เรื่องโดย ........... รอมฎอน ปันจอร์
“สิทธิของเรายังคงอยู่ รัฐธรรมนูญที่บอกว่าเรามีสิทธิที่จะปกป้องทรัพยากรและแผ่นดินเกิดของเรา ทะเลของเรา เรายังยืนหยัดสู้เพื่อสิ่งนี้ อีกอย่างคือการทำโครงการนี้ก็ยังเป็นสิ่งผิดกฎหมายอยู่ ทั้งขั้นตอนทั้งหมดที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นประชาพิจารณ์ อีไอเอ หรือแม้แต่การขอใช้ที่ดินวากัฟและที่ดินสาธารณะที่ผิดทั้งกฎหมายและผิดหลักการศาสนา”
สุไรด๊ะ โต๊ะหลี กล่าวหนักแน่นถึงการยืนหยัดต่อสู้กับโครงการพัฒนาขนาดมหึมาที่ดำเนินมากว่า 7 ปี ของเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ท่ามกลางการดำเนินโครงการที่รุดหน้าไปมากโขแล้ว
ไม่ว่าเสียงสะท้อนของชาวจะนะ จะดังกึกก้องผ่านการเคลื่อนไหวมวลชนจำนวนมากกลางเมืองใหม่เป็นครั้งคราวเมื่อเกิดเหตุรุนแรงแล้วแผ่วเบาลงเป็นเพียงข่าวกรอบเล็กๆ ทว่า ยังคงเป็นเสียงที่ทรงพลังของชาวบ้านที่ถูกมองว่าเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ไร้พลังในระบบนิเวศน์การเมืองไทยซึ่งคับที่คับทางไปด้วยอำนาจทุนและอำนาจรัฐที่เอื้อทุนอย่างล้นฟ้า
………………………
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน ประเด็นร้อนจาก อ.จะนะ ถูกเฝ้ามองจากเหยี่ยวข่าวในพื้นที่และส่วนกลางซึ่งลงไปสังเกตเหตุการณ์ที่ส่อเค้าลางว่าอาจเกิดรุนแรงขึ้นได้ทุกเมื่อ เนื่องจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ในชุดปราบจราจลร่วมครึ่งพันเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ
เวลานั้น บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ ต้องการขนย้ายอุปกรณ์หอดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติ ในโรงแยกก๊าซจำนวน 2 ชิ้น แต่ละชิ้นมีน้ำหนักราว 560 ตัน ขึ้นฝั่งเพื่อชักลากไปยังโรงแยกก๊าซ ประกอบในต่างประเทศของโรงแยกก๊าซผ่านทางทะเล ที่ต้องขึ้นฝั่งริมชายฝั่ง อ.จะนะ ซึ่งตามสัญญาบริษัทรับเหมาที่ต้องส่งงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. ทำให้ต้องเร่งสร้างท่าเทียบเรือชั่วคราวบริเวณ “โคกชายทะเล” ม.8 บ้านวังงู ต.ตลิ่งชัน และขนย้ายเข้าบริเวณพื้นที่ก่อสร้างให้เร็วที่สุด
การเข้ามาดูแลความสงบตามปากคำเจ้าหน้าที่ตำรวจในระหว่างการขนย้ายอุปกรณ์ครั้งนี้ จึงทำให้มีการระดมสรรพกำลังของตำรวจภูธรจาก สภอ.ต่างๆ ใน จ.สงขลา และ จ.ตรัง ตำรวจตระเวนชายแดน จาก กก.ตชด.43 ค่ายรามคำแหง จ.สงขลา และอาสาสมัคร (อส.) รวมกันกว่า 500 นาย โดยการนำของ พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข รอง ผกก.ภ.จว.สงขลา มารักษาความปลอดภัยให้กับการขนย้ายดังกล่าว
ขณะที่กลุ่มคัดค้านโครงการฯ ก็บุกเข้าชุมนุมอย่างสงบในพื้นที่ท่าเทียบเรือชั่วคราว เพื่อยืนยันในหลักการว่าที่ดินดังกล่าวมีการขอใช้อย่างไม่ถูกขั้นตอน เนื่องจากยังไม่มีมติชัดเจนจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตลิ่งชัน
ท้ายที่สุด เหตุการณ์จบลงด้วยการเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 29 และ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยทั้งสองฝ่าย
การสลายการชุมนุมชาวบ้านกลุ่มคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ โดยเฉพาะในคืนวันที่ 30 พ.ย. นั้น กลุ่มผู้ชุมนุมแตกกระจายเข้าไปในหมู่บ้านวังงูอย่างอลหม่าน ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวอยู่ใกล้กับท่าเทียบเรือชั่วคราวและเป็นที่ชุมนุมปักหลักของกลุ่มคัดค้าน ขณะเดียวกันก็เป็นหมู่บ้านที่มีท่าทีสนับสนุนโครงการท่อก๊าซด้วย
นางติเมาะ สาเมาะ ชาวบ้านบ้านวังงู เล่าให้ “ผู้จัดการรายวัน” ฟังในร้านน้ำชากลางหมู่บ้านว่า เหตุการณ์ในวันนั้นสร้างความไม่พอใจของชาวบ้านต่อวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้ชาวบ้านเข้าชื่อกันปลดผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถให้ความคุ้มครองชาวบ้านได้ เพราะเชื่อว่าผู้ใหญ่บ้านที่ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่บริษัทและเจ้าหน้าที่ตำรวจ น่าจะรับรู้มาก่อนว่าจะมีเหตุการณ์ และน่าจะมีการเตือนให้ชาวบ้านรับรู้ก่อน
นางติเมาะ เล่าให้ฟังว่า การเข้ามาค้นบ้านของชาวบ้านโดยไม่มีหมายค้น และใช้กำลังตำรวจควานหาคนอย่างไม่มีเป้าหมาย รวมทั้งการบุกจับกุมตัวเด็กๆ อายุสิบกว่าขวบที่ไม่รู้เรื่องไปสอบปากคำ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านวังงูเห็นว่าทำเกินไป
“คืนนั้นมีตำรวจเดินกันเต็มหมู่บ้านหมด ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่ได้ไปชุมนุมกับเขาเลย” นางติเมาะ เล่าบรรยากาศ
ด้านนางปรีดา สมัครใจ ชาวบ้านวังงูอีกคนให้ข้อมูลว่า ชาวบ้านวังงูส่วนมากไม่ได้เป็นผู้คัดค้านโครงการ และเห็นว่าโครงการขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนมหาศาลอย่างนี้ เสียงของชาวบ้านดูจะไม่มีความหมายอันใด โดยส่วนตัวยอมรับว่าชาวบ้านส่วนมากหวั่นเกรงถึงผลกระทบที่จะตามมาไม่ต่างกับกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านโครงการ แต่ด้วยข้อจำกัดที่ต้องทำมาหากิน และผลประโยชน์ที่จะได้ซึ่งได้แก่การขายที่ดิน การทำงานรับจ้างทั้งในพื้นที่ก่อสร้าง หรือแม้กระทั้งรับจ้างชุมนุมสนับสนุนโครงการ ทำให้ชาวบ้านวังงูส่วนใหญ่ มีท่าทีสนับสนุนโครงการ หรือไม่ก็มีท่าทีไม่คัดค้านโครงการ
“อย่างการชุมนุมรอดูการขนย้ายอุปกรณ์ ชาวบ้านเราก็ได้กันมาหัวละ 200 บาท เป็นปกติที่เขาต้องการให้มีภาพชาวบ้านสนับสนุนโครงการ ทุกคนจะได้เห็นว่าชาวบ้านแถวนี้ยอมรับโครงการดี ส่วนที่ทำงานข้างใน ก็มีชาวบ้านแถวนี้ราวๆ 10 % ได้ และส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชาย” นางปรีดา กล่าว
นั่นเป็นข้อมูลจากชาวบ้านอีกส่วนหนึ่ง ที่นำมาซึ่งข้อสรุปของการกรุยทางให้มีการขนย้ายได้สำเร็จโดยมีกำลังปราบจราจลของตำรวจเดินนำหน้าการขนย้ายหอดูดซับฯ มาอย่างใกล้ชิด แม้จะประสบปัญหาจากน้ำขึ้นน้ำลงและความบกพร่องเครื่องจักรขนย้ายบ้างก็ตาม
ภารกิจของบริษัทและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ารักษาความสงบลุล่วงไปแล้ว แต่ทว่าภารกิจของผู้ปกป้องบ้านเกิดยังคงดำเนินต่อไป
………………………
ท่ามกลางเปลวแดดที่ร้อนผ่าว คนงานและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท และตำรวจหลายนายจากต่างสังกัดเดินกันขวักไขว่ รอลุ้นเจ้าอุปกรณ์ขนาดมหึมาที่เดินทางข้ามทะเลมาจอดเทียบอยู่ริมฝั่งอยู่ค่อนคืนนี้ถูกขนย้ายเข้าพื้นที่ก่อสร้างโรงแยกก๊าซซึ่งหากออกไปราวครึ่งกิโลเมตร
สัน ใบดูเก็ม ชาวบ้าน ม.7 ต.สะกอม อ.จะนะ เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวบ้านราวครึ่งร้อยที่มานั่งรอดูการเคลื่อนย้ายครั้งนี้ใต้ร่มเงาต้นชะเมาเป็นวันที่สองแล้ว ออกตัวว่าไม่ได้คัดค้านโครงการและให้การสนับสนุน ส่วนกลุ่มคัดค้านที่มาชุมนุมอยู่ที่บริเวณท่าเรือเมื่อวันก่อนและถูกตำรวจสลายไป เป็นฝ่ายคัดค้านที่พูดคุยเข้าใจกันยาก ซึ่งเขาให้ความเห็นว่าเรื่องแบบนี้นั้นแล้วแต่คนจะคิด
“เราเห็นว่ามีโครงการนี้มันก็ดี งบจะได้เข้าตำบลหลายล้าน คนมีงานทำ ตลาดนัดก็เพิ่มขึ้น เพราะคนเริ่มเข้ามามาก รายได้ก็ดีขึ้นด้วย ที่สำคัญหากมีโรงงานเกิดขึ้น คนหนุ่มสาวก็ได้ทำงานใกล้บ้าน ได้ทำทุกวัน ดีกว่าทำเล (ออกทะเลทำประมง) ได้ซื้อของมากขึ้น” สัน ให้ความเห็นต่อโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซอย่างตรงไปตรงมา อีกหลายคนที่นั่งอยู่ใกล้กันผงกหัวเป็นการเห็นร่วม
“แรกๆ ก็เป็นงานกรรมกรนั่นแหละ ต่อไปพอสร้างเสร็จ เขาคงจะรับชาวบ้านในพื้นที่ก่อน” เขากล่าวอย่างมั่นใจว่าจะสามารถฝากอนาคตกับโครงการได้
ระหว่างนั้น สมหมัด เซ็น เจ้าของร้านขายของชำใน ม.2 ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ กลับแทรกขึ้นมาว่า อันที่จริงแล้ว บริษัทเองก็ไม่ได้จ้างคนในพื้นที่ทำงานเป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนจากภาคอื่นๆ โดยเฉพาะจากภาคอีสานเป็นหลัก และส่วนหนึ่งก็มีการลาออกไปเป็นจำนวนมากแล้วเช่นกัน
“มีลูกค้าของผมที่เป็นคนอีสานเคยมาเล่าให้ฟังว่า ตอนแรกที่เขาไปที่บ้านชวนให้มาทำงานที่นี่ บอกว่าจะได้วันละ 250 บาท แต่มาทำจริงๆ ได้เพียง 170 บาท ที่ออกไปผมว่าเป็นพันแล้วล่ะทั้งคนพื้นที่เองและคนอีสาน” สมหมัด ให้ข้อมูล
เขาเอง ไม่มั่นใจว่า หากการก่อสร้างดำเนินการเสร็จ การจ้างงานในขั้นการปฏิบัติงาน จะมีการใช้คนพื้นที่มากน้อยเพียงไร
...............................
อำนวย ลายไม้ หัวหน้าหน่วยมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ บริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย เจ้าของโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างโรงแยกก๊าซก้าวหน้าไปกว่า 70 % แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปีหน้า ที่เหลือเป็นการจัดวางระบบภายใน ท่อส่งก๊าซบนบกนั้น ได้วางแล้วเสร็จไปกว่า 95 % แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า ส่วนท่อในทะเลวางเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าระบบท่อส่งก๊าซจะสามารถขนส่งก๊าซได้โดยไม่ต้องผ่านโรงแยกก๊าซขายให้ลูกค้าได้เลยภายในต้นปีหน้า
ในส่วนการจ้างงานในพื้นที่นั้น อำนวย ให้ข้อมูลว่า การก่อสร้างโรงแยกก๊าซใช้คนงานในพื้นที่ราว 1,000 คน ซึ่งได้รับรายได้โดยตรง ทั้งนี้ประโยชน์เกี่ยวกับรายได้ยังมีทางอ้อมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้แก่ ร้านค้า ร้านอาหาร ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ให้กับชุมชนอีกทาง
“ส่วนเรื่องการให้เงินชาวบ้านเพื่อให้มาสนับสนุนโครงการนั้น จริงๆ ผมไม่อยากใช้คำว่าจ้างชาวบ้านมา เรื่องนี้บริษัทไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ด้วย แต่เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องการให้ชาวบ้านมาร่วมกันพิสูจน์ว่าข้อกังวลที่หลายคนบอกว่าการขนย้ายจะทำให้บ้านร้าวนั้น จริงแค่ไหน ต้องการให้ชาวบ้านมาพิสูจน์เองมากกว่า ส่วนเรื่องสินน้ำใจก็ไม่แปลกที่จะมี”
นอกจากนี้ อำนวย ยังให้ความเห็นทิ้งท้ายเกี่ยวกับการเข้ามาอารักขาการดำเนินโครงการฯ ซึ่งเป็นของเอกชน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนาย ว่า อันที่จริงโครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล แต่ดำเนินการโดยเอกชน จึงเป็นหน้าที่ของกลไกรัฐที่จะต้องเข้ามารักษาความปลอดภัย
“ที่สำคัญคือเป็นโครงการร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้มีความอ่อนไหวมาก และถือเป็นหน้าตาของประเทศเราด้วย นอกจากนี้พนักงานบริษัทรับเหมาส่วนใหญ่ ก็เป็นคนต่างชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องเข้ามาดูแลตรงส่วนนี้” อำนวย ให้เหตุผลที่ต้องมีการอารักขาที่เข้มแข็งเพื่อให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ
“สิทธิของเรายังคงอยู่ รัฐธรรมนูญที่บอกว่าเรามีสิทธิที่จะปกป้องทรัพยากรและแผ่นดินเกิดของเรา ทะเลของเรา เรายังยืนหยัดสู้เพื่อสิ่งนี้ อีกอย่างคือการทำโครงการนี้ก็ยังเป็นสิ่งผิดกฎหมายอยู่ ทั้งขั้นตอนทั้งหมดที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นประชาพิจารณ์ อีไอเอ หรือแม้แต่การขอใช้ที่ดินวากัฟและที่ดินสาธารณะที่ผิดทั้งกฎหมายและผิดหลักการศาสนา”
สุไรด๊ะ โต๊ะหลี กล่าวหนักแน่นถึงการยืนหยัดต่อสู้กับโครงการพัฒนาขนาดมหึมาที่ดำเนินมากว่า 7 ปี ของเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ท่ามกลางการดำเนินโครงการที่รุดหน้าไปมากโขแล้ว
ไม่ว่าเสียงสะท้อนของชาวจะนะ จะดังกึกก้องผ่านการเคลื่อนไหวมวลชนจำนวนมากกลางเมืองใหม่เป็นครั้งคราวเมื่อเกิดเหตุรุนแรงแล้วแผ่วเบาลงเป็นเพียงข่าวกรอบเล็กๆ ทว่า ยังคงเป็นเสียงที่ทรงพลังของชาวบ้านที่ถูกมองว่าเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ไร้พลังในระบบนิเวศน์การเมืองไทยซึ่งคับที่คับทางไปด้วยอำนาจทุนและอำนาจรัฐที่เอื้อทุนอย่างล้นฟ้า
………………………
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน ประเด็นร้อนจาก อ.จะนะ ถูกเฝ้ามองจากเหยี่ยวข่าวในพื้นที่และส่วนกลางซึ่งลงไปสังเกตเหตุการณ์ที่ส่อเค้าลางว่าอาจเกิดรุนแรงขึ้นได้ทุกเมื่อ เนื่องจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ในชุดปราบจราจลร่วมครึ่งพันเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ
เวลานั้น บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ ต้องการขนย้ายอุปกรณ์หอดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติ ในโรงแยกก๊าซจำนวน 2 ชิ้น แต่ละชิ้นมีน้ำหนักราว 560 ตัน ขึ้นฝั่งเพื่อชักลากไปยังโรงแยกก๊าซ ประกอบในต่างประเทศของโรงแยกก๊าซผ่านทางทะเล ที่ต้องขึ้นฝั่งริมชายฝั่ง อ.จะนะ ซึ่งตามสัญญาบริษัทรับเหมาที่ต้องส่งงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พ.ย. ทำให้ต้องเร่งสร้างท่าเทียบเรือชั่วคราวบริเวณ “โคกชายทะเล” ม.8 บ้านวังงู ต.ตลิ่งชัน และขนย้ายเข้าบริเวณพื้นที่ก่อสร้างให้เร็วที่สุด
การเข้ามาดูแลความสงบตามปากคำเจ้าหน้าที่ตำรวจในระหว่างการขนย้ายอุปกรณ์ครั้งนี้ จึงทำให้มีการระดมสรรพกำลังของตำรวจภูธรจาก สภอ.ต่างๆ ใน จ.สงขลา และ จ.ตรัง ตำรวจตระเวนชายแดน จาก กก.ตชด.43 ค่ายรามคำแหง จ.สงขลา และอาสาสมัคร (อส.) รวมกันกว่า 500 นาย โดยการนำของ พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข รอง ผกก.ภ.จว.สงขลา มารักษาความปลอดภัยให้กับการขนย้ายดังกล่าว
ขณะที่กลุ่มคัดค้านโครงการฯ ก็บุกเข้าชุมนุมอย่างสงบในพื้นที่ท่าเทียบเรือชั่วคราว เพื่อยืนยันในหลักการว่าที่ดินดังกล่าวมีการขอใช้อย่างไม่ถูกขั้นตอน เนื่องจากยังไม่มีมติชัดเจนจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตลิ่งชัน
ท้ายที่สุด เหตุการณ์จบลงด้วยการเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 29 และ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยทั้งสองฝ่าย
การสลายการชุมนุมชาวบ้านกลุ่มคัดค้านโครงการท่อก๊าซฯ โดยเฉพาะในคืนวันที่ 30 พ.ย. นั้น กลุ่มผู้ชุมนุมแตกกระจายเข้าไปในหมู่บ้านวังงูอย่างอลหม่าน ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวอยู่ใกล้กับท่าเทียบเรือชั่วคราวและเป็นที่ชุมนุมปักหลักของกลุ่มคัดค้าน ขณะเดียวกันก็เป็นหมู่บ้านที่มีท่าทีสนับสนุนโครงการท่อก๊าซด้วย
นางติเมาะ สาเมาะ ชาวบ้านบ้านวังงู เล่าให้ “ผู้จัดการรายวัน” ฟังในร้านน้ำชากลางหมู่บ้านว่า เหตุการณ์ในวันนั้นสร้างความไม่พอใจของชาวบ้านต่อวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้ชาวบ้านเข้าชื่อกันปลดผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถให้ความคุ้มครองชาวบ้านได้ เพราะเชื่อว่าผู้ใหญ่บ้านที่ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่บริษัทและเจ้าหน้าที่ตำรวจ น่าจะรับรู้มาก่อนว่าจะมีเหตุการณ์ และน่าจะมีการเตือนให้ชาวบ้านรับรู้ก่อน
นางติเมาะ เล่าให้ฟังว่า การเข้ามาค้นบ้านของชาวบ้านโดยไม่มีหมายค้น และใช้กำลังตำรวจควานหาคนอย่างไม่มีเป้าหมาย รวมทั้งการบุกจับกุมตัวเด็กๆ อายุสิบกว่าขวบที่ไม่รู้เรื่องไปสอบปากคำ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านวังงูเห็นว่าทำเกินไป
“คืนนั้นมีตำรวจเดินกันเต็มหมู่บ้านหมด ทั้งๆ ที่เราเองก็ไม่ได้ไปชุมนุมกับเขาเลย” นางติเมาะ เล่าบรรยากาศ
ด้านนางปรีดา สมัครใจ ชาวบ้านวังงูอีกคนให้ข้อมูลว่า ชาวบ้านวังงูส่วนมากไม่ได้เป็นผู้คัดค้านโครงการ และเห็นว่าโครงการขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนมหาศาลอย่างนี้ เสียงของชาวบ้านดูจะไม่มีความหมายอันใด โดยส่วนตัวยอมรับว่าชาวบ้านส่วนมากหวั่นเกรงถึงผลกระทบที่จะตามมาไม่ต่างกับกลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านโครงการ แต่ด้วยข้อจำกัดที่ต้องทำมาหากิน และผลประโยชน์ที่จะได้ซึ่งได้แก่การขายที่ดิน การทำงานรับจ้างทั้งในพื้นที่ก่อสร้าง หรือแม้กระทั้งรับจ้างชุมนุมสนับสนุนโครงการ ทำให้ชาวบ้านวังงูส่วนใหญ่ มีท่าทีสนับสนุนโครงการ หรือไม่ก็มีท่าทีไม่คัดค้านโครงการ
“อย่างการชุมนุมรอดูการขนย้ายอุปกรณ์ ชาวบ้านเราก็ได้กันมาหัวละ 200 บาท เป็นปกติที่เขาต้องการให้มีภาพชาวบ้านสนับสนุนโครงการ ทุกคนจะได้เห็นว่าชาวบ้านแถวนี้ยอมรับโครงการดี ส่วนที่ทำงานข้างใน ก็มีชาวบ้านแถวนี้ราวๆ 10 % ได้ และส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชาย” นางปรีดา กล่าว
นั่นเป็นข้อมูลจากชาวบ้านอีกส่วนหนึ่ง ที่นำมาซึ่งข้อสรุปของการกรุยทางให้มีการขนย้ายได้สำเร็จโดยมีกำลังปราบจราจลของตำรวจเดินนำหน้าการขนย้ายหอดูดซับฯ มาอย่างใกล้ชิด แม้จะประสบปัญหาจากน้ำขึ้นน้ำลงและความบกพร่องเครื่องจักรขนย้ายบ้างก็ตาม
ภารกิจของบริษัทและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ารักษาความสงบลุล่วงไปแล้ว แต่ทว่าภารกิจของผู้ปกป้องบ้านเกิดยังคงดำเนินต่อไป
………………………
ท่ามกลางเปลวแดดที่ร้อนผ่าว คนงานและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท และตำรวจหลายนายจากต่างสังกัดเดินกันขวักไขว่ รอลุ้นเจ้าอุปกรณ์ขนาดมหึมาที่เดินทางข้ามทะเลมาจอดเทียบอยู่ริมฝั่งอยู่ค่อนคืนนี้ถูกขนย้ายเข้าพื้นที่ก่อสร้างโรงแยกก๊าซซึ่งหากออกไปราวครึ่งกิโลเมตร
สัน ใบดูเก็ม ชาวบ้าน ม.7 ต.สะกอม อ.จะนะ เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวบ้านราวครึ่งร้อยที่มานั่งรอดูการเคลื่อนย้ายครั้งนี้ใต้ร่มเงาต้นชะเมาเป็นวันที่สองแล้ว ออกตัวว่าไม่ได้คัดค้านโครงการและให้การสนับสนุน ส่วนกลุ่มคัดค้านที่มาชุมนุมอยู่ที่บริเวณท่าเรือเมื่อวันก่อนและถูกตำรวจสลายไป เป็นฝ่ายคัดค้านที่พูดคุยเข้าใจกันยาก ซึ่งเขาให้ความเห็นว่าเรื่องแบบนี้นั้นแล้วแต่คนจะคิด
“เราเห็นว่ามีโครงการนี้มันก็ดี งบจะได้เข้าตำบลหลายล้าน คนมีงานทำ ตลาดนัดก็เพิ่มขึ้น เพราะคนเริ่มเข้ามามาก รายได้ก็ดีขึ้นด้วย ที่สำคัญหากมีโรงงานเกิดขึ้น คนหนุ่มสาวก็ได้ทำงานใกล้บ้าน ได้ทำทุกวัน ดีกว่าทำเล (ออกทะเลทำประมง) ได้ซื้อของมากขึ้น” สัน ให้ความเห็นต่อโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซอย่างตรงไปตรงมา อีกหลายคนที่นั่งอยู่ใกล้กันผงกหัวเป็นการเห็นร่วม
“แรกๆ ก็เป็นงานกรรมกรนั่นแหละ ต่อไปพอสร้างเสร็จ เขาคงจะรับชาวบ้านในพื้นที่ก่อน” เขากล่าวอย่างมั่นใจว่าจะสามารถฝากอนาคตกับโครงการได้
ระหว่างนั้น สมหมัด เซ็น เจ้าของร้านขายของชำใน ม.2 ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ กลับแทรกขึ้นมาว่า อันที่จริงแล้ว บริษัทเองก็ไม่ได้จ้างคนในพื้นที่ทำงานเป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนจากภาคอื่นๆ โดยเฉพาะจากภาคอีสานเป็นหลัก และส่วนหนึ่งก็มีการลาออกไปเป็นจำนวนมากแล้วเช่นกัน
“มีลูกค้าของผมที่เป็นคนอีสานเคยมาเล่าให้ฟังว่า ตอนแรกที่เขาไปที่บ้านชวนให้มาทำงานที่นี่ บอกว่าจะได้วันละ 250 บาท แต่มาทำจริงๆ ได้เพียง 170 บาท ที่ออกไปผมว่าเป็นพันแล้วล่ะทั้งคนพื้นที่เองและคนอีสาน” สมหมัด ให้ข้อมูล
เขาเอง ไม่มั่นใจว่า หากการก่อสร้างดำเนินการเสร็จ การจ้างงานในขั้นการปฏิบัติงาน จะมีการใช้คนพื้นที่มากน้อยเพียงไร
...............................
อำนวย ลายไม้ หัวหน้าหน่วยมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ บริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย เจ้าของโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย – มาเลเซีย เปิดเผยว่า ขณะนี้การก่อสร้างโรงแยกก๊าซก้าวหน้าไปกว่า 70 % แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปีหน้า ที่เหลือเป็นการจัดวางระบบภายใน ท่อส่งก๊าซบนบกนั้น ได้วางแล้วเสร็จไปกว่า 95 % แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า ส่วนท่อในทะเลวางเสร็จเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าระบบท่อส่งก๊าซจะสามารถขนส่งก๊าซได้โดยไม่ต้องผ่านโรงแยกก๊าซขายให้ลูกค้าได้เลยภายในต้นปีหน้า
ในส่วนการจ้างงานในพื้นที่นั้น อำนวย ให้ข้อมูลว่า การก่อสร้างโรงแยกก๊าซใช้คนงานในพื้นที่ราว 1,000 คน ซึ่งได้รับรายได้โดยตรง ทั้งนี้ประโยชน์เกี่ยวกับรายได้ยังมีทางอ้อมอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้แก่ ร้านค้า ร้านอาหาร ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ให้กับชุมชนอีกทาง
“ส่วนเรื่องการให้เงินชาวบ้านเพื่อให้มาสนับสนุนโครงการนั้น จริงๆ ผมไม่อยากใช้คำว่าจ้างชาวบ้านมา เรื่องนี้บริษัทไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ ด้วย แต่เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องการให้ชาวบ้านมาร่วมกันพิสูจน์ว่าข้อกังวลที่หลายคนบอกว่าการขนย้ายจะทำให้บ้านร้าวนั้น จริงแค่ไหน ต้องการให้ชาวบ้านมาพิสูจน์เองมากกว่า ส่วนเรื่องสินน้ำใจก็ไม่แปลกที่จะมี”
นอกจากนี้ อำนวย ยังให้ความเห็นทิ้งท้ายเกี่ยวกับการเข้ามาอารักขาการดำเนินโครงการฯ ซึ่งเป็นของเอกชน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนาย ว่า อันที่จริงโครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล แต่ดำเนินการโดยเอกชน จึงเป็นหน้าที่ของกลไกรัฐที่จะต้องเข้ามารักษาความปลอดภัย
“ที่สำคัญคือเป็นโครงการร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้มีความอ่อนไหวมาก และถือเป็นหน้าตาของประเทศเราด้วย นอกจากนี้พนักงานบริษัทรับเหมาส่วนใหญ่ ก็เป็นคนต่างชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องเข้ามาดูแลตรงส่วนนี้” อำนวย ให้เหตุผลที่ต้องมีการอารักขาที่เข้มแข็งเพื่อให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จ