธรรมกายก็ยังไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีเพียงรักษาการเจ้าอาวาส แต่เชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วคงเป็นพระมหาสมชาย ฐานวุฒโท เพราะถือเป็นสายตรงที่พระธัมมชโยวางตัวไว้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องกรรมการในมูลนิธิวัดพระธรรมกายก็ต้องชัดเจนว่าเป็นบุคคลใดบ้าง รวมไปถึงทิศทางในการดำเนินงานของมูลนิธิจะเป็นไปในทางใด หากเข้าไปเกี่ยวข้องหรือมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ ย.พ.ส.ล. ก็เป็นเรื่องลำบากในการพิจารณา
อย่างไรก็ดีที่ญี่ปุ่นก็มีสาขาของวัดพระธรรมกายอยู่เช่นกัน แต่ไม่น่าเป็นปัญหาเนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยของญี่ปุ่นค่อนข้างดี และยังมีสายสัมพันธ์อันดีกับบางนิกายในญี่ปุ่นที่นับถือผู้นำของลัทธิเป็นสำคัญ แต่กลุ่มดังกล่าวไม่ใช่พุทธที่คนญี่ปุ่นนับถือกันมากนัก
ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมใหญ่ว่าจะเป็นอย่างไร หากยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้กับที่ประชุมได้ก็คงต้องถูกระงับการเป็นสมาชิกต่อไป
ส่วนเรื่องผลการสอบสวนการจัดประชุมประเทศเกาหลีใต้เมื่อ 21-25 กุมภาพันธ์ 2560 โดยอ้างว่าเป็นการประชุมขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ วัดฮงปอบซา จังหวัดปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ที่ระบุว่าที่ประชุมในครั้งนี้มีมติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกการใช้มาตรา 44 ต่อวัดพระธรรมกาย ซึ่งไม่ใช่การประชุมของ ย.พ.ส.ล.เนื่องจากมีการปลดนายแพทย์พรชัยออกไปเมื่อเดือนเมษายน 2559
ทางเกาหลีแจ้งว่าเหตุทั้งหมดเกิดจากความเข้าใจผิดของพระภายในวัดของเกาหลีเอง เป็นอันจบเรื่อง ซึ่งไม่ต่างกับกรณีในประเทศไทยที่โยนความผิดทั้งหมดให้เป็นของนายแพทย์พรชัยที่ดำเนินการเองโดยพลการ เป็นอันว่าลูกศิษย์วัดนี้ต้องพร้อมเสียสละเพื่อให้เป้าหมายใหญ่ของวัดเดินหน้าต่อไปได้