ล้อมกรอบ ตอน 1 รายงานพิเศษ : สื่อ(ไม่)เสรี ใต้เงาระบอบทักษิณ
ตลอดเวลากว่า 5 ปีที่รัฐบาลทุนนิยมเผด็จการครองเมือง สื่อซึ่งทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ต่างถูกคุกคาม ปิดปาก ด้วยวิธีการที่มีความซับซ้อนยิ่งกว่ายุครัฐบาลเผด็จการทหาร ทั้งการครอบงำกิจการผ่านตลาดหุ้น, การใช้อำนาจและกลไกของรัฐตรวจสอบทรัพย์สินผู้บริหารสื่อ, การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายมูลค่าสูง รวมถึงการใช้ผลประโยชน์ทางธุรกิจแลกเปลี่ยน ไม่นับการใช้วิธีการถ่อยคุกคามซึ่งหน้าด้วยม็อบปิดล้อม ปาขี้ ปาระเบิด ทั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์การคุกคาม ครอบงำสื่อ ตลอดช่วง 5 ปีภายใต้ระบอบทักษิณ โดยมีเหตุการณ์สำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้
***ปี 2544 “ปีแห่งการแทรกแซงสื่อ”
รัฐบาลได้ใช้อำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของสื่อและกำกับดูแลสื่อเข้าแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนในหลายกรณีด้วยกัน คือ
1) ทีวีช่อง 5 ระงับการออกรายการเจาะใจ และที่นี่ประเทศไทย กรณีสัมภาษณ์สามเณรีธรรมนันทา หรือ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 และขัดต่อการปฏิรูปสื่อตามมาตรา 40
2) กองทัพบกออกหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. สั่งให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ระมัดระวังการเสนอข่าวการเมืองและนักการเมือง การเสนอข่าวเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ให้เสนอในลักษณะสร้างสรรค์ ช่วยประชาสัมพันธ์นโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาของรัฐบาล
3) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือเวียนถึงรัฐมนตรีทุกคนให้ใช้ประโยชน์จากรายการกรองสถานการณ์และช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์โฆษณาผลงานของรัฐบาล ถือเป็นการใช้สื่อของรัฐในทางมิชอบ
4) กรมประชาสัมพันธ์ สั่งห้ามไม่ให้นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้ดำเนินการรายการเหรียญสองด้าน และตามหาแก่นธรรม ทางช่อง 11 ดำเนินการต่อไป โดยอ้างว่าไม่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกาศ และช่อง 9 ปรับผังรายการถอดรายการ “ขอคิดด้วยคน” และ “ลานบ้านลานเมือง” รวมทั้งตัดรายการ “เพื่อบ้าน เพื่อเมือง” ออกจากสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. เอฟเอ็ม ความถี่ 97.5 เมกะเฮิร์ต
5) สำนักงานตำรวจสันติบาล อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ตักเตือนน.ส.พ.ไทยรัฐและกรุงเทพธุรกิจ ในการเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี
นอกจากนั้น ยังมีกรณีข่มขู่คุกคามสื่อและใช้กำลังประทุษร้ายโดยเฉพาะกับผู้สื่อข่าวประจำท้องถิ่น เช่น กรณีนายทวี กีรติรังสรรค์ ผู้สื่อข่าวน.ส.พ.เดลินิวส์ ประจำอ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ถูกทำร้ายร่างกายกรณีทำข่าวการประท้วงของกลุ่มลูกจ้างเทศบาลต.ชุมแพเพื่อขอต่อสัญญาจ้าง, กรณีนายวิทยุต แสงโสภิต นักจัดรายการวิทยุในจ.สุราษฎร์ฯ ถูกยิงเสียชีวิต โดยมีสาเหตุมาจากการเสนอข่าวเปิดโปงการทุจริตจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะของเทศบาลเมืองสุราษฎร์ฯ,
กรณีนายกิตติ มณีโชติ ผู้สื่อข่าวน.ส.พ.ไทยรัฐ ประจำจังหวัดสระบุรี ถูกทำร้ายบาดเจ็บ เนื่องจากการทำข่าวรถตู้เถื่อน, กรณีนายเกษตร พึ่งพักตร์ ผู้สื่อข่าวน.ส.พ.ไทยรัฐ ประจำจ.อ่างทอง ถูกยิงเสียชีวิต เพราะนำเสนอข่าวเปิดโปงขบวนการนอกกฎหมายในจ.อ่างทอง เป็นต้น
ขณะที่อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลทักษิณได้ใช้สื่อของรัฐโฆษณาชวนเชื่อผลงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่โดยทึกทักเอาว่าสื่อของรัฐ ก็คือ สื่อของรัฐบาล หาใช่ “สื่อสาธารณะ” ดังที่นักวิชาการและองค์กรวิชาชีพท้วงติง พร้อมกันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเปิดรายการ “นายกฯ พบประชาชน” และตั้งศูนย์บริการข้อมูลกลางของรัฐบาล เพื่อตอบโต้ทันทีต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งยังเปิดห้องแถลงข่าวด่วน “สายตรงจากทำเนียบรัฐบาล” โดยมีผลงานเด่นคือการตีโต้กรณีบริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ถูกกล่าวหาว่าหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งส่งผลต่อภาพพจน์ ความนิยมของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
***ปี 2545 “ปีแห่งการแทรกซึมสื่อ”
หลังหลุดพ้นจากข้อหา “ซุกหุ้น” พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทำตัวเสมือนเสือติดปีกเร่งระดมสื่อของรัฐเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่ออย่างครึกโครม โดยออกนโยบายให้สื่อมวลชนของรัฐในเหล่าทัพ สังกัดกระทรวงกลาโหม กรมประชาสัมพันธ์ อ.ส.ม.ท. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี นำเสนอข่าวของรัฐบาลที่จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลกลางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทุกต้นชั่วโมงทางวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นการแทรกแซงการทำงานและควบคุมสื่อมวลชนโดยตรง
1) กรณีที่ถือเป็นการคุกคามสื่อโดยใช้อำนาจและกลไกของรัฐที่รุนแรงที่สุดในปีนี้คือ การตรวจสอบธุรกรรมการเงินของบุคคลที่มีอาชีพสื่อมวลชนและนิติบุคคลที่ทำธุรกิจสื่อสารมวลชน ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ทำหนังสือถึงสถาบันการเงิน 17 แห่ง เพื่อตรวจสอบข้อมูลทางการเงินตั้งแต่ปี 2544 โดยกลุ่มบริษัททำธุรกิจหนังสือพิมพ์และนักหนังสือพิมพ์ที่ถูกตรวจสอบ มีดังนี้
บริษัทเนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย พับลิชชิ่ง กรุ๊ป จำกัด, บริษัทกิเลนการพิมพ์ จำกัด กลุ่มสยามสปอต บริษัทเอ็นเอ็มจี นิวส์ จำกัด (ในเครือเนชั่น), นายสุทธิชัย หยุ่น บก.อำนวยการเครือเนชั่น, นายเทพชัย หย่อง บก.เครือเนชั่น, นายโรจน์ งามแม้น ประธานที่ปรึกษาบริษัทไทยเจอนัลกรุ๊ป (รวมทั้งครอบครัวของทั้ง 3 คน) บริษัทไทยเจอนัลกรุ๊ป เจ้าของน.ส.พ.ไทยโพสต์, นายโสภณ องค์การ บก.อาวุโส เดอะเนชั่น และนายอัมพร พิมพ์พิพัฒน์ บก.อาวุโส และคอลัมนิสต์ไทยโพสต์
2) รายการโทรทัศน์ของรัฐสภาทางช่อง 11 ถูกแทรกแซงด้วยการสั่งงดรายการ และนำเอารายการของหน่วยงานราชการต่างๆ มาแทรกแทน ทั้งนี้รายการโทรทัศน์ที่วุฒิสภา ควรจะได้ออกอากาศทั้งสิ้น 40 ครั้ง นับจากเดือนม.ค. – พ.ค. 45 ถูกงดไปถึง 14 ครั้ง หรือร้อยละ 35%
3) 5 มี.ค. กรมการพลังงานทหาร มีคำสั่งไปยังบริษัทผู้เช่าเวลาให้ถอดรายการวิทยุเนชั่น ออกจากผังรายการในสถานีวิทยุของกรมฯ เนื่องจากมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลรุนแรงเกินไป
4) สื่อมวลชน จ.ตรัง ร้องเรียนว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังข่มขู่ว่าจะใช้อำนาจตามในฐานะพนักงานการพิมพ์ตามพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ปิดหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ข่าวเสรี” โดยอ้างว่า เสนอข่าวทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
ในปีเดียวกันนี้ ยังมีกรณีที่เป็นข่าวครึกโครมเรื่อง “เหตุเกิดที่ชั้น 28” ระหว่างนักข่าวสาวค่ายมติชนกับนักการเมืองใหญ่แห่งเมืองชาละวันในทำนองคุกคามทางเพศ ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กรด้านสิทธิสตรี ได้ออกจดหมายเปิดผนึกและแถลงการณ์ประณามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว แต่คดีดังกล่าวมีการรอมชอมกันในภายหลัง
ปรากฏการณ์แทรกแซงสื่อ ยังมีการใช้แรงกดดันต่อกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายฉบับด้วยการใช้อำนาจทางธุรกิจด้านโฆษณาเข้ามาต่อรอง ทำให้บรรณาธิการของน.ส.พ.บางฉบับ ต้องลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารกองบรรณาธิการ
ในช่วงปลายปี 2545 ยังมีกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ฟ้องแพ่ง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และบริษัทนสพ.แนวหน้า ในคอลัมน์ “ประสงค์พูด” เรื่อง “บกพร่องโดยสุจริต” และ “พลังเงียบ” เรียกค่าเสียหาย 600 ล้านบาท อีกด้วย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสารฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิครีวิว ฉบับลงวันที่ 11 เม.ย. 2545 มีข้อความตอนหนึ่งว่า การที่สื่อมวลชนไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรีในเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากสื่อมวลชนบางส่วนมีวาระแฝงเร้น เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าโฆษณาในขณะที่นายกรัฐมนตรียังเป็นนักธุรกิจอยู่ จึงเกิดความไม่พอใจและเป็นที่มาของการเสนอข่าวที่ไม่สร้างสรรค์ต่อตัวนายกรัฐมนตรี
ในกรณีสื่อต่างประเทศนั้น ผู้สื่อข่าวฟาร์อิสเทิร์น อีโคโนมิค รีวิว ที่เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จและพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ถูกขึ้นบัญชีดำห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและถูกถอนวีซ่า รวม 4 คน
***ปี 2546 “ปีแห่งการควบคุม ครอบงำสื่อ” สร้างอาณาจักรแห่งความกลัว
การเถลิงอำนาจของทักษิณในปีนี้ มีเหตุการณ์ที่แสดงความกร่างไม่ฟังใครตลอดศก ทั้งการออกมาเกรี้ยวกราดกับสื่อและนักวิชาการขาประจำอย่าง ธีรยุทธ บุญมี ขนาดที่ว่า “ไอ้นี่เปิดมาก็ด่าอย่างเดียว กินเงินเดือนหลวงทำไมวะ อยากด่าก็ไปเป็นฝ่ายค้านก็หมดเรื่อง” และ อัมมาร์ สยามวาลา ที่ออกมาเตือนเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการหาเสียงต่างๆ แต่ก็ถูกสวนกลับว่า “เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะ ตำราสมัยอดัม สมิท บางก็ใช้ไม่ได้แล้วนะ”
การควบคุม ครอบงำสื่อในปีนี้ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ยังคงตกอยู่ในภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมดจึงถูกจำกัดเสรีภาพโดยธรรมชาติ ส่วนทีวีเอกชนก็ถูกควบคุมกิจการโดยบริษัทในเครือข่ายของผู้มีอำนาจในรัฐบาล
1) กรณีหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของสถานีวิทยุใช้มาตราการไม่ต่อสัญญาให้บริษัทที่เข้ารับสัมปทานที่ดำเนินรายการนำเสนอข่าวอย่างเป็นอิสระ เช่น บริษัทไอเอ็นเอ็น ซึ่งกรมรักษาดินแดนไม่ต่อสัญญาวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ทางคลื่น 96.0 เมกะเฮิร์ต การใช้สัญญาสัมปทานเป็นเครื่องมือทำให้บริษัทที่รับสัมปทานต้องระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสารและรายการที่เปิดให้แสดงความเห็น เป็นการ “เซ็นเซอร์ตัวเอง”
เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ที่มีการเอารายได้จากค่าโฆษณาจากบริษัทเอกชนที่เป็นเครือข่ายเดียวกับผู้มีอำนาจในรัฐบาล รวมทั้งงบโฆษณาประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ มาเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับการนำเสนอเนื้อหาของข่าวที่อาจก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อรัฐบาล
ขณะที่สื่อที่ต้องการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ก็มีปัญหาแหล่งข่าวไม่กล้าหรือปฏิเสธการให้ความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาล กลายเป็นอาการที่ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรแห่งความกลัว
2) กรณีที่เครือญาตินักการเมืองระดับแกนนำในรัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้นในกิจการสื่อมวลชน เช่น กรณีของเครือเนชั่น เป็นต้น
3) กรณีการคุกคามสื่อด้วยการประทุษร้าย ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะนักข่าวท้องถิ่น เช่น นายมะอีมัน ยะปา ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติไทย ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่กลางหลังบาดเจ็บสาหัส
4) นักข่าวหญิง ถูกคุกคามทางเพศ กรณีพล.ต.อ.สันต์ ศุรตานนท์ ผบ.ตร. กับผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ทำให้ผบ.ตร.ดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทหนังสือพิมพ์ 7 ฉบับ
5) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตำหนิสื่อมวลชน ประจำทำเนียบรัฐบาล กรณีตั้งคำถามเรื่องสหประชาชนขอรับทราบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากสงครามปราบปรามยาเสพติดและมีการฆ่าตัดตอนว่า เป็นคำถามยั่วยุไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และกล่าวว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ” ทำให้ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบ ร่วม 30 คน เข้ายื่นหนังสือชี้แจงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
นอกจากนั้น ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล หนังสือพิมพ์มติชน ยังถูกข่มขู่คุกคามจากคนใกล้ชิดของนายศิธา ทิวารี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และก่อนนี้นายถาวร มลทิพย์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์เอเชียนิวส์ ถูก พ.ต.ต.ศุภฤกษ์ พันธ์โกศล สารวัตรชุดปฏิบัติการสันติบาลเข้ามาล็อกแขนและลากออกไปขณะรอถ่ายรูปนายเรอโนวด์ เดอนัว เดอ แซงมาร์ค รองประธานศาลปกครองสูงสุดฝรั่งเศส
6) หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อถูกฟ้องหมิ่นประมาทเรื่องรัฐบาลกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
***ปี 2547 จากสื่ออิสระสู่ธุรกิจเก็งกำไร
การแทรกแซง ข่มขู่ คุกคามสื่อมวลชนซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ด้วยวิธีการที่แยบยลในปีนี้ มีดังนี้
1) การปลดนายวีระ ประทีปชัยกูร นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พ้นจากตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยฝีมือของนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัตน์ ประธานบริหารบริษัทโพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งอธิบายเหตุผลเพียงว่าเพื่อความเหมาะสม และฝ่ายบริหารมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลใดเข้ามาเป็นบรรณาธิการบริหารได้ไม่จำเป็นต้องขอความเห็นจากพนักงาน
ขณะที่พนักงานฝ่ายปฏิบัติงานยืนยันตรงกันว่า มีการแทรกแซงมิให้นำเสนอข่าวที่เป็นภาพลบต่อรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีปัญหาภาคใต้ และธุรกิจของผู้บริหาร ซึ่งเวลาใกล้เคียงกันนั้น กระทรวงคมนาคม โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.ว่าการกระทรวง มีคำสั่งให้รื้อสัญญาเช่าที่ดินรถไฟซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลของนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เช่าอยู่ในอัตราที่ถูกมากๆ เสียใหม่ การปลดนายวีระ ประทีปชัยกูร จึงมองได้ว่าเป็นไปเพื่อการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ
2) หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการ คปส. ถูกบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฐานความผิดละเมิดเรียกค่าเสียหาย จำนวน 400 ล้านบาท กรณีการเสนอข่าว “NGO ประจาน 5 ปีไทยรักไทย ชินคอร์ปรวย”
3) พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ฟ้องนางยุวดี ธัญญะศิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาล หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย กรณีคดีบิ๊กขี้หลี ในคดีเดียวกันนี้ พล.ต.อ.สันต์ ยังฟ้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนายทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ในข้อหาละเมิด เรียกค่าเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 600 ล้านบาท และยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ที่ออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ กล่าวหาว่ายุคที่โจทก์เป็นผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
***ปี 2548 ปีแห่งการฮุบสื่อ ปิดปากด้วยคดีความ
ช่วงปีที่ผ่านมา อาณาจักรแห่งความกลัวที่ระบอบทักษิณปั้นแต่งขึ้นถูกท้าทายและทลายลง ผู้คนในสังคมต่างกล้าวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามโดยเฉพาะปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของทุนการเมืองทักษิณและบริวารที่แผ่คลุมทุกอณูสังคมไทย ขณะเดียวกันการคุกคาม ครอบงำ ปิดปากสื่อจากอำนาจรัฐก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ มีการเข้าครอบงำกิจการสื่อผ่านทางตลาดหุ้น การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่าสูงนับพันนับหมื่นล้าน โดยมีกรณีสำคัญ ดังนี้
1) บริษัทจีเอ็มเอ็มมีเดีย ทุ่มเงิน 2.6 พันล้าน ลงทุนซื้อหุ้นใหญ่จากกองทุนต่างประเทศในสื่อสิ่งพิมพ์ 2 ฉบับ คือ มติชน จำนวน 32.23 % และมีเป้าหมายจะถือครองให้ได้ 70% และบางกอกโพสต์ 23.60% จนเกิดการต่อต้านอย่างหนัก กระทั่งจีเอ็มเอ็มมีเดีย ขายหุ้นคืนให้กับนายขรรค์ชัย บุนปาน ผู้ก่อตั้งเครือมติชน โดย จีเอ็มเอ็มฯ ถือไว้ 20% ส่วนบางกอกโพสต์ จีเอ็มเอ็มมีเดีย เข้าถือหุ้น 23.6%
2) บริษัทปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องบริษัทมติชน เรียกค่าเสียหาย 10,000 ล้านบาท กรณีหมิ่นประมาทเรื่องหุ้นปิคนิค จากการพาดหัวข่าว “ไขปริศนาธุรกรรมปิคนิค การเงินหรือกลการเมือง”
3) บริษัทปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องน.ส.พ.ประชาชาติธุรกิจ ฐานหมิ่นประมาทกรณีหุ้นปิคนิค พร้อมเรียกค่าเสียหาย 5,000 ล้านบาท เพราะทำให้ราคาหุ้นตกและเสียชื่อเสียง จากกรณีการเสนอข่าว “สองแบงก์ไทยเจ้าหนี้บริษัทปิคนิคสั่งปิดเครดิตไอ/ดี ส่งผลหุ้นใหญ่ควักเงินเพิ่มทุน 2 พันล้าน ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทตกลงมา”
4) บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) ยื่นฟ้องหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ คดีแพ่งฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายประมาณ 1,000 ล้าน และคดีอาญาฐานหมิ่นประมาท เนื่องจากการตีพิมพ์เผยแพร่ข่าว เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 48 ว่า รันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าวแตกใหญ่พอที่จะทำให้ล้อหน้าของเครื่องบินตกลงไปได้
5) พรรคไทยรักไทย ยื่นฟ้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คดีแพ่งฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี กรณีตีพิมพ์ข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 มิ.ย. 48 พาดหัวข่าวทำให้คนอ่านอาจเชื่อว่า พรรคไทยรักไทย เป็นพรรคที่โกงกินบ้านเมือง ทุจริตคอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นศูนย์รวมของคนไม่ดี ข่าวดังกล่าวเป็นเรื่องที่นายเสนาะ เทียนทอง ที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย ไปบรรยายที่ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
6) สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกคณะกรรมการบริหาร บมจ. อสมท. ระงับสัญญาเช่าเวลารายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งออกอากาศทางโมเดิร์นไนท์ทีวีทุกคืนวันศุกร์ เวลา 22.00 – 23.00 น. นับตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.เป็นต้นไปโดยอ้างเหตุผลว่ามีการก้าวล่วงพระราชอำนาจ
7) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ พร้อมกับนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ พิธีกรรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ฐานความผิดดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และคดีแพ่งฐานความผิดละเมิด เรียกค่าเสียหาย จำนวน 500 ล้านบาท กรณีวิพากษ์วิจารณ์การตั้งผู้ทำหน้าที่แทนสังฆราช และนำบทความ “ลูกแกะหลงทาง” มาเผยแพร่
หลังการถูกไล่ฟ้องร้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาท้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ในศาล และให้สัมภาษณ์ว่า “ในที่สุด การฟ้องร้องครั้งนี้ก็ทำให้ทราบว่าคนที่ปิดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ แท้ที่สุดแล้วน่าจะเป็นท่านนายกรัฐมนตรี ประหลาดใจเหมือนกันว่า ทำไมนายกฯ ไม่ฟ้อง อสมท. ด้วยและน่าจะตั้งกรรมการสอบ อสมท. ด้วยที่ปล่อยให้รายการนี้ออกไป"
8) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ฟ้องบริษัทแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของนสพ.ผู้จัดการและพวก ฐานหมิ่นประมาท กรณีตีพิมพ์ข้อความอ้างคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ต่อว่านายกฯ ร้ายยิ่งกว่าพระเทวทัต และต้องการเป็นประธานาธิบดี เรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาท
9) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งนสพ.ผู้จัดการและพวก กรณีหมิ่นประมาทกล่าวหานายกฯ ว่า วิ่งเต้นเพื่อให้ได้สัมปทานดาวเทียมไทยคม เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท
ต่อมา เมื่อมีกระแสพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 48 ในวันที่ 6 ธ.ค. พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ยุติฟ้องสื่อทั้งแพ่งและอาญา กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวก ในความผิดฐานหมิ่นประมาทรวม 6 คดี เรียกค่าความเสียหายทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท
สำหรับคดีความที่ฝ่ายผู้ถืออำนาจรัฐไล่ฟ้องร้องสื่อ ปรากฏว่า มีคดีที่ศาลยกฟ้อง เช่น ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และหนังสือพิมพ์แนวหน้า ที่เขียนบทความวิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย,
ศาลอาญา อ่านคำพิพากษา ยกฟ้องคดีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนสพ.ผู้จัดการรายวัน กรณีลงข่าวเปิดโผนักการเมืองจอมฟอกเงินสกปรก สร้างกาสิโน, ศาลอาญา ยกฟ้องนสพ.บ้านเมือง คดีบิ๊กขี้หลี และสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสนสพ.บางกอกโพสต์ คดีบิ๊กขี้หลี
ศาลอาญากรุงเทพใต้ ยกฟ้องคดีที่อดีตผบ.ตร. สันต์ ศรุตานนท์ ฟ้องนายสนธิ และน.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ กรณีกล่าวหาว่า ยุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร. เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
***ปี 2549 “สื่อ-รัฐฯ ดับเครื่องชน”
ปีนี้ เป็นปีที่แนวรบด้านสื่อกับรัฐบาลทักษิณดุเดือดเลือดพล่าน การจุดเทียนแห่งปัญญาจาก “ปรากฏการณ์สนธิ” ได้ไล่ความกลัวและสร้างความตื่นตัวต่อการตรวจสอบรัฐบาล จากนั้นกระแสไล่ทักษิณ พ้นวงโคจรทางการเมือง ดังกระหึ่มยิ่งขึ้นเมื่อกลุ่มชินวัตรขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์โดยเลี่ยงการเสียภาษี กระแสดังกล่าวถูกโหมกระพือจากสื่อ กระทั่งสร้างความหงุดหงิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างมาก ถึงกับสบถด้วยถ้อยคำหยาบคาย
“…….คนมันไม่พยายามจะเข้าใจ อย่างบางกอกโพสต์ เห็นไหม ซัดเต็มที่เลยทุกวัน ผู้จัดการ เงี้ย เนชั่น เงี้ย มติชน เงี้ย ซัดทุกวัน แล้วถามว่าเรื่องขายหุ้นเจ้าของบริษัทเหล่านี้ขายหุ้นบ้างไหม ขายทั้งนั้น แล้วเสียภาษีหรือเปล่าก็ไม่ได้เสียสักคน เพราะหุ้นในตลาดขายมันไม่ต้องเสีย นี่คือกติกาเขา เสร็จแล้วจะมาเล่นงานผม ปัทโธ่ ตรงไปตรงมาสิ ตรงไปตรงมารับรองผมไม่กลัวใครสักอย่าง” พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอย่างมีอารมณ์
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวตำหนิสื่ออย่างรุนแรง ระบุไร้จริยธรรมนำประเด็นเกี่ยวกับลูกของตนมาโจมตีด้วย (ผู้จัดการออนไลน์ 3 ก.พ. 49)
การประกาศศึกกับสื่อที่ชัดเจนของผู้นำรัฐบาล ทำให้เกิดคดีการฟ้องร้องเพื่อปิดปาก โดยเฉพาะค่ายหัวหอกอย่างเครือผู้จัดการและเอเอสทีวี พ่วงด้วย คม ชัด ลึก ซึ่งมีคดีฟ้องร้องกันมากมาย โดยเฉพาะคดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล และนสพ.คม ชัด ลึก ถูกแจ้งความทั่วราชอาณาจักร
นอกจากนั้น ยังมีคดีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เปิดเวทีชุมนุมไล่ทักษิณ นานนับเดือน โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งข้อหากระทำการก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร กีดขวางการจราจร และกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะฟ้องร้องนายสนธิ ลิ้มทองกุลและพวก เรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ ในข้อหาหมิ่นประมาทและเรียกค่าเสียหายทางแพ่งนับพันล้านบาท
ไม่นับการออกใบสั่งให้บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หาช่องทางปิดเวปไซด์ www.manager.co.th และกรมประชาสัมพันธ์ ที่ใช้อำนาจสั่งห้ามแพร่ภาพและสัญญาณผ่านอินเตอร์เน็ตของทีวีผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ของบริษัทไทยเดย์ ดอทคอม จำกัด รวมทั้งขู่ถอดถอนใบอนุญาตเคเบิลท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสัญญาณเอเอสทีวี
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ , มติชน, ข่าวสด, เดลินิวส์ ฐานความผิดหมิ่นประมาทและยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 800 ล้านบาท
ตลอดเวลากว่า 5 ปีที่รัฐบาลทุนนิยมเผด็จการครองเมือง สื่อซึ่งทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ต่างถูกคุกคาม ปิดปาก ด้วยวิธีการที่มีความซับซ้อนยิ่งกว่ายุครัฐบาลเผด็จการทหาร ทั้งการครอบงำกิจการผ่านตลาดหุ้น, การใช้อำนาจและกลไกของรัฐตรวจสอบทรัพย์สินผู้บริหารสื่อ, การฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายมูลค่าสูง รวมถึงการใช้ผลประโยชน์ทางธุรกิจแลกเปลี่ยน ไม่นับการใช้วิธีการถ่อยคุกคามซึ่งหน้าด้วยม็อบปิดล้อม ปาขี้ ปาระเบิด ทั้งนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์การคุกคาม ครอบงำสื่อ ตลอดช่วง 5 ปีภายใต้ระบอบทักษิณ โดยมีเหตุการณ์สำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้
***ปี 2544 “ปีแห่งการแทรกแซงสื่อ”
รัฐบาลได้ใช้อำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านหน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของสื่อและกำกับดูแลสื่อเข้าแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนในหลายกรณีด้วยกัน คือ
1) ทีวีช่อง 5 ระงับการออกรายการเจาะใจ และที่นี่ประเทศไทย กรณีสัมภาษณ์สามเณรีธรรมนันทา หรือ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 และขัดต่อการปฏิรูปสื่อตามมาตรา 40
2) กองทัพบกออกหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. สั่งให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ระมัดระวังการเสนอข่าวการเมืองและนักการเมือง การเสนอข่าวเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ให้เสนอในลักษณะสร้างสรรค์ ช่วยประชาสัมพันธ์นโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาของรัฐบาล
3) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือเวียนถึงรัฐมนตรีทุกคนให้ใช้ประโยชน์จากรายการกรองสถานการณ์และช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์โฆษณาผลงานของรัฐบาล ถือเป็นการใช้สื่อของรัฐในทางมิชอบ
4) กรมประชาสัมพันธ์ สั่งห้ามไม่ให้นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้ดำเนินการรายการเหรียญสองด้าน และตามหาแก่นธรรม ทางช่อง 11 ดำเนินการต่อไป โดยอ้างว่าไม่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกาศ และช่อง 9 ปรับผังรายการถอดรายการ “ขอคิดด้วยคน” และ “ลานบ้านลานเมือง” รวมทั้งตัดรายการ “เพื่อบ้าน เพื่อเมือง” ออกจากสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. เอฟเอ็ม ความถี่ 97.5 เมกะเฮิร์ต
5) สำนักงานตำรวจสันติบาล อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ตักเตือนน.ส.พ.ไทยรัฐและกรุงเทพธุรกิจ ในการเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี
นอกจากนั้น ยังมีกรณีข่มขู่คุกคามสื่อและใช้กำลังประทุษร้ายโดยเฉพาะกับผู้สื่อข่าวประจำท้องถิ่น เช่น กรณีนายทวี กีรติรังสรรค์ ผู้สื่อข่าวน.ส.พ.เดลินิวส์ ประจำอ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ถูกทำร้ายร่างกายกรณีทำข่าวการประท้วงของกลุ่มลูกจ้างเทศบาลต.ชุมแพเพื่อขอต่อสัญญาจ้าง, กรณีนายวิทยุต แสงโสภิต นักจัดรายการวิทยุในจ.สุราษฎร์ฯ ถูกยิงเสียชีวิต โดยมีสาเหตุมาจากการเสนอข่าวเปิดโปงการทุจริตจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะของเทศบาลเมืองสุราษฎร์ฯ,
กรณีนายกิตติ มณีโชติ ผู้สื่อข่าวน.ส.พ.ไทยรัฐ ประจำจังหวัดสระบุรี ถูกทำร้ายบาดเจ็บ เนื่องจากการทำข่าวรถตู้เถื่อน, กรณีนายเกษตร พึ่งพักตร์ ผู้สื่อข่าวน.ส.พ.ไทยรัฐ ประจำจ.อ่างทอง ถูกยิงเสียชีวิต เพราะนำเสนอข่าวเปิดโปงขบวนการนอกกฎหมายในจ.อ่างทอง เป็นต้น
ขณะที่อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลทักษิณได้ใช้สื่อของรัฐโฆษณาชวนเชื่อผลงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่โดยทึกทักเอาว่าสื่อของรัฐ ก็คือ สื่อของรัฐบาล หาใช่ “สื่อสาธารณะ” ดังที่นักวิชาการและองค์กรวิชาชีพท้วงติง พร้อมกันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเปิดรายการ “นายกฯ พบประชาชน” และตั้งศูนย์บริการข้อมูลกลางของรัฐบาล เพื่อตอบโต้ทันทีต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งยังเปิดห้องแถลงข่าวด่วน “สายตรงจากทำเนียบรัฐบาล” โดยมีผลงานเด่นคือการตีโต้กรณีบริษัทชินแซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) ถูกกล่าวหาว่าหลบเลี่ยงภาษี ซึ่งส่งผลต่อภาพพจน์ ความนิยมของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี
***ปี 2545 “ปีแห่งการแทรกซึมสื่อ”
หลังหลุดพ้นจากข้อหา “ซุกหุ้น” พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทำตัวเสมือนเสือติดปีกเร่งระดมสื่อของรัฐเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่ออย่างครึกโครม โดยออกนโยบายให้สื่อมวลชนของรัฐในเหล่าทัพ สังกัดกระทรวงกลาโหม กรมประชาสัมพันธ์ อ.ส.ม.ท. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี นำเสนอข่าวของรัฐบาลที่จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลกลางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทุกต้นชั่วโมงทางวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นการแทรกแซงการทำงานและควบคุมสื่อมวลชนโดยตรง
1) กรณีที่ถือเป็นการคุกคามสื่อโดยใช้อำนาจและกลไกของรัฐที่รุนแรงที่สุดในปีนี้คือ การตรวจสอบธุรกรรมการเงินของบุคคลที่มีอาชีพสื่อมวลชนและนิติบุคคลที่ทำธุรกิจสื่อสารมวลชน ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ทำหนังสือถึงสถาบันการเงิน 17 แห่ง เพื่อตรวจสอบข้อมูลทางการเงินตั้งแต่ปี 2544 โดยกลุ่มบริษัททำธุรกิจหนังสือพิมพ์และนักหนังสือพิมพ์ที่ถูกตรวจสอบ มีดังนี้
บริษัทเนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย พับลิชชิ่ง กรุ๊ป จำกัด, บริษัทกิเลนการพิมพ์ จำกัด กลุ่มสยามสปอต บริษัทเอ็นเอ็มจี นิวส์ จำกัด (ในเครือเนชั่น), นายสุทธิชัย หยุ่น บก.อำนวยการเครือเนชั่น, นายเทพชัย หย่อง บก.เครือเนชั่น, นายโรจน์ งามแม้น ประธานที่ปรึกษาบริษัทไทยเจอนัลกรุ๊ป (รวมทั้งครอบครัวของทั้ง 3 คน) บริษัทไทยเจอนัลกรุ๊ป เจ้าของน.ส.พ.ไทยโพสต์, นายโสภณ องค์การ บก.อาวุโส เดอะเนชั่น และนายอัมพร พิมพ์พิพัฒน์ บก.อาวุโส และคอลัมนิสต์ไทยโพสต์
2) รายการโทรทัศน์ของรัฐสภาทางช่อง 11 ถูกแทรกแซงด้วยการสั่งงดรายการ และนำเอารายการของหน่วยงานราชการต่างๆ มาแทรกแทน ทั้งนี้รายการโทรทัศน์ที่วุฒิสภา ควรจะได้ออกอากาศทั้งสิ้น 40 ครั้ง นับจากเดือนม.ค. – พ.ค. 45 ถูกงดไปถึง 14 ครั้ง หรือร้อยละ 35%
3) 5 มี.ค. กรมการพลังงานทหาร มีคำสั่งไปยังบริษัทผู้เช่าเวลาให้ถอดรายการวิทยุเนชั่น ออกจากผังรายการในสถานีวิทยุของกรมฯ เนื่องจากมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลรุนแรงเกินไป
4) สื่อมวลชน จ.ตรัง ร้องเรียนว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังข่มขู่ว่าจะใช้อำนาจตามในฐานะพนักงานการพิมพ์ตามพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ปิดหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ข่าวเสรี” โดยอ้างว่า เสนอข่าวทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
ในปีเดียวกันนี้ ยังมีกรณีที่เป็นข่าวครึกโครมเรื่อง “เหตุเกิดที่ชั้น 28” ระหว่างนักข่าวสาวค่ายมติชนกับนักการเมืองใหญ่แห่งเมืองชาละวันในทำนองคุกคามทางเพศ ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กรด้านสิทธิสตรี ได้ออกจดหมายเปิดผนึกและแถลงการณ์ประณามพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว แต่คดีดังกล่าวมีการรอมชอมกันในภายหลัง
ปรากฏการณ์แทรกแซงสื่อ ยังมีการใช้แรงกดดันต่อกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายฉบับด้วยการใช้อำนาจทางธุรกิจด้านโฆษณาเข้ามาต่อรอง ทำให้บรรณาธิการของน.ส.พ.บางฉบับ ต้องลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารกองบรรณาธิการ
ในช่วงปลายปี 2545 ยังมีกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ฟ้องแพ่ง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และบริษัทนสพ.แนวหน้า ในคอลัมน์ “ประสงค์พูด” เรื่อง “บกพร่องโดยสุจริต” และ “พลังเงียบ” เรียกค่าเสียหาย 600 ล้านบาท อีกด้วย
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสารฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิครีวิว ฉบับลงวันที่ 11 เม.ย. 2545 มีข้อความตอนหนึ่งว่า การที่สื่อมวลชนไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรีในเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากสื่อมวลชนบางส่วนมีวาระแฝงเร้น เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าโฆษณาในขณะที่นายกรัฐมนตรียังเป็นนักธุรกิจอยู่ จึงเกิดความไม่พอใจและเป็นที่มาของการเสนอข่าวที่ไม่สร้างสรรค์ต่อตัวนายกรัฐมนตรี
ในกรณีสื่อต่างประเทศนั้น ผู้สื่อข่าวฟาร์อิสเทิร์น อีโคโนมิค รีวิว ที่เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จและพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ถูกขึ้นบัญชีดำห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและถูกถอนวีซ่า รวม 4 คน
***ปี 2546 “ปีแห่งการควบคุม ครอบงำสื่อ” สร้างอาณาจักรแห่งความกลัว
การเถลิงอำนาจของทักษิณในปีนี้ มีเหตุการณ์ที่แสดงความกร่างไม่ฟังใครตลอดศก ทั้งการออกมาเกรี้ยวกราดกับสื่อและนักวิชาการขาประจำอย่าง ธีรยุทธ บุญมี ขนาดที่ว่า “ไอ้นี่เปิดมาก็ด่าอย่างเดียว กินเงินเดือนหลวงทำไมวะ อยากด่าก็ไปเป็นฝ่ายค้านก็หมดเรื่อง” และ อัมมาร์ สยามวาลา ที่ออกมาเตือนเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการหาเสียงต่างๆ แต่ก็ถูกสวนกลับว่า “เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะ ตำราสมัยอดัม สมิท บางก็ใช้ไม่ได้แล้วนะ”
การควบคุม ครอบงำสื่อในปีนี้ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ยังคงตกอยู่ในภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐเกือบทั้งหมดจึงถูกจำกัดเสรีภาพโดยธรรมชาติ ส่วนทีวีเอกชนก็ถูกควบคุมกิจการโดยบริษัทในเครือข่ายของผู้มีอำนาจในรัฐบาล
1) กรณีหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของสถานีวิทยุใช้มาตราการไม่ต่อสัญญาให้บริษัทที่เข้ารับสัมปทานที่ดำเนินรายการนำเสนอข่าวอย่างเป็นอิสระ เช่น บริษัทไอเอ็นเอ็น ซึ่งกรมรักษาดินแดนไม่ต่อสัญญาวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ทางคลื่น 96.0 เมกะเฮิร์ต การใช้สัญญาสัมปทานเป็นเครื่องมือทำให้บริษัทที่รับสัมปทานต้องระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสารและรายการที่เปิดให้แสดงความเห็น เป็นการ “เซ็นเซอร์ตัวเอง”
เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ที่มีการเอารายได้จากค่าโฆษณาจากบริษัทเอกชนที่เป็นเครือข่ายเดียวกับผู้มีอำนาจในรัฐบาล รวมทั้งงบโฆษณาประชาสัมพันธ์หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ มาเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับการนำเสนอเนื้อหาของข่าวที่อาจก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อรัฐบาล
ขณะที่สื่อที่ต้องการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ก็มีปัญหาแหล่งข่าวไม่กล้าหรือปฏิเสธการให้ความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐบาล กลายเป็นอาการที่ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรแห่งความกลัว
2) กรณีที่เครือญาตินักการเมืองระดับแกนนำในรัฐบาลเข้าไปซื้อหุ้นในกิจการสื่อมวลชน เช่น กรณีของเครือเนชั่น เป็นต้น
3) กรณีการคุกคามสื่อด้วยการประทุษร้าย ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะนักข่าวท้องถิ่น เช่น นายมะอีมัน ยะปา ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติไทย ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่กลางหลังบาดเจ็บสาหัส
4) นักข่าวหญิง ถูกคุกคามทางเพศ กรณีพล.ต.อ.สันต์ ศุรตานนท์ ผบ.ตร. กับผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ทำให้ผบ.ตร.ดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทหนังสือพิมพ์ 7 ฉบับ
5) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตำหนิสื่อมวลชน ประจำทำเนียบรัฐบาล กรณีตั้งคำถามเรื่องสหประชาชนขอรับทราบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากสงครามปราบปรามยาเสพติดและมีการฆ่าตัดตอนว่า เป็นคำถามยั่วยุไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และกล่าวว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ” ทำให้ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบ ร่วม 30 คน เข้ายื่นหนังสือชี้แจงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
นอกจากนั้น ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล หนังสือพิมพ์มติชน ยังถูกข่มขู่คุกคามจากคนใกล้ชิดของนายศิธา ทิวารี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และก่อนนี้นายถาวร มลทิพย์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์เอเชียนิวส์ ถูก พ.ต.ต.ศุภฤกษ์ พันธ์โกศล สารวัตรชุดปฏิบัติการสันติบาลเข้ามาล็อกแขนและลากออกไปขณะรอถ่ายรูปนายเรอโนวด์ เดอนัว เดอ แซงมาร์ค รองประธานศาลปกครองสูงสุดฝรั่งเศส
6) หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อถูกฟ้องหมิ่นประมาทเรื่องรัฐบาลกับปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
***ปี 2547 จากสื่ออิสระสู่ธุรกิจเก็งกำไร
การแทรกแซง ข่มขู่ คุกคามสื่อมวลชนซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ด้วยวิธีการที่แยบยลในปีนี้ มีดังนี้
1) การปลดนายวีระ ประทีปชัยกูร นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พ้นจากตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยฝีมือของนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัตน์ ประธานบริหารบริษัทโพสต์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งอธิบายเหตุผลเพียงว่าเพื่อความเหมาะสม และฝ่ายบริหารมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลใดเข้ามาเป็นบรรณาธิการบริหารได้ไม่จำเป็นต้องขอความเห็นจากพนักงาน
ขณะที่พนักงานฝ่ายปฏิบัติงานยืนยันตรงกันว่า มีการแทรกแซงมิให้นำเสนอข่าวที่เป็นภาพลบต่อรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีปัญหาภาคใต้ และธุรกิจของผู้บริหาร ซึ่งเวลาใกล้เคียงกันนั้น กระทรวงคมนาคม โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.ว่าการกระทรวง มีคำสั่งให้รื้อสัญญาเช่าที่ดินรถไฟซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลของนายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เช่าอยู่ในอัตราที่ถูกมากๆ เสียใหม่ การปลดนายวีระ ประทีปชัยกูร จึงมองได้ว่าเป็นไปเพื่อการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ
2) หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการ คปส. ถูกบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฐานความผิดละเมิดเรียกค่าเสียหาย จำนวน 400 ล้านบาท กรณีการเสนอข่าว “NGO ประจาน 5 ปีไทยรักไทย ชินคอร์ปรวย”
3) พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ฟ้องนางยุวดี ธัญญะศิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำทำเนียบรัฐบาล หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย กรณีคดีบิ๊กขี้หลี ในคดีเดียวกันนี้ พล.ต.อ.สันต์ ยังฟ้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และนายทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ในข้อหาละเมิด เรียกค่าเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 600 ล้านบาท และยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล และนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ที่ออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ กล่าวหาว่ายุคที่โจทก์เป็นผบ.ตร.เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
***ปี 2548 ปีแห่งการฮุบสื่อ ปิดปากด้วยคดีความ
ช่วงปีที่ผ่านมา อาณาจักรแห่งความกลัวที่ระบอบทักษิณปั้นแต่งขึ้นถูกท้าทายและทลายลง ผู้คนในสังคมต่างกล้าวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถามโดยเฉพาะปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของทุนการเมืองทักษิณและบริวารที่แผ่คลุมทุกอณูสังคมไทย ขณะเดียวกันการคุกคาม ครอบงำ ปิดปากสื่อจากอำนาจรัฐก็ยิ่งเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ มีการเข้าครอบงำกิจการสื่อผ่านทางตลาดหุ้น การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่าสูงนับพันนับหมื่นล้าน โดยมีกรณีสำคัญ ดังนี้
1) บริษัทจีเอ็มเอ็มมีเดีย ทุ่มเงิน 2.6 พันล้าน ลงทุนซื้อหุ้นใหญ่จากกองทุนต่างประเทศในสื่อสิ่งพิมพ์ 2 ฉบับ คือ มติชน จำนวน 32.23 % และมีเป้าหมายจะถือครองให้ได้ 70% และบางกอกโพสต์ 23.60% จนเกิดการต่อต้านอย่างหนัก กระทั่งจีเอ็มเอ็มมีเดีย ขายหุ้นคืนให้กับนายขรรค์ชัย บุนปาน ผู้ก่อตั้งเครือมติชน โดย จีเอ็มเอ็มฯ ถือไว้ 20% ส่วนบางกอกโพสต์ จีเอ็มเอ็มมีเดีย เข้าถือหุ้น 23.6%
2) บริษัทปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องบริษัทมติชน เรียกค่าเสียหาย 10,000 ล้านบาท กรณีหมิ่นประมาทเรื่องหุ้นปิคนิค จากการพาดหัวข่าว “ไขปริศนาธุรกรรมปิคนิค การเงินหรือกลการเมือง”
3) บริษัทปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องน.ส.พ.ประชาชาติธุรกิจ ฐานหมิ่นประมาทกรณีหุ้นปิคนิค พร้อมเรียกค่าเสียหาย 5,000 ล้านบาท เพราะทำให้ราคาหุ้นตกและเสียชื่อเสียง จากกรณีการเสนอข่าว “สองแบงก์ไทยเจ้าหนี้บริษัทปิคนิคสั่งปิดเครดิตไอ/ดี ส่งผลหุ้นใหญ่ควักเงินเพิ่มทุน 2 พันล้าน ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทตกลงมา”
4) บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ (บทม.) ยื่นฟ้องหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ คดีแพ่งฐานละเมิดเรียกค่าเสียหายประมาณ 1,000 ล้าน และคดีอาญาฐานหมิ่นประมาท เนื่องจากการตีพิมพ์เผยแพร่ข่าว เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 48 ว่า รันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าวแตกใหญ่พอที่จะทำให้ล้อหน้าของเครื่องบินตกลงไปได้
5) พรรคไทยรักไทย ยื่นฟ้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คดีแพ่งฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี กรณีตีพิมพ์ข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 มิ.ย. 48 พาดหัวข่าวทำให้คนอ่านอาจเชื่อว่า พรรคไทยรักไทย เป็นพรรคที่โกงกินบ้านเมือง ทุจริตคอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นศูนย์รวมของคนไม่ดี ข่าวดังกล่าวเป็นเรื่องที่นายเสนาะ เทียนทอง ที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย ไปบรรยายที่ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
6) สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกคณะกรรมการบริหาร บมจ. อสมท. ระงับสัญญาเช่าเวลารายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งออกอากาศทางโมเดิร์นไนท์ทีวีทุกคืนวันศุกร์ เวลา 22.00 – 23.00 น. นับตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.เป็นต้นไปโดยอ้างเหตุผลว่ามีการก้าวล่วงพระราชอำนาจ
7) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ พร้อมกับนางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ พิธีกรรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ฐานความผิดดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และคดีแพ่งฐานความผิดละเมิด เรียกค่าเสียหาย จำนวน 500 ล้านบาท กรณีวิพากษ์วิจารณ์การตั้งผู้ทำหน้าที่แทนสังฆราช และนำบทความ “ลูกแกะหลงทาง” มาเผยแพร่
หลังการถูกไล่ฟ้องร้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาท้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ในศาล และให้สัมภาษณ์ว่า “ในที่สุด การฟ้องร้องครั้งนี้ก็ทำให้ทราบว่าคนที่ปิดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ แท้ที่สุดแล้วน่าจะเป็นท่านนายกรัฐมนตรี ประหลาดใจเหมือนกันว่า ทำไมนายกฯ ไม่ฟ้อง อสมท. ด้วยและน่าจะตั้งกรรมการสอบ อสมท. ด้วยที่ปล่อยให้รายการนี้ออกไป"
8) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ฟ้องบริษัทแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของนสพ.ผู้จัดการและพวก ฐานหมิ่นประมาท กรณีตีพิมพ์ข้อความอ้างคำเทศนาของหลวงตามหาบัว ต่อว่านายกฯ ร้ายยิ่งกว่าพระเทวทัต และต้องการเป็นประธานาธิบดี เรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาท
9) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งนสพ.ผู้จัดการและพวก กรณีหมิ่นประมาทกล่าวหานายกฯ ว่า วิ่งเต้นเพื่อให้ได้สัมปทานดาวเทียมไทยคม เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท
ต่อมา เมื่อมีกระแสพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 48 ในวันที่ 6 ธ.ค. พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ยุติฟ้องสื่อทั้งแพ่งและอาญา กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพวก ในความผิดฐานหมิ่นประมาทรวม 6 คดี เรียกค่าความเสียหายทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท
สำหรับคดีความที่ฝ่ายผู้ถืออำนาจรัฐไล่ฟ้องร้องสื่อ ปรากฏว่า มีคดีที่ศาลยกฟ้อง เช่น ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และหนังสือพิมพ์แนวหน้า ที่เขียนบทความวิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย,
ศาลอาญา อ่านคำพิพากษา ยกฟ้องคดีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนสพ.ผู้จัดการรายวัน กรณีลงข่าวเปิดโผนักการเมืองจอมฟอกเงินสกปรก สร้างกาสิโน, ศาลอาญา ยกฟ้องนสพ.บ้านเมือง คดีบิ๊กขี้หลี และสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องนางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโสนสพ.บางกอกโพสต์ คดีบิ๊กขี้หลี
ศาลอาญากรุงเทพใต้ ยกฟ้องคดีที่อดีตผบ.ตร. สันต์ ศรุตานนท์ ฟ้องนายสนธิ และน.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ กรณีกล่าวหาว่า ยุคที่โจทก์เป็น ผบ.ตร. เป็นยุคที่ตำรวจละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด
***ปี 2549 “สื่อ-รัฐฯ ดับเครื่องชน”
ปีนี้ เป็นปีที่แนวรบด้านสื่อกับรัฐบาลทักษิณดุเดือดเลือดพล่าน การจุดเทียนแห่งปัญญาจาก “ปรากฏการณ์สนธิ” ได้ไล่ความกลัวและสร้างความตื่นตัวต่อการตรวจสอบรัฐบาล จากนั้นกระแสไล่ทักษิณ พ้นวงโคจรทางการเมือง ดังกระหึ่มยิ่งขึ้นเมื่อกลุ่มชินวัตรขายหุ้นชินคอร์ปให้กลุ่มทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์โดยเลี่ยงการเสียภาษี กระแสดังกล่าวถูกโหมกระพือจากสื่อ กระทั่งสร้างความหงุดหงิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างมาก ถึงกับสบถด้วยถ้อยคำหยาบคาย
“…….คนมันไม่พยายามจะเข้าใจ อย่างบางกอกโพสต์ เห็นไหม ซัดเต็มที่เลยทุกวัน ผู้จัดการ เงี้ย เนชั่น เงี้ย มติชน เงี้ย ซัดทุกวัน แล้วถามว่าเรื่องขายหุ้นเจ้าของบริษัทเหล่านี้ขายหุ้นบ้างไหม ขายทั้งนั้น แล้วเสียภาษีหรือเปล่าก็ไม่ได้เสียสักคน เพราะหุ้นในตลาดขายมันไม่ต้องเสีย นี่คือกติกาเขา เสร็จแล้วจะมาเล่นงานผม ปัทโธ่ ตรงไปตรงมาสิ ตรงไปตรงมารับรองผมไม่กลัวใครสักอย่าง” พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอย่างมีอารมณ์
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวตำหนิสื่ออย่างรุนแรง ระบุไร้จริยธรรมนำประเด็นเกี่ยวกับลูกของตนมาโจมตีด้วย (ผู้จัดการออนไลน์ 3 ก.พ. 49)
การประกาศศึกกับสื่อที่ชัดเจนของผู้นำรัฐบาล ทำให้เกิดคดีการฟ้องร้องเพื่อปิดปาก โดยเฉพาะค่ายหัวหอกอย่างเครือผู้จัดการและเอเอสทีวี พ่วงด้วย คม ชัด ลึก ซึ่งมีคดีฟ้องร้องกันมากมาย โดยเฉพาะคดีดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล และนสพ.คม ชัด ลึก ถูกแจ้งความทั่วราชอาณาจักร
นอกจากนั้น ยังมีคดีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เปิดเวทีชุมนุมไล่ทักษิณ นานนับเดือน โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งข้อหากระทำการก่อให้เกิดความไม่สงบในราชอาณาจักร กีดขวางการจราจร และกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะฟ้องร้องนายสนธิ ลิ้มทองกุลและพวก เรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ ในข้อหาหมิ่นประมาทและเรียกค่าเสียหายทางแพ่งนับพันล้านบาท
ไม่นับการออกใบสั่งให้บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หาช่องทางปิดเวปไซด์ www.manager.co.th และกรมประชาสัมพันธ์ ที่ใช้อำนาจสั่งห้ามแพร่ภาพและสัญญาณผ่านอินเตอร์เน็ตของทีวีผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี ของบริษัทไทยเดย์ ดอทคอม จำกัด รวมทั้งขู่ถอดถอนใบอนุญาตเคเบิลท้องถิ่นที่ถ่ายทอดสัญญาณเอเอสทีวี
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ , มติชน, ข่าวสด, เดลินิวส์ ฐานความผิดหมิ่นประมาทและยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 800 ล้านบาท