จับ-ปรับ เชื่อมระบบใบสั่งกับกรมการขนส่ง ตาม ม.44 กระทบในวงกว้าง นักกฎหมายเผยงานนี้ตำรวจกล่อมสำเร็จ หลังเคยถูกตีตกมาแล้ว 2 ครั้ง เพิ่มอำนาจ-รายได้ให้ตำรวจจราจร รถกระบะรับเต็ม ๆ จากมาตรการคาดเข็มขัดนิรภัย กระทบวิถีชีวิต ส่วนการลดที่นั่งรถตู้-บังคับติด GPS ผู้ประกอบการถอดใจเตรียมเลิกกิจการ ผู้ใช้รถเผยทุกวันนี้ส่องแต่กล้องปรับอย่างเดียว ชี้คะแนนนิยมรัฐบาลลดลงแน่
กลายเป็นเรื่องที่พูดถึงกันในวงกว้าง สำหรับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เมื่อ 21 มีนาคม 2560 ที่ลงนามโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้เหตุผลถึงการออกคำสั่งดังกล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ขับขี่รถหรือเจ้าของรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกจำนวนมาก โดยมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงและเพิกเฉยต่อการบังคับใช้ทางกฎหมาย
สอดคล้องกับพลตำรวจโทวิทยา ประยงค์พันธุ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ระบุว่าสาเหตุที่ต้องออกมาตรการนี้ เพราะจากสถิติพบว่า ใบสั่งที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 จนถึงปัจจุบัน ทั้งหมด 680,000 ใบ มีผู้ไปชำระเพียง 11% ยังไม่ได้ชำระ 86% และใบสั่งที่ยกเลิกไป 2%
สาระหลักของมาตรการดังกล่าวคือ กำหนดให้ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง(มีข้อยกเว้นสำหรับรถรุ่นเก่าและรถบางประเภท) อีกเรื่องเป็นการชำระค่าปรับตามใบสั่ง ที่กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกเข้ามาร่วมมือกับทางตำรวจจราจร มาตรการทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจังในวันที่ 5 เมษายนนี้
ตำรวจดันสำเร็จ
“เรื่องใบสั่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความพยายามที่จะผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการ แต่กฤษฎีกาได้ตีกลับข้อเสนอดังกล่าวมาแล้วถึง 2 ครั้ง เนื่องจากเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน และทางกรมการขนส่งทางบกเองเกรงว่าหากดำเนินการไปจะผิดต่อกฎหมาย” ที่ปรึกษากฎหมายรายหนึ่งกล่าว
แต่เมื่อมีการใช้มาตรา 44 ของ คสช.ออกมา ก็เท่ากับเป็นกฎหมาย กรมการขนส่งทางบกต้องปฏิบัติตามที่จะต้องเชื่อมข้อมูลของใบสั่งจากตำรวจจราจร เพื่อมาพิจารณาในการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี(ป้ายวงกลม) หากผู้ขับขี่ไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่งก็จะออกใบอนุญาตให้ชั่วคราว (30 วัน) จนกว่าจะมีการชำระค่าปรับ แต่ถ้ายังไม่ยอมชำระอีกก็จะส่งเรื่องขึ้นสู่ศาล นับว่าเป็นการใช้ยาแรงสำหรับผู้ขับขี่ที่ทำผิดกฎจราจร
อย่างไรก็ตามยังมีการเปิดช่องให้ผู้ถูกออกใบสั่งสามารถโต้แย้งได้ หากเห็นว่าไม่ได้กระทำผิดตามใบสั่ง
ใบสั่งมาก-ส่วนแบ่งมาก
ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า ที่ผ่านมามีการออกใบสั่งที่ผิดพลาดอยู่หลายกรณี เช่นออกใบสั่งที่เจ้าของรถไม่ได้กระทำผิด ดูเพียงเลขทะเบียนรถ แต่ปรากฏว่ารถที่กระทำผิดนั้นมีเลขทะเบียนตรงกับเจ้าของรถที่ถูกใบสั่ง ตรงนี้ไม่มีการดำเนินการต่อว่ารถที่กระทำผิดนั้นติดทะเบียนปลอมหรือไม่ หรือในบางพื้นที่ที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ตั้งด่าน แต่กลับมีการตั้งด่านและออกใบสั่ง
คนที่ขับรถก็จะทราบดีว่าปัญหาเรื่องใบสั่งนั้น สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีกับตำรวจจราจรอยู่มาก และตอนนี้ทางตำรวจจราจรจะใช้กล้องถ่ายผู้กระทำความผิด อย่างในบางพื้นที่ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า รถจะติดเป็นแถวยาว โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน และถนนเส้นดังกล่าวไม่มีทางเบี่ยงออก โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาอำนวยความสะดวก
“ใครที่ทนไม่ได้ ไปไม่ทันทำงานหรือไม่ทันส่งบุตรหลานเข้าเรียน ก็ตัดสินใจออกช่องที่ห้ามออก และก็เจอกล้องจับภาพตามมาด้วยใบสั่ง ปัญหานี้เจอกันเยอะมาก ถามว่าเป็นธรรมหรือไม่กับผู้ขับขี่ และการก่อสร้างรถไฟฟ้าก็ใช้เวลาหลายเดือน”
เขากล่าวต่อไปว่า กล้องไม่โกหกก็จริง แต่กล้องไม่สามารถประเมินสภาพจราจรที่แท้จริงได้ว่าด้านหลังกล้องนั้นสภาพการจราจรเป็นอย่างไร หรือกฎหมายจราจรที่ออกมานานเรื่องการจำกัดความเร็วที่ 90 กิโลเมตรนั้นในบางจังหวะที่ต้องเร่งแซงรถคันอื่นความเร็วอาจจะเกินก็ถูกปรับแล้ว
เมื่อตำรวจจราจรใช้กล้องเป็นหลัก ใบสั่งที่ออกมาจะกำหนดค่าปรับตามมาทันที หากเป็นรถยนต์ขั้นต่ำน่าจะอยู่ที่ 400 บาท ทั้ง ๆ ที่หากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาปฏิบัติหน้าที่เอง โทษว่ากล่าวตักเดือนก็มีแต่วันนี้เราได้เห็นน้อยมาก
ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากเรื่องของส่วนแบ่งค่าปรับที่จราจรได้ 50% ปกครองท้องที่ได้ 50% อย่างค่าปรับ 400 บาท ตำรวจได้ 200 บาท 10 บาทเข้ารัฐ อีก 190 บาทแบ่งกัน ตำรวจที่ออกใบสั่งจะได้ส่วนแบ่ง 60% คือ 114 บาท นอกจากนี้โทษปรับแต่ละกรณีไม่เหมือนกัน บางรายโดน 800 บาท บางรายโดน 1,000 บาท
ที่ผ่านมาตำรวจจราจรได้ลงทุนติดตั้งกล้องเพื่อออกใบสั่งผู้ที่กระทำผิดกฎจราจร ทั้งกล้องที่ติดตั้งถาวร กล้องตรวจจับความเร็วที่เคลื่อนย้ายได้ หรือใช้กล้องถ่ายรูปเพื่อบันทึกภาพผู้กระทำผิด และมีแนวโน้มที่จะติดตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในบางพื้นที่มีการร่วมมือกับบริษัทเอกชนร่วมกันติดตั้งกล้องและแบ่งรายได้จากค่าปรับ ซึ่งเคยมีแนวคิดที่จะให้เอกชนรับส่วนแบ่ง 30% จาก 50% ในส่วนที่แบ่งให้กับกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานปกครองท้องถิ่น แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ทุกวันนี้แม้จะพอมีการตั้งด่านตรวจอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเขียนใบสั่งพร้อมค่าปรับมาพร้อมกัน ทั้ง ๆ ที่ภายใต้อำนาจของตำรวจจราจรจะสามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่นับวันจะหายากขึ้นทุกที ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเป็นเพราะตำรวจจราจรมุ่งแต่ออกใบสั่งทำยอดหรือไม่ เพราะยอดปรับมากส่วนแบ่งก็ได้มากตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ไม่เท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว บางจุดมีวินรถแท็กซี่ สามล้อเครื่องตั้งใกล้ ๆ สี่แยก ใกล้ป้อมตำรวจแต่ไม่ถูกจับ หรือรถทัวร์ของบริษัทนำเที่ยวสามารถจอดได้ในที่ห้ามจอด แต่ถ้าเป็นรถทั่วไปจะถูกล็อกล้อและถูกออกใบสั่ง ทั้ง ๆ ที่เป็นพื้นที่เดียวกัน และพื้นที่เหล่านี้มักไม่มีกล้องตรวจจับผู้กระทำผิด
กระบะปัญหาเยอะ
ส่วนกรณีของเข็มขัดนิรภัยนั้นปัญหาจะไปอยู่ที่รถกระบะประเภทแคป (Single cab) เพราะกฎหมายอนุญาตเพียงให้วางของหรือสัมภาระได้เท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่มักเสริมเบาะเข้าไปเพื่อเพิ่มที่นั่งอีก 3 ที่ แม้ทางขนส่งจะให้คำตอบว่านั่งได้ ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัด แต่นั่นเป็นเพียงความเห็นของคนในขนส่ง ตำรวจจราจรจะทราบเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ทั้ง 2 หน่วยงานต้องสื่อสารระหว่างกันด้วย
เมื่อคำสั่งนี้ออกมารถกระบะที่เคยบรรทุกคนท้ายกระบะ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ที่คนไทยเห็นกันคุ้นตานั้น จากนี้ไปคนที่นั่งท้ายกระบะคงไม่สามารถนั่งได้อีกต่อไป เพราะไม่มีเข็มขัดนิรภัย
ไม่มีใครปฏิเสธเรื่องความปลอดภัยในชีวิต แต่มาตรการดังกล่าวกระทบกับวิถีชีวิตของคนมากมาย คนหมู่บ้านเดียวกันในต่างจังหวัดมาทำงานในกรุงเทพฯ ถึงเทศกาลจะกลับบ้านติดรถกันไปหารค่าน้ำมันกัน จากนี้ไปคงทำไม่ได้ พวกเขาต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น
รถตู้ถอดใจ-เตรียมเลิกกิจการ
อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งที่ 15/2560 เรื่องมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ในที่นี้มุ่งไปที่รถตู้โดยสาร กำหนดที่นั่งไว้ 13 ที่นั่งไม่รวมคนขับ กำหนดให้แก้ไขปรับปรุงตัวรถ รวมถึงการแก้ไขกลไกให้ผู้โดยสารสามารถเปิดประตูหลังจากด้านในได้เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุขึ้น
นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการติดตั้ง GPS ให้สามารถรายงานสถานะของรถแต่ละคันมายังศูนย์ GPS ของกรมการขนส่งทางบกแบบเรียลไทม์ หากระบบ GPS ของผู้ให้บริการมีปัญหาขัดข้อง ต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน หากละเลยฝ่าฝืนมีความผิดปรับวันละไม่เกิน 5,000 บาท จนกว่าจะแก้ไขได้แล้วเสร็จ
ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารระหว่างจังหวัดรายหนึ่งกล่าวว่า รถตู้ถือว่าโดนเยอะ ที่นั่งหายไป 1 ที่นั่งนั้นมีผลต่อรายได้ของผู้ประกอบการ แต่คงไม่สามารถขึ้นราคาค่าโดยสารได้ทันที เพราะต้องขออนุมัติต่อกรมการขนส่งก่อน แถมยังต้องติดตั้ง GPS อีกมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้วิ่งขวาไม่ได้หรือขับเกิน 90 ไม่ได้ หากทำก็จะถูกปรับเพิ่มขึ้นอีก
ที่ผ่านมาจากคำสั่งของ คสช.กำหนดให้ท่ารถตู้ในต่างจังหวัดไปรวมอยู่ที่สถานีขนส่งทั้งหมดทั้งต้นทางและปลายทาง ทำให้ไม่สะดวกต่อผู้โดยสาร การเดินทางไปท่ารถตู้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือปลายทางที่เคยใกล้ที่พักก็ต้องเลิกไป ทำให้จำนวนผู้โดยสารจึงลดลงไปมาก แถมเรื่องการเปลี่ยนจากรถตู้เป็นไมโครบัส 20 ที่นั่งในปี 2564 ก็ยังไม่ยกเลิก
“ตอนนี้ผู้ประกอบการกำลังตัดสินใจว่าจะสู้ต่อหรือเลิกกิจการ เพราะกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลต่อต้นทุนและรายได้ในการดำเนินงาน”
หากรถตู้ระหว่างจังหวัดยกเลิกการให้บริการ อาจมีผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมารถ บขส.หรือรถทัวร์ มีจำนวนรถให้บริการน้อยลงไปมาก จากการที่ประชาชนนิยมเดินทางโดยรถตู้
เขากล่าวต่อไปว่า หากกล่าวถึงเรื่องความปลอดภัยนั้น สำคัญที่สุดคือตัวคนขับ ไม่ว่าจะมีอุปกรณ์ดีอย่างไรหากคนขับไม่พร้อมหรือประมาทก็เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น สภาพถนนและสภาพรถเป็นปัจจัยรองลงมา ดังนั้นหากต้องการลดอุบัติเหตุจริง ๆ ต้องควบคุมที่คนขับเป็นหลัก
กระทบเยอะ-ไม่กล้าโวย
คนที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งของ คสช.ฉบับนี้บ่นกันทั้งนั้น แต่ไม่มีใครกล้าที่จะท้วงติงในเรื่องดังกล่าว หากเป็นการแก้ไขกฎหมายปกติคงมีคนแสดงตัวคัดค้านออกมาแล้ว ตอนนี้คงต้องรอผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายนี้ในวันที่ 5 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นหยุดเทศกาลสงกรานต์
แน่นอนว่างานนี้จะส่งผลต่อความนิยมต่อรัฐบาลลดลง เชื่อว่าคณะทำงานของรัฐบาลก็ทราบดี แต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงออกคำสั่งนี้ออกมา คนที่เคยชื่นชมรัฐบาลเมื่อถูกมาตรการกระทบกับตัวเองย่อมไม่พึงพอใจ อีกทั้งฐานความคิดของคนไทยที่มีต่อตำรวจจราจรมักไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ยิ่งมีกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถูกมองว่าเป็นมาตรการที่เพิ่มรายได้ให้กับตำรวจมากยิ่งขึ้น เพราะในทางปฏิบัติที่จะสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง สามารถทำได้ด้วยมาตรการอื่น
นอกจากนี้ตัวมาตรการดังกล่าว ยังสามารถนำมาใช้เป็นประเด็นในการหาเสียงทางการเมืองได้เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติที่เปิดให้มีการเลือกตั้ง ด้วยการชูประเด็นว่าจะมีการแก้ไขหากเลือกพรรคการเมืองนั้น
ที่จริงกฎระเบียบเดิมที่มีอยู่หากมีการนำมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ก็ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ไม่น้อย การตัดแต้มใบขับขี่ก็ถูกนำมาใช้เฉพาะช่วงแรก ๆ เท่านั้น หรือหากกระทำผิดหลาย ๆ กระทงการกำหนดให้มีการบำเพ็ญประโยชน์กี่ชั่วโมงก็น่าจะมีการนำมาบังคับใช้
เชื่อว่าหลายคนไม่ปฏิเสธความหวังดีในการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน แต่ถ้ากฎระเบียบนั้นออกมาแล้วขัดต่อวิถีชีวิตของประชาชนจนเกินควรแล้ว สุดท้ายประชาชนก็จะดื้อแพ่งต่อกฎระเบียบดังกล่าว
กลายเป็นเรื่องที่พูดถึงกันในวงกว้าง สำหรับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เมื่อ 21 มีนาคม 2560 ที่ลงนามโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้เหตุผลถึงการออกคำสั่งดังกล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ขับขี่รถหรือเจ้าของรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกจำนวนมาก โดยมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงและเพิกเฉยต่อการบังคับใช้ทางกฎหมาย
สอดคล้องกับพลตำรวจโทวิทยา ประยงค์พันธุ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ระบุว่าสาเหตุที่ต้องออกมาตรการนี้ เพราะจากสถิติพบว่า ใบสั่งที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 จนถึงปัจจุบัน ทั้งหมด 680,000 ใบ มีผู้ไปชำระเพียง 11% ยังไม่ได้ชำระ 86% และใบสั่งที่ยกเลิกไป 2%
สาระหลักของมาตรการดังกล่าวคือ กำหนดให้ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถ โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง(มีข้อยกเว้นสำหรับรถรุ่นเก่าและรถบางประเภท) อีกเรื่องเป็นการชำระค่าปรับตามใบสั่ง ที่กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกเข้ามาร่วมมือกับทางตำรวจจราจร มาตรการทั้งหมดจะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจังในวันที่ 5 เมษายนนี้
ตำรวจดันสำเร็จ
“เรื่องใบสั่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความพยายามที่จะผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการ แต่กฤษฎีกาได้ตีกลับข้อเสนอดังกล่าวมาแล้วถึง 2 ครั้ง เนื่องจากเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน และทางกรมการขนส่งทางบกเองเกรงว่าหากดำเนินการไปจะผิดต่อกฎหมาย” ที่ปรึกษากฎหมายรายหนึ่งกล่าว
แต่เมื่อมีการใช้มาตรา 44 ของ คสช.ออกมา ก็เท่ากับเป็นกฎหมาย กรมการขนส่งทางบกต้องปฏิบัติตามที่จะต้องเชื่อมข้อมูลของใบสั่งจากตำรวจจราจร เพื่อมาพิจารณาในการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี(ป้ายวงกลม) หากผู้ขับขี่ไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่งก็จะออกใบอนุญาตให้ชั่วคราว (30 วัน) จนกว่าจะมีการชำระค่าปรับ แต่ถ้ายังไม่ยอมชำระอีกก็จะส่งเรื่องขึ้นสู่ศาล นับว่าเป็นการใช้ยาแรงสำหรับผู้ขับขี่ที่ทำผิดกฎจราจร
อย่างไรก็ตามยังมีการเปิดช่องให้ผู้ถูกออกใบสั่งสามารถโต้แย้งได้ หากเห็นว่าไม่ได้กระทำผิดตามใบสั่ง
ใบสั่งมาก-ส่วนแบ่งมาก
ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า ที่ผ่านมามีการออกใบสั่งที่ผิดพลาดอยู่หลายกรณี เช่นออกใบสั่งที่เจ้าของรถไม่ได้กระทำผิด ดูเพียงเลขทะเบียนรถ แต่ปรากฏว่ารถที่กระทำผิดนั้นมีเลขทะเบียนตรงกับเจ้าของรถที่ถูกใบสั่ง ตรงนี้ไม่มีการดำเนินการต่อว่ารถที่กระทำผิดนั้นติดทะเบียนปลอมหรือไม่ หรือในบางพื้นที่ที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ตั้งด่าน แต่กลับมีการตั้งด่านและออกใบสั่ง
คนที่ขับรถก็จะทราบดีว่าปัญหาเรื่องใบสั่งนั้น สร้างความรู้สึกที่ไม่ดีกับตำรวจจราจรอยู่มาก และตอนนี้ทางตำรวจจราจรจะใช้กล้องถ่ายผู้กระทำความผิด อย่างในบางพื้นที่ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า รถจะติดเป็นแถวยาว โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน และถนนเส้นดังกล่าวไม่มีทางเบี่ยงออก โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาอำนวยความสะดวก
“ใครที่ทนไม่ได้ ไปไม่ทันทำงานหรือไม่ทันส่งบุตรหลานเข้าเรียน ก็ตัดสินใจออกช่องที่ห้ามออก และก็เจอกล้องจับภาพตามมาด้วยใบสั่ง ปัญหานี้เจอกันเยอะมาก ถามว่าเป็นธรรมหรือไม่กับผู้ขับขี่ และการก่อสร้างรถไฟฟ้าก็ใช้เวลาหลายเดือน”
เขากล่าวต่อไปว่า กล้องไม่โกหกก็จริง แต่กล้องไม่สามารถประเมินสภาพจราจรที่แท้จริงได้ว่าด้านหลังกล้องนั้นสภาพการจราจรเป็นอย่างไร หรือกฎหมายจราจรที่ออกมานานเรื่องการจำกัดความเร็วที่ 90 กิโลเมตรนั้นในบางจังหวะที่ต้องเร่งแซงรถคันอื่นความเร็วอาจจะเกินก็ถูกปรับแล้ว
เมื่อตำรวจจราจรใช้กล้องเป็นหลัก ใบสั่งที่ออกมาจะกำหนดค่าปรับตามมาทันที หากเป็นรถยนต์ขั้นต่ำน่าจะอยู่ที่ 400 บาท ทั้ง ๆ ที่หากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาปฏิบัติหน้าที่เอง โทษว่ากล่าวตักเดือนก็มีแต่วันนี้เราได้เห็นน้อยมาก
ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากเรื่องของส่วนแบ่งค่าปรับที่จราจรได้ 50% ปกครองท้องที่ได้ 50% อย่างค่าปรับ 400 บาท ตำรวจได้ 200 บาท 10 บาทเข้ารัฐ อีก 190 บาทแบ่งกัน ตำรวจที่ออกใบสั่งจะได้ส่วนแบ่ง 60% คือ 114 บาท นอกจากนี้โทษปรับแต่ละกรณีไม่เหมือนกัน บางรายโดน 800 บาท บางรายโดน 1,000 บาท
ที่ผ่านมาตำรวจจราจรได้ลงทุนติดตั้งกล้องเพื่อออกใบสั่งผู้ที่กระทำผิดกฎจราจร ทั้งกล้องที่ติดตั้งถาวร กล้องตรวจจับความเร็วที่เคลื่อนย้ายได้ หรือใช้กล้องถ่ายรูปเพื่อบันทึกภาพผู้กระทำผิด และมีแนวโน้มที่จะติดตั้งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างในบางพื้นที่มีการร่วมมือกับบริษัทเอกชนร่วมกันติดตั้งกล้องและแบ่งรายได้จากค่าปรับ ซึ่งเคยมีแนวคิดที่จะให้เอกชนรับส่วนแบ่ง 30% จาก 50% ในส่วนที่แบ่งให้กับกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานปกครองท้องถิ่น แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ทุกวันนี้แม้จะพอมีการตั้งด่านตรวจอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเขียนใบสั่งพร้อมค่าปรับมาพร้อมกัน ทั้ง ๆ ที่ภายใต้อำนาจของตำรวจจราจรจะสามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่นับวันจะหายากขึ้นทุกที ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเป็นเพราะตำรวจจราจรมุ่งแต่ออกใบสั่งทำยอดหรือไม่ เพราะยอดปรับมากส่วนแบ่งก็ได้มากตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ไม่เท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว บางจุดมีวินรถแท็กซี่ สามล้อเครื่องตั้งใกล้ ๆ สี่แยก ใกล้ป้อมตำรวจแต่ไม่ถูกจับ หรือรถทัวร์ของบริษัทนำเที่ยวสามารถจอดได้ในที่ห้ามจอด แต่ถ้าเป็นรถทั่วไปจะถูกล็อกล้อและถูกออกใบสั่ง ทั้ง ๆ ที่เป็นพื้นที่เดียวกัน และพื้นที่เหล่านี้มักไม่มีกล้องตรวจจับผู้กระทำผิด
กระบะปัญหาเยอะ
ส่วนกรณีของเข็มขัดนิรภัยนั้นปัญหาจะไปอยู่ที่รถกระบะประเภทแคป (Single cab) เพราะกฎหมายอนุญาตเพียงให้วางของหรือสัมภาระได้เท่านั้น แต่คนไทยส่วนใหญ่มักเสริมเบาะเข้าไปเพื่อเพิ่มที่นั่งอีก 3 ที่ แม้ทางขนส่งจะให้คำตอบว่านั่งได้ ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัด แต่นั่นเป็นเพียงความเห็นของคนในขนส่ง ตำรวจจราจรจะทราบเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ ทั้ง 2 หน่วยงานต้องสื่อสารระหว่างกันด้วย
เมื่อคำสั่งนี้ออกมารถกระบะที่เคยบรรทุกคนท้ายกระบะ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือปีใหม่ที่คนไทยเห็นกันคุ้นตานั้น จากนี้ไปคนที่นั่งท้ายกระบะคงไม่สามารถนั่งได้อีกต่อไป เพราะไม่มีเข็มขัดนิรภัย
ไม่มีใครปฏิเสธเรื่องความปลอดภัยในชีวิต แต่มาตรการดังกล่าวกระทบกับวิถีชีวิตของคนมากมาย คนหมู่บ้านเดียวกันในต่างจังหวัดมาทำงานในกรุงเทพฯ ถึงเทศกาลจะกลับบ้านติดรถกันไปหารค่าน้ำมันกัน จากนี้ไปคงทำไม่ได้ พวกเขาต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น
รถตู้ถอดใจ-เตรียมเลิกกิจการ
อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งที่ 15/2560 เรื่องมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ ในที่นี้มุ่งไปที่รถตู้โดยสาร กำหนดที่นั่งไว้ 13 ที่นั่งไม่รวมคนขับ กำหนดให้แก้ไขปรับปรุงตัวรถ รวมถึงการแก้ไขกลไกให้ผู้โดยสารสามารถเปิดประตูหลังจากด้านในได้เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุขึ้น
นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการติดตั้ง GPS ให้สามารถรายงานสถานะของรถแต่ละคันมายังศูนย์ GPS ของกรมการขนส่งทางบกแบบเรียลไทม์ หากระบบ GPS ของผู้ให้บริการมีปัญหาขัดข้อง ต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน หากละเลยฝ่าฝืนมีความผิดปรับวันละไม่เกิน 5,000 บาท จนกว่าจะแก้ไขได้แล้วเสร็จ
ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารระหว่างจังหวัดรายหนึ่งกล่าวว่า รถตู้ถือว่าโดนเยอะ ที่นั่งหายไป 1 ที่นั่งนั้นมีผลต่อรายได้ของผู้ประกอบการ แต่คงไม่สามารถขึ้นราคาค่าโดยสารได้ทันที เพราะต้องขออนุมัติต่อกรมการขนส่งก่อน แถมยังต้องติดตั้ง GPS อีกมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้วิ่งขวาไม่ได้หรือขับเกิน 90 ไม่ได้ หากทำก็จะถูกปรับเพิ่มขึ้นอีก
ที่ผ่านมาจากคำสั่งของ คสช.กำหนดให้ท่ารถตู้ในต่างจังหวัดไปรวมอยู่ที่สถานีขนส่งทั้งหมดทั้งต้นทางและปลายทาง ทำให้ไม่สะดวกต่อผู้โดยสาร การเดินทางไปท่ารถตู้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือปลายทางที่เคยใกล้ที่พักก็ต้องเลิกไป ทำให้จำนวนผู้โดยสารจึงลดลงไปมาก แถมเรื่องการเปลี่ยนจากรถตู้เป็นไมโครบัส 20 ที่นั่งในปี 2564 ก็ยังไม่ยกเลิก
“ตอนนี้ผู้ประกอบการกำลังตัดสินใจว่าจะสู้ต่อหรือเลิกกิจการ เพราะกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลต่อต้นทุนและรายได้ในการดำเนินงาน”
หากรถตู้ระหว่างจังหวัดยกเลิกการให้บริการ อาจมีผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมารถ บขส.หรือรถทัวร์ มีจำนวนรถให้บริการน้อยลงไปมาก จากการที่ประชาชนนิยมเดินทางโดยรถตู้
เขากล่าวต่อไปว่า หากกล่าวถึงเรื่องความปลอดภัยนั้น สำคัญที่สุดคือตัวคนขับ ไม่ว่าจะมีอุปกรณ์ดีอย่างไรหากคนขับไม่พร้อมหรือประมาทก็เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น สภาพถนนและสภาพรถเป็นปัจจัยรองลงมา ดังนั้นหากต้องการลดอุบัติเหตุจริง ๆ ต้องควบคุมที่คนขับเป็นหลัก
กระทบเยอะ-ไม่กล้าโวย
คนที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งของ คสช.ฉบับนี้บ่นกันทั้งนั้น แต่ไม่มีใครกล้าที่จะท้วงติงในเรื่องดังกล่าว หากเป็นการแก้ไขกฎหมายปกติคงมีคนแสดงตัวคัดค้านออกมาแล้ว ตอนนี้คงต้องรอผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายนี้ในวันที่ 5 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นหยุดเทศกาลสงกรานต์
แน่นอนว่างานนี้จะส่งผลต่อความนิยมต่อรัฐบาลลดลง เชื่อว่าคณะทำงานของรัฐบาลก็ทราบดี แต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงออกคำสั่งนี้ออกมา คนที่เคยชื่นชมรัฐบาลเมื่อถูกมาตรการกระทบกับตัวเองย่อมไม่พึงพอใจ อีกทั้งฐานความคิดของคนไทยที่มีต่อตำรวจจราจรมักไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ยิ่งมีกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถูกมองว่าเป็นมาตรการที่เพิ่มรายได้ให้กับตำรวจมากยิ่งขึ้น เพราะในทางปฏิบัติที่จะสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง สามารถทำได้ด้วยมาตรการอื่น
นอกจากนี้ตัวมาตรการดังกล่าว ยังสามารถนำมาใช้เป็นประเด็นในการหาเสียงทางการเมืองได้เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติที่เปิดให้มีการเลือกตั้ง ด้วยการชูประเด็นว่าจะมีการแก้ไขหากเลือกพรรคการเมืองนั้น
ที่จริงกฎระเบียบเดิมที่มีอยู่หากมีการนำมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ก็ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ไม่น้อย การตัดแต้มใบขับขี่ก็ถูกนำมาใช้เฉพาะช่วงแรก ๆ เท่านั้น หรือหากกระทำผิดหลาย ๆ กระทงการกำหนดให้มีการบำเพ็ญประโยชน์กี่ชั่วโมงก็น่าจะมีการนำมาบังคับใช้
เชื่อว่าหลายคนไม่ปฏิเสธความหวังดีในการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน แต่ถ้ากฎระเบียบนั้นออกมาแล้วขัดต่อวิถีชีวิตของประชาชนจนเกินควรแล้ว สุดท้ายประชาชนก็จะดื้อแพ่งต่อกฎระเบียบดังกล่าว