xs
xsm
sm
md
lg

คปพ.ไม่ถอย! เตรียมแผนจี้รัฐตั้ง NOC ชี้เงื่อนไขประมูล“เอราวัณ-บงกช”ไม่โปร่งใส !?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เปิดแผน คปพ.เดินหน้าลุย ให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ หลัง สนช.ตัดไปไว้ในข้อสังเกต ชี้จำเป็นต้องมีบรรษัทฯ ทำหน้าที่ดูแลการประมูลแทน “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ” ด้านรสนา ระบุประมูลแหล่งเอราวัณ-บงกช ส่อเค้าไม่โปร่งใส เรียกสั้น ๆ ระบบแบ่งปันกำมะลอ ขณะที่ “หม่อมกร” ยืนยันบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยไม่ล้มเหลวเหมือนเม็กซิโก เพราะไม่ต้องลงทุนเอง

ประเด็นซึ่งมีการถกเถียงกันมากที่สุดในการพิจารณาพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2560 ที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นเรื่องการจัดตั้ง “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” หรือ NOC ที่เดิมกำหนดไว้ในมาตรา 10/1 แต่ถูกเอาออกไป และให้ย้ายเรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติไปไว้ในข้อสังเกตแทน โดยฝ่ายเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ซึ่งสนับสนุนการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ยังคงยืนยันว่าจำเป็นต้องมีหน่วยงานดังกล่าวเพื่อเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมและกำกับดูแลการให้สัมปทานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี
ขณะที่ “หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งออกมาคัดค้านการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ให้เหตุผลว่าเกรงจะเป็นการเปิดช่องให้ทหารบางกลุ่มเข้ามาหาผลประโยชน์ในกิจการพลังงานของไทย

อย่างไรก็ดีการจะตัดสินว่าควรตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติหรือไม่นั้น ควรจะต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์และรายละเอียดในการจัดตั้งบรรษัทฯ ตามข้อเสนอของ “กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514” ที่มี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานฯ ที่แต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งได้มอบหมายให้ กมธ.รวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสำรวจ ผลิต และการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการยกร่างกฎหมายน่าจะสมเหตุสมผลกว่าหรือไม่?

ทั้งนี้ กรรมาธิการฯ ได้ระบุถึงรูปแบบของ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม เป็นผู้ถือสิทธิในทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐ (Resource holder) ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาการจ้าง รวมถึงสัมปทานที่หมดอายุ โดยการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติจะตราเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย

ทั้งนี้ กรรมาธิการฯ ได้ระบุถึงรูปแบบของ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม เป็นผู้ถือสิทธิในทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐ (Resource holder) ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในทรัพยากรปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาการจ้าง รวมถึงสัมปทานที่หมดอายุ โดยการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติจะตราเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย
ม.ล.กรกสิวัฒน์  เกษมศรี ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514” ขยายความถึงภารกิจของบทบาทบรรษัทน้ำมันแห่งชาติว่า หน่วยงานดังกล่าวจะต้องจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับส่วนแบ่งปิโตรเลียมจากระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต และขายปิโตรเลียมส่วนนี้แทน ทั้งนี้เพื่อให้ภาครัฐได้ผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากระบบที่กฎหมายได้ตราขึ้นใหม่ เพราะหากไม่จัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติรัฐก็ต้องว่าจ้างเอกชนไปขายน้ำมันแทนรัฐ ก็จะทำให้ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต จะมีลักษณะคล้ายสัมปทานที่เอกชนผูกขาดการครอบครองปิโตรเลียมทั้งหมด
       
        “ต้องเข้าใจว่าบรรษัทน้ำมันแห่งชาติไม่ได้มาทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน หรือโรงกลั่นแข่งกับเอกชน แต่มาทำหน้าที่จัดการปิโตรเลียมส่วนที่รัฐได้รับมา จึงเป็นบุคคลที่ 3 ที่จะช่วยอุดช่องโหว่ของกฎหมาย คานผลประประโยชน์ระหว่างรัฐกับเอกชนให้เกิดความสมดุลด้วยการประมูลผลตอบแทนของรัฐในระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต จึงช่วยแก้ปัญหาข้อครหาเรื่องความโปร่งใส รัฐได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นจากระบบสัมปทาน ที่ใช้ระบบการประกวด Beauty Contest คัดเลือกผู้รับสัมปทาน”
       
        ขณะเดียวกันยังมีแหล่งปิโตรเลียมแหล่งใหม่ที่จะมีการสำรวจและผลิตเพิ่มในอนาคตที่จะทำให้รัฐมีรายได้มากแล้ว ยังมีแหล่งปิโตรเลียมหลายแห่งที่ใกล้จะหมดสัญญาสัมปทานกับภาคเอกชน โดยเฉพาะแหล่งเอราวัณและบงกช แหล่งปิโตรเลียมที่มีปริมาณก๊าซถึง 2 ใน 3 ของประเทศและสามารถนำไปผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุดในประเทศ โดยจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2565 และ 2566
       
        “หากมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ องค์กรนี้จะทำหน้าที่รับโอนแหล่งปิโตรเลียม รวมถึงอุปกรณ์บนแท่นผลิตที่ยังใช้การได้ทั้งหมดที่จะตกเป็นของรัฐหลังหมดสัญญา แล้วนำมาเปิดประมูลใหม่ในรูปแบบการจ้างเอกชนผลิต โดยปิโตรเลียมที่ผลิตตกเป็นของรัฐทั้งหมด โดยเอกชนได้ค่าจ้างตามอัตราที่ประมูลไว้ ซึ่งเชื่อว่าจะมีเอกชนหลายรายเสนอตัวเข้าแข่งขัน ตรงนี้จะเป็นความมั่นคงที่แท้จริงและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศในอนาคต โดยเริ่มจากแหล่งเอราวัณ บงกช ต่อมาก็คือแหล่งลานกระบือ จังหวัด กำแพงเพชร เพียง 3 แหล่งนี้มีมูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาทต่อปี”
       
        ส่วนที่วิตกกันว่าการดำเนินงานภายใต้บรรษัทฯ จะล้มเหลวเหมือนบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของเม็กซิโกนั้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ ชี้แจงว่ารูปแบบบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยจะแตกต่างจากเม็กซิโก โดยบรรษัทฯ ของเม็กซิโก การบริหารจัดการแบบผูกขาดเพียงบริษัทเดียวทำทุกอย่าง ตั้งแต่ให้สัมปทาน กำกับดูแล ทำโรงกลั่นและปั๊มน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในเรื่องการกำกับดูแล อีกทั้งนักการเมืองต่างเห็นเป็นขุมทรัพย์ดึงเงินกำไรของบรรษัทออกไปทำประชานิยมจนหมด บรรษัทจึงเกิดความเสียหาย

แต่บรรษัทน้ำมันฯ ของไทยทำหน้าที่เพียงบริหารจัดการผลผลิตปิโตรเลียมแทนปวงชนชาวไทย และรับโอนอุปกรณ์จากแหล่งสัมปทานที่หมดอายุลงเท่านั้น โดยภารกิจดังกล่าวของบรรษัทฯ ไทยนั้นจะแตกต่างจากบรรษัทน้ำมันแห่งชาติของเม็กซิโก อีกทั้งมิใช่บทบาทของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

“บางท่านอาจจะบอกว่าเรามีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่อยู่แล้ว แต่ถ้าพิจารณาถึงภารกิจของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะพบว่า มีการทำหน้าที่กำกับดูแล ทั้งราคา และปริมาณปิโตรเลียม รวมถึงมีหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานของอุปกรณ์ หากให้มาทำหน้าที่ขายปิโตรเลียมและและถือสิทธิอุปกรณ์การผลิตปิโตรเลียมเสียเอง ก็จะเกิดปัญหาหน้าที่ที่ลักลั่นกันอยู่ เพราะกรมเชื้อเพลิงมีหน้าที่กำกับดูแล จึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และอาจขัดต่อ พรบ.ปิโตรเลียม ในหลายมาตรา”
       
        นอกจากนี้ กฎหมายยังเปิดช่องให้ข้าราชการที่ต้องดูแลประโยชน์ของรัฐและประชาชน เข้าไปเป็นบอร์ดของ บริษัทพลังงานได้ แต่ธุรกิจพลังงานมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งสร้างกำไรเพื่อผู้ถือหุ้น จึงมีปัญหาการสวมหมวกหลายใบของเจ้าหน้าที่ผู้กำกับดูแลพลังงาน การไปนั่งเป็นบอร์ดในธุรกิจพลังงาน ทำให้เกิดข้อครหาเรื่องความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ จึงเป็นบุคคลที่ 3 ที่มีความจำเป็นที่คุ้มค่า เพราะจะช่วยอุดช่องโหว่ของกฎหมาย โดยจะเป็นหูเป็นตาแทนปวงชนชาวในไทยในการจัดการปิโตรเลียมชองชาติมูลค่า 5 แสนล้านบาทต่อปี ให้โปร่งใสและเป็นธรรมยิ่งขึ้น

ปัจจุบันดูเหมือนความหวังในการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ จะเลือนรางเต็มที แต่ คปพ.ก็ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันเรื่องนี้ต่อไป โดย นางรสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย เปิดเผยว่า คปพ.จะใช้ยุทธวิธีติดตามตรวจสอบทั้งในส่วนของการจัดทำรายละเอียดของ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ที่จะออกมาบังคับใช้ และการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรปิโตรเลียม ภายใต้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับใหม่ รวมถึงจะใช้ช่องทางทางกฎหมายเพื่อต่อต้านการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานโดยมิชอบ เพื่อกดดันให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าว
นางรสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย
โดยประเด็นสำคัญที่ คปพ.กำลังจับตาอยู่ในขณะนี้ก็คือการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและบงกชรอบใหม่ ที่จะมีขึ้นในเดือน ก.ค. 2560 นี้

นางรสนา ระบุว่า ตามกฎหมายการเปิดประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชรอบใหม่ไม่สามารถใช้ระบบสัมปทานได้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจึงประกาศว่าจะใช้วิธีแบ่งปันผลผลิต แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ แล้วเห็นได้ชัดว่าการเปิดประมูลครั้งนี้ไม่น่าจะใช่ระบบแบ่งปันผลผลิตที่แท้จริง ที่สำคัญหากใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต โดยไม่มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาดูแล กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐจะทำอย่างไรกับก๊าซธรรมชาติที่ได้ส่วนแบ่งจากบริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้ขุดเจาะ

“ต้องเรียกว่าเป็นการแบ่งปันผลกำมะลอ เพราะหากเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์จะต้องมีหน่วยงานซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มขุดเจาะก๊าซขึ้นมาจากหลุม ต้องมีเจ้าหน้าที่หรือเครื่องมือที่ได้มาตรฐานในการวัดปริมาณก๊าซที่ขุดเจาะได้ในแต่ละวัน ไม่ใช่แค่รับทราบจากตัวเลขที่เอกชนรายงาน เมื่อได้ส่วนแบ่งก๊าซแล้วหน่วยงานดังกล่าวก็ต้องทำหน้าที่จำหน่ายก๊าซที่ได้”

ตรงนี้จึงเป็นสิ่งที่นางรสนาและสังคม อยากตั้งคำถามไปยังกรมเชื้อเพลงธรรมชาติว่ากรมเชื้อเพลิงฯ ซึ่งเป็นราชการจะทำหน้าที่ตรงนี้ได้จริงหรือไม่? และถ้าต้องขายก๊าซเหล่านี้จะทำอย่างไร หรือถ้าจะจ้างให้เอกชนทำหน้าที่ขายแทนจะมีขั้นตอนอย่างไร ทั้งบุคลากรและระเบียบราชการต่าง ๆ เอื้ออำนวยหรือไม่ 
นอกจากนั้นการเปิดประมูลแหล่งเอราวัณและบงกชครั้งนี้ยังมีประเด็นที่น่าเคลือบแคลงใจหลายอย่าง ประการแรกทำไมกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะต้องเร่งเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2560 ไม่รอให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติก่อน ทั้งที่ยังเหลือเวลาอีกตั้ง 5-6 ปีกว่าจะหมดสัญญาสัมปทาน

ที่สอง มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการออกมาให้สัมภาษณ์ของอธิบดีกรมเชื้อเพลิงพลังงานเกี่ยวกับรายละเอียดในการประมูลมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้รับสัมปทานรายเดิมหรือไม่ เช่น ระบุว่าผู้เสนอประมูลใหม่ต้องเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้รับสัมปทานรายเดิม พร้อมทั้งชี้ว่าหากผู้ชนะประมูลเป็นรายใหม่การผลิตก๊าซจะกลับคืนสู่ระดับปกติที่เคยผลิตได้ในปี 2570 แต่ถ้าเป็นผู้รับสัมปทานรายเดิมจะใช้เวลาเพียง 1 ปี ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทำให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเข้ามาทำหน้าที่บริหารทรัพยากรปิโตรเลียมและดูแลการประมูลแทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

ดังนั้นจากนี้ไป คปพ.จะนำประเด็นปัญหาดังกล่าวไปเป็นข้อต่อสู้และเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้มีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผลสำเร็จ!

กำลังโหลดความคิดเห็น