ญี่ปุ่นสวมบทโจรสลัดชีวภาพฉกสมุนไพรไทยจดสิทธิบัตรจากกรณี “เปล้าน้อย” สู่ “กวาวเครือ” เหตุการณ์ซ้ำรอยประวัติศาสตร์จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปตราบใดที่ระบบปกป้องคุ้มครองทรัพยากรของไทยยังไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอ
เปล้าน้อย คือกรณีตัวอย่างคลาสสิคที่ใช้อรรถาธิบายถึงกรณีโจรสลัดชีวภาพในประเทศไทย และบัดนี้กรณีตัวอย่างที่ทำให้สังคมไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์อันเกิดจากระบบสิทธิบัตร คนส่วนใหญ่จะไม่นึกถึงเพียงแต่กรณีเปล้าน้อย เพราะ “กวาวเครือ” สมุนไพรที่ทรงคุณค่าของไทยก็ตกอยู่ในอุ้งมือของญี่ปุ่นแล้ว
องค์กรความหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย (ไบโอไทย) ให้ข้อมูลว่า เปล้าน้อย(Croton sublyratus)เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทย มีลักษณะเป็นไม้พุ่มไม่สูงมากนัก พบขึ้นกระจายทั่วไป ในประเทศไทย มีการระบุไว้ในสมุดข่อยโบราณว่าเปล้าทั้งสอง(คนโบราณมักจะเรียกควบกันว่าเปล้าน้อยและเปล้าใหญ่)มีสรรพคุณโดยใช้ใบในการบำรุงธาตุ ใช้ดอกแก้พยาธิ ลูกดองสุรากินขับโลหิตระดูในเรือนไฟ เปลือกและกะพี้ช่วยย่อยอาหาร แก้เลือดร้อน แก่นขับเลือดหนองให้ตกและขับไส้เดือน รากขับผายลม
ในระหว่างปี พ.ศ. 2513-2517เปล้าน้อยมีรายชื่ออยู่ในรายงานการร่วมมือศึกษาวิจัยในโครงการช่วยเหลือของญี่ปุ่นที่ให้แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อาจเป็นไปได้ว่าภาคเอกชนของญี่ปุ่นได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของเปล้าน้อยอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ก่อนหน้าปี 2517 เป็นต้นไป และทำให้บริษัทซังเกียวเห็นศักยภาพที่จะสกัดเปล้าน้อยเป็นยา
อย่างไรก็ตาม ในงานเขียนของ นายชนะ พรหมเดช(ชนะ พรหมเดช 2538) เรื่อง " เปล้าน้อยกับศาสตราจารย์ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ กลับให้ข้อมูลว่าความสนใจในเรื่องเปล้าน้อยนั้นเริ่มต้นจากฝ่ายญี่ปุ่นเองโดย "…เริ่มจากการที่นักวิจัยญี่ปุ่นประจำบริษัทซังเกียว (ดร. โอกิโซและคณะ)ได้สังเคราะห์สารเคมีชนิดหนึ่ง (C20 H34 O2) ขึ้นในปี 2508 ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรคกระเพาะ แต่ปรากฎวาสารดังกล่าวมีผลข้างเคียงมากเกินกว่าที่จะใช้ผลิตยา
นายอนันต์ เหล่าพาณิชย์ ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซังเกียวในประเทศไทยได้แนะนำให้สกัดตัวยาดังกล่าวจากพืชสมุนไพร และได้จัดส่งสมุนไพรแห้งชนิดต่างๆ ไปให้ที่ญี่ปุ่น เพื่อดูว่าจะมีตัวยาดังกล่าวอยู่ในพืชชนิดใด จนกระทั่งค้นพบว่าในตัวอย่างที่ 684 มีสารดังกล่าวเมื่อตรวจโดยใช้วิธี thin chromatography ตัวอย่างที่ 684 คือสมุนไพรของไทยที่เรียกว่า เปล้าน้อย…" การค้นหาแหล่งผลิตของเปล้าน้อยในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2516 โดยที่นายอนันต์นำคณะวิจัยญี่ปุ่นเข้าพบเลขานุการกรมป่าไม้ และเริ่มค้นหาแหล่งธรรมชาติของพืชชนิดนี้ หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จ
จากการติดตามจากร้านขายยาที่ได้ตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์ และค้นคว้าตามภาควิชาพฤกษศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ นายจำลอง เพ็งคล้าย ผู้เชี่ยวชาญพฤษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้แนะนำให้ไปค้นตรวจสอบประวัติ ณ หอพรรณไม้กรมป่าไม้ พบว่ามีพรรณไม้พวก เปล้าน้อย แต่เป็นชนิด Croton Joufra ต่อจากนั้นนายอนันต์, ดร.อากิระ, นายอิวาโอะ มิกุริยา(ผู้ช่วยของดร.อากิระ) และนายชนะ พรหมเดช นักพฤกษศาสตร์ ได้ร่วมกันสำรวจพรรณไม้เปล้าน้อยตามภาคต่างๆ ในประเทศไทย จนกระทั่งได้พบ "เปล้าน้อย"(Croton sublyratus)ในที่สุด โดยพบขึ้นอยู่ริมทางถนนในท้องที่ตำบลโนนห้อม จังหวัดปราจีนบุรี ต่อจากนั้นพรรณไม้ชนิดนี้ก็ถูกค้นพบอีกในบริเวณตำบลห้วยยาง และตำบลห้วยทรายจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หลังจากนั้น ดร.อากิระ จึงได้จัดทำแปลงทดลองในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ขึ้นในทั้งสองจังหวัด เพื่อศึกษาอย่างใกล้ชิดและวิจัยหาส่วนของเปล้าน้อยที่ให้สารออกฤทธิ์สูงสุด ผลการวิจัยสรุปว่าส่วนที่เป็นใบให้ตัวยาสูงกว่าส่วนที่เป็น ลำต้น,กิ่งก้าน และราก อีกทั้งยังพบว่าต้นเปล้าน้อยที่ปลูกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้นให้ตัวยาสูงกว่าที่ปลูกที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งสารสกัดดังกล่าวมีชื่อย่อว่า CS 684 ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 เอกสารการค้นคว้าทางวิชาการของห้องวิจัยกลาง บริษัท ซังเกียว จำกัด (Sankyo Co.,Ltd.) ระบุว่า "งานค้นคว้าของเราคือการค้นหาสารที่ใช้รักษาแผลในกะเพาะอาหาร จากพืชสมุนไพร เราพบว่า สารสกัดที่ได้จากเปล้าน้อยในเมืองไทย มีผลในการรักษาแผลเรื้อรังในหนู ที่เกิดจากการใช้สารรีเซอร์ปีนกระตุ้นให้เกิดแผล ..." และในปี 2526 ญี่ปุ่นได้นำสารดังกล่าวไปจดทะเบียนกับองค์การอนามัยโลก(The World Health Organization =WHO) ภายใต้ชื่อ "เปลาโนทอล(Plaunotol)"
ปีเดียวกับที่บริษัทซังเกียวได้จดทะเบียนยาเปลาโนทอลต่อองค์การอนามัยโลก บริษัทนี้ได้ร่วมมือกับนายอนันต์ เหล่าพาณิชย์ จัดตั้งบริษัทไทยซังเกียวขึ้น มีเงินลงทุนประมาณ 250-300 ล้านบาท โดยกู้เงินเพื่อการลงทุนจากบริษัทซังเกียวประเทศญี่ปุ่น เป็นหลัก
ในปี 2528 บริษัทซังเกียวได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารยาของญี่ปุ่นให้ผลิตยาจากเปล้าน้อยนี้ออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "เคลเน็กซ์" (Kelnac) ใช้รักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ในปี 2529 บริษัทได้สร้างโรงงานอบใบเปล้าน้อย ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้อบใบแห้งที่มีผลผลิตประมาณ 1,700 ตันต่อปี จากพื้นที่ปลูกประมาณ 7,000 ไร่ โดยมีเงินลงทุนสำหรับ "ค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดิน เครื่องจักร ยานพาหนะ อุปกรณ์ในการเพาะปลูก แปลงเพาะชำ โรงงานอบแห้ง โรงงานอัดแท่ง เป็นเงิน 58 ล้านบาท"
ต่อมาได้สร้างโรงงานสกัดสาร "เปลาโนทอล" โดยใช้สารทำละลาย เป็นเงิน 120 ล้านบาท รวมทั้งสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางพืช เพื่อศึกษาขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเนื้อเยื่อแทนการใช้พันธุ์เดิมจากป่า ซึ่งให้ผลผลิตซึ่งมีตัวยาต่ำ
ปัจจุบันบริษัท ไทยซังเกียว จำกัด ดำเนินกิจการผลิตสารสกัดจากเปล้าน้อย เพื่อส่งออกให้แก่บริษัท ซังเกียว ที่ญี่ปุ่นนำไปผลิตยา Kelnac การผลิตของบริษัทเริ่มจากการปลูกต้นเปล้าน้อยในที่ดินของบริษัทฯ เก็บใบสดมาตากและอบแห้ง แล้วสกัดตัวยาจากใบแห้งโดยใช้สารทำละลาย บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลด้านปริมาณการผลิต แต่ประมาณว่าจะผลิตได้ประมาณ 1,700 ตันใบแห้งจากพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่ มีการจ้างคนงานเพื่อการปลูกและเก็บใบยาประมาณ 1,000 คน
บริษัทไม่ได้ซื้อใบเปล้าน้อยจากชาวบ้านโดยตรงเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ ทั้งนี้สารสกัดที่ได้ขายให้กับบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยตกลงทำการซื้อขายกันล่วงหน้าเป็น ปีๆ โดยบริษัทแม่จะนำสารสกัดที่ได้ไปผลิตเป็นยาเคลเน็กซ์
ตลาดของยา Kelnac อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยมียาชนิดนี้ผ่านทางบริษัทขายยาของนายอนันต์ เหล่าพาณิชย์ เท่านั้น เนื่องจากบริษัทแม่ไม่มีนโยบายที่จะขายยานี้ในประเทศไทย จากรายงานของโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง เมื่อปี 2528 ราคาของเคลเน็กซ์ขายในราคาเม็ดละ 30 บาท
เปล้าน้อย คือกรณีตัวอย่างคลาสสิคที่ใช้อรรถาธิบายถึงกรณีโจรสลัดชีวภาพในประเทศไทย และบัดนี้กรณีตัวอย่างที่ทำให้สังคมไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์อันเกิดจากระบบสิทธิบัตร คนส่วนใหญ่จะไม่นึกถึงเพียงแต่กรณีเปล้าน้อย เพราะ “กวาวเครือ” สมุนไพรที่ทรงคุณค่าของไทยก็ตกอยู่ในอุ้งมือของญี่ปุ่นแล้ว
องค์กรความหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย (ไบโอไทย) ให้ข้อมูลว่า เปล้าน้อย(Croton sublyratus)เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทย มีลักษณะเป็นไม้พุ่มไม่สูงมากนัก พบขึ้นกระจายทั่วไป ในประเทศไทย มีการระบุไว้ในสมุดข่อยโบราณว่าเปล้าทั้งสอง(คนโบราณมักจะเรียกควบกันว่าเปล้าน้อยและเปล้าใหญ่)มีสรรพคุณโดยใช้ใบในการบำรุงธาตุ ใช้ดอกแก้พยาธิ ลูกดองสุรากินขับโลหิตระดูในเรือนไฟ เปลือกและกะพี้ช่วยย่อยอาหาร แก้เลือดร้อน แก่นขับเลือดหนองให้ตกและขับไส้เดือน รากขับผายลม
ในระหว่างปี พ.ศ. 2513-2517เปล้าน้อยมีรายชื่ออยู่ในรายงานการร่วมมือศึกษาวิจัยในโครงการช่วยเหลือของญี่ปุ่นที่ให้แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อาจเป็นไปได้ว่าภาคเอกชนของญี่ปุ่นได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของเปล้าน้อยอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ก่อนหน้าปี 2517 เป็นต้นไป และทำให้บริษัทซังเกียวเห็นศักยภาพที่จะสกัดเปล้าน้อยเป็นยา
อย่างไรก็ตาม ในงานเขียนของ นายชนะ พรหมเดช(ชนะ พรหมเดช 2538) เรื่อง " เปล้าน้อยกับศาสตราจารย์ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ กลับให้ข้อมูลว่าความสนใจในเรื่องเปล้าน้อยนั้นเริ่มต้นจากฝ่ายญี่ปุ่นเองโดย "…เริ่มจากการที่นักวิจัยญี่ปุ่นประจำบริษัทซังเกียว (ดร. โอกิโซและคณะ)ได้สังเคราะห์สารเคมีชนิดหนึ่ง (C20 H34 O2) ขึ้นในปี 2508 ซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาโรคกระเพาะ แต่ปรากฎวาสารดังกล่าวมีผลข้างเคียงมากเกินกว่าที่จะใช้ผลิตยา
นายอนันต์ เหล่าพาณิชย์ ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซังเกียวในประเทศไทยได้แนะนำให้สกัดตัวยาดังกล่าวจากพืชสมุนไพร และได้จัดส่งสมุนไพรแห้งชนิดต่างๆ ไปให้ที่ญี่ปุ่น เพื่อดูว่าจะมีตัวยาดังกล่าวอยู่ในพืชชนิดใด จนกระทั่งค้นพบว่าในตัวอย่างที่ 684 มีสารดังกล่าวเมื่อตรวจโดยใช้วิธี thin chromatography ตัวอย่างที่ 684 คือสมุนไพรของไทยที่เรียกว่า เปล้าน้อย…" การค้นหาแหล่งผลิตของเปล้าน้อยในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2516 โดยที่นายอนันต์นำคณะวิจัยญี่ปุ่นเข้าพบเลขานุการกรมป่าไม้ และเริ่มค้นหาแหล่งธรรมชาติของพืชชนิดนี้ หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จ
จากการติดตามจากร้านขายยาที่ได้ตัวอย่างที่ใช้วิเคราะห์ และค้นคว้าตามภาควิชาพฤกษศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ นายจำลอง เพ็งคล้าย ผู้เชี่ยวชาญพฤษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้แนะนำให้ไปค้นตรวจสอบประวัติ ณ หอพรรณไม้กรมป่าไม้ พบว่ามีพรรณไม้พวก เปล้าน้อย แต่เป็นชนิด Croton Joufra ต่อจากนั้นนายอนันต์, ดร.อากิระ, นายอิวาโอะ มิกุริยา(ผู้ช่วยของดร.อากิระ) และนายชนะ พรหมเดช นักพฤกษศาสตร์ ได้ร่วมกันสำรวจพรรณไม้เปล้าน้อยตามภาคต่างๆ ในประเทศไทย จนกระทั่งได้พบ "เปล้าน้อย"(Croton sublyratus)ในที่สุด โดยพบขึ้นอยู่ริมทางถนนในท้องที่ตำบลโนนห้อม จังหวัดปราจีนบุรี ต่อจากนั้นพรรณไม้ชนิดนี้ก็ถูกค้นพบอีกในบริเวณตำบลห้วยยาง และตำบลห้วยทรายจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หลังจากนั้น ดร.อากิระ จึงได้จัดทำแปลงทดลองในพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ขึ้นในทั้งสองจังหวัด เพื่อศึกษาอย่างใกล้ชิดและวิจัยหาส่วนของเปล้าน้อยที่ให้สารออกฤทธิ์สูงสุด ผลการวิจัยสรุปว่าส่วนที่เป็นใบให้ตัวยาสูงกว่าส่วนที่เป็น ลำต้น,กิ่งก้าน และราก อีกทั้งยังพบว่าต้นเปล้าน้อยที่ปลูกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้นให้ตัวยาสูงกว่าที่ปลูกที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งสารสกัดดังกล่าวมีชื่อย่อว่า CS 684 ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 เอกสารการค้นคว้าทางวิชาการของห้องวิจัยกลาง บริษัท ซังเกียว จำกัด (Sankyo Co.,Ltd.) ระบุว่า "งานค้นคว้าของเราคือการค้นหาสารที่ใช้รักษาแผลในกะเพาะอาหาร จากพืชสมุนไพร เราพบว่า สารสกัดที่ได้จากเปล้าน้อยในเมืองไทย มีผลในการรักษาแผลเรื้อรังในหนู ที่เกิดจากการใช้สารรีเซอร์ปีนกระตุ้นให้เกิดแผล ..." และในปี 2526 ญี่ปุ่นได้นำสารดังกล่าวไปจดทะเบียนกับองค์การอนามัยโลก(The World Health Organization =WHO) ภายใต้ชื่อ "เปลาโนทอล(Plaunotol)"
ปีเดียวกับที่บริษัทซังเกียวได้จดทะเบียนยาเปลาโนทอลต่อองค์การอนามัยโลก บริษัทนี้ได้ร่วมมือกับนายอนันต์ เหล่าพาณิชย์ จัดตั้งบริษัทไทยซังเกียวขึ้น มีเงินลงทุนประมาณ 250-300 ล้านบาท โดยกู้เงินเพื่อการลงทุนจากบริษัทซังเกียวประเทศญี่ปุ่น เป็นหลัก
ในปี 2528 บริษัทซังเกียวได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารยาของญี่ปุ่นให้ผลิตยาจากเปล้าน้อยนี้ออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "เคลเน็กซ์" (Kelnac) ใช้รักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ในปี 2529 บริษัทได้สร้างโรงงานอบใบเปล้าน้อย ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้อบใบแห้งที่มีผลผลิตประมาณ 1,700 ตันต่อปี จากพื้นที่ปลูกประมาณ 7,000 ไร่ โดยมีเงินลงทุนสำหรับ "ค่าใช้จ่ายในการซื้อที่ดิน เครื่องจักร ยานพาหนะ อุปกรณ์ในการเพาะปลูก แปลงเพาะชำ โรงงานอบแห้ง โรงงานอัดแท่ง เป็นเงิน 58 ล้านบาท"
ต่อมาได้สร้างโรงงานสกัดสาร "เปลาโนทอล" โดยใช้สารทำละลาย เป็นเงิน 120 ล้านบาท รวมทั้งสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางพืช เพื่อศึกษาขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเนื้อเยื่อแทนการใช้พันธุ์เดิมจากป่า ซึ่งให้ผลผลิตซึ่งมีตัวยาต่ำ
ปัจจุบันบริษัท ไทยซังเกียว จำกัด ดำเนินกิจการผลิตสารสกัดจากเปล้าน้อย เพื่อส่งออกให้แก่บริษัท ซังเกียว ที่ญี่ปุ่นนำไปผลิตยา Kelnac การผลิตของบริษัทเริ่มจากการปลูกต้นเปล้าน้อยในที่ดินของบริษัทฯ เก็บใบสดมาตากและอบแห้ง แล้วสกัดตัวยาจากใบแห้งโดยใช้สารทำละลาย บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลด้านปริมาณการผลิต แต่ประมาณว่าจะผลิตได้ประมาณ 1,700 ตันใบแห้งจากพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่ มีการจ้างคนงานเพื่อการปลูกและเก็บใบยาประมาณ 1,000 คน
บริษัทไม่ได้ซื้อใบเปล้าน้อยจากชาวบ้านโดยตรงเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ ทั้งนี้สารสกัดที่ได้ขายให้กับบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยตกลงทำการซื้อขายกันล่วงหน้าเป็น ปีๆ โดยบริษัทแม่จะนำสารสกัดที่ได้ไปผลิตเป็นยาเคลเน็กซ์
ตลาดของยา Kelnac อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทยมียาชนิดนี้ผ่านทางบริษัทขายยาของนายอนันต์ เหล่าพาณิชย์ เท่านั้น เนื่องจากบริษัทแม่ไม่มีนโยบายที่จะขายยานี้ในประเทศไทย จากรายงานของโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง เมื่อปี 2528 ราคาของเคลเน็กซ์ขายในราคาเม็ดละ 30 บาท