เหยื่อคดีสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามกระแสพัฒนาเศรษฐกิจที่ละเลยสังคม สิ่งแวดล้อม ไม่เพียงต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจจากสารพิษที่ได้รับเท่านั้น หากแต่การนำคดีสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อเรียกร้องการเยียวยาชดใช้ กลับยิ่งซ้ำเติมสร้างความเจ็บปวดมากขึ้นจากภาระการพิสูจน์ความเสียหาย และการตีความที่คับแคบ
ณ เวลานี้ศาลฎีกา ซึ่งมองเห็นปัญหาและลักษณะคดีสิ่งแวดล้อมที่มีความพิเศษต่างจากคดีแพ่งและอาญาทั่วไป จึงจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพิจารณาพิพากษาคดี พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษด้านคดีสิ่งแวดล้อมโดยตรง
............................................................
พงษ์เดช วานิชกิตติกุล เลขานุการศาลอุทธรณ์ ภาค 8 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา กล่าวในเวทีเสวนาระดมความเห็น “ความเสียหายด้านสุขภาพในคดีสิ่งแวดล้อม : การวินิจฉัยโดยแพทย์ และการชดเชยโดยกระบวนการยุติธรรม” ว่า จัดโดยโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือก ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะอนุกก.ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะกก.สิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ศาลฎีกาจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อม (ภายใน) ในศาลฎีกา เพื่อพิจารณาและพิพากษาคดีสิ่งแวดล้อม
คดีสิ่งแวดล้อม คือ คดีแพ่งและคดีอาญาที่ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามกลุ่มกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติและมลพิษ รวมทั้งหมด 24 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ, พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ , พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ
“ขั้นต่อไปจะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลคดีชำนัญพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะ และวางบทบาทเชิงรุกในการพิจารณาพิพากษาคดี วางหลักกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์” พงษ์เดช กล่าว
ศาลคดีสิ่งแวดล้อม จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิทางศาล และศาลจะวางบทบาทเชิงรุกในการพิจารณาพิพากษาคดี ต่อไปนี้ศาลคงต้องเทคแอคชั่น ลงพิสูจน์ข้อเท็จจริงในพื้นที่ พร้อมสร้างสรรค์หลักกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม การสร้างพยานผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง รวมถึงเพิ่มสิทธิของประชาชนเนื่องจากพลังมวลชนมีความสำคัญต่อคดีสิ่งแวดล้อมมาก
เขา กล่าวต่อว่า คดีสิ่งแวดล้อมเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และปัญหาสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม ทั้งยังมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งและอาญาทั่วไป คือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมที่เป็นสมบัติสาธารณะ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมจำนวนมากต้องใช้เวลาและใช้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ความเสียหาย ทำให้มีปัญหาในการกระบวนการพิจารณาคดีที่มีคู่ความและพยานจำนวนมาก การพิสูจน์ความเสียหายก็ทำได้ยาก และเป็นภาระแก่ผู้เสียหายหรือผู้ฟ้องคดี
“ศาลต้องการรักษาดุลยภาพแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพราะการพัฒนาที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่ความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ถ้าอยากทำจีดีพีให้สูงขึ้นก็ต้องมีกระบวนการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วย” พงษ์เดช กล่าว
พป.ละเว้นไม่ฟ้องไล่เบี้ยเอกชนกรณีโคบอลท์ - 60
ด้าน จันทิมา ธนาสว่างกุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวในวงเสวนาเดียวกันว่า การสู้คดีสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้เป็นการต่อสู้กับบรรษัทข้ามชาติที่มาพร้อมกระแสทุน การพิสูจน์ความเสียหายจึงควรคำนึงถึงบริบทของสังคมไทยด้วยไม่เฉพาะด้านเทคนิกหรืออาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก
อัยการผู้เชี่ยวชาญ ยกกรณีคดีโคบอลท์ – 60 ว่า มีประเด็นเรื่องการฟ้องร้องบริษัทเอกชนของรัฐ ซึ่งหมายถึง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พป.) ซึ่งบัดนี้พป. ยังไม่ฟ้องไล่เบี้ยกับบริษัทกมลสุโกศล อิเลกทริค จำกัด ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ พป. มีหนังสือหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายตาม ม. 96 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาที่สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานอัยการฯ ได้ตอบกลับไปตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. 44 แล้วว่า พป. มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากบริษัทฯ
พิสูจน์ยาก - ชดเชยความเสียหายต่ำ
ส่วนนายพนัส ทัศนียานนท์ วุฒิสมาชิกและกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่า การชดเชยความเสียหายคดีสิ่งแวดล้อมเป็นดุลพินิจของศาลที่ยังมีความคิดคับแคบ ความเสียหายที่ยังไม่ปรากฏอาการและความเสียหายทางสุขภาพจิตยังไม่พูดถึงมาก และการชดเชยมีปัญหาเพราะกำหนดตามฐานะทางสังคม คนรวยได้มากกว่าคนจน
ผู้เข้าร่วมเสวนาต่างมีความเห็นพ้องกันว่า คดีสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ผู้เสียหายเป็นชาวบ้านยากจน จึงมักมีปัญหาภาระการพิสูจน์ความเสียหาย ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ ซึ่งก็ไม่มีใครอยากช่วย
นายสุรชัย ตรงงาม ผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวสรุปว่า คดีสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกรณีสารพิษคลองเตย, โคบอลท์ – 60, โรงไฟฟ้าแม่เมาะ, สารตะกั่วคลิตี้ เมื่อชาวบ้านผู้เสียหายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมักได้รับการชดเชยน้อยเกินไป เพราะกระบวนการพิจารณาไม่คำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โอกาสเกิดมะเร็งจากการได้รับรังสีโคบอลท์ – 60 หรือค่าเสียหายที่ไม่ปรากฏอาการถูกตัดทิ้ง กระบวนการพิสูจน์เป็นภาระของชาวบ้านที่เข้าถึงข้อมูลยาก มีค่าใช้จ่ายสูง จึงอยากเสนอให้การจัดการเรื่องนี้ต้องกระทำโดยศาล และกระบวนการยุติธรรมต้องปรับตัวตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงฎีกา
นอกจากนั้น ยังควรมีมาตรการอื่นๆ ที่นำมาเยียวยาหรือช่วยดำเนินคดี เช่น การจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหาย การคิดค่าเสียหายเชิงลงโทษเพื่อป้องปรามเอกชนทำผิดซ้ำซาก รวมถึงการตีความแบบก้าวหน้าของกระบวนการพิจารณาคดี
ณ เวลานี้ศาลฎีกา ซึ่งมองเห็นปัญหาและลักษณะคดีสิ่งแวดล้อมที่มีความพิเศษต่างจากคดีแพ่งและอาญาทั่วไป จึงจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นมาพิจารณาพิพากษาคดี พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษด้านคดีสิ่งแวดล้อมโดยตรง
............................................................
พงษ์เดช วานิชกิตติกุล เลขานุการศาลอุทธรณ์ ภาค 8 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา กล่าวในเวทีเสวนาระดมความเห็น “ความเสียหายด้านสุขภาพในคดีสิ่งแวดล้อม : การวินิจฉัยโดยแพทย์ และการชดเชยโดยกระบวนการยุติธรรม” ว่า จัดโดยโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือก ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะอนุกก.ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะกก.สิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ศาลฎีกาจัดตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อม (ภายใน) ในศาลฎีกา เพื่อพิจารณาและพิพากษาคดีสิ่งแวดล้อม
คดีสิ่งแวดล้อม คือ คดีแพ่งและคดีอาญาที่ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามกลุ่มกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติและมลพิษ รวมทั้งหมด 24 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ, พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ , พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ
“ขั้นต่อไปจะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศาลคดีชำนัญพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะ และวางบทบาทเชิงรุกในการพิจารณาพิพากษาคดี วางหลักกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์” พงษ์เดช กล่าว
ศาลคดีสิ่งแวดล้อม จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิทางศาล และศาลจะวางบทบาทเชิงรุกในการพิจารณาพิพากษาคดี ต่อไปนี้ศาลคงต้องเทคแอคชั่น ลงพิสูจน์ข้อเท็จจริงในพื้นที่ พร้อมสร้างสรรค์หลักกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม การสร้างพยานผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง รวมถึงเพิ่มสิทธิของประชาชนเนื่องจากพลังมวลชนมีความสำคัญต่อคดีสิ่งแวดล้อมมาก
เขา กล่าวต่อว่า คดีสิ่งแวดล้อมเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และปัญหาสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยรวม ทั้งยังมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งและอาญาทั่วไป คือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมที่เป็นสมบัติสาธารณะ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมจำนวนมากต้องใช้เวลาและใช้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ความเสียหาย ทำให้มีปัญหาในการกระบวนการพิจารณาคดีที่มีคู่ความและพยานจำนวนมาก การพิสูจน์ความเสียหายก็ทำได้ยาก และเป็นภาระแก่ผู้เสียหายหรือผู้ฟ้องคดี
“ศาลต้องการรักษาดุลยภาพแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพราะการพัฒนาที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่ความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ถ้าอยากทำจีดีพีให้สูงขึ้นก็ต้องมีกระบวนการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วย” พงษ์เดช กล่าว
พป.ละเว้นไม่ฟ้องไล่เบี้ยเอกชนกรณีโคบอลท์ - 60
ด้าน จันทิมา ธนาสว่างกุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวในวงเสวนาเดียวกันว่า การสู้คดีสิ่งแวดล้อมต่อไปนี้เป็นการต่อสู้กับบรรษัทข้ามชาติที่มาพร้อมกระแสทุน การพิสูจน์ความเสียหายจึงควรคำนึงถึงบริบทของสังคมไทยด้วยไม่เฉพาะด้านเทคนิกหรืออาศัยผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก
อัยการผู้เชี่ยวชาญ ยกกรณีคดีโคบอลท์ – 60 ว่า มีประเด็นเรื่องการฟ้องร้องบริษัทเอกชนของรัฐ ซึ่งหมายถึง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พป.) ซึ่งบัดนี้พป. ยังไม่ฟ้องไล่เบี้ยกับบริษัทกมลสุโกศล อิเลกทริค จำกัด ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ แต่อย่างใด
ทั้งนี้ พป. มีหนังสือหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายตาม ม. 96 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาที่สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานอัยการฯ ได้ตอบกลับไปตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. 44 แล้วว่า พป. มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากบริษัทฯ
พิสูจน์ยาก - ชดเชยความเสียหายต่ำ
ส่วนนายพนัส ทัศนียานนท์ วุฒิสมาชิกและกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่า การชดเชยความเสียหายคดีสิ่งแวดล้อมเป็นดุลพินิจของศาลที่ยังมีความคิดคับแคบ ความเสียหายที่ยังไม่ปรากฏอาการและความเสียหายทางสุขภาพจิตยังไม่พูดถึงมาก และการชดเชยมีปัญหาเพราะกำหนดตามฐานะทางสังคม คนรวยได้มากกว่าคนจน
ผู้เข้าร่วมเสวนาต่างมีความเห็นพ้องกันว่า คดีสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ผู้เสียหายเป็นชาวบ้านยากจน จึงมักมีปัญหาภาระการพิสูจน์ความเสียหาย ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ ซึ่งก็ไม่มีใครอยากช่วย
นายสุรชัย ตรงงาม ผู้ประสานงานโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวสรุปว่า คดีสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกรณีสารพิษคลองเตย, โคบอลท์ – 60, โรงไฟฟ้าแม่เมาะ, สารตะกั่วคลิตี้ เมื่อชาวบ้านผู้เสียหายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมักได้รับการชดเชยน้อยเกินไป เพราะกระบวนการพิจารณาไม่คำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โอกาสเกิดมะเร็งจากการได้รับรังสีโคบอลท์ – 60 หรือค่าเสียหายที่ไม่ปรากฏอาการถูกตัดทิ้ง กระบวนการพิสูจน์เป็นภาระของชาวบ้านที่เข้าถึงข้อมูลยาก มีค่าใช้จ่ายสูง จึงอยากเสนอให้การจัดการเรื่องนี้ต้องกระทำโดยศาล และกระบวนการยุติธรรมต้องปรับตัวตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงฎีกา
นอกจากนั้น ยังควรมีมาตรการอื่นๆ ที่นำมาเยียวยาหรือช่วยดำเนินคดี เช่น การจัดตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหาย การคิดค่าเสียหายเชิงลงโทษเพื่อป้องปรามเอกชนทำผิดซ้ำซาก รวมถึงการตีความแบบก้าวหน้าของกระบวนการพิจารณาคดี