ผู้จัดการรายวัน –โฆษกกมธ.พาณิชย์ วิจารณ์ร่างกม.ค้าปลีกที่คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของครม.วันนี้ ตัดอำนาจการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากท้องถิ่นทิ้งทั้งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขยายสาขาของบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติ แถมเจอเกมล็อบบี้ดึงเวลาบังคับใช้ออกไปด้วยการให้รอออกกฎกระทรวงเสียก่อน พร้อมเปิดช่องเข้าสวมรอยแทนผู้ถือใบอนุญาตเดิมอีกด้วย
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จะมีวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ..... ภายหลังจากให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) นำไปแก้ไขปรับปรุง ร่างกม.ดังกล่าว ถือว่ามีเจตนาควบคุมดูแลการค้าปลีกค้าส่งที่กำลังเป็นข้อขัดแย้งระหว่างห้างค้าปลีกข้ามชาติและผู้ค้าดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ภายหลังการแก้ไขมีประเด็นสำคัญที่ถูกตัดทิ้งหรือเพิ่มเติมเข้ามา
ว่าที่ ร.อ. จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตั้งข้อสังเกตถึงร่างกฎหมายดังกล่าวที่คาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมครม.วันนี้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมก่อนหน้านี้ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ
ประเด็นแรก มีการปรับลดจำนวนมาตราจาก 66 มาตรา ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมอย่างกว้างขวาง กำหนดกฎเกณฑ์ กติกา ให้มีผลในทางปฏิบัติได้ทันที โดยลดเหลือเพียง 42 มาตรา และตัดทอนขั้นตอนการกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกไป โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในการออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ในการปฏิบัติในภายหลัง
“เป็นเกมการดึงเวลาออกไปให้ยาวที่สุดของบรรดาโมเดิร์นเทรด ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะออกกฎกระทรวงได้” โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ กล่าว
เขายังเชื่อว่า เหตุที่ร่างพ.ร.บ.ถูกแก้ไขและยืดเวลากว่าจะบังคับใช้ได้ออกไป เป็นเพราะมีการล็อบบี้จากบรรดาโมเดิร์นเทรดต่างชาติที่กำลังเร่งขยายสาขาก่อนที่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
ประเด็นที่สอง ในมาตรา 26 เปิดช่องให้ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจหรือตั้งสาขาในสถานประกอบธุรกิจของผู้ที่ได้รับอนุญาตแบบเหมาคลุมพื้นที่ไปแล้ว โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือตั้งสาขาอีก ซึ่งในร่างเดิมไม่มีมาตรานี้ เป็นการเสียบเข้ามาภายหลังในชั้นกฤษฎีกา
ว่าที่ร.อ.จิตร์ อธิบายว่า มาตราดังกล่าว ทำให้บรรดาห้างยักษ์ต่างชาติที่ต้องการขยายสาขาเข้าไปเช่าพื้นที่ที่มีการขออนุญาตไว้แล้วได้เลย ซึ่งการอนุญาตก็อาจเป็นให้ท้องถิ่นเป็นผู้ยื่นขออนุญาตเตรียมรอไว้ ห้างยักษ์ต่างชาติก็เข้าไปสวม เป็นการเปิดช่องให้เร่งขยายสาขามากขึ้นอีกทางหนึ่ง
สำหรับมาตรา 26 ตามร่างกม.ดังกล่าว ระบุว่า “ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งในสถานประกอบธุรกิจของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งมาตรา 23 แล้ว ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามาตรา 23 หรือมาตรา 24 แล้วแต่กรณี”
มาตรา 23 ระบุว่า “ผู้ใดจะประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งมาตรา 20 ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
“การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”
ส่วนมาตรา 24 กำหนดว่า “ใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้ใช้ได้กับธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
“ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งประเภทใดซึ่งประสงค์จะตั้งสาขาของธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งประเภทเดียวกัน ณ ที่ใด ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
“การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสาขาตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง”
ประการที่สาม ร่างกฎหมายดังกล่าว ในมาตรา 7 ยังได้ตัดบทบาทของคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กจค.) จากร่างเดิมออกไป เหลือเพียงแต่คณะกรรมการในระดับชาติเพียงชุดเดียว คือ คณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง
คณะกรรมการดังกล่าว มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน มีกรรมการโดยตำแหน่งจากข้าราชการ 8 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านกฎหมาย ด้านการค้าปลีกหรือค้าส่ง ด้านการบริหารธุริจ และด้านการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนั้น ยังมีกรรมการผู้แทนสถาบันหรือองค์กร 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากผู้แทนสภาหอการค้าฯ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภค แห่งละ 1 คน และผู้แทนสมาคมการค้าที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง จำนวน 2 คน
โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ กล่าวว่า คณะกรรมการดังกล่าว จะมีส่วนประกอบของข้าราชการและตัวแทนผู้ประกอบการขนาดใหญ่เป็นหลัก ถึงที่สุดแล้ว ทำให้การกำกับตามอำนาจของกฎหมายฉบับนี้แทบจะไม่มีบทบาทของคนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขยายสาขาของบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติเลยก็ว่าได้
ขณะที่ในบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปผลการพิจารณาในประเด็นการตัดบทบาทของ กจค.ออกไป และกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติกำกับเพียงชุดเดียว โดยให้ระบุความเห็นว่า เพื่อกำหนดมาตรฐานของหลักเกณฑ์ในการควบคุมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับชาติ คือ การกำหนดนโยบาย มาตรการ แผนการจัดระบบการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ตลอดจนให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน
ประการที่สี่ กำหนดบทลงโทษตามร่างกฎหมาย ว่าที่ร.อ.จิตร์ กล่าวว่า ฉบับปรับปรุงยังลดโทษให้เหลือเฉพาะโทษทางอาญา โดยตัดทอนโทษปรับทางปกครองออกไป เหลือแต่โทษทางอาญา
ตามร่างเดิม กำหนดโทษทางปกครองไว้ในมาตรา 53 และ มาตรา 54 โดยมาตรา 53 กำหนดว่า “(1) ตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน (2) ปรับทางปกครอง” ส่วนมาตรา 54 ระบุว่า การลงโทษทางปกครองตามาตรา 53 ให้กรรมการและเลขานุการ กกค. หรือประธาน กจค. มีอำนาจลงโทษทางปกครอง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกค.กำหนด
สำหรับจำนวนค่าปรับต้องไม่เกินสองแสนบาทในแต่ละกรรม โดยให้คำนึงถึงพฤติกรรมแห่งการกระทำและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้นด้วย
บันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นในประเด็นโทษปรับทางปกครองว่า การกำหนดให้มีโทษปรับทางปกครองกรณีผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่ กกค. หรือ กจค. ประกาศ มีลักษณะเป็นการกำหนดโทษของการฝ่าฝืนประกาศของ กกค. หรือ กจค. ซึ่งเป็นการกำหนดโทษไว้ล่วงหน้าโดยไม่รู้ว่าในอนาคต กกค. หรือ กจค. จะประกาศกำหนดห้ามผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือกำหนดให้ต้องกระทำการอย่างใดบ้าง
ทั้งการกำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจลงโทษทางปกครอง ก็ยังไม่ชัดเจนขึ้นอยู่กับ กกค. จะประกาศ และในกรณีที่ไม่มีการชำระค่าปรับทางปกครองจะต้องนำมาตรการบังคับทางปกครองสำหรับกิจการค้าปลีกค้าส่งเช่นนี้ก็เป็นไปได้ยาก
อนึ่ง ร่างกม.ฉบับดังกล่าวเป็นร่างที่นำเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการปรับแก้ไปแล้วหลายครั้ง รวมทั้งการระดมความเห็นของตัวแทนผู้ประกอบการห้างค้าปลีกรายใหญ่
นอกเหนือไปจากร่างของกระทรวงพาณิชย์แล้ว ก่อนนี้ยังมีร่างกฎหมายค้าปลีกฉบับคณะกรรมาธิการพาณิชย์ที่นำเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ทว่าถูกตีตกไป เนื่องจากเสียงข้างมากในสภามีความเห็นตีความมาตรา 26 ในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ที่ระบุให้ คณะกรรมการระดับชาติ หรือ กกค. “..จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาค จัดหาแหล่งเงนทุนโดยผ่านสถาบันการเงินในประเทศ..” ว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเงินซึ่ง สนช.ไม่มีอำนาจนำเสนอ
วันนี้ (16 ต.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จะมีวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ..... ภายหลังจากให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) นำไปแก้ไขปรับปรุง ร่างกม.ดังกล่าว ถือว่ามีเจตนาควบคุมดูแลการค้าปลีกค้าส่งที่กำลังเป็นข้อขัดแย้งระหว่างห้างค้าปลีกข้ามชาติและผู้ค้าดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ภายหลังการแก้ไขมีประเด็นสำคัญที่ถูกตัดทิ้งหรือเพิ่มเติมเข้ามา
ว่าที่ ร.อ. จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตั้งข้อสังเกตถึงร่างกฎหมายดังกล่าวที่คาดว่าจะเข้าสู่ที่ประชุมครม.วันนี้ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมก่อนหน้านี้ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ
ประเด็นแรก มีการปรับลดจำนวนมาตราจาก 66 มาตรา ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมอย่างกว้างขวาง กำหนดกฎเกณฑ์ กติกา ให้มีผลในทางปฏิบัติได้ทันที โดยลดเหลือเพียง 42 มาตรา และตัดทอนขั้นตอนการกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกไป โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในการออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ในการปฏิบัติในภายหลัง
“เป็นเกมการดึงเวลาออกไปให้ยาวที่สุดของบรรดาโมเดิร์นเทรด ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะออกกฎกระทรวงได้” โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ กล่าว
เขายังเชื่อว่า เหตุที่ร่างพ.ร.บ.ถูกแก้ไขและยืดเวลากว่าจะบังคับใช้ได้ออกไป เป็นเพราะมีการล็อบบี้จากบรรดาโมเดิร์นเทรดต่างชาติที่กำลังเร่งขยายสาขาก่อนที่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
ประเด็นที่สอง ในมาตรา 26 เปิดช่องให้ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจหรือตั้งสาขาในสถานประกอบธุรกิจของผู้ที่ได้รับอนุญาตแบบเหมาคลุมพื้นที่ไปแล้ว โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือตั้งสาขาอีก ซึ่งในร่างเดิมไม่มีมาตรานี้ เป็นการเสียบเข้ามาภายหลังในชั้นกฤษฎีกา
ว่าที่ร.อ.จิตร์ อธิบายว่า มาตราดังกล่าว ทำให้บรรดาห้างยักษ์ต่างชาติที่ต้องการขยายสาขาเข้าไปเช่าพื้นที่ที่มีการขออนุญาตไว้แล้วได้เลย ซึ่งการอนุญาตก็อาจเป็นให้ท้องถิ่นเป็นผู้ยื่นขออนุญาตเตรียมรอไว้ ห้างยักษ์ต่างชาติก็เข้าไปสวม เป็นการเปิดช่องให้เร่งขยายสาขามากขึ้นอีกทางหนึ่ง
สำหรับมาตรา 26 ตามร่างกม.ดังกล่าว ระบุว่า “ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งในสถานประกอบธุรกิจของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งมาตรา 23 แล้ว ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามาตรา 23 หรือมาตรา 24 แล้วแต่กรณี”
มาตรา 23 ระบุว่า “ผู้ใดจะประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งมาตรา 20 ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
“การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”
ส่วนมาตรา 24 กำหนดว่า “ใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้ใช้ได้กับธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
“ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งประเภทใดซึ่งประสงค์จะตั้งสาขาของธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่งประเภทเดียวกัน ณ ที่ใด ต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
“การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้จัดตั้งสาขาตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง”
ประการที่สาม ร่างกฎหมายดังกล่าว ในมาตรา 7 ยังได้ตัดบทบาทของคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กจค.) จากร่างเดิมออกไป เหลือเพียงแต่คณะกรรมการในระดับชาติเพียงชุดเดียว คือ คณะกรรมการการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง
คณะกรรมการดังกล่าว มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน มีกรรมการโดยตำแหน่งจากข้าราชการ 8 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านกฎหมาย ด้านการค้าปลีกหรือค้าส่ง ด้านการบริหารธุริจ และด้านการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนั้น ยังมีกรรมการผู้แทนสถาบันหรือองค์กร 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจากผู้แทนสภาหอการค้าฯ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม ผู้แทนสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภค แห่งละ 1 คน และผู้แทนสมาคมการค้าที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจค้าปลีกหรือค้าส่ง จำนวน 2 คน
โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ กล่าวว่า คณะกรรมการดังกล่าว จะมีส่วนประกอบของข้าราชการและตัวแทนผู้ประกอบการขนาดใหญ่เป็นหลัก ถึงที่สุดแล้ว ทำให้การกำกับตามอำนาจของกฎหมายฉบับนี้แทบจะไม่มีบทบาทของคนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการรายเล็ก ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขยายสาขาของบรรษัทค้าปลีกข้ามชาติเลยก็ว่าได้
ขณะที่ในบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปผลการพิจารณาในประเด็นการตัดบทบาทของ กจค.ออกไป และกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติกำกับเพียงชุดเดียว โดยให้ระบุความเห็นว่า เพื่อกำหนดมาตรฐานของหลักเกณฑ์ในการควบคุมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งนี้ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการระดับชาติ คือ การกำหนดนโยบาย มาตรการ แผนการจัดระบบการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ตลอดจนให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายสนับสนุน
ประการที่สี่ กำหนดบทลงโทษตามร่างกฎหมาย ว่าที่ร.อ.จิตร์ กล่าวว่า ฉบับปรับปรุงยังลดโทษให้เหลือเฉพาะโทษทางอาญา โดยตัดทอนโทษปรับทางปกครองออกไป เหลือแต่โทษทางอาญา
ตามร่างเดิม กำหนดโทษทางปกครองไว้ในมาตรา 53 และ มาตรา 54 โดยมาตรา 53 กำหนดว่า “(1) ตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน (2) ปรับทางปกครอง” ส่วนมาตรา 54 ระบุว่า การลงโทษทางปกครองตามาตรา 53 ให้กรรมการและเลขานุการ กกค. หรือประธาน กจค. มีอำนาจลงโทษทางปกครอง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกค.กำหนด
สำหรับจำนวนค่าปรับต้องไม่เกินสองแสนบาทในแต่ละกรรม โดยให้คำนึงถึงพฤติกรรมแห่งการกระทำและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำนั้นด้วย
บันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นในประเด็นโทษปรับทางปกครองว่า การกำหนดให้มีโทษปรับทางปกครองกรณีผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่ กกค. หรือ กจค. ประกาศ มีลักษณะเป็นการกำหนดโทษของการฝ่าฝืนประกาศของ กกค. หรือ กจค. ซึ่งเป็นการกำหนดโทษไว้ล่วงหน้าโดยไม่รู้ว่าในอนาคต กกค. หรือ กจค. จะประกาศกำหนดห้ามผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือกำหนดให้ต้องกระทำการอย่างใดบ้าง
ทั้งการกำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจลงโทษทางปกครอง ก็ยังไม่ชัดเจนขึ้นอยู่กับ กกค. จะประกาศ และในกรณีที่ไม่มีการชำระค่าปรับทางปกครองจะต้องนำมาตรการบังคับทางปกครองสำหรับกิจการค้าปลีกค้าส่งเช่นนี้ก็เป็นไปได้ยาก
อนึ่ง ร่างกม.ฉบับดังกล่าวเป็นร่างที่นำเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการปรับแก้ไปแล้วหลายครั้ง รวมทั้งการระดมความเห็นของตัวแทนผู้ประกอบการห้างค้าปลีกรายใหญ่
นอกเหนือไปจากร่างของกระทรวงพาณิชย์แล้ว ก่อนนี้ยังมีร่างกฎหมายค้าปลีกฉบับคณะกรรมาธิการพาณิชย์ที่นำเสนอเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ทว่าถูกตีตกไป เนื่องจากเสียงข้างมากในสภามีความเห็นตีความมาตรา 26 ในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ที่ระบุให้ คณะกรรมการระดับชาติ หรือ กกค. “..จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในภูมิภาค จัดหาแหล่งเงนทุนโดยผ่านสถาบันการเงินในประเทศ..” ว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเงินซึ่ง สนช.ไม่มีอำนาจนำเสนอ