ทีมงานที่เคยหนุนธรรมกายกลับลำกันเป็นแถว สายสมเด็จช่วงฯ ส่งสัญญาณผ่านทนาย หลังหลวงพี่แป๊ะพระเลขาฯ รอดคดีเบนซ์หรู เช่นเดียวกับเจ้าคณะใหญ่หนกลางเดินเรื่องสึกธัมมชโยให้เจ้าคณะจังหวัดปทุมฯ ขณะที่นักวิชาการสายที่เคยหนุนออกโรงตำหนิแนวทางของธรรมกาย คนในวงการชี้งานนี้ทุกคนต้องเอาตัวรอดไม่งั้นตายหมู่
แม้ปฏิบัติการปิดล้อมวัดพระธรรมกาย 23 วันด้วยอำนาจของมาตรา 44 จะไม่สามารถพบตัวพระธัมมชโยเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามหมายจับในคดีต่าง ๆ ได้ แม้ปฏิบัติการของกรมสอบสวนคดีพิเศษในครั้งนี้ อาจไม่เป็นที่ถูกใจของฝ่ายที่ต่อต้านแนวทางของวัดพระธรรมกาย ที่จู่ ๆ มายกเลิกการตรวจค้น
แต่ในระหว่างนั้นได้มีการถอดสมณศักดิ์ของพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย และถอดสมณศักดิ์ของพระราชภาวนาจารย์หรือพระทัตตชีโว หลังจากที่ไม่มาเข้าพบพนักงานสอบสวน รวมทั้งออกหมายเรียกให้พระในชั้นปกครองและพระที่ออกมาเคลื่อนไหวของวัดพระธรรมกายให้มารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแนวทางจากการใช้อำนาจรัฐมาเป็นการใช้อำนาจทางสงฆ์เข้ามาดำเนินการแทน เมื่อ 10 มีนาคม 2560 ด้วยการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เดินเรื่องสึกพระธัมมชโยตามกฎของมหาเถรสมาคมฉบับที่ 21 และมอบหมายให้เจ้าคณะใหญ่หนกลางเป็นต้นเรื่องดำเนินการ สั่งการลงไปตามลำดับชั้น
สายสมเด็จช่วงฯ กลับลำ
แหล่งข่าวจากวงการพระพุทธศาสนากล่าวว่า “แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้ แต่ในทางการปกครองของสงฆ์เรื่องได้เดินไปถึงขั้นตอนการสึกแล้ว และขณะนี้จะเห็นได้ว่าหลายภาคส่วนที่เคยให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เคยออกมาปกป้องและเดินไปในแนวทางเดียวกับวัดพระธรรมกาย ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปหลายราย”
เริ่มที่วงการสงฆ์โดยเฉพาะสายของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(สมเด็จช่วงฯ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ที่เคยเป็นผู้ทำหน้าผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยบรรดาทนายความของวัดได้ออกมาให้ความเห็นกรณีของวัดพระธรรมกาย
อย่างเช่น นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559 ช่วงที่สื่อมวลชนเข้าไปทำหน้าที่ในวัดพระธรรมกายแล้วมีลูกศิษย์ของวัดได้ติดตามและถ่ายภาพสื่อมวลชนโดยตลอดว่า ตั้งข้อสงสัยว่าการปิดกั้นและถ่ายภาพสื่อมวลชนในการปฏิบัติหน้าที่นั้น ถือเป็นการแสดงความไม่บริสุทธิ์ของวัดหรือไม่ แม้จะไม่มีความผิดตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการคุกคามแต่ไม่เหมาะสมที่จะกระทำ
สำหรับสมเด็จช่วงฯ มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการเลี่ยงภาษีรถเบนซ์หรู แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อพระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ เลขานุการสมเด็จช่วงฯ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เมื่อเรื่องถึงชั้นการพิจารณาของอัยการ โดย 12 มกราคม 2560 อธิบดีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 161 เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานใดพิสูจน์ได้ว่า พระมหาศาสนมุนีรับรถยนต์ไว้โดยรู้ว่านายวิชาญเสียภาษีสรรพสามิตไม่ถูกต้อง และให้ยุติการดำเนินคดีกับพระมหาศาสนมุนี ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 161 (1) กรณีครอบครองรถโบราณช่วงแรก เนื่องจากคดีขาดอายุความ
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่นายสุรพงษ์ สิทธิกรณ์ ทนายความของหลวงพี่แป๊ะ ได้นำชาวบ้านจากจังหวัดนครสวรรค์เข้าร้องทุกข์ต่อ พันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เมื่อ 12 มีนาคม 2560 เพื่อกล่าวโทษต่อพระเทพปริยัติเมธี (ฐิตพัฒน์ ญาณสิทธิพัฒน์) เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ฐานบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ถมคลองสาหร่าย จนชาวบ้านได้รับผลกระทบจำนวนมาก จากโครงการพุทธอุทยานนครสวรรค์ ทั้งนี้จากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นว่าโครงการดังกล่าวได้บุกรุกคลองสาธารณประโยชน์ มีการถมดินสร้างบริเวณกลางคลองสาหร่ายความลึกประมาณ 6 เมตร
ทั้งนี้เชื่อกันว่ากรณีดังกล่าวเป็นเครือข่ายของวัดพระธรรมกาย ซึ่งเคยมีการร้องเรียนกันไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่ 24 มกราคม 2560 โดยทนายความคนเดียวกัน
วัดใจพระชั้นปกครอง
ส่วนข้อกังวลในเรื่องของการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มอบหมายเรื่องสึกพระธัมมชโยให้กับสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนกลางดำเนินการอาจล่าช้า เนื่องจากเชื่อกันว่ามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย แต่พบว่าเจ้าคณะใหญ่หนกลางได้ส่งเรื่องดังกล่าวต่อไปยังพระเทพรัตนสุธี เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีแล้ว คราวนี้คงต้องขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่ของเจ้าคณะจังหวัดว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้มีการดึงเรื่องของพระธัมมชโยอยู่พอสมควร
“ตอนนี้ในสายของพระก็ต้องทบทวนกันให้ดีว่าจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือดึงเรื่องกันไว้ ตัวอย่างก็มีให้เห็นเรื่องการถอดสมณศักดิ์ของพระธัมมชโยและพระทัตตชีโวมาแล้ว หากยังปกป้องพระที่ทำผิดอยู่ท่านก็อยู่ในสถานะที่เสี่ยงเช่นเดียวกัน”
เคยหนุน-กลับหลังหัน
ขณะที่สายของนักวิชาการด้านพุทธศาสนาที่มีการเสวนากันเมื่อ 13 มีนาคม 2560 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ประธานสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งเอเชีย (สพอ.) ได้กล่าวถึงกรณีของวัดพระธรรมกายว่าต้องทบทวนการที่ให้ทุกคนมาเป็นธรรมกายนั้นไม่ถูกต้อง ต้องทบทวนคำสอนที่เป็นปัญหาว่าคำสอนนั้นผิดไปจากหลักคำสอนของพุทธศาสนาหรือไม่ ต้องทบทวนคำสอนเรื่องอภินิหาร เน้นร่ำรวยหรือการเชิญชวนให้บริจาคมาก ๆ ส่วนกรณีที่รัฐบาลมอบให้ฝ่ายสงฆ์พิจารณาทางวินัยว่ามีความผิดแค่ไหนจะถึงขั้นปาราชิกหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าถูกต้องแล้ว
ด้าน ผศ.ดร.เสถียร วิพรมหา นายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) กล่าวว่า วัดพระธรรมกายควรหันกลับมายึดหลักของพระธรรมวินัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา และต้องปรับการบริหารจัดการวัดให้เกิดความพอดี เพราะที่ผ่านมาอาจถูกมองในเชิงพุทธพาณิชย์
คนที่ติดตามเรื่องวัดพระธรรมกายมาตลอดจะทราบดีว่า ดร.บรรจบ เป็นประธานสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยและหนุนแนวทางของวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด อีกทั้งสมาพันธ์ฯ เคยออกแถลงการณ์เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560 แสดงความไม่เห็นด้วยการกับใช้มาตรา 44 ในนามของนายกรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย แต่วันนี้กลับออกมาแนะนำให้วัดพระธรรมกายทบทวนเรื่องคำสอน
เช่นเดียวกับ ดร.เสถียร วิพรมหา ที่เคยขึ้นเวทีคนเสื้อแดงที่ถนนอักษะ ได้ออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายเสมอมาก็เริ่มหันมาแสดงความเห็นให้หันมายึดหลักพระธรรมวินัย
ตอนนี้ทุกคนคงต้องหันมารักตัวเองเป็นหลัก คนที่เคยหนุนวัดนี้เลยต้องกลับหลังหัน เพราะคดีของวัดพระธรรมกายวันนี้รัฐบาลเอาจริง หลังจากที่ปล่อยมาเนิ่นนาน บางรายก็เลือกที่จะนิ่งเงียบอย่างพระเมธีธรรมาจารย์ เจ้าคุณประสาร ที่เคยสนับสนุนสมเด็จช่วงฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็เลือกที่จะเงียบในเรื่องนี้
แม้ปฏิบัติการปิดล้อมวัดพระธรรมกาย 23 วันด้วยอำนาจของมาตรา 44 จะไม่สามารถพบตัวพระธัมมชโยเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามหมายจับในคดีต่าง ๆ ได้ แม้ปฏิบัติการของกรมสอบสวนคดีพิเศษในครั้งนี้ อาจไม่เป็นที่ถูกใจของฝ่ายที่ต่อต้านแนวทางของวัดพระธรรมกาย ที่จู่ ๆ มายกเลิกการตรวจค้น
แต่ในระหว่างนั้นได้มีการถอดสมณศักดิ์ของพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย และถอดสมณศักดิ์ของพระราชภาวนาจารย์หรือพระทัตตชีโว หลังจากที่ไม่มาเข้าพบพนักงานสอบสวน รวมทั้งออกหมายเรียกให้พระในชั้นปกครองและพระที่ออกมาเคลื่อนไหวของวัดพระธรรมกายให้มารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแนวทางจากการใช้อำนาจรัฐมาเป็นการใช้อำนาจทางสงฆ์เข้ามาดำเนินการแทน เมื่อ 10 มีนาคม 2560 ด้วยการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เดินเรื่องสึกพระธัมมชโยตามกฎของมหาเถรสมาคมฉบับที่ 21 และมอบหมายให้เจ้าคณะใหญ่หนกลางเป็นต้นเรื่องดำเนินการ สั่งการลงไปตามลำดับชั้น
สายสมเด็จช่วงฯ กลับลำ
แหล่งข่าวจากวงการพระพุทธศาสนากล่าวว่า “แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถนำตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีได้ แต่ในทางการปกครองของสงฆ์เรื่องได้เดินไปถึงขั้นตอนการสึกแล้ว และขณะนี้จะเห็นได้ว่าหลายภาคส่วนที่เคยให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เคยออกมาปกป้องและเดินไปในแนวทางเดียวกับวัดพระธรรมกาย ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปหลายราย”
เริ่มที่วงการสงฆ์โดยเฉพาะสายของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(สมเด็จช่วงฯ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ที่เคยเป็นผู้ทำหน้าผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยบรรดาทนายความของวัดได้ออกมาให้ความเห็นกรณีของวัดพระธรรมกาย
อย่างเช่น นายสมศักดิ์ โตรักษา ทนายความของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559 ช่วงที่สื่อมวลชนเข้าไปทำหน้าที่ในวัดพระธรรมกายแล้วมีลูกศิษย์ของวัดได้ติดตามและถ่ายภาพสื่อมวลชนโดยตลอดว่า ตั้งข้อสงสัยว่าการปิดกั้นและถ่ายภาพสื่อมวลชนในการปฏิบัติหน้าที่นั้น ถือเป็นการแสดงความไม่บริสุทธิ์ของวัดหรือไม่ แม้จะไม่มีความผิดตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นการคุกคามแต่ไม่เหมาะสมที่จะกระทำ
สำหรับสมเด็จช่วงฯ มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการเลี่ยงภาษีรถเบนซ์หรู แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อพระมหาศาสนมุนี หรือหลวงพี่แป๊ะ เลขานุการสมเด็จช่วงฯ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เมื่อเรื่องถึงชั้นการพิจารณาของอัยการ โดย 12 มกราคม 2560 อธิบดีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 161 เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานใดพิสูจน์ได้ว่า พระมหาศาสนมุนีรับรถยนต์ไว้โดยรู้ว่านายวิชาญเสียภาษีสรรพสามิตไม่ถูกต้อง และให้ยุติการดำเนินคดีกับพระมหาศาสนมุนี ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 161 (1) กรณีครอบครองรถโบราณช่วงแรก เนื่องจากคดีขาดอายุความ
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่นายสุรพงษ์ สิทธิกรณ์ ทนายความของหลวงพี่แป๊ะ ได้นำชาวบ้านจากจังหวัดนครสวรรค์เข้าร้องทุกข์ต่อ พันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เมื่อ 12 มีนาคม 2560 เพื่อกล่าวโทษต่อพระเทพปริยัติเมธี (ฐิตพัฒน์ ญาณสิทธิพัฒน์) เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ฐานบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ถมคลองสาหร่าย จนชาวบ้านได้รับผลกระทบจำนวนมาก จากโครงการพุทธอุทยานนครสวรรค์ ทั้งนี้จากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นว่าโครงการดังกล่าวได้บุกรุกคลองสาธารณประโยชน์ มีการถมดินสร้างบริเวณกลางคลองสาหร่ายความลึกประมาณ 6 เมตร
ทั้งนี้เชื่อกันว่ากรณีดังกล่าวเป็นเครือข่ายของวัดพระธรรมกาย ซึ่งเคยมีการร้องเรียนกันไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่ 24 มกราคม 2560 โดยทนายความคนเดียวกัน
วัดใจพระชั้นปกครอง
ส่วนข้อกังวลในเรื่องของการที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มอบหมายเรื่องสึกพระธัมมชโยให้กับสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนกลางดำเนินการอาจล่าช้า เนื่องจากเชื่อกันว่ามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย แต่พบว่าเจ้าคณะใหญ่หนกลางได้ส่งเรื่องดังกล่าวต่อไปยังพระเทพรัตนสุธี เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีแล้ว คราวนี้คงต้องขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่ของเจ้าคณะจังหวัดว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้มีการดึงเรื่องของพระธัมมชโยอยู่พอสมควร
“ตอนนี้ในสายของพระก็ต้องทบทวนกันให้ดีว่าจะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาหรือดึงเรื่องกันไว้ ตัวอย่างก็มีให้เห็นเรื่องการถอดสมณศักดิ์ของพระธัมมชโยและพระทัตตชีโวมาแล้ว หากยังปกป้องพระที่ทำผิดอยู่ท่านก็อยู่ในสถานะที่เสี่ยงเช่นเดียวกัน”
เคยหนุน-กลับหลังหัน
ขณะที่สายของนักวิชาการด้านพุทธศาสนาที่มีการเสวนากันเมื่อ 13 มีนาคม 2560 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ประธานสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งเอเชีย (สพอ.) ได้กล่าวถึงกรณีของวัดพระธรรมกายว่าต้องทบทวนการที่ให้ทุกคนมาเป็นธรรมกายนั้นไม่ถูกต้อง ต้องทบทวนคำสอนที่เป็นปัญหาว่าคำสอนนั้นผิดไปจากหลักคำสอนของพุทธศาสนาหรือไม่ ต้องทบทวนคำสอนเรื่องอภินิหาร เน้นร่ำรวยหรือการเชิญชวนให้บริจาคมาก ๆ ส่วนกรณีที่รัฐบาลมอบให้ฝ่ายสงฆ์พิจารณาทางวินัยว่ามีความผิดแค่ไหนจะถึงขั้นปาราชิกหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าถูกต้องแล้ว
ด้าน ผศ.ดร.เสถียร วิพรมหา นายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) กล่าวว่า วัดพระธรรมกายควรหันกลับมายึดหลักของพระธรรมวินัยซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา และต้องปรับการบริหารจัดการวัดให้เกิดความพอดี เพราะที่ผ่านมาอาจถูกมองในเชิงพุทธพาณิชย์
คนที่ติดตามเรื่องวัดพระธรรมกายมาตลอดจะทราบดีว่า ดร.บรรจบ เป็นประธานสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทยและหนุนแนวทางของวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด อีกทั้งสมาพันธ์ฯ เคยออกแถลงการณ์เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560 แสดงความไม่เห็นด้วยการกับใช้มาตรา 44 ในนามของนายกรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย แต่วันนี้กลับออกมาแนะนำให้วัดพระธรรมกายทบทวนเรื่องคำสอน
เช่นเดียวกับ ดร.เสถียร วิพรมหา ที่เคยขึ้นเวทีคนเสื้อแดงที่ถนนอักษะ ได้ออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายเสมอมาก็เริ่มหันมาแสดงความเห็นให้หันมายึดหลักพระธรรมวินัย
ตอนนี้ทุกคนคงต้องหันมารักตัวเองเป็นหลัก คนที่เคยหนุนวัดนี้เลยต้องกลับหลังหัน เพราะคดีของวัดพระธรรมกายวันนี้รัฐบาลเอาจริง หลังจากที่ปล่อยมาเนิ่นนาน บางรายก็เลือกที่จะนิ่งเงียบอย่างพระเมธีธรรมาจารย์ เจ้าคุณประสาร ที่เคยสนับสนุนสมเด็จช่วงฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็เลือกที่จะเงียบในเรื่องนี้