สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา การเคลื่อนไหวในรูปแบบ “ม็อบขับไล่” ในลักษณะที่มีชาวบ้านออกมาชุมนุมพร้อมมีข้อเรียกร้องในทำนองขับไล่เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการออกจากพื้นที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา โดยเฉพาะ 3 อำเภอสีแดงของจังหวัดยะลา ซึ่งในระยะเวลาไม่ถึงเดือน กลับมีปรากฏการณ์นี้ถึง 6 ครั้ง

อีกทั้งยังเป็นความเคลื่อนไหวที่ควบเคียงกับการเคลื่อนไหวทางการทหารอย่างชนิดที่ว่าสอดคล้องต้องกัน ปรากฏรูปเป็นสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ และพลเรือนต้องตกอยู่ในฐานะฝ่ายตั้งรับ การเคลื่อนไหวในทั้งสองรูปแบบเพื่อต้องการตอบโต้แนวทางการเมืองนำการทหารของรัฐบาลใหม่อย่างตรงไปตรงมาที่สุดนั่นเอง
การชุมนุมครั้งแรก อุบัติขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน เมื่อกลุ่มผู้หญิงและเด็กร่วม 300 กว่าคน ออกมารวมตัวกันที่บริเวณฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 3201 ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบาเจาะ หมู่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โดยยื่นข้อเรียกร้องกดดันให้ ตชด.ชุดดังกล่าว ถอนกำลังออกจากพื้นที่ เนื่องจากชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวเชื่อว่านายอิสมาย สามะ บิดาของนายอับดุลเลาะ สามะ (เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นแกนนำระดับหมู่บ้าน) ถูกยิงเสียชีวิตเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ ก่อนหน้านั้น 2 วัน
หลังจากที่ได้มีการเจรจากันระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐซึ่งเป็นนายก อบต.เขื่อนบางลางกับกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ข้อสรุปว่า ทางการจะถอนกำลัง ตชด.หน่วยดังกล่าวออกจากโรงเรียน แต่มีข้อแม้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในหมู่บ้านหลังจากนี้ เจ้าหน้าที่จะนำกำลังกลับเข้ามาเพื่อรักษาความสงบในพื้นที่อีก ข้อสรุปดังกล่าวเป็นที่พอใจ กลุ่มผู้ชุมนุมก็สลายตัวไปในเวลา 18.00 น.
อย่างไรก็ตาม ข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์ในเย็นวันนั้นและข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับในวันรุ่งขึ้นเปิดเผยภาพการชุมนุมครั้งดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ภาพผู้หญิงมุสลิมและเด็กปิดหน้าปิดตาและการชุมนุมกลางหมู่บ้านที่ไม่เผยแกนนำชัดเจน หลายคนนึกย้อนถึงเหตุการณ์อันไม่น่าจดจำอย่างกรณีตันหยงลิมอและกรณีกูจิงลือปะเมื่อหลายเดือนก่อน
จะต่างก็แค่พื้นที่การชุมนุมที่ย้ายจากเขตอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มาที่เขตอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ให้หลังการชุมนุมครั้งแรกราว 2 สัปดาห์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน รูปแบบการชุมนุมในลักษณะเดิมก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ทว่าในครั้งนี้มีผู้ชายเข้าร่วมชุมนุมเด่นชัดขึ้น ในสัดส่วนหญิงและเด็กราว 60 คน และเป็นชายประมาณ 30 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้ามัสยิดบ้านสะปอง หมู่ 3 ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยมีข้อเรียกร้องให้ ตชด.ที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในโรงเรียน ตชด.ยาสูบออกจากพื้นที่
การชุมนุมครั้งดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงบ้านนายสือแม อาแว ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลปะแต หนึ่งวันก่อนหน้านั้น แม้ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับกลายเป็นเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวมวลชนตามมา
นายสือแมคนเดียวกันนี้ ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกรณีการสังหาร 2 เจ้าหน้าที่ ตชด. ที่บ้านทำนบ ตำบลปะแตเมื่อ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในที่ชุมนุมปักใจเชื่อว่าเหตุยิงบ้านครั้งดังกล่าว เป็นการกระทำจากเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการล้างแค้น โดยมีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่าในคืนวันเกิดเหตุ ไม่พบว่ามีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ในละแวกดังกล่าวเลย
สถานการณ์คลี่คลายเมื่อนายอำเภอยะหา ร่วมกับผู้นำในพื้นที่ ได้เข้าไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า จะจ่ายค่าชดเชยให้กับเจ้าของบ้านผู้เสียหายและทางการจะดำเนินการจับตัวคนร้ายที่ก่อเหตุมาลงโทษให้เร็วที่สุด สุดท้ายผู้ชุมนุมจึงสลายตัวในเวลา 15.00 น.
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเหตุการณ์จะสงบง่ายๆ คำบอกเล่าของชาวบ้านระบุว่า เย็นวันเดียวกัน ขณะชาวบ้านจากฆอรอราแมเดินทางกลับบ้านพักด้วยขบวนรถจักรยานยนต์ ทหารพรานที่ตั้งฐานอยู่ที่โรงเรียนบ้านท่าละมัย หมู่ 4 ตำบลปะแต ได้ยิงปืนขึ้นฟ้าในลักษณะข่มขู่ ในขณะที่ข้อเท็จจริงจากปากคำของ ตชด.ที่คุมพื้นที่ดังกล่าวชี้แจงว่า ทหารพรานที่ด่านตรวจพยายามจะสกัดการหลบหนีของชายวัยรุ่นรายหนึ่งซึ่งพกปืนติดตัวมาด้วย
วันต่อมา (21 พฤศจิกายน) พื้นที่ปะแตก็เกิดการชุมนุมอีกครั้ง แต่ย้ายไปที่บ้านฆอรอราแม หมู่ 4 ถัดจากเดิมไปราว 3 กิโลเมตร โดยมีข้อเรียกร้องเพิ่มจากประเด็น ตชด.ที่กลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่พอใจ เป็นการเพิ่มข้อเรียกร้องให้ “ทหารพราน” ที่เข้ามาทำงานจรยุทธ์ในพื้นที่ซึ่งตั้งฐานอยู่ที่โรงเรียนบ้านละมัย
ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับบ้านฆอรอราแม คือ หมู่บ้านแห่งนี้เคยมีประวัติศาสตร์อันขมขื่นเกี่ยวกับทหารพราน จากกรณีที่ทหารพรานเคยกระทำการฆ่าชิงทรัพย์ชาวบ้าน 2 แม่ลูกเมื่อประมาณปี 2533 จนเป็นเหตุให้มีการชุมนุมใหญ่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอยะหา จนทางการต้องตัดสินใจถอนฐานกองพลทหารพรานที่ 43 ซึ่งเคยตั้งอยู่ที่บ้านฆอรอราแมออกจากพื้นที่ทันที
การชุมนุมเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน แยกเป็น 2 จุดๆ ละประมาณ 60 – 70 คน โดยจุดแรกมีการตั้งเต็นท์อยู่กลางถนนบริเวณสามแยกทะลุผ่านสามอำเภอ (ยะหา บันนังสตา และกรงปินัง) ส่วนจุดที่สองห่างจากจุดแรกประมาณ 300 เมตร โดยใช้เต็นท์และรถจักรยานยนต์เรียงรายปิดถนน ภายหลังการเจรจา แม้ผลสรุปจะให้มีการสับเปลี่ยนกำลัง ตชด. ชุดใหม่เข้าประจำการ ในขณะเดียวกันทหารพรานจะไม่สามารถละทิ้งภารกิจได้ แต่การชุมนุมก็สลายตัวไปในเวลาประมาณ 15.00 น. และยินยอมถอนเต็นท์ในเย็นวันเดียวกันนั่นเอง
ดึกคืนเดียวกัน เกิดเหตุปะทะระหว่างคนร้ายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดลาดตระเวนที่บ้านหน้าเกษตร อำเภอธารโต เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 2 นาย คนร้ายเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งพบศพคนร้ายในเช้าวันต่อมา และในขณะที่นำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา คนร้ายอีกชุดหนึ่งได้ซุ่มยิงรถฮัมวี่ชุดคุ้มกันรถพยาบาล ที่ตำบลป่าหวัง อำเภอบันนังสตา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ยิงตอบโต้ กระสุนพลาดเป้าไปถูกบ้านเรือนราษฎรรอบข้าง ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย
เช้าวันรุ่งขึ้น (22 พฤศจิกายน) จึงมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบมวลชน 2 จุด คือ กลางอำเภอธารโตและกลางอำเภอบันนังสตา จุดแรก เป็นชาวบ้านจากบ้านเกษตร บ้านแหรและบ้านผ่านศึก อำเภอธารโต ประมาณ 300 – 400 คน ได้นำศพของนายซุกรี บางานิง คนร้ายที่เสียชีวิตจากการปะทะกันในคืนที่ผ่านมาจากโรงพยาบาลธารโต เดินขบวนแห่ศพผ่านหน้า สภ.อ.ธารโต ตลาดธารโต และเข้าทำพิธีฝังศพที่มัสยิดสามัคคีธารโต
ในขณะที่อีกจุดหนึ่ง กลุ่มผู้หญิงและเด็กซึ่งใช้ผ้าปิดหน้าประมาณ 150 คน ชุมนุมอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอบันนังสตาเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการปะทะในคืนที่ผ่านมา จนกระสุนพลาดเป้าไปถูกบ้านเรือนของชาวบ้านที่ตำบลป่าหวัง ท้ายสุด นายอำเภอบันนังสตาเจรจารับปากว่ารับผิดชอบ การชุมนุมจึงสลายตัวไปในเวลาประมาณ 15.30 น.
ทว่าดึกคืนนั้นเอง ระหว่างที่กลุ่มวัยรุ่นประมาณ 30 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่ในบริเวณใกล้จุดตรวจบ้านคีรีเขต อำเภอธารโต ได้มีเสียงปืนปริศนาดังขึ้น ทำให้ ชรบ. ของตำบลคีรีเขตเข้าใจว่ามีที่มาจากกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว จึงยิงสวนกลับไป เป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
วันถัดมา (23 พฤศจิกายน) ชาวบ้านกว่า 50 คน รวมตัวกันในตลาดธารโตและเดินทางมาขอความเป็นธรรมที่ที่ว่าการอำเภอธารโตให้กับนายมะรอยี กาเราะ ที่ถูกเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่บ้านคีรีเขตดึกคืนที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ นายอำเภอธารโตได้รับปากว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม บ่ายวันเดียวกันชาวบ้าน 500 คน เดินขบวนแห่ศพนายมะรอยีเข้าตัวอำเภอธารโตเพื่อทำพิธีฝังตามประเพณี
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมครั้งนี้หวุดหวิดจะบานปลาย เนื่องจากระหว่างการเดินขบวนแห่ศพ บางส่วนของผู้ชุมนุมได้พยายามเข้าทำลายข้าวของ ขว้างปาสิ่งของ รวมทั้งพยายามจะทำลายรถกระบะ จนเป็นเหตุให้มีการยิงขึ้นฟ้าข่มขู่จากหลายทิศทาง เจ้าหน้าที่สามารถเข้าควบคุมผู้ต้องสงสัยอันเป็นชาวบ้านได้ที่ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์
จะเห็นได้ว่า “ม็อบขับไล่” ที่พัฒนาสู่การเดินขบวนที่อาจจะถึงขั้น “จลาจล” ในช่วงเวลาที่ไม่ถึง 1 เดือนที่ผ่านมา ล้วนเป็นปฏิบัติการที่สอดรับและสอดคล้องกับปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหาร ลอบวางเพลิง ลอบวางระเบิด ฯลฯ ผนึกเป็นแนวต้านการรุกแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยการเมืองของรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยะลา
กล่าวเฉพาะปฏิบัติการเคลื่อนไหวมวลชนในรูปลักษณ์และข้อเรียกร้องต่างๆ หากลงลึกในรายละเอียดจะเห็นได้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินได้หยิบใช้ “เงื่อนไข” ของมวลชนในพื้นที่มาเป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวครั้งนั้นๆ
ในขณะที่กรณีของการชุมนุมครั้งแรกที่ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา หยิบประเด็นการเสียชีวิตของ “อิสมาย สามะ” มาเป็นข้ออ้าง กรณีการชุมนุมที่ตำบลปะแต อำเภอยะหา ก็ฉวยประเด็นที่คนร้ายกราดยิงบ้านของ “สือแม อาแว” ในขณะที่การชุมนุมแห่ศพของ “มะรอยี กาเราะ” ต่างก็อยู่บนสมมติฐานของกลุ่มผู้ชุมนุมว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดียวกัน
ส่วนการตายของ “ซุกรี บางานิง” นั้นเป็นที่ชัดเจนว่าเกิดจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง แต่ส่งผลสะเทือนต่อกลุ่มมวลชนในทางตรงกันข้าม ซึ่งสะท้อนออกมาจากปรากฏการณ์ “แห่ศพ” ไปฝังที่สุสาน ในทำนองว่าผู้ตายเป็นเยี่ยง “วีรบุรุษ” ที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม วิธีการดังกล่าวใช้ต่อเนื่องมากับกรณีการตายของ “มะรอยี กาเราะ” ในอีกวันถัดมา
นอกจากนี้ “เงื่อนไข” ที่ถูกหยิบใช้ยังหมายรวมถึงความผิดพลาดของของเจ้าหน้าที่เอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่ ความผิดพลาดจากการปะทะจนทำให้กระสุนพลาดไปโดนบ้านของชาวบ้าน รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของบางพื้นที่ที่เคยมีความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน
กล่าวได้ไม่ยากเลยว่า กลุ่มผู้ก่อการพร้อมที่จะใช้ “เงื่อนไข” ต่างๆ ประดามี ทั้งเหตุการณ์เฉพาะหน้า ทัศนคติพื้นฐานของชาวบ้านต่อเจ้าหน้าที่รัฐ รวมไปถึงพื้นเพทางประวัติศาสตร์หมู่บ้านเข้ามาสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวมวลชนได้ทุกเมื่อ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ข้อเรียกร้องและเงื่อนไขในการเจรจาไม่ได้เป็นจุดหลักปักใหญ่ในการเคลื่อนไหวในรูปแบบการชุมนุมเหล่านี้แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากข้อเรียกร้องในช่วงการชุมนุม 2 – 3 ครั้งแรก ที่ถึงแม้จะได้ข้อสรุปว่าจะมีการสับเปลี่ยนกำลัง ตชด.จากโรงเรียน ตชด.ยาสูบ แล้ว การก่อหวอดในวันถัดมาก็ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง มิหนำซ้ำกลับเพิ่มข้อเรียกร้องมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อกดดันทางการเพิ่มมากขึ้น
ที่สำคัญ การชุมนุมทั้ง 6 ครั้งที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อเพื่อหวังผลให้ข้อต่อรองของตนได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด
กล่าวโดยสรุป ปฏิบัติการในรูปแบบเช่นนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จได้ หากปราศจากความร่วมมืออย่างแข็งขันจากมวลชนที่เป็นชาวบ้าน คำถามสำคัญ คือ “พวกเขา” สามารถยึดกุมมวลชนอยู่ในระดับใด พ.อ.ชินวัตร แม้นเดช ผบ.ฉก.1 เปิดเผยโครงสร้างและยุทธศาสตร์ของพวกเขาให้ภาพชัดเจนขึ้น ระหว่างการพูดคุยกับคณะครูกว่า 500 คน ที่โรงเรียนสตรียะลาวันนี้ (24 พฤศจิกายน)
เขาระบุว่า กลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบได้มีการจัดตั้งองค์กรลับขึ้นในหมู่บ้าน โดยมี “อาเยาะ” หรือ “ผู้นำ” เป็นผู้ดูแล มีอุสตาซบางคนเป็นหน่วยกำลังหลักที่เคลื่อนไหวอยู่ โดยที่เจ้าของโรงเรียนไม่ทราบ มีการปลุกระดมเยาวชนที่มีลักษณะเรียบร้อย เคร่งศาสนาด้วยวิธีการปลุกระดมโดยใช้ประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีที่ถูกสยามรุกราน
“มีการจัดตั้งชุมชนใหม่ และจะมีม็อบตามมาเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ หากชาวบ้านเชื่อที่ตามความเชื่อของขบวนการ สุดท้ายจะทำลายชุมชนของเขาเอง ขณะนี้ เน้นการฝึกด้านร่างกาย ฝึกอาวุธ รวมถึงการปฏิบัติการ แต่ประชาชนจะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ปฏิบัติ”
พ.อ.ชินวัตร ซึ่งดูแลเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ระบุด้วยว่า การแก้ปัญหาแนวทางของรัฐบาลจะไม่ใช้ความรุนแรง เน้นความสมานฉันท์ เพื่อความเข้าใจยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงกันข้าม จะต้องระวังการยั่วยุเพื่อดึงอำนาจรัฐเข้าสู่วงจรของความรุนแรง แม้ประชาชนจะมีความคิดที่บริสุทธิ์ แต่ถูกครอบงำจากขบวนการเพื่อให้เกิดการจลาจลสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด
อาจกล่าวได้ว่า ตราบใดที่คู่สงครามสามารถเข้าใจ “เงื่อนไข” ของมวลชนได้ ก็หมายถึงการเข้าใจสภาพความเป็นจริงของมวลชน เมื่อเข้าใจสภาพย่อมจะไม่ยากที่จะกุมสภาพการเคลื่อนไหวของมวลชนได้ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือขบวนการใต้ดินก็ตาม.
นับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา การเคลื่อนไหวในรูปแบบ “ม็อบขับไล่” ในลักษณะที่มีชาวบ้านออกมาชุมนุมพร้อมมีข้อเรียกร้องในทำนองขับไล่เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการออกจากพื้นที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา โดยเฉพาะ 3 อำเภอสีแดงของจังหวัดยะลา ซึ่งในระยะเวลาไม่ถึงเดือน กลับมีปรากฏการณ์นี้ถึง 6 ครั้ง
อีกทั้งยังเป็นความเคลื่อนไหวที่ควบเคียงกับการเคลื่อนไหวทางการทหารอย่างชนิดที่ว่าสอดคล้องต้องกัน ปรากฏรูปเป็นสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ และพลเรือนต้องตกอยู่ในฐานะฝ่ายตั้งรับ การเคลื่อนไหวในทั้งสองรูปแบบเพื่อต้องการตอบโต้แนวทางการเมืองนำการทหารของรัฐบาลใหม่อย่างตรงไปตรงมาที่สุดนั่นเอง
การชุมนุมครั้งแรก อุบัติขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน เมื่อกลุ่มผู้หญิงและเด็กร่วม 300 กว่าคน ออกมารวมตัวกันที่บริเวณฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 3201 ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบาเจาะ หมู่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา โดยยื่นข้อเรียกร้องกดดันให้ ตชด.ชุดดังกล่าว ถอนกำลังออกจากพื้นที่ เนื่องจากชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวเชื่อว่านายอิสมาย สามะ บิดาของนายอับดุลเลาะ สามะ (เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นแกนนำระดับหมู่บ้าน) ถูกยิงเสียชีวิตเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ ก่อนหน้านั้น 2 วัน
หลังจากที่ได้มีการเจรจากันระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐซึ่งเป็นนายก อบต.เขื่อนบางลางกับกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ข้อสรุปว่า ทางการจะถอนกำลัง ตชด.หน่วยดังกล่าวออกจากโรงเรียน แต่มีข้อแม้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในหมู่บ้านหลังจากนี้ เจ้าหน้าที่จะนำกำลังกลับเข้ามาเพื่อรักษาความสงบในพื้นที่อีก ข้อสรุปดังกล่าวเป็นที่พอใจ กลุ่มผู้ชุมนุมก็สลายตัวไปในเวลา 18.00 น.
อย่างไรก็ตาม ข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์ในเย็นวันนั้นและข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์หลายฉบับในวันรุ่งขึ้นเปิดเผยภาพการชุมนุมครั้งดังกล่าวอย่างกว้างขวาง ภาพผู้หญิงมุสลิมและเด็กปิดหน้าปิดตาและการชุมนุมกลางหมู่บ้านที่ไม่เผยแกนนำชัดเจน หลายคนนึกย้อนถึงเหตุการณ์อันไม่น่าจดจำอย่างกรณีตันหยงลิมอและกรณีกูจิงลือปะเมื่อหลายเดือนก่อน
จะต่างก็แค่พื้นที่การชุมนุมที่ย้ายจากเขตอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มาที่เขตอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ให้หลังการชุมนุมครั้งแรกราว 2 สัปดาห์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน รูปแบบการชุมนุมในลักษณะเดิมก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ทว่าในครั้งนี้มีผู้ชายเข้าร่วมชุมนุมเด่นชัดขึ้น ในสัดส่วนหญิงและเด็กราว 60 คน และเป็นชายประมาณ 30 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้ามัสยิดบ้านสะปอง หมู่ 3 ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยมีข้อเรียกร้องให้ ตชด.ที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในโรงเรียน ตชด.ยาสูบออกจากพื้นที่
การชุมนุมครั้งดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงบ้านนายสือแม อาแว ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลปะแต หนึ่งวันก่อนหน้านั้น แม้ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับกลายเป็นเงื่อนไขในการเคลื่อนไหวมวลชนตามมา
นายสือแมคนเดียวกันนี้ ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกรณีการสังหาร 2 เจ้าหน้าที่ ตชด. ที่บ้านทำนบ ตำบลปะแตเมื่อ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้ชาวบ้านในที่ชุมนุมปักใจเชื่อว่าเหตุยิงบ้านครั้งดังกล่าว เป็นการกระทำจากเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการล้างแค้น โดยมีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่าในคืนวันเกิดเหตุ ไม่พบว่ามีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ในละแวกดังกล่าวเลย
สถานการณ์คลี่คลายเมื่อนายอำเภอยะหา ร่วมกับผู้นำในพื้นที่ ได้เข้าไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า จะจ่ายค่าชดเชยให้กับเจ้าของบ้านผู้เสียหายและทางการจะดำเนินการจับตัวคนร้ายที่ก่อเหตุมาลงโทษให้เร็วที่สุด สุดท้ายผู้ชุมนุมจึงสลายตัวในเวลา 15.00 น.
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเหตุการณ์จะสงบง่ายๆ คำบอกเล่าของชาวบ้านระบุว่า เย็นวันเดียวกัน ขณะชาวบ้านจากฆอรอราแมเดินทางกลับบ้านพักด้วยขบวนรถจักรยานยนต์ ทหารพรานที่ตั้งฐานอยู่ที่โรงเรียนบ้านท่าละมัย หมู่ 4 ตำบลปะแต ได้ยิงปืนขึ้นฟ้าในลักษณะข่มขู่ ในขณะที่ข้อเท็จจริงจากปากคำของ ตชด.ที่คุมพื้นที่ดังกล่าวชี้แจงว่า ทหารพรานที่ด่านตรวจพยายามจะสกัดการหลบหนีของชายวัยรุ่นรายหนึ่งซึ่งพกปืนติดตัวมาด้วย
วันต่อมา (21 พฤศจิกายน) พื้นที่ปะแตก็เกิดการชุมนุมอีกครั้ง แต่ย้ายไปที่บ้านฆอรอราแม หมู่ 4 ถัดจากเดิมไปราว 3 กิโลเมตร โดยมีข้อเรียกร้องเพิ่มจากประเด็น ตชด.ที่กลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่พอใจ เป็นการเพิ่มข้อเรียกร้องให้ “ทหารพราน” ที่เข้ามาทำงานจรยุทธ์ในพื้นที่ซึ่งตั้งฐานอยู่ที่โรงเรียนบ้านละมัย
ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับบ้านฆอรอราแม คือ หมู่บ้านแห่งนี้เคยมีประวัติศาสตร์อันขมขื่นเกี่ยวกับทหารพราน จากกรณีที่ทหารพรานเคยกระทำการฆ่าชิงทรัพย์ชาวบ้าน 2 แม่ลูกเมื่อประมาณปี 2533 จนเป็นเหตุให้มีการชุมนุมใหญ่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอยะหา จนทางการต้องตัดสินใจถอนฐานกองพลทหารพรานที่ 43 ซึ่งเคยตั้งอยู่ที่บ้านฆอรอราแมออกจากพื้นที่ทันที
การชุมนุมเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน แยกเป็น 2 จุดๆ ละประมาณ 60 – 70 คน โดยจุดแรกมีการตั้งเต็นท์อยู่กลางถนนบริเวณสามแยกทะลุผ่านสามอำเภอ (ยะหา บันนังสตา และกรงปินัง) ส่วนจุดที่สองห่างจากจุดแรกประมาณ 300 เมตร โดยใช้เต็นท์และรถจักรยานยนต์เรียงรายปิดถนน ภายหลังการเจรจา แม้ผลสรุปจะให้มีการสับเปลี่ยนกำลัง ตชด. ชุดใหม่เข้าประจำการ ในขณะเดียวกันทหารพรานจะไม่สามารถละทิ้งภารกิจได้ แต่การชุมนุมก็สลายตัวไปในเวลาประมาณ 15.00 น. และยินยอมถอนเต็นท์ในเย็นวันเดียวกันนั่นเอง
ดึกคืนเดียวกัน เกิดเหตุปะทะระหว่างคนร้ายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดลาดตระเวนที่บ้านหน้าเกษตร อำเภอธารโต เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 2 นาย คนร้ายเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งพบศพคนร้ายในเช้าวันต่อมา และในขณะที่นำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา คนร้ายอีกชุดหนึ่งได้ซุ่มยิงรถฮัมวี่ชุดคุ้มกันรถพยาบาล ที่ตำบลป่าหวัง อำเภอบันนังสตา เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ยิงตอบโต้ กระสุนพลาดเป้าไปถูกบ้านเรือนราษฎรรอบข้าง ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย
เช้าวันรุ่งขึ้น (22 พฤศจิกายน) จึงมีการเคลื่อนไหวในรูปแบบมวลชน 2 จุด คือ กลางอำเภอธารโตและกลางอำเภอบันนังสตา จุดแรก เป็นชาวบ้านจากบ้านเกษตร บ้านแหรและบ้านผ่านศึก อำเภอธารโต ประมาณ 300 – 400 คน ได้นำศพของนายซุกรี บางานิง คนร้ายที่เสียชีวิตจากการปะทะกันในคืนที่ผ่านมาจากโรงพยาบาลธารโต เดินขบวนแห่ศพผ่านหน้า สภ.อ.ธารโต ตลาดธารโต และเข้าทำพิธีฝังศพที่มัสยิดสามัคคีธารโต
ในขณะที่อีกจุดหนึ่ง กลุ่มผู้หญิงและเด็กซึ่งใช้ผ้าปิดหน้าประมาณ 150 คน ชุมนุมอยู่ที่หน้าที่ว่าการอำเภอบันนังสตาเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการปะทะในคืนที่ผ่านมา จนกระสุนพลาดเป้าไปถูกบ้านเรือนของชาวบ้านที่ตำบลป่าหวัง ท้ายสุด นายอำเภอบันนังสตาเจรจารับปากว่ารับผิดชอบ การชุมนุมจึงสลายตัวไปในเวลาประมาณ 15.30 น.
ทว่าดึกคืนนั้นเอง ระหว่างที่กลุ่มวัยรุ่นประมาณ 30 คน ขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่ในบริเวณใกล้จุดตรวจบ้านคีรีเขต อำเภอธารโต ได้มีเสียงปืนปริศนาดังขึ้น ทำให้ ชรบ. ของตำบลคีรีเขตเข้าใจว่ามีที่มาจากกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว จึงยิงสวนกลับไป เป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
วันถัดมา (23 พฤศจิกายน) ชาวบ้านกว่า 50 คน รวมตัวกันในตลาดธารโตและเดินทางมาขอความเป็นธรรมที่ที่ว่าการอำเภอธารโตให้กับนายมะรอยี กาเราะ ที่ถูกเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่บ้านคีรีเขตดึกคืนที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ นายอำเภอธารโตได้รับปากว่าจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม บ่ายวันเดียวกันชาวบ้าน 500 คน เดินขบวนแห่ศพนายมะรอยีเข้าตัวอำเภอธารโตเพื่อทำพิธีฝังตามประเพณี
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมครั้งนี้หวุดหวิดจะบานปลาย เนื่องจากระหว่างการเดินขบวนแห่ศพ บางส่วนของผู้ชุมนุมได้พยายามเข้าทำลายข้าวของ ขว้างปาสิ่งของ รวมทั้งพยายามจะทำลายรถกระบะ จนเป็นเหตุให้มีการยิงขึ้นฟ้าข่มขู่จากหลายทิศทาง เจ้าหน้าที่สามารถเข้าควบคุมผู้ต้องสงสัยอันเป็นชาวบ้านได้ที่ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์
จะเห็นได้ว่า “ม็อบขับไล่” ที่พัฒนาสู่การเดินขบวนที่อาจจะถึงขั้น “จลาจล” ในช่วงเวลาที่ไม่ถึง 1 เดือนที่ผ่านมา ล้วนเป็นปฏิบัติการที่สอดรับและสอดคล้องกับปฏิบัติการทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการลอบสังหาร ลอบวางเพลิง ลอบวางระเบิด ฯลฯ ผนึกเป็นแนวต้านการรุกแก้ปัญหาไฟใต้ด้วยการเมืองของรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดยะลา
กล่าวเฉพาะปฏิบัติการเคลื่อนไหวมวลชนในรูปลักษณ์และข้อเรียกร้องต่างๆ หากลงลึกในรายละเอียดจะเห็นได้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินได้หยิบใช้ “เงื่อนไข” ของมวลชนในพื้นที่มาเป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวครั้งนั้นๆ
ในขณะที่กรณีของการชุมนุมครั้งแรกที่ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา หยิบประเด็นการเสียชีวิตของ “อิสมาย สามะ” มาเป็นข้ออ้าง กรณีการชุมนุมที่ตำบลปะแต อำเภอยะหา ก็ฉวยประเด็นที่คนร้ายกราดยิงบ้านของ “สือแม อาแว” ในขณะที่การชุมนุมแห่ศพของ “มะรอยี กาเราะ” ต่างก็อยู่บนสมมติฐานของกลุ่มผู้ชุมนุมว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดียวกัน
ส่วนการตายของ “ซุกรี บางานิง” นั้นเป็นที่ชัดเจนว่าเกิดจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง แต่ส่งผลสะเทือนต่อกลุ่มมวลชนในทางตรงกันข้าม ซึ่งสะท้อนออกมาจากปรากฏการณ์ “แห่ศพ” ไปฝังที่สุสาน ในทำนองว่าผู้ตายเป็นเยี่ยง “วีรบุรุษ” ที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม วิธีการดังกล่าวใช้ต่อเนื่องมากับกรณีการตายของ “มะรอยี กาเราะ” ในอีกวันถัดมา
นอกจากนี้ “เงื่อนไข” ที่ถูกหยิบใช้ยังหมายรวมถึงความผิดพลาดของของเจ้าหน้าที่เอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่ ความผิดพลาดจากการปะทะจนทำให้กระสุนพลาดไปโดนบ้านของชาวบ้าน รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของบางพื้นที่ที่เคยมีความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน
กล่าวได้ไม่ยากเลยว่า กลุ่มผู้ก่อการพร้อมที่จะใช้ “เงื่อนไข” ต่างๆ ประดามี ทั้งเหตุการณ์เฉพาะหน้า ทัศนคติพื้นฐานของชาวบ้านต่อเจ้าหน้าที่รัฐ รวมไปถึงพื้นเพทางประวัติศาสตร์หมู่บ้านเข้ามาสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวมวลชนได้ทุกเมื่อ
เป็นที่น่าสังเกตว่า ข้อเรียกร้องและเงื่อนไขในการเจรจาไม่ได้เป็นจุดหลักปักใหญ่ในการเคลื่อนไหวในรูปแบบการชุมนุมเหล่านี้แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากข้อเรียกร้องในช่วงการชุมนุม 2 – 3 ครั้งแรก ที่ถึงแม้จะได้ข้อสรุปว่าจะมีการสับเปลี่ยนกำลัง ตชด.จากโรงเรียน ตชด.ยาสูบ แล้ว การก่อหวอดในวันถัดมาก็ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง มิหนำซ้ำกลับเพิ่มข้อเรียกร้องมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อกดดันทางการเพิ่มมากขึ้น
ที่สำคัญ การชุมนุมทั้ง 6 ครั้งที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อเพื่อหวังผลให้ข้อต่อรองของตนได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด
กล่าวโดยสรุป ปฏิบัติการในรูปแบบเช่นนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จได้ หากปราศจากความร่วมมืออย่างแข็งขันจากมวลชนที่เป็นชาวบ้าน คำถามสำคัญ คือ “พวกเขา” สามารถยึดกุมมวลชนอยู่ในระดับใด พ.อ.ชินวัตร แม้นเดช ผบ.ฉก.1 เปิดเผยโครงสร้างและยุทธศาสตร์ของพวกเขาให้ภาพชัดเจนขึ้น ระหว่างการพูดคุยกับคณะครูกว่า 500 คน ที่โรงเรียนสตรียะลาวันนี้ (24 พฤศจิกายน)
เขาระบุว่า กลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบได้มีการจัดตั้งองค์กรลับขึ้นในหมู่บ้าน โดยมี “อาเยาะ” หรือ “ผู้นำ” เป็นผู้ดูแล มีอุสตาซบางคนเป็นหน่วยกำลังหลักที่เคลื่อนไหวอยู่ โดยที่เจ้าของโรงเรียนไม่ทราบ มีการปลุกระดมเยาวชนที่มีลักษณะเรียบร้อย เคร่งศาสนาด้วยวิธีการปลุกระดมโดยใช้ประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีที่ถูกสยามรุกราน
“มีการจัดตั้งชุมชนใหม่ และจะมีม็อบตามมาเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ หากชาวบ้านเชื่อที่ตามความเชื่อของขบวนการ สุดท้ายจะทำลายชุมชนของเขาเอง ขณะนี้ เน้นการฝึกด้านร่างกาย ฝึกอาวุธ รวมถึงการปฏิบัติการ แต่ประชาชนจะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ปฏิบัติ”
พ.อ.ชินวัตร ซึ่งดูแลเขตพื้นที่จังหวัดยะลา ระบุด้วยว่า การแก้ปัญหาแนวทางของรัฐบาลจะไม่ใช้ความรุนแรง เน้นความสมานฉันท์ เพื่อความเข้าใจยุทธศาสตร์ของฝ่ายตรงกันข้าม จะต้องระวังการยั่วยุเพื่อดึงอำนาจรัฐเข้าสู่วงจรของความรุนแรง แม้ประชาชนจะมีความคิดที่บริสุทธิ์ แต่ถูกครอบงำจากขบวนการเพื่อให้เกิดการจลาจลสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด
อาจกล่าวได้ว่า ตราบใดที่คู่สงครามสามารถเข้าใจ “เงื่อนไข” ของมวลชนได้ ก็หมายถึงการเข้าใจสภาพความเป็นจริงของมวลชน เมื่อเข้าใจสภาพย่อมจะไม่ยากที่จะกุมสภาพการเคลื่อนไหวของมวลชนได้ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือขบวนการใต้ดินก็ตาม.