เวทีถกไฟใต้หลังรัฐประหารที่ธรรมศาสตร์เผยข้อมูลรอบ 3 ปี ความรุนแรงยังพุ่งสูงขึ้นแม้ว่าจะมีรัฐบาลใหม่ที่มีท่าทีสมานฉันท์ ยอดตายพุ่งเฉียด 2 พันคน ชณะที่ครูใต้ฟันธงหากสถานการณ์ทางการยังไม่มีความพร้อม รอเห็นรัฐใหม่ใน 3 ปี เผยคนพุทธย้ายออกนอกพื้นที่กว่าครึ่ง ขู่รัฐต้องยอมรับความจริงเผยตัว “บีอาร์เอ็น” ให้ประชาชนรับรู้ เพื่อรับมือได้ทันท่วงที เจ้าคณะจังหวัดปัตตานีระบุการช่วยเหลือประชาชนยังช้า ติงคำขอโทษนายกฯ ผิดตัว อดีต บก.ศูนย์ข่าวอิศราแนะรัฐต้องเข้าใจ “มลายู ปัตตานี อิสลาม” พร้อมเน้นพื้นที่ข่าวสารเพิ่ม่เติม ส่วนหมอแว ระบุต้องแยกคนเป็น 4 กลุ่ม อย่าเหมารวม

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา ณ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ ร่วมกับศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้และสถาบันข่าวอิศรา ร่วมจัดวงเสวนาในหัวข้อ “ชายแดนใต้หลังรัฐบาลใหม่ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ” โดยมีพระมหาชรัช อุชุจาโร รองเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี นายศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายแวมะหาดี แวดาโอะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา เป็นวิทยากร
***หลังรัฐประหารเหตุร้ายยังพุ่งสูง
นายศรีสมภพ ระบุถึงจากการรวบรวมข้อมูลเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.2547 จนถึง 31 พ.ย.2549 พบว่า มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น 5,764 ครั้ง ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 1,908 คน ประมาณการณ์เมื่อครบ 3 ปี คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 พันคน นอกจากนี้ จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ต่างๆ มีอยู่ประมาณ 2 พันคน
“เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก”
เมื่อพิจารณาจากภูมหลังของผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาจารย์รัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี ระบุว่า ราษฎรตกเป็นเป้าหมายส่วนใหญ่ รองลงมาคือตำรวจและทหาร จากข้อมูลเหล่านี้ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดระแวงและถูกคุกคามในชีวิตประจำวันที่เกิดจากการที่รัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายควบคุมสถานการณ์ได้ ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่สามารถบริการประชาชนได้ไม่ว่าจะในมิติสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนา ฯลฯ
“สถานการณ์ทุกวันนี้เป็นการลดทอนอำนาจรัฐไปในตัว กล่าวคือรัฐไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ ไม่สามารถจะสร้างความชอบธรรมทางการเมืองได้”
นายศรีสมภพ กล่าวว่า เป้าหมายที่เป็นไทยพุทธและมุสลิมได้รับผลกระทบในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน จากตัวเลขระบุว่า มุสลิมตกเป็นเป้าการโจมตีมากกว่า ซึ่งแตกต่างกับกระแสข่าวที่ออกมาอาจทำให้รู้สึกว่าชาวไทยพุทธถูกกระทำมากกว่า
เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการก่อเหตุร้าย เขาระบุว่า การลอบสังหารโดยการยิงเป็นวิธีการที่กลุ่มผู้ก่อการใช้มากที่สุด โดยเฉพาะเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีการสังหารโดยใช้วิธีการยิงมากที่สุดในรอบ 35 เดือน ส่วนการใช้ระเบิดเป็นวิธีการที่รองลงมา โดยมีข้อสังเกตว่าระยะหลังมีวิธีการนี้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งพิจารณาจากน้ำหนัก
ระเบิดที่ใช้ในแต่ละครั้งมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรูปแบบการพลีชีพหรือการประสงค์โจมตีต่อเป้าหมายในที่สาธารณะอย่างชัดแจ้ง เป้าหมายยังจำกัดอยู่
“ถ้าเป็นเป้าหมายที่เข้มแข็งในกรณีของเจ้าหน้าที่ ผู้ก่อการจะใช้ระเบิดที่มีอำนาจทำลายสูง ในขณะที่หากเป็นเป้าหมายที่อ่อนในกรณีราษฎรทั่วไป ระเบิดจะมีอำนาจทำลายต่ำ แต่มุ่งหวังผลในทางสัญลักษณ์มากกกว่า” เขาตั้งข้อสังเกตุ และให้ข้อมูลว่า การใช้ระเบิดเริ่มมีถี่ขึ้นนับตั้งแต่เดือน ส.ค.2548 และถือเป็นลักษณะพิเศษของสถานการณ์ก่อการร้ายในประเทศไทย
นายศรีสมภพ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจาณาโดยภาพรวมปี 2548 เป็นปีที่มีเหตุรุนแรงมากที่สุด ในขณะที่ปี 2549 เป็นลำดับรองลงมาแต่ส่งผลกระทบสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงอาจกล่าวได้ว่า ระดับและศักยภาพของความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ทำให้การควบคุมแก้ไขยังต้องใช้เวลาอีกมาก แม้หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา เหตุรุนแรงในช่วงแรกคือประมาณปลาย ก.ย. จนถึง ต.ค. มีสถิติที่ลดลง แต่จำนวนการก่อเหตุกลับพุ่งสูงขึ้นนับจากนั้นเป็นต้นมา แนวคิดในการแก้ปัญหาของรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวคำขอโทษ การถอนฟ้องคดีตากใบ หรืออื่นๆ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงแต่ก็ยังคงมีผลไม่มากนัก
“แม้แนวทางของรัฐบาลจะชัดเจน แต่ในระยะยาว อาจยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงกระแสความรุนแรงได้”
***เชื่อเห็นรัฐใหม่ใน 3 ปี
ด้านนายประสิทธิ ในฐานะที่รับราชการครูในพื้นที่ยะลามา 34 ปี กล่าวถึงความรุนแรงที่ยังดำรงอยู่และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ในรูปแบบที่สยดสยอง ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัดคอเหยื่อ การยิงและเผาทั้งเป็น รวมไปถึงสังหารแล้วทำลายศพ แม้ว่าเหยื่อจะเป็นครูหรือ ตชด.ทีสนิทสนมกับชาวบ้านก็ไม่ทำให้รอดจากการก่อเหตุร้ายได้ ในขณะที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เลย
เขากล่าวอีกว่า ในพื้นที่มีการเปิดเผยตัวของฝ่ายตรงกันข้ามมากขึ้น กองกำลังติดอาวุธสวมใส่เครื่องแบบสาธารณรัฐปัตตานีอย่างเปิดเผย บางพื้นที่มีการแจกบัตรประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่ากระแสข่าวการปักธงปัตตานีไม่ใช่เรื่องเล่น แต่เป็นปฏิบัติการทางจิตวิทยาของฝ่ายตรงกันข้าม ในขณะที่ทางการเองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่พร้อมที่จะทำงาน ศอ.บต.และ พตท.ก็ยังแต่งตัวไม่เสร็จ ในขณะที่มีคนตายทุกวัน ครูเองก็อยู่ไม่ได้
ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูฯ กล่าวด้วยว่า สภาพในพื้นที่เองเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็ไม่กล้าลงพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ปล่อยเกียร์ว่าง ไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนทหารตำรวจในพื้นที่ก็ถดถอยทางความรู้สึก ในขณะที่ชาวบ้านไทยพุทธก็มีการย้ายออกจากพื้นที่ไปเป็นจำนวนมาก ที่ตนประมวลได้ในขณะนี้จากที่ 3 จังหวัดเคยมีชาวไทยพุทธอาศัยอยู่ 3.2 แสนคนในปี 2547 ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 9 หมื่นคน
“ผมเชื่อว่าหากสถานการณ์ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่เกิน 3 ปี เราคงจะได้เห็นประเทศใหม่เกิดขึ้นแน่”
ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูฯ กล่าวอีกว่า คำขอโทษของ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ได้รับการยกย่องว่าเยี่ยมมาก แต่ตนเห็นว่าท่าทีดังกล่าวจะทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามนำไปโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐไทยยอมรับว่าได้ทำชั่วจริงและขยายผลประเด็นดังกล่าวในทางการเมืองต่อไปได้
เขาเห็นว่า รัฐบาลใหม่จะต้องทบทวนสิ่งที่รัฐบาลเก่าทำไปแล้วว่ามีส่วนใหนดีส่วนใหนที่ต้องปรับปรุง และนำมาปรับใช้ ไม่ใช่ว่าอะไรที่เป็นของรัฐบาลเก่าถือว่าผิดหมดและไม่ถูก อย่างเช่น นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาที่ตอนนี้เงียบ ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น
“นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องยุติเหตุรุนแรงที่ทำให้เกิดความสูญเสียในแต่ละวันให้ได้ แต่สภาพตอนนี้คือระดับนโยบายใส่เกียร์ว่างตลอด ในขณะที่ฝ่ายปฏิบัติก็ยังต้องทำงาน นายอำเภอบางคนยังต้องจ่ายเงินเดือนส่วนตัวให้กับเจ้าหน้าที่ไปใส่น้ำมันรถเพื่อลาดตระเวนเลย”
***ขู่รัฐต้องศึกษาบีอาร์เอ็น
นายประสิทธิ เสนอด้วยว่า รัฐจะต้องศึกษาวิจัยให้ชัดเจนว่า กลุ่มผู้ก่อการอยู่ในขณะนี้เป็นใครกันแน่ เพื่อที่จะมากำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการสู้รบให้ถูกต้อง ไม่ใช่บอกว่าเป็นกลุ่มยาเสพติดอยู่ ตนเชื่อว่าในขณะนี้เกิดอำนาจรัฐซ้อนครอบคลุมอยู่ในพื้นที่เต็มไปหมด จากข้อมูลที่ตนรู้แทบจะทุกหมู่บ้านมีการจัดตั้งระบบที่เรียกว่า “อาเยาะห์” ซึ่งประกอบด้วยกำลังคนใน 4 ฝ่าย คือ ผ่ายเศรษฐกิจ เพื่อส่งกำลังบำรุง ฝ่ายคอมมานโดหรือฝ่ายการทหร ฝ่ายอูลามา เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นต่างๆ และฝายการเมืองการปกครอง
“ถ้าถูกวินิจฉัยว่า คนๆ นี้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติของเขา ฝ่ายคอมมานโดก็สามารถจะสังหารได้เลย”
เขากล่าวด้วยว่า จากข้อมูลที่มีสามารถระบุได้ว่ากลุ่มที่ก่อเหตุอยู่ในปัจจุบัน คือ กลุ่มบีอาร์เอ็น โคออดิเนต ที่มียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ก็รู้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่ในระดับนโยบาย อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิทธิของประชาชนที่จะรับรู้ รัฐบาลจะต้องทำความกระจ่าง ไม่ใช่ปกปิดอยู่เหมือนในปัจจุบัน
“3 จังหวัดกำลังจะสูญเสียเอกราช เรายังไม่สำนึกกันอีก”
ส่วนในประเด็นด้านข่าวสารการประชาสัมพันธ์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูฯ กล่าวว่า ทางการไม่สามารถสื่อสารให้เข้าถึงประชาชนได้ ในขณะที่บทบาทของศูนย์ข่าวอิศราที่ทำงานอย่างถึงลูกถึงคน หลายหน่วยงานก็นำข่าวจากอิศราไปวิเคราะห์ แต่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นเพราะทำงานดีเกินไปหรือมีนโยบายมาสะกิดว่าผลิตงานให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ทางการใช้ประโยชน์ไม่เป็นเสียเอง
พระมหาชรัชฯ กล่าวว่า รัฐบาลยังให้การดูแลต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบช้ามาก เนื่องจากขั้นตอนยุ่งยาก อีกทั้งนโยบายที่ไม่เป็นเอกภาพ ในขณะเดียวกันตนรู้สึกว่าสำนึกของความรักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ในพื้นที่ก็เกิดช่องโหว่และลดน้อยลง
เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี กล่าวอีกว่า การกล่าวคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีถือเป็นว่าเป็นท่าทีที่เป็นสุภาพบุรุษ สอดคล้องกับหลักผู้นำที่ต้องรับผิดชอบ แต่ผิดพลาดที่กล่าวผิดคน เนื่องจากคนร้ายจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ในขณะที่ผู้ก่อการตัวจริงอาจจะหัวเราะอยู่ก็ได้ เขาคงไม่สนใจเพราะเขามีเป้าหมายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวไปแล้วก็จะต้องเข้าช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์เต็มร้อยด้วยเช่นกัน
***ต้องเข้าใจมลายู ปัตตานี อิสลาม
ในขณะที่นายมูฮำหมัดอายุบ ระบุว่า จากการทำงานที่ศูนย์ข่าวอิศราเป็นเวลา 1 ปี ทำให้พอจะเห็นวิกฤตความรู้สึกระหว่างคนต่างวัฒนธรรม สถานการณ์ในทุกวันนี้ทำให้ช่องว่างดังกล่าวนี้ห่างกันมากขึ้น เนื่องกลุ่มใต้ดินใช้ความรุนแรงเข้าไปก่อให้เกิดความหวาดระแวงขึ้น ในขณะที่ความคิดในการแก้ปัญหาก็ยังไม่ตกผลึกซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการวางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของฝ่ายทางการเอง
อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา เสนอว่า หากจะแก้ไขปัญหาไฟใต้ ทางการจะต้องทำความเข้าใจใน 3 หลัก ซึ่งเป็นฐานคิดในการทำความเข้าใจสภาพปัญหา คือ ความเป็นมลายูของคนท้องถิ่นที่มีเชื้อชาติของเขาเอง ความเป็นปัตตานีในมิติที่เขามีประวัติศาสตร์ของพวกเขาเองที่ไม่เหมือนกับประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทย และความเป็นอิสลามซึ่งเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ในขณะเดียวกัน เขายังมองว่า ปัญหาการสื่อสารเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องมีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มากขึ้น การสื่อสารจะต้องรับฟังเสียงของชาวบ้านและนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน วันนี้เราอาจเห็นว่ารัฐบาลใหม่กำลังรุกทางการเมือง แต่เอาเข้าจริงในพื้นที่ก็ไม่มีการรุกคืบอะไรมาก ในขณะที่กลุ่มใต้ดินเขารุกทุกวัน ทั้งที่ร้านน้ำชาและใบปลิวที่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ พอเรารุกฝ่ายตรงกันข้ามก็ใช้กองกำลังเข้าโจมตี
***แนะแยกคน 4 กลุ่ม
ด้านนายแวมะหาดี ยืนยันว่า วันนี้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีอยู่จริงและมีปฏิบัติการที่โหดจริงๆ ตนยังเคยได้รับคำเตือนในช่วงหลังยึดอำนาจใหม่ๆ ว่าอย่าให้ความร่วมมือกับกลุ่มทหารที่เข้ายึดอำนาจ แต่ที่ได้เข้าไปเป็น สนช. ก็เนื่องมาจากการแต่งตั้งโดยไม่ได้รับการทาบทามมาก่อน ในขณะเดียวกันการรณรงค์ของฝ่ายตรงกันข้ามก็กระทำอย่างเปิดเผย มีการแจกใบปลิวที่หน้ามัสยิดแห่งหนึ่งใน อ.สุไหงปาดี
สมาชิก สนช.ผู้นี้ เห็นว่า ท่าทีของ พล.อ.สุรยุทธ์ในการกล่าวคำขอโทษ ไม่ได้เป็นการขอโทษกับโจร แต่เป็นการขอโทษกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่เคยถูกกระทำจากอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อจากการฆ่าตัดตอน ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือตนเองและอีกหลายคนในฐานะจำเลยคดีความมั่นคง ที่ถูกบังคับให้รับสารภาพ ไม่ได้ขอโทษต่อนายสะแปอิง บาซอ หรือนายมะแซ อุเซ็ง แต่อย่างใด ตนเห็นว่าเป็นท่าทีที่ดี เพราะสะท้อนให้เห็นว่ากำลังทำความเข้าใจกับประชาชน
เขาแนะว่า ในการกำหนดนโยบายการแก้ปัญหาภาคใต้ รัฐบาลต้องแยกแยะประชาชนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มของผู้ก่อการ 2.กลุ่มนักเคลื่อนไหว นักสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคม ซึ่งมีบทบาทในการสะท้อนข้อเรียกร้องของประชาชน รัฐต้องไม่มองว่าเป็นแนวร่วมของกลุ่มแรก 3.นักการศาสนาหัวก้าวหน้าที่เริ่มจะเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ และ 4.ประชาชนทั่วไป ที่รัฐจุต้องให้การดูแล ไม่ใช่ทำเหมือนเป็นประชาชนชั้นสองของประเทศ
อย่างไรก็ตาม เขาเปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งต่อเจ้าพน้กงานที่ดำเนินคดีกับตนในคดีกบฏเจไอซึ่งยกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่สัปดาห์หน้าตนจะยื่นฟ้องในคดีอาญา เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์และทำให้ความจริงปรากฏ
เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา ณ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ ร่วมกับศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้และสถาบันข่าวอิศรา ร่วมจัดวงเสวนาในหัวข้อ “ชายแดนใต้หลังรัฐบาลใหม่ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ” โดยมีพระมหาชรัช อุชุจาโร รองเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี นายศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ปัตตานี นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายแวมะหาดี แวดาโอะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา เป็นวิทยากร
***หลังรัฐประหารเหตุร้ายยังพุ่งสูง
นายศรีสมภพ ระบุถึงจากการรวบรวมข้อมูลเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรอบ 35 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.2547 จนถึง 31 พ.ย.2549 พบว่า มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นทั้งสิ้น 5,764 ครั้ง ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 1,908 คน ประมาณการณ์เมื่อครบ 3 ปี คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 พันคน นอกจากนี้ จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ต่างๆ มีอยู่ประมาณ 2 พันคน
“เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก”
เมื่อพิจารณาจากภูมหลังของผู้ที่ได้รับผลกระทบ อาจารย์รัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี ระบุว่า ราษฎรตกเป็นเป้าหมายส่วนใหญ่ รองลงมาคือตำรวจและทหาร จากข้อมูลเหล่านี้ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดระแวงและถูกคุกคามในชีวิตประจำวันที่เกิดจากการที่รัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายควบคุมสถานการณ์ได้ ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่สามารถบริการประชาชนได้ไม่ว่าจะในมิติสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนา ฯลฯ
“สถานการณ์ทุกวันนี้เป็นการลดทอนอำนาจรัฐไปในตัว กล่าวคือรัฐไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ ไม่สามารถจะสร้างความชอบธรรมทางการเมืองได้”
นายศรีสมภพ กล่าวว่า เป้าหมายที่เป็นไทยพุทธและมุสลิมได้รับผลกระทบในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน จากตัวเลขระบุว่า มุสลิมตกเป็นเป้าการโจมตีมากกว่า ซึ่งแตกต่างกับกระแสข่าวที่ออกมาอาจทำให้รู้สึกว่าชาวไทยพุทธถูกกระทำมากกว่า
เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการก่อเหตุร้าย เขาระบุว่า การลอบสังหารโดยการยิงเป็นวิธีการที่กลุ่มผู้ก่อการใช้มากที่สุด โดยเฉพาะเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีการสังหารโดยใช้วิธีการยิงมากที่สุดในรอบ 35 เดือน ส่วนการใช้ระเบิดเป็นวิธีการที่รองลงมา โดยมีข้อสังเกตว่าระยะหลังมีวิธีการนี้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งพิจารณาจากน้ำหนัก
ระเบิดที่ใช้ในแต่ละครั้งมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรูปแบบการพลีชีพหรือการประสงค์โจมตีต่อเป้าหมายในที่สาธารณะอย่างชัดแจ้ง เป้าหมายยังจำกัดอยู่
“ถ้าเป็นเป้าหมายที่เข้มแข็งในกรณีของเจ้าหน้าที่ ผู้ก่อการจะใช้ระเบิดที่มีอำนาจทำลายสูง ในขณะที่หากเป็นเป้าหมายที่อ่อนในกรณีราษฎรทั่วไป ระเบิดจะมีอำนาจทำลายต่ำ แต่มุ่งหวังผลในทางสัญลักษณ์มากกกว่า” เขาตั้งข้อสังเกตุ และให้ข้อมูลว่า การใช้ระเบิดเริ่มมีถี่ขึ้นนับตั้งแต่เดือน ส.ค.2548 และถือเป็นลักษณะพิเศษของสถานการณ์ก่อการร้ายในประเทศไทย
นายศรีสมภพ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจาณาโดยภาพรวมปี 2548 เป็นปีที่มีเหตุรุนแรงมากที่สุด ในขณะที่ปี 2549 เป็นลำดับรองลงมาแต่ส่งผลกระทบสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงอาจกล่าวได้ว่า ระดับและศักยภาพของความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ทำให้การควบคุมแก้ไขยังต้องใช้เวลาอีกมาก แม้หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา เหตุรุนแรงในช่วงแรกคือประมาณปลาย ก.ย. จนถึง ต.ค. มีสถิติที่ลดลง แต่จำนวนการก่อเหตุกลับพุ่งสูงขึ้นนับจากนั้นเป็นต้นมา แนวคิดในการแก้ปัญหาของรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวคำขอโทษ การถอนฟ้องคดีตากใบ หรืออื่นๆ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงแต่ก็ยังคงมีผลไม่มากนัก
“แม้แนวทางของรัฐบาลจะชัดเจน แต่ในระยะยาว อาจยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงกระแสความรุนแรงได้”
***เชื่อเห็นรัฐใหม่ใน 3 ปี
ด้านนายประสิทธิ ในฐานะที่รับราชการครูในพื้นที่ยะลามา 34 ปี กล่าวถึงความรุนแรงที่ยังดำรงอยู่และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ในรูปแบบที่สยดสยอง ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัดคอเหยื่อ การยิงและเผาทั้งเป็น รวมไปถึงสังหารแล้วทำลายศพ แม้ว่าเหยื่อจะเป็นครูหรือ ตชด.ทีสนิทสนมกับชาวบ้านก็ไม่ทำให้รอดจากการก่อเหตุร้ายได้ ในขณะที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เลย
เขากล่าวอีกว่า ในพื้นที่มีการเปิดเผยตัวของฝ่ายตรงกันข้ามมากขึ้น กองกำลังติดอาวุธสวมใส่เครื่องแบบสาธารณรัฐปัตตานีอย่างเปิดเผย บางพื้นที่มีการแจกบัตรประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่ากระแสข่าวการปักธงปัตตานีไม่ใช่เรื่องเล่น แต่เป็นปฏิบัติการทางจิตวิทยาของฝ่ายตรงกันข้าม ในขณะที่ทางการเองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่พร้อมที่จะทำงาน ศอ.บต.และ พตท.ก็ยังแต่งตัวไม่เสร็จ ในขณะที่มีคนตายทุกวัน ครูเองก็อยู่ไม่ได้
ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูฯ กล่าวด้วยว่า สภาพในพื้นที่เองเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็ไม่กล้าลงพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ปล่อยเกียร์ว่าง ไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนทหารตำรวจในพื้นที่ก็ถดถอยทางความรู้สึก ในขณะที่ชาวบ้านไทยพุทธก็มีการย้ายออกจากพื้นที่ไปเป็นจำนวนมาก ที่ตนประมวลได้ในขณะนี้จากที่ 3 จังหวัดเคยมีชาวไทยพุทธอาศัยอยู่ 3.2 แสนคนในปี 2547 ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 9 หมื่นคน
“ผมเชื่อว่าหากสถานการณ์ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่เกิน 3 ปี เราคงจะได้เห็นประเทศใหม่เกิดขึ้นแน่”
ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูฯ กล่าวอีกว่า คำขอโทษของ พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ได้รับการยกย่องว่าเยี่ยมมาก แต่ตนเห็นว่าท่าทีดังกล่าวจะทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามนำไปโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐไทยยอมรับว่าได้ทำชั่วจริงและขยายผลประเด็นดังกล่าวในทางการเมืองต่อไปได้
เขาเห็นว่า รัฐบาลใหม่จะต้องทบทวนสิ่งที่รัฐบาลเก่าทำไปแล้วว่ามีส่วนใหนดีส่วนใหนที่ต้องปรับปรุง และนำมาปรับใช้ ไม่ใช่ว่าอะไรที่เป็นของรัฐบาลเก่าถือว่าผิดหมดและไม่ถูก อย่างเช่น นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาที่ตอนนี้เงียบ ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งสิ้น
“นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องยุติเหตุรุนแรงที่ทำให้เกิดความสูญเสียในแต่ละวันให้ได้ แต่สภาพตอนนี้คือระดับนโยบายใส่เกียร์ว่างตลอด ในขณะที่ฝ่ายปฏิบัติก็ยังต้องทำงาน นายอำเภอบางคนยังต้องจ่ายเงินเดือนส่วนตัวให้กับเจ้าหน้าที่ไปใส่น้ำมันรถเพื่อลาดตระเวนเลย”
***ขู่รัฐต้องศึกษาบีอาร์เอ็น
นายประสิทธิ เสนอด้วยว่า รัฐจะต้องศึกษาวิจัยให้ชัดเจนว่า กลุ่มผู้ก่อการอยู่ในขณะนี้เป็นใครกันแน่ เพื่อที่จะมากำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการสู้รบให้ถูกต้อง ไม่ใช่บอกว่าเป็นกลุ่มยาเสพติดอยู่ ตนเชื่อว่าในขณะนี้เกิดอำนาจรัฐซ้อนครอบคลุมอยู่ในพื้นที่เต็มไปหมด จากข้อมูลที่ตนรู้แทบจะทุกหมู่บ้านมีการจัดตั้งระบบที่เรียกว่า “อาเยาะห์” ซึ่งประกอบด้วยกำลังคนใน 4 ฝ่าย คือ ผ่ายเศรษฐกิจ เพื่อส่งกำลังบำรุง ฝ่ายคอมมานโดหรือฝ่ายการทหร ฝ่ายอูลามา เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นต่างๆ และฝายการเมืองการปกครอง
“ถ้าถูกวินิจฉัยว่า คนๆ นี้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติของเขา ฝ่ายคอมมานโดก็สามารถจะสังหารได้เลย”
เขากล่าวด้วยว่า จากข้อมูลที่มีสามารถระบุได้ว่ากลุ่มที่ก่อเหตุอยู่ในปัจจุบัน คือ กลุ่มบีอาร์เอ็น โคออดิเนต ที่มียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่ชัดเจน เจ้าหน้าที่ก็รู้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่ในระดับนโยบาย อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิทธิของประชาชนที่จะรับรู้ รัฐบาลจะต้องทำความกระจ่าง ไม่ใช่ปกปิดอยู่เหมือนในปัจจุบัน
“3 จังหวัดกำลังจะสูญเสียเอกราช เรายังไม่สำนึกกันอีก”
ส่วนในประเด็นด้านข่าวสารการประชาสัมพันธ์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ครูฯ กล่าวว่า ทางการไม่สามารถสื่อสารให้เข้าถึงประชาชนได้ ในขณะที่บทบาทของศูนย์ข่าวอิศราที่ทำงานอย่างถึงลูกถึงคน หลายหน่วยงานก็นำข่าวจากอิศราไปวิเคราะห์ แต่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นเพราะทำงานดีเกินไปหรือมีนโยบายมาสะกิดว่าผลิตงานให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ทางการใช้ประโยชน์ไม่เป็นเสียเอง
พระมหาชรัชฯ กล่าวว่า รัฐบาลยังให้การดูแลต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบช้ามาก เนื่องจากขั้นตอนยุ่งยาก อีกทั้งนโยบายที่ไม่เป็นเอกภาพ ในขณะเดียวกันตนรู้สึกว่าสำนึกของความรักชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ในพื้นที่ก็เกิดช่องโหว่และลดน้อยลง
เจ้าคณะจังหวัดปัตตานี กล่าวอีกว่า การกล่าวคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีถือเป็นว่าเป็นท่าทีที่เป็นสุภาพบุรุษ สอดคล้องกับหลักผู้นำที่ต้องรับผิดชอบ แต่ผิดพลาดที่กล่าวผิดคน เนื่องจากคนร้ายจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ในขณะที่ผู้ก่อการตัวจริงอาจจะหัวเราะอยู่ก็ได้ เขาคงไม่สนใจเพราะเขามีเป้าหมายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวไปแล้วก็จะต้องเข้าช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์เต็มร้อยด้วยเช่นกัน
***ต้องเข้าใจมลายู ปัตตานี อิสลาม
ในขณะที่นายมูฮำหมัดอายุบ ระบุว่า จากการทำงานที่ศูนย์ข่าวอิศราเป็นเวลา 1 ปี ทำให้พอจะเห็นวิกฤตความรู้สึกระหว่างคนต่างวัฒนธรรม สถานการณ์ในทุกวันนี้ทำให้ช่องว่างดังกล่าวนี้ห่างกันมากขึ้น เนื่องกลุ่มใต้ดินใช้ความรุนแรงเข้าไปก่อให้เกิดความหวาดระแวงขึ้น ในขณะที่ความคิดในการแก้ปัญหาก็ยังไม่ตกผลึกซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการวางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของฝ่ายทางการเอง
อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา เสนอว่า หากจะแก้ไขปัญหาไฟใต้ ทางการจะต้องทำความเข้าใจใน 3 หลัก ซึ่งเป็นฐานคิดในการทำความเข้าใจสภาพปัญหา คือ ความเป็นมลายูของคนท้องถิ่นที่มีเชื้อชาติของเขาเอง ความเป็นปัตตานีในมิติที่เขามีประวัติศาสตร์ของพวกเขาเองที่ไม่เหมือนกับประวัติศาสตร์กระแสหลักของไทย และความเป็นอิสลามซึ่งเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ในขณะเดียวกัน เขายังมองว่า ปัญหาการสื่อสารเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องมีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มากขึ้น การสื่อสารจะต้องรับฟังเสียงของชาวบ้านและนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน วันนี้เราอาจเห็นว่ารัฐบาลใหม่กำลังรุกทางการเมือง แต่เอาเข้าจริงในพื้นที่ก็ไม่มีการรุกคืบอะไรมาก ในขณะที่กลุ่มใต้ดินเขารุกทุกวัน ทั้งที่ร้านน้ำชาและใบปลิวที่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ พอเรารุกฝ่ายตรงกันข้ามก็ใช้กองกำลังเข้าโจมตี
***แนะแยกคน 4 กลุ่ม
ด้านนายแวมะหาดี ยืนยันว่า วันนี้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีอยู่จริงและมีปฏิบัติการที่โหดจริงๆ ตนยังเคยได้รับคำเตือนในช่วงหลังยึดอำนาจใหม่ๆ ว่าอย่าให้ความร่วมมือกับกลุ่มทหารที่เข้ายึดอำนาจ แต่ที่ได้เข้าไปเป็น สนช. ก็เนื่องมาจากการแต่งตั้งโดยไม่ได้รับการทาบทามมาก่อน ในขณะเดียวกันการรณรงค์ของฝ่ายตรงกันข้ามก็กระทำอย่างเปิดเผย มีการแจกใบปลิวที่หน้ามัสยิดแห่งหนึ่งใน อ.สุไหงปาดี
สมาชิก สนช.ผู้นี้ เห็นว่า ท่าทีของ พล.อ.สุรยุทธ์ในการกล่าวคำขอโทษ ไม่ได้เป็นการขอโทษกับโจร แต่เป็นการขอโทษกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่เคยถูกกระทำจากอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อจากการฆ่าตัดตอน ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือตนเองและอีกหลายคนในฐานะจำเลยคดีความมั่นคง ที่ถูกบังคับให้รับสารภาพ ไม่ได้ขอโทษต่อนายสะแปอิง บาซอ หรือนายมะแซ อุเซ็ง แต่อย่างใด ตนเห็นว่าเป็นท่าทีที่ดี เพราะสะท้อนให้เห็นว่ากำลังทำความเข้าใจกับประชาชน
เขาแนะว่า ในการกำหนดนโยบายการแก้ปัญหาภาคใต้ รัฐบาลต้องแยกแยะประชาชนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มของผู้ก่อการ 2.กลุ่มนักเคลื่อนไหว นักสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคม ซึ่งมีบทบาทในการสะท้อนข้อเรียกร้องของประชาชน รัฐต้องไม่มองว่าเป็นแนวร่วมของกลุ่มแรก 3.นักการศาสนาหัวก้าวหน้าที่เริ่มจะเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ และ 4.ประชาชนทั่วไป ที่รัฐจุต้องให้การดูแล ไม่ใช่ทำเหมือนเป็นประชาชนชั้นสองของประเทศ
อย่างไรก็ตาม เขาเปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการฟ้องร้องในทางแพ่งต่อเจ้าพน้กงานที่ดำเนินคดีกับตนในคดีกบฏเจไอซึ่งยกฟ้องไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่สัปดาห์หน้าตนจะยื่นฟ้องในคดีอาญา เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์และทำให้ความจริงปรากฏ